ต้นตอค่าไฟแพงไม่ใช่ใครที่ไหน คสช.นั่นไง เริ่มแต่รัฐประหารเสร็จใหม่ๆ มีการ “กระโดดเข้าไปอย่างมูมมาม” ตั้งคนของตนเข้าไปคุมคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติถึงสองรอบ หลังปลดชุดเก่าออกหมด “แล้วจับโควต้าของไฟฟ้าเอาไว้”
นั่นมาจากคำอภิปรายนอกสภาของหมออ๋อง ปดิพัทธ์ สันติภาดา พรรคอนาคตใหม่ ในต้นปี ๒๕๖๓ ที่วันนี้ @qualentinop นำมาตีแผ่อีกครั้ง ว่าต้นเรื่องมาจากนโยบายกำจัดขยะที่กระทรวงมหาดไทยรวบอำนาจเอาไปจัดการอย่างเบ็ดเสร็จ
เกิดโรงงานขยะขนาดย่อม ๖-๗ พันแห่ง ซึ่งหน่วยงานท้องที่ของมหาดไทยสามารถออกใบอนุญาตดำเนินการ และรับช่วงซื้อพลังงานส่งนายทุน ต่อเนื่องมาถึงการเกิดเจ้าสัวพลังงานอย่าง ‘กั๊ลฟ์’ เอเนอร์จี้ รวบไปเกือบครึ่งของทั้งประเทศ
เรื่องนั้น สฤณี อาชวานันทกุล มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า GULF ฟาดสัมปทานโครงการพลังงานหลายสิบแห่งไปได้ถึง ๖,๘๐๕ เมกกะวัตต์เลยทีเดียว ทั้งจาก โครงการใหม่ที่ได้รับอนุญาตหรือผ่านการคัดเลือกในสมัยประยุทธ์ กับโครงการเก่าก่อนสมัยประยุทธ์
“จะเห็นว่าโครงการใหม่ของบริษัทที่เกิดในสมัยประยุทธ์ไม่ได้มีแต่พลังงานหมุนเวียน/ทดแทนอย่างที่ IO/สื่อแย่ๆ ทำให้หลายคนเข้าใจผิด แต่มีมากถึง 3,123 MW (46% ของโครงการใหม่ทั้งหมด) ที่เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ”
โครงการเหล่านั้นเข้าข่ายตามคำสั่ง คสช.เดิม โรงงานดำเนินการไม่ต้องมีขนาดใหญ่ในความหมายของโรงไฟฟ้าที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง แม้กระทั่งในประกาศโครงการพลังงานหมุนเวียนรอบล่าสุด เมื่อ ๗ เมษายนที่เพิ่งผ่านมา
“GULF ได้ไปราว 1,975 เมกะวัตต์ (ประมาณ 40% ของทั้งหมด)”
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=796642168498139&set=a.213364210159274 และ https://www.youtube.com/watch?v=FArTCD9XM8c)