ภาพจาก 1O1
Atukkit Sawangsuk
11h
พลังอนุรักษนิยมวันนี้อยู่ได้ด้วยอะไร
ด้วยความเกลียดชังทักษิณ ธนาธร เสื้อแดง สามกีบ
ที่สำคัญคือหวาดกลัวความเปลี่ยนแปลง ที่จะเขย่าโครงสร้างเดิม ระเบียบสังคมเดิม วัฒนธรรมเดิม ที่ตัวเองยึดเหนี่ยว และเป็นที่มาของสถานะทางสังคม เช่น ความเป็นชนชั้นนำ ความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ตลอดจนความเคารพนับถือ (เช่นเชื่อและกลัวอย่างฝังหัวว่า สามกีบสอนให้ไม่เคารพพ่อแม่)
คนเหล่านี้จึงกอดสิ่งเก่า อำนาจเก่า รูปเคารพเดิม ทั้งที่รู้ว่าเปลี่ยนไปแล้ว อำนาจศรัทธาหมดแล้ว ตัวเองก็ไม่ชอบ แอบนินทา แต่ต้องกอดไว้เพราะกลัวความเปลี่ยนแปลง
เหมือนกัน พวกนี้ต้องกอดประยุทธ์ ทั้งที่ไม่ได้โง่เสียหมด รู้แก่ใจว่าประยุทธ์โง่กว่าตัวเอง ห่วยแตก แต่ไม่มีตัวเลือกอื่น
เปรียบเทียบง่ายๆ สมัยม็อบนกหวีด
คนชั้นกลางชาวกรุงไม่เคยชอบสุเทพ รู้ไส้รู้พุงตั้งแต่สมัย สปก 4-01 แต่ไม่มีตัวเลือก ก็อุปโลกน์ลุงกำนัน เป็นศูนย์รวมแห่งการปลุกระดม
ดังนั้น พลังที่จะหนุนประยุทธ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงเปรียบเสมือนการต่อสู้ครั้งสุดท้าย แรงฮึดครั้งสุดท้าย ของบรรดาคนที่เชื่อในความคิดเก่า
โดยถ้าแพ้เลือกตั้ง พลังนี้ก็จะเปลี่ยนไปเป็นพลังโค่นประชาธิปไตย
.....
ปีกอนุรักษนิยม ครองอำนาจแต่ไม่ครองใจ
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
24 May 2022
1O1
เป็นเวลา 8 ปีแล้ว ที่บรรดาฝ่ายขวา ฝ่ายอนุรักษนิยม และทหารบางกลุ่มได้จับมือกัน โดยมีเป้าหมายคือการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โค่นล้มรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้ง
หลังจากนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไป แต่ฝ่ายอนุรักษนิยมก็ใช้เล่ห์เหลี่ยมความได้เปรียบให้ตัวเองทุกวิถีทาง ตั้งแต่การแก้กฎหมาย การออกแบบให้วุฒิสมาชิกทั้ง 250 คนมาจากการแต่งตั้ง ต่อมาแม้ผลการเลือกตั้งจะออกมาว่าพรรคฝั่งตรงข้ามได้จำนวนที่นั่งมากเป็นอันดับหนึ่ง ฝ่ายอนุรักษนิยมก็ยังไม่วายใช้กติกาที่คนของตัวเองสร้างขึ้น จัดการให้เกิดบัตรเขย่ง ให้ใบเหลือง-ใบแดง ไปจนถึงการยุบพรรคการเมือง จนในที่สุดฝ่ายอนุรักษนิยมก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และครองอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ข้าราชการเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน
แต่เคยสงสัยไหมว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมที่ยึดครองอำนาจมาได้เกือบสิบปี ทำไมถึงไม่สามารถครองใจประชาชนได้เลย และนับวันจำนวนแนวร่วมฝ่ายอนุรักษนิยม ก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ
ล่าสุด ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และ ส.ก. ที่ฝ่ายเสรีนิยมชนะแบบถล่มทลาย ก็เป็นตัวชี้วัดถึงความตกต่ำของฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างชัดเจน
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตดังนี้
1) รัฐบาลขาดความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ดูเหมือนว่าบรรดามืออาชีพด้านเศรษฐกิจ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พากันถอยห่างจากฝ่ายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ คือไม่อยากเปลืองตัว จนทำให้นายกรัฐมนตรีที่ไม่เคยมีความรู้ด้านเศรษฐกิจมาก่อนเลย ต้องมาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเอง แสดงว่าหมดท่าแล้วจริงๆ
นักการเมืองรู้ดีว่า แม้พรรคการเมืองจะมีอุดมการณ์อะไร แต่หากแก้ไขปัญหาปากท้องซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดไม่สำเร็จ ก็อย่าหวังเลยว่าจะได้รับความนิยมจากประชาชน และในสภาพเศรษฐกิจโลกที่ย่ำแย่อยู่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่มีคนมีฝีมือด้านเศรษฐกิจ ผลก็คือ เศรษฐกิจในยุคนี้ตกต่ำลงมาก ผู้คนอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทยทำนาย จีดีพีของไทยปีนี้อยู่ที่ 2.2% ขณะที่เวียดนามอยู่ที่ 5 %
นี่จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเสียงสนับสนุนรัฐบาลลดน้อยลงตลอด สังเกตได้จากการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครครั้งนี้ ที่ผู้สมัครฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาล ได้คะแนนเสียงถล่มทลาย
2) ในระบบราชการ ฝ่ายอนุรักษนิยมไม่เปิดโอกาสให้คนมีความสามารถทำงานในตำแหน่งสำคัญที่ให้คุณให้โทษ แต่ใช้เส้นสายผลักดันคนของตัวเองที่ไม่เก่ง แต่พร้อมรับคำสั่งอย่างเดียว ข้ามหัวคนอื่นๆ ขึ้นมามีอำนาจอย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมหน่วยงานนั้นๆ ให้เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตัวเองมากกว่าประโยชน์ของประชาชน
3) ภารกิจของข้าราชการแทบทุกระดับในปัจจุบันต้องเอาใจเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาทุกระดับมากขึ้น เพราะเป็นผู้ให้คุณให้โทษ ให้ตำแหน่ง แทนที่จะดูแลรับใช้ประชาชนผู้เสียภาษี จนข้าราชการจำนวนมากแทบไม่ได้ใช้สติปัญญาอะไร นอกจากทำตามที่นายสั่ง หรือมารอรับนาย มาดูแลนายมากกว่าดูแลประชาชน
นี่จึงไม่น่าแปลกใจว่า เบอร์หนึ่งของแทบทุกกระทรวง อย่างปลัดหรืออธิบดี ไม่ใช่คนเก่งที่สุด แต่เป็นคนของใครมากกว่า เพราะคุณสมบัติความเก่ง ความเป็นมืออาชีพในวงราชการ เดินตามความเป็นเด็กของใครเสมอ
4) ฝ่ายอนุรักษนิยมหวังพึ่งเจ้าสัวที่ผูกขาดไม่กี่คนในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ จนสุดท้ายก็กลายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม ทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมทำได้ยากขึ้น เพราะผลประโยชน์ของพรรคพวกตัวเองต้องมาก่อน และธุรกิจผูกขาดของกลุ่มทุนเหล่านี้ก็ยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับผู้คนในสังคมมากขึ้น
นี่จึงไม่แปลกใจที่จะมีรายงานข่าวว่า เจ้าสัวไม่กี่กลุ่มร่ำรวยมหาศาลแบบก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
5) นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว ฝ่ายอนุรักษนิยมก็ไม่มีคนฉลาด คนเก่ง ด้านอื่นๆ มาร่วมทำงานด้วย ไม่มีใครอยากเปลืองตัว เพราะ รู้ดีว่า “ผนงรจตกม” เราจึงเห็นนักวิชาการฝ่ายอนุรักษนิยมไม่กี่คน ที่ออกโรงเชียร์รัฐบาลมาตลอด โดยนักวิชาการกลุ่มนี้จัดเป็นแถวสอง หากไม่ใช่คนอาวุโสที่ตกยุคแล้ว ก็แทบจะไม่มีผลงานวิชาการโดดเด่นใดๆ
6) บรรดาองครักษ์พิทักษ์นายกฯ ที่ผ่านมา เวลาให้สัมภาษณ์หรือออกมาเคลื่อนไหวใดๆ ก็พอเป็นตัวชี้วัดคุณภาพคนรอบกายได้ว่า ระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร คำถามคือ แล้วคนที่มีความสามารถมีสติปัญญาล้ำลึกที่ควรจะมาเป็นขุนพลข้างกายผู้นำ หายไปไหนกันหมด
7) แนวคิดหลักด้านเศรษฐกิจของฝ่ายอนุรักษนิยมคือการผูกขาด การหาคอนเนคชันหรือเส้นสาย ซึ่งไปด้วยกันไม่ได้กับการสร้างเศรษฐกิจสมัยใหม่ ที่เน้นการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ลดการผูกขาด สร้างความยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำและความเป็นอภิสิทธิ์ชน
8) ที่ผ่านมา ฝ่ายอนุรักษนิยมมีเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงของตัวเอง คือการเข้าสู่อำนาจ การออกกฎหมายที่ฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์ การใช้กฎหมายและกลไกของรัฐปราบปรามฝ่ายอื่นอย่างแข็งกร้าวและพร่ำเพรื่อ แต่เมื่อใช้บ่อยๆ มันก็อาจจะไม่ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป ยิ่งมีการจับกุมคนที่มีความคิดแตกต่างทางการเมืองมากขึ้นอย่างไม่ยุติธรรม คนก็ไม่เกรงกลัวอีกต่อไป และเป็นการผลักให้คนที่อยู่ตรงกลางๆ ถอยห่างจากฝ่ายตัวเองมากขึ้น
9) ตลอดเวลาที่ผ่านมา ฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่ในโลกและวิธีคิดแบบเก่าไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนวิธีการอยู่รอดในสังคมที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าตลอด เชื่อมั่นกับวิธีการเดิมๆ เพิ่มอำนาจตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ และจำกัดอำนาจและเสรีภาพฝ่ายอื่นๆ ลง จนพวกเขาอาจจะไม่เข้าใจว่าทำขนาดนี้แล้ว แต่ทำไมจำนวนประชาชนฝ่ายตัวเองถึงลดถอยลง
10) สุดท้ายหากฝ่ายอนุรักษนิยมไม่ปรับตัว ก็ต้องล่มสลายลงด้วยตัวเอง แต่ก็ไม่แน่ บทเรียนจากประเทศพม่า อาจจะเป็นโมเดลต่อไป หากฝ่ายเสรีนิยมได้รับเสียงข้างมาก มีชนะในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้า มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลได้ ฝ่ายอนุรักษนิยมอาจจะหาสาเหตุทำการรัฐประหารยึดอำนาจเหมือนเดิม โดยไม่สนใจเสียงประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศตัวจริง
คงต้องติดตามดูต่อไปว่ากงล้อประวัติศาสตร์จะหมุนไปอย่างไร
1O1
เป็นเวลา 8 ปีแล้ว ที่บรรดาฝ่ายขวา ฝ่ายอนุรักษนิยม และทหารบางกลุ่มได้จับมือกัน โดยมีเป้าหมายคือการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โค่นล้มรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้ง
หลังจากนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไป แต่ฝ่ายอนุรักษนิยมก็ใช้เล่ห์เหลี่ยมความได้เปรียบให้ตัวเองทุกวิถีทาง ตั้งแต่การแก้กฎหมาย การออกแบบให้วุฒิสมาชิกทั้ง 250 คนมาจากการแต่งตั้ง ต่อมาแม้ผลการเลือกตั้งจะออกมาว่าพรรคฝั่งตรงข้ามได้จำนวนที่นั่งมากเป็นอันดับหนึ่ง ฝ่ายอนุรักษนิยมก็ยังไม่วายใช้กติกาที่คนของตัวเองสร้างขึ้น จัดการให้เกิดบัตรเขย่ง ให้ใบเหลือง-ใบแดง ไปจนถึงการยุบพรรคการเมือง จนในที่สุดฝ่ายอนุรักษนิยมก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และครองอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ข้าราชการเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน
แต่เคยสงสัยไหมว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมที่ยึดครองอำนาจมาได้เกือบสิบปี ทำไมถึงไม่สามารถครองใจประชาชนได้เลย และนับวันจำนวนแนวร่วมฝ่ายอนุรักษนิยม ก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ
ล่าสุด ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และ ส.ก. ที่ฝ่ายเสรีนิยมชนะแบบถล่มทลาย ก็เป็นตัวชี้วัดถึงความตกต่ำของฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างชัดเจน
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตดังนี้
1) รัฐบาลขาดความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ดูเหมือนว่าบรรดามืออาชีพด้านเศรษฐกิจ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พากันถอยห่างจากฝ่ายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ คือไม่อยากเปลืองตัว จนทำให้นายกรัฐมนตรีที่ไม่เคยมีความรู้ด้านเศรษฐกิจมาก่อนเลย ต้องมาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเอง แสดงว่าหมดท่าแล้วจริงๆ
นักการเมืองรู้ดีว่า แม้พรรคการเมืองจะมีอุดมการณ์อะไร แต่หากแก้ไขปัญหาปากท้องซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดไม่สำเร็จ ก็อย่าหวังเลยว่าจะได้รับความนิยมจากประชาชน และในสภาพเศรษฐกิจโลกที่ย่ำแย่อยู่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่มีคนมีฝีมือด้านเศรษฐกิจ ผลก็คือ เศรษฐกิจในยุคนี้ตกต่ำลงมาก ผู้คนอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทยทำนาย จีดีพีของไทยปีนี้อยู่ที่ 2.2% ขณะที่เวียดนามอยู่ที่ 5 %
นี่จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเสียงสนับสนุนรัฐบาลลดน้อยลงตลอด สังเกตได้จากการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครครั้งนี้ ที่ผู้สมัครฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาล ได้คะแนนเสียงถล่มทลาย
2) ในระบบราชการ ฝ่ายอนุรักษนิยมไม่เปิดโอกาสให้คนมีความสามารถทำงานในตำแหน่งสำคัญที่ให้คุณให้โทษ แต่ใช้เส้นสายผลักดันคนของตัวเองที่ไม่เก่ง แต่พร้อมรับคำสั่งอย่างเดียว ข้ามหัวคนอื่นๆ ขึ้นมามีอำนาจอย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมหน่วยงานนั้นๆ ให้เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตัวเองมากกว่าประโยชน์ของประชาชน
3) ภารกิจของข้าราชการแทบทุกระดับในปัจจุบันต้องเอาใจเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาทุกระดับมากขึ้น เพราะเป็นผู้ให้คุณให้โทษ ให้ตำแหน่ง แทนที่จะดูแลรับใช้ประชาชนผู้เสียภาษี จนข้าราชการจำนวนมากแทบไม่ได้ใช้สติปัญญาอะไร นอกจากทำตามที่นายสั่ง หรือมารอรับนาย มาดูแลนายมากกว่าดูแลประชาชน
นี่จึงไม่น่าแปลกใจว่า เบอร์หนึ่งของแทบทุกกระทรวง อย่างปลัดหรืออธิบดี ไม่ใช่คนเก่งที่สุด แต่เป็นคนของใครมากกว่า เพราะคุณสมบัติความเก่ง ความเป็นมืออาชีพในวงราชการ เดินตามความเป็นเด็กของใครเสมอ
4) ฝ่ายอนุรักษนิยมหวังพึ่งเจ้าสัวที่ผูกขาดไม่กี่คนในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ จนสุดท้ายก็กลายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม ทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมทำได้ยากขึ้น เพราะผลประโยชน์ของพรรคพวกตัวเองต้องมาก่อน และธุรกิจผูกขาดของกลุ่มทุนเหล่านี้ก็ยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับผู้คนในสังคมมากขึ้น
นี่จึงไม่แปลกใจที่จะมีรายงานข่าวว่า เจ้าสัวไม่กี่กลุ่มร่ำรวยมหาศาลแบบก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
5) นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว ฝ่ายอนุรักษนิยมก็ไม่มีคนฉลาด คนเก่ง ด้านอื่นๆ มาร่วมทำงานด้วย ไม่มีใครอยากเปลืองตัว เพราะ รู้ดีว่า “ผนงรจตกม” เราจึงเห็นนักวิชาการฝ่ายอนุรักษนิยมไม่กี่คน ที่ออกโรงเชียร์รัฐบาลมาตลอด โดยนักวิชาการกลุ่มนี้จัดเป็นแถวสอง หากไม่ใช่คนอาวุโสที่ตกยุคแล้ว ก็แทบจะไม่มีผลงานวิชาการโดดเด่นใดๆ
6) บรรดาองครักษ์พิทักษ์นายกฯ ที่ผ่านมา เวลาให้สัมภาษณ์หรือออกมาเคลื่อนไหวใดๆ ก็พอเป็นตัวชี้วัดคุณภาพคนรอบกายได้ว่า ระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร คำถามคือ แล้วคนที่มีความสามารถมีสติปัญญาล้ำลึกที่ควรจะมาเป็นขุนพลข้างกายผู้นำ หายไปไหนกันหมด
7) แนวคิดหลักด้านเศรษฐกิจของฝ่ายอนุรักษนิยมคือการผูกขาด การหาคอนเนคชันหรือเส้นสาย ซึ่งไปด้วยกันไม่ได้กับการสร้างเศรษฐกิจสมัยใหม่ ที่เน้นการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ลดการผูกขาด สร้างความยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำและความเป็นอภิสิทธิ์ชน
8) ที่ผ่านมา ฝ่ายอนุรักษนิยมมีเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงของตัวเอง คือการเข้าสู่อำนาจ การออกกฎหมายที่ฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์ การใช้กฎหมายและกลไกของรัฐปราบปรามฝ่ายอื่นอย่างแข็งกร้าวและพร่ำเพรื่อ แต่เมื่อใช้บ่อยๆ มันก็อาจจะไม่ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป ยิ่งมีการจับกุมคนที่มีความคิดแตกต่างทางการเมืองมากขึ้นอย่างไม่ยุติธรรม คนก็ไม่เกรงกลัวอีกต่อไป และเป็นการผลักให้คนที่อยู่ตรงกลางๆ ถอยห่างจากฝ่ายตัวเองมากขึ้น
9) ตลอดเวลาที่ผ่านมา ฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่ในโลกและวิธีคิดแบบเก่าไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนวิธีการอยู่รอดในสังคมที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าตลอด เชื่อมั่นกับวิธีการเดิมๆ เพิ่มอำนาจตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ และจำกัดอำนาจและเสรีภาพฝ่ายอื่นๆ ลง จนพวกเขาอาจจะไม่เข้าใจว่าทำขนาดนี้แล้ว แต่ทำไมจำนวนประชาชนฝ่ายตัวเองถึงลดถอยลง
10) สุดท้ายหากฝ่ายอนุรักษนิยมไม่ปรับตัว ก็ต้องล่มสลายลงด้วยตัวเอง แต่ก็ไม่แน่ บทเรียนจากประเทศพม่า อาจจะเป็นโมเดลต่อไป หากฝ่ายเสรีนิยมได้รับเสียงข้างมาก มีชนะในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้า มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลได้ ฝ่ายอนุรักษนิยมอาจจะหาสาเหตุทำการรัฐประหารยึดอำนาจเหมือนเดิม โดยไม่สนใจเสียงประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศตัวจริง
คงต้องติดตามดูต่อไปว่ากงล้อประวัติศาสตร์จะหมุนไปอย่างไร