สมัย 48-60 ผมโต้ พธม โต้รัฐประหาร โต้ ตลก ภิวัตน์ วิจารณ์คดียึดทรัพย์ ยุบพรรค ทรท พปช ทษท คดีจำนำข้าว คดีแก้ รธน ต่อต้าน กปปส ผมโดนกล่าวหาว่าเป็นนักวิชาการของ “ระบอบทักษิณ” แต่กองเชียร์ พท แซ่ซ้องสรรเสริญ พอเมื่อวาน ปราศรัยพูดข้อเท็จจริงของ ทรท/พท คราวนี้ ด่าผมว่าเป็นพวก ปชป พธม…
— Piyabutr Saengkanokkul (@Piyabutr_FWP) April 23, 2023
Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
16h
·
[ความทรงจำแห่งอนาคต - Memory of the future]
หมายเหตุ : นี่คือบทปราศรัยที่ผมเตรียมไว้และได้ปราศรัยในการรณรงค์หาเสียงให้พรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566 ที่สามย่าน มิตรทาวน์
…
งานวิจัยของนักประสาทวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง บอกเราว่า มนุษย์จินตนาการอนาคตด้วยการย้อนคิดจากอดีต เมื่อไรก็ตามที่สมองของมนุษย์ทำงานเพื่อคาดเดาว่าในอนาคตจะทำอะไร จะตัดสินใจอย่างไร ก็มักคิดจากประสบการณ์ในอดีต ไม่ของตนเอง ก็ของคนอื่นๆที่เขาทำๆกันมา
พรุ่งนี้ เราจะทำอะไร ? เราก็คิดจากอดีตว่า เมื่อวาน เมื่อวันก่อนๆ กิจวัตรประจำวันของเรามีอะไร แล้วก็เดินตามนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันบ้าง หากมีนัดหมายพิเศษหรือกิจกรรมใหม่ๆเข้ามา
อีก 10 ปี ชีวิตเรา จะทำอะไร จะเป็นอย่างไร? เราก็คิดจากอดีตของคนที่เขาทำๆกันมา เรียนจบ แยกบ้านออกมา มีครอบครัว ทำงานหารายได้ มีลูก มีบ้าน มีรถ มีตำแหน่ง
วิเคราะห์ฟุตบอล โอกาสทีมไหนชนะ? เราก็เอาสถิติการเจอกันในอดีตมาวิเคราะห์ ไม่มีใครกล้าคิดว่า ลิเวอร์พูลจะชนะแมนยู 7-0 เพราะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต
การต่อสู้ในทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมขนานใหญ่ เราก็มักโหยหาเหตุการณ์การต่อสู้ในอดีต 24 มิถุนายน 2475, การต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย, 14 ตุลา 2516, 6 ตุลาคม 2519, พฤษภาคม 2535, พฤษภาคม 2553 หรือไปให้ไกลหน่อย ก็ระลึกถึงเหตุการณ์ในต่างประเทศ เช่น ปฏิวัติอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน
การจัดการอนาคตของแต่ละคน การคาดการณ์อนาคตของแต่ละคน ต่างก็ไปผูกโยงกับเรื่องราวในอดีตทั้งสิ้น กลายเป็นว่า ความทรงจำในอดีตล้อมกรอบการเดินทางของอนาคต ความทรงจำในอดีตปิดกั้นจินตนาการใหม่ๆจนกลายเป็นกรงขังของอนาคต
…
การเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ มีความพยายามจะนำพาสังคมไทยกลับไปหาอดีต ชวนเรากลับไปเห็นภาพวันชื่นคืนสุขในอดีต และชวนให้ประชาชนเชื่อว่าอดีตอันหอมหวลนั้นจะกลับมาได้อีกในอนาคต
ฝ่ายหนึ่ง พาเรากลับไปยังสังคมไทยยุค 2520
อีกฝ่ายหนึ่ง พาเรากลับไปยังสังคมไทยยุค 2540
ช่วงทศวรรษ 2520 การเมืองไทยถูกขนานนามว่าเป็นยุค “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” มีรัฐธรรมนูญ 2521 เป็นกลไก อนุญาตให้มีการเลือกตั้งได้ แต่เมื่อเลือกมาแล้วต้องให้ทหารเป็นนายกฯและให้กองทัพกับระบบราชการคุมร้ฐบาล
พรรคการเมืองทำหน้าที่รวบรวมไพร่พลส่งลงสมัคร ส.ส.
การเลือกตั้งชนะกันได้โดยมีปัจจัยหนุนเสริมสำคัญ นั่นก็คือ อิทธิพลกลไกรัฐในพื้นที่ และเงิน
เมื่อเลือกตั้งแล้ว แต่ละพรรคก็มารวมกันเป็นรัฐบาลผสม สนับสนุนให้ทหารนายพลเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ให้การสนับสนุน
เมื่อเป็นรัฐบาลผสม แต่ละพรรคก็ต่อรองกดดันนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ นโยบายต่างๆดำเนินการโดยระบบราชการ/เทคโนแครต วิธีคิดทางเศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่และกลุ่มทุนธนาคาร ส่งส่วยให้กลุ่มทุนเหล่านี้ ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ผูกขาดและขูดรีดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันนักการเมืองกับระบบราชการก็ร่วมมือกันทุจริตคอรัปชั่น เพื่อหาเงินทุนไปทำการเมืองต่อ
ช่วงทศวรรษ 2540 กระแสปฏิรูปการเมืองเบ่งบาน รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นความหวังของสังคมไทย มุ่งหมายให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ พร้อมกับมีระบบตรวจสอบรัฐบาล และประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
พรรคไทยรักไทยถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ได้รวบรวม ส.ส.จากพรรคอื่นๆเข้ามา มุ่งขายนโยบายที่ทันสมัย กระแสคนอยากเปลี่ยนรัฐบาลแบบเดิมๆ ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2544 เมื่อเป็นรัฐบาลก็สามารถส่งมอบนโยบายที่ดีให้กับประชาชนได้
ต่อมา พรรคไทยรักไทยได้ควบรวมพรรคการเมืองอื่นๆเข้ามา และประกอบกับผลงานของรัฐบาล ทำให้การเลือกตั้งในปี 2548 ชนะอย่างถล่มทลายมากกว่าเดิม ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
จนวันนี้ ผ่านมา 17 ปี เรายังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
…
ปีนี้ 2566
สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนไปมาก
ประชาชนคนส่วนใหญ่ เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีความคิดที่ก้าวหน้าแหลมคมมากกว่าเดิม
การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 จะต้องไม่นำพาเรากลับไปอดีต ทั้งแบบทศวรรษ 2520 และทศวรรษ 2540
เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขา พาเรากลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่นโยบายเศรษฐกิจนำไปสู่การส่งส่วยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ขูดรีดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเรากลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่นโยบายเศรษฐกิจ คิดแต่เพียงกระตุ้นเศรษฐกิจ ขยายเค้กก้อนใหญ่ ให้ทุนได้เติบโต แล้วค่อยแบ่งปันให้คนเล็กคนน้อย ผ่านบางนโยบายที่ช่วยประชาชนฐานรากที่ทุกข์เข็ญ
แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน ถ้วนหน้า ครบวงจร ยั่งยืน ให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนทุกคนมีชีวิตที่ดีตั้งแต่เกิดจนตาย ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคเท่าเทียม สนับสนุนทุนใหญ่ไปสู้ในตลาดโลก เปิดทางให้ทุนขนาดกลางและเล็กเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใน
เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขา พาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่มีพรรคจำนวนมาก หรือ “สหพรรค” ไม่มีการแบ่งอุดมการณ์ เฉดความคิด ขอแต่ตั้งพรรคมามากๆเพื่อรวบรวม ส.ส.ไปขอแบ่ง รมต.
เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเรากลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่มีพรรคขนาดใหญ่พรรคเดียวครอบงำ เอา ส.ส.ทุกคนรวมเข้ามา โดยไม่คิดถึงอุดมการณ์ ความคิด คิดแต่เพียงจำนวนให้มาก เพื่อเอาชนะเลือกตั้งเด็ดขาด เมื่อเกิดวิกฤตการเมือง เกิดรัฐประหาร ส.ส.ที่รวมเข้ามา ก็ย้ายข้างไปซบทหาร แล้ววันหนึ่ง ก็กลับมาใหม่ วนเวียนแบบนี้ซ้ำซาก
แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต มีพรรคการเมืองของมวลชน ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของ มีจุดยืนอุดมการณ์ชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่กั๊ก ไม่กลัว ไม่เกรง ไม่กังวล มั่นคงในจุดยืน คิดอย่างไร พูดอย่างนั้น พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น คัดเลือกผู้สมัครจากอุดมการณ์ความคิด มิใช่ ดูว่าใครมีโอกาสได้เป็น ส.ส. หรือมีทรัพยากร เงินทองให้พรรค
เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขาพาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่นักการเมืองจากการเลือกตั้งพากันสวามิภักดิกับชนชั้นนำจารีตประเพณี ทุนผูกขาด และกองทัพ รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพื่อให้ชนชั้นนำจารีตประเพณี คุ้มกะลาหัว และให้หลักประกันว่า บรรดานักการเมืองยังมีพื้นที่อำนาจการเมืองและเศรษฐกิจอยู่บ้าง
เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่นักการเมืองมีเสียงข้างมากมหาศาล เพื่อใช้เจรจาต่อรองกับชนชั้นนำจารีตประเพณี อาสาตนเป็นผู้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง โดยรับประกันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจนไปกระทบกับชนชั้นนำจารีตประเพณี เพื่อให้แต่ละชนชั้นอยู่ในที่ทางของตนเองดังเดิม แช่แข็งอยู่ที่เดิมอย่างมีความสุข แต่เมื่อความนิยมมากมายมหาศาล ก็ทำให้ชนชั้นนำจารีตประเพณีกังวล ไม่ไว้วางใจ จนไม่อนุญาตให้อยู่ในอำนาจ
แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต เราต้องต่อสู้เพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่ ประชาชนผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ประชาชน 99% เปลี่ยนโครงสร้างทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ปฏิรูปกองทัพ ลบล้างผลพวงรัฐประหาร เอาคนเข่นฆ่าประชาชนมาลงโทษ ปฏิรูประบบราชการ กระจายอำนาจ ทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เพื่อจัดวางสัมพันธภาพทางอำนาจของทุกสถาบันกันใหม่ สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานถ้วนหน้าครบวงจร ปฏิรูปที่ดิน ปฏิวัติการศึกษา
…
การต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทย เรามักเอาความทรงจำในอดีตมากักขังการมองอนาคต
พรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง อยากมี ส.ส.มาก อยากเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล ก็พิจารณาว่าใครมีโอกาสได้เป็น ส.ส. มีเงิน มีเครือข่ายอิทธิพล ก็ไปดึง ไปดูด เข้ามา
เกจิอาจารย์กูรูการเมือง ประเมินว่าใครจะชนะเลือกตั้ง ก็ดูว่าพรรคใดมีคนเคยเป็น ส.ส.มากที่สุด พรรคใดเคยได้รับความนิยมมาก่อน
จะเลือกใคร ก็ต้องเลือกแบบยุทธศาสตร์ เลือกคนที่มีโอกาสชนะมากที่สุด เพราะกลัวเลือกไปแล้วแพ้ คะแนนตกน้ำ เดี๋ยวไม่ “แลนด์สไลด์” เดี๋ยวเปลี่ยนนายกฯไม่ได้
จะเลือกใคร ก็ต้องเลือกด้วยความกลัว ไม่เลือกด้วยความหวัง
คิดว่าพรรคใดแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ก็ดูจากผลงานในอดีต คนเดิมๆ แนวทางเดิมๆ ซึ่งจริงๆแล้ว ก็มีทั้งสำเร็จ และมีทั้งล้มเหลว มีทั้งล้าสมัยใช้การไม่ได้
คิดว่าแนวทางการทำพรรคแบบพรรคก้าวไกล เป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ เพ้อฝัน ไม่มีทางชนะได้
คิดว่านโยบาย “การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต” 300 กว่านโยบาย เป็นไปไม่ได้ เพ้อฝัน
คิดว่า พรรคก้าวไกล แรงเกินไป สุดโต่งเกินไป ยังไม่ถึงเวลา ผู้มีอำนาจในระบอบนี้ไม่ยอมให้เป็นรัฐบาล หรือถ้าเข้ามาได้ ก็ต้องถูกโค่นล้ม
ทั้งหมดนี้ คือ กรอบคิดจากความทรงจำในอดีตที่่มากำหนดให้เรากระทำการในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าอนาคตจะเป็นเช่นนั้นอีก
การระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต ให้ปัจจุบันรับรู้ เพื่อทำซ้ำอีกในอนาคต ในท้ายที่สุด เราก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดิม
การคิดถึงอดีต ความสำเร็จในอดีต นโยบายที่อาจเคยสำเร็จในอดีต ต้องไม่ใช่ การนำอดีตมาขายปัจจุบัน เพื่อมาทำซ้ำ ทำใหม่อีกครั้ง ต่อไปในอนาคต
แต่เราอยู่กับปัจจุบัน เราต้องแตกหักจากอดีตด้วยพลังของมวลชนอันไพศาลต่างหาก จึงจะพาเรากลับไปแก้ไขอดีตเสียใหม่ เพื่อเอามาจัดการใหม่ คิดสิ่งใหม่ ฝันสู่สิ่งใหม่ ในอนาคต
พวกเขาอยู่กับวันวาน แต่เราจะอยู่กับวันนี้
พวกเขาพอใจกับแค่วันนี้ แต่เราจะร่วมกันเดินหน้าสู่วันพรุ่ง
หากมนุษย์พากันคิดตามกรอบเดิม ความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ ย่อมไม่บังเกิด
การเมือง คือ ความเป็นไปได้
การต่อสู้ทางการเมือง คือ การสร้างจินตนาการใหม่ จินตนาการถึงสิ่งที่คนเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้
เรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เป็นประวัติศาสตร์ เป็นบทเรียน เป็นประสบการณ์ แต่ไม่ได้หมายความว่า ในอนาคต ต้องทำแบบเดิม และเกิดผลแบบเดิม
ภารกิจของนักการเมืองในช่วงวิกฤต คือ เปิดจินตนาการใหม่ ก่อรูป “ความทรงจำแห่งอนาคต” เสียใหม่ ทำให้มวลชนทั้งผองเห็นพ้องต้องกันว่าเราจะไม่ย้อนกลับไปในอดีต เราจะไม่ทำซ้ำแบบอดีต เราจะไม่วาดอนาคตด้วยประสบการณ์ของอดีต
…
ประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศทุกท่านครับ
ผมขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกันทลายกรอบความทรงจำของอดีตที่คอยกักขังอนาคตของเรา
ผมขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมมือกันสร้างอนาคตใหม่ด้วยกัน อนาคตใหม่ที่จะไม่เหมือนทศวรรษ 2520 อนาคตใหม่ที่จะไม่เหมือนทศวรรษ 2540
แต่เป็นอนาคตใหม่ที่กล้าชนกับต้นตอของปัญหา
อนาคตใหม่ที่กล้าเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมเสียใหม่
อนาคตใหม่ที่พวกเราร่วมกันกำหนดเอง
อนาคตใหม่ที่จะพาประเทศไทยก้าวหน้าก้าวไกล
ใช้อำนาจสูงสุดของเราในวันที่ 14 พฤษภาคม นี้ เปิดประตูจินตนาการใหม่ เปิดประตูความเป็นไปได้ใหม่
เลือกพรรคก้าวไกลให้ถล่มทลาย
เพื่อประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
·
[ความทรงจำแห่งอนาคต - Memory of the future]
หมายเหตุ : นี่คือบทปราศรัยที่ผมเตรียมไว้และได้ปราศรัยในการรณรงค์หาเสียงให้พรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566 ที่สามย่าน มิตรทาวน์
…
งานวิจัยของนักประสาทวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง บอกเราว่า มนุษย์จินตนาการอนาคตด้วยการย้อนคิดจากอดีต เมื่อไรก็ตามที่สมองของมนุษย์ทำงานเพื่อคาดเดาว่าในอนาคตจะทำอะไร จะตัดสินใจอย่างไร ก็มักคิดจากประสบการณ์ในอดีต ไม่ของตนเอง ก็ของคนอื่นๆที่เขาทำๆกันมา
พรุ่งนี้ เราจะทำอะไร ? เราก็คิดจากอดีตว่า เมื่อวาน เมื่อวันก่อนๆ กิจวัตรประจำวันของเรามีอะไร แล้วก็เดินตามนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันบ้าง หากมีนัดหมายพิเศษหรือกิจกรรมใหม่ๆเข้ามา
อีก 10 ปี ชีวิตเรา จะทำอะไร จะเป็นอย่างไร? เราก็คิดจากอดีตของคนที่เขาทำๆกันมา เรียนจบ แยกบ้านออกมา มีครอบครัว ทำงานหารายได้ มีลูก มีบ้าน มีรถ มีตำแหน่ง
วิเคราะห์ฟุตบอล โอกาสทีมไหนชนะ? เราก็เอาสถิติการเจอกันในอดีตมาวิเคราะห์ ไม่มีใครกล้าคิดว่า ลิเวอร์พูลจะชนะแมนยู 7-0 เพราะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต
การต่อสู้ในทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมขนานใหญ่ เราก็มักโหยหาเหตุการณ์การต่อสู้ในอดีต 24 มิถุนายน 2475, การต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย, 14 ตุลา 2516, 6 ตุลาคม 2519, พฤษภาคม 2535, พฤษภาคม 2553 หรือไปให้ไกลหน่อย ก็ระลึกถึงเหตุการณ์ในต่างประเทศ เช่น ปฏิวัติอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน
การจัดการอนาคตของแต่ละคน การคาดการณ์อนาคตของแต่ละคน ต่างก็ไปผูกโยงกับเรื่องราวในอดีตทั้งสิ้น กลายเป็นว่า ความทรงจำในอดีตล้อมกรอบการเดินทางของอนาคต ความทรงจำในอดีตปิดกั้นจินตนาการใหม่ๆจนกลายเป็นกรงขังของอนาคต
…
การเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ มีความพยายามจะนำพาสังคมไทยกลับไปหาอดีต ชวนเรากลับไปเห็นภาพวันชื่นคืนสุขในอดีต และชวนให้ประชาชนเชื่อว่าอดีตอันหอมหวลนั้นจะกลับมาได้อีกในอนาคต
ฝ่ายหนึ่ง พาเรากลับไปยังสังคมไทยยุค 2520
อีกฝ่ายหนึ่ง พาเรากลับไปยังสังคมไทยยุค 2540
ช่วงทศวรรษ 2520 การเมืองไทยถูกขนานนามว่าเป็นยุค “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” มีรัฐธรรมนูญ 2521 เป็นกลไก อนุญาตให้มีการเลือกตั้งได้ แต่เมื่อเลือกมาแล้วต้องให้ทหารเป็นนายกฯและให้กองทัพกับระบบราชการคุมร้ฐบาล
พรรคการเมืองทำหน้าที่รวบรวมไพร่พลส่งลงสมัคร ส.ส.
การเลือกตั้งชนะกันได้โดยมีปัจจัยหนุนเสริมสำคัญ นั่นก็คือ อิทธิพลกลไกรัฐในพื้นที่ และเงิน
เมื่อเลือกตั้งแล้ว แต่ละพรรคก็มารวมกันเป็นรัฐบาลผสม สนับสนุนให้ทหารนายพลเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ให้การสนับสนุน
เมื่อเป็นรัฐบาลผสม แต่ละพรรคก็ต่อรองกดดันนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ นโยบายต่างๆดำเนินการโดยระบบราชการ/เทคโนแครต วิธีคิดทางเศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่และกลุ่มทุนธนาคาร ส่งส่วยให้กลุ่มทุนเหล่านี้ ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ผูกขาดและขูดรีดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันนักการเมืองกับระบบราชการก็ร่วมมือกันทุจริตคอรัปชั่น เพื่อหาเงินทุนไปทำการเมืองต่อ
ช่วงทศวรรษ 2540 กระแสปฏิรูปการเมืองเบ่งบาน รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นความหวังของสังคมไทย มุ่งหมายให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ พร้อมกับมีระบบตรวจสอบรัฐบาล และประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
พรรคไทยรักไทยถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ได้รวบรวม ส.ส.จากพรรคอื่นๆเข้ามา มุ่งขายนโยบายที่ทันสมัย กระแสคนอยากเปลี่ยนรัฐบาลแบบเดิมๆ ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2544 เมื่อเป็นรัฐบาลก็สามารถส่งมอบนโยบายที่ดีให้กับประชาชนได้
ต่อมา พรรคไทยรักไทยได้ควบรวมพรรคการเมืองอื่นๆเข้ามา และประกอบกับผลงานของรัฐบาล ทำให้การเลือกตั้งในปี 2548 ชนะอย่างถล่มทลายมากกว่าเดิม ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
จนวันนี้ ผ่านมา 17 ปี เรายังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
…
ปีนี้ 2566
สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนไปมาก
ประชาชนคนส่วนใหญ่ เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีความคิดที่ก้าวหน้าแหลมคมมากกว่าเดิม
การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 จะต้องไม่นำพาเรากลับไปอดีต ทั้งแบบทศวรรษ 2520 และทศวรรษ 2540
เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขา พาเรากลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่นโยบายเศรษฐกิจนำไปสู่การส่งส่วยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ขูดรีดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเรากลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่นโยบายเศรษฐกิจ คิดแต่เพียงกระตุ้นเศรษฐกิจ ขยายเค้กก้อนใหญ่ ให้ทุนได้เติบโต แล้วค่อยแบ่งปันให้คนเล็กคนน้อย ผ่านบางนโยบายที่ช่วยประชาชนฐานรากที่ทุกข์เข็ญ
แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน ถ้วนหน้า ครบวงจร ยั่งยืน ให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนทุกคนมีชีวิตที่ดีตั้งแต่เกิดจนตาย ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคเท่าเทียม สนับสนุนทุนใหญ่ไปสู้ในตลาดโลก เปิดทางให้ทุนขนาดกลางและเล็กเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใน
เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขา พาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่มีพรรคจำนวนมาก หรือ “สหพรรค” ไม่มีการแบ่งอุดมการณ์ เฉดความคิด ขอแต่ตั้งพรรคมามากๆเพื่อรวบรวม ส.ส.ไปขอแบ่ง รมต.
เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเรากลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่มีพรรคขนาดใหญ่พรรคเดียวครอบงำ เอา ส.ส.ทุกคนรวมเข้ามา โดยไม่คิดถึงอุดมการณ์ ความคิด คิดแต่เพียงจำนวนให้มาก เพื่อเอาชนะเลือกตั้งเด็ดขาด เมื่อเกิดวิกฤตการเมือง เกิดรัฐประหาร ส.ส.ที่รวมเข้ามา ก็ย้ายข้างไปซบทหาร แล้ววันหนึ่ง ก็กลับมาใหม่ วนเวียนแบบนี้ซ้ำซาก
แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต มีพรรคการเมืองของมวลชน ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของ มีจุดยืนอุดมการณ์ชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่กั๊ก ไม่กลัว ไม่เกรง ไม่กังวล มั่นคงในจุดยืน คิดอย่างไร พูดอย่างนั้น พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น คัดเลือกผู้สมัครจากอุดมการณ์ความคิด มิใช่ ดูว่าใครมีโอกาสได้เป็น ส.ส. หรือมีทรัพยากร เงินทองให้พรรค
เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขาพาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่นักการเมืองจากการเลือกตั้งพากันสวามิภักดิกับชนชั้นนำจารีตประเพณี ทุนผูกขาด และกองทัพ รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพื่อให้ชนชั้นนำจารีตประเพณี คุ้มกะลาหัว และให้หลักประกันว่า บรรดานักการเมืองยังมีพื้นที่อำนาจการเมืองและเศรษฐกิจอยู่บ้าง
เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่นักการเมืองมีเสียงข้างมากมหาศาล เพื่อใช้เจรจาต่อรองกับชนชั้นนำจารีตประเพณี อาสาตนเป็นผู้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง โดยรับประกันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจนไปกระทบกับชนชั้นนำจารีตประเพณี เพื่อให้แต่ละชนชั้นอยู่ในที่ทางของตนเองดังเดิม แช่แข็งอยู่ที่เดิมอย่างมีความสุข แต่เมื่อความนิยมมากมายมหาศาล ก็ทำให้ชนชั้นนำจารีตประเพณีกังวล ไม่ไว้วางใจ จนไม่อนุญาตให้อยู่ในอำนาจ
แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต เราต้องต่อสู้เพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่ ประชาชนผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ประชาชน 99% เปลี่ยนโครงสร้างทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ปฏิรูปกองทัพ ลบล้างผลพวงรัฐประหาร เอาคนเข่นฆ่าประชาชนมาลงโทษ ปฏิรูประบบราชการ กระจายอำนาจ ทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เพื่อจัดวางสัมพันธภาพทางอำนาจของทุกสถาบันกันใหม่ สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานถ้วนหน้าครบวงจร ปฏิรูปที่ดิน ปฏิวัติการศึกษา
…
การต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทย เรามักเอาความทรงจำในอดีตมากักขังการมองอนาคต
พรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง อยากมี ส.ส.มาก อยากเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล ก็พิจารณาว่าใครมีโอกาสได้เป็น ส.ส. มีเงิน มีเครือข่ายอิทธิพล ก็ไปดึง ไปดูด เข้ามา
เกจิอาจารย์กูรูการเมือง ประเมินว่าใครจะชนะเลือกตั้ง ก็ดูว่าพรรคใดมีคนเคยเป็น ส.ส.มากที่สุด พรรคใดเคยได้รับความนิยมมาก่อน
จะเลือกใคร ก็ต้องเลือกแบบยุทธศาสตร์ เลือกคนที่มีโอกาสชนะมากที่สุด เพราะกลัวเลือกไปแล้วแพ้ คะแนนตกน้ำ เดี๋ยวไม่ “แลนด์สไลด์” เดี๋ยวเปลี่ยนนายกฯไม่ได้
จะเลือกใคร ก็ต้องเลือกด้วยความกลัว ไม่เลือกด้วยความหวัง
คิดว่าพรรคใดแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ก็ดูจากผลงานในอดีต คนเดิมๆ แนวทางเดิมๆ ซึ่งจริงๆแล้ว ก็มีทั้งสำเร็จ และมีทั้งล้มเหลว มีทั้งล้าสมัยใช้การไม่ได้
คิดว่าแนวทางการทำพรรคแบบพรรคก้าวไกล เป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ เพ้อฝัน ไม่มีทางชนะได้
คิดว่านโยบาย “การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต” 300 กว่านโยบาย เป็นไปไม่ได้ เพ้อฝัน
คิดว่า พรรคก้าวไกล แรงเกินไป สุดโต่งเกินไป ยังไม่ถึงเวลา ผู้มีอำนาจในระบอบนี้ไม่ยอมให้เป็นรัฐบาล หรือถ้าเข้ามาได้ ก็ต้องถูกโค่นล้ม
ทั้งหมดนี้ คือ กรอบคิดจากความทรงจำในอดีตที่่มากำหนดให้เรากระทำการในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าอนาคตจะเป็นเช่นนั้นอีก
การระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต ให้ปัจจุบันรับรู้ เพื่อทำซ้ำอีกในอนาคต ในท้ายที่สุด เราก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดิม
การคิดถึงอดีต ความสำเร็จในอดีต นโยบายที่อาจเคยสำเร็จในอดีต ต้องไม่ใช่ การนำอดีตมาขายปัจจุบัน เพื่อมาทำซ้ำ ทำใหม่อีกครั้ง ต่อไปในอนาคต
แต่เราอยู่กับปัจจุบัน เราต้องแตกหักจากอดีตด้วยพลังของมวลชนอันไพศาลต่างหาก จึงจะพาเรากลับไปแก้ไขอดีตเสียใหม่ เพื่อเอามาจัดการใหม่ คิดสิ่งใหม่ ฝันสู่สิ่งใหม่ ในอนาคต
พวกเขาอยู่กับวันวาน แต่เราจะอยู่กับวันนี้
พวกเขาพอใจกับแค่วันนี้ แต่เราจะร่วมกันเดินหน้าสู่วันพรุ่ง
หากมนุษย์พากันคิดตามกรอบเดิม ความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ ย่อมไม่บังเกิด
การเมือง คือ ความเป็นไปได้
การต่อสู้ทางการเมือง คือ การสร้างจินตนาการใหม่ จินตนาการถึงสิ่งที่คนเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้
เรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต เป็นประวัติศาสตร์ เป็นบทเรียน เป็นประสบการณ์ แต่ไม่ได้หมายความว่า ในอนาคต ต้องทำแบบเดิม และเกิดผลแบบเดิม
ภารกิจของนักการเมืองในช่วงวิกฤต คือ เปิดจินตนาการใหม่ ก่อรูป “ความทรงจำแห่งอนาคต” เสียใหม่ ทำให้มวลชนทั้งผองเห็นพ้องต้องกันว่าเราจะไม่ย้อนกลับไปในอดีต เราจะไม่ทำซ้ำแบบอดีต เราจะไม่วาดอนาคตด้วยประสบการณ์ของอดีต
…
ประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศทุกท่านครับ
ผมขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกันทลายกรอบความทรงจำของอดีตที่คอยกักขังอนาคตของเรา
ผมขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมมือกันสร้างอนาคตใหม่ด้วยกัน อนาคตใหม่ที่จะไม่เหมือนทศวรรษ 2520 อนาคตใหม่ที่จะไม่เหมือนทศวรรษ 2540
แต่เป็นอนาคตใหม่ที่กล้าชนกับต้นตอของปัญหา
อนาคตใหม่ที่กล้าเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมเสียใหม่
อนาคตใหม่ที่พวกเราร่วมกันกำหนดเอง
อนาคตใหม่ที่จะพาประเทศไทยก้าวหน้าก้าวไกล
ใช้อำนาจสูงสุดของเราในวันที่ 14 พฤษภาคม นี้ เปิดประตูจินตนาการใหม่ เปิดประตูความเป็นไปได้ใหม่
เลือกพรรคก้าวไกลให้ถล่มทลาย
เพื่อประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
กล้วยหมดก็ด่าเพื่อไทยที 😁😁
— Kook Pattarapol (@KookPattarapol) April 22, 2023
......ธนาธอนนนน pic.twitter.com/vFToujl19Y
โอ้โห เปรี้ยวตีนมากค่ะ ช่วยปลุกผีทักษิณหรอคะ
— Kade🌻 (@KadeThoss) April 22, 2023
เห็นด้วยกับนโยบายสวัสดิการของก้าวไกลมาตลอดนะ เพราะเคยอยู่ประเทศที่ think tank พรรคชอบ ref บ่อย ๆ สำนักเดียวกับ อ.เดชรัตเลย แต่พูดแบบนี้ไม่ซื้ออะ วิธีที่ดีกว่าคืออธิบายค่ะว่า กก. จะทำให้เศรษฐกิจโตขึ้นได้อย่างไร ภายในเวลาไม่กี่ปี https://t.co/jsDpxbCFXJ