BIOTHAI
March 15, 2023
·
ได้ยินได้ฟังการวิเคราะห์ปัญหาฝุ่นพิษมามากแล้ว มาดูว่าเราจะแก้ปัญหาที่เกิดจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ได้อย่างไร ?
การเผาในพื้นที่เกษตรกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นพิษสำคัญในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา เกิดจากการขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดและอ้อยทั้งในประเทศไทยและขยายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่่จุดความร้อนซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาฝุ่นพิษที่เกิดขึ้นมาจากการเผาในพื้นที่เกษตรและป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ โดยประมาณ 1 ใน 3 ถึง ครึ่งหนึ่งของจุดเผาไหม้เกิดจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นสำคัญ
ภาคเหนือได้รับผลกระทบจากการเผาในพื้นที่ข้าวโพด เช่นเดียวกับภาคตะวันตกได้รับผลกระทบจากพื้นที่ปลูกอ้อย
ตัวอย่างเช่น นโยบายเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย โดยการสนับสนุนเงินให้เปล่าแก่เกษตรกรที่เปลี่ยนแปลงการเกษตรรูปแบบอื่นเป็นอ้อย ทั้งแถมเงินกู้ดอกเบี้ยเพียง 0.01% สำหรับอ้อยแปลงใหญ่ ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นถึง 3 ล้านไร่ ระหว่างปี 2557-2562 ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาฝุ่นพิษแพร่กระจายจนกลายเป็นปัญหาในภาคกลางและกรุงเทพมหานครจนมาถึงปัจจุบัน
กลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดอาหารสัตว์และน้ำตาลของไทยยังมีบทบาทสำคัญในการขยายการผลิตและธุรกิจไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เช่น ในปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของพม่า 70% ถูกส่งออกมาป้อนโรงงานอาหารสัตว์ในประเทศไทย บริษัทใหญ่ได้กำไรจากการส่งออกเนื้อสัตว์ แต่ประชาชนไทยได้รับผลพวงจากฝุ่นพิษ
สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องทำมีสองเรื่อง :
ประการแรก คือการแก้ปัญหาต้นตอของฝุ่นพิษที่เกิดในประเทศตนเองก่อน โดยกดดันให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมทั้งสองกลุ่มยุติการสนับสนุนทางอ้อมในการผลิตที่อาศัยการเผาเพื่อความสะดวกในการเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพดและเก็บเกี่ยวอ้อย โดยใช้เงินมหาศาลของรัฐที่อุดหนุนสินค้าเกษตร (ซึ่งเท่ากับเป็นการอุดหนุนอุตสาหกรรมการผลิตพืชเชิงเดี่ยวดังกล่าวในทางหนึ่ง ทั้งนี้ไม่นับระบบการผลิตที่เอาภาระของผู้บริโภคไปสนับสนุนราคาสินค้าเมื่อราคาตลาดโลกตกต่ำไปอุดหนุน)ไปสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืนหรือเปลี่ยนแปลงเป็นการผลิตที่ไม่ต้องเผา ลดการอุดหนุนในรูปแบบต่างๆที่นำไปสู่การขยายพื้นที่ปลูกพืชที่ก่อมลพิษ
ประการที่สอง คือการกดดันให้บริษัทเอกชนของไทยที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และน้ำตาลต้องดำเนินธุรกิจที่ไม่สนับสนุนการเผาทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น โดยการแบนการนำเข้า หรือทบทวนการลดภาษี 0% สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรที่มาจากการผลิตที่ปล่อยฝุ่นพิษจากประเทศเพื่อนบ้าน
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้วิธีการเดียวกันนี้ ในการกดดันบริษัทผู้ผลิตและค้าปาล์มน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติสิงคโปร์ที่ไปลงทุนปลูกและค้าปาล์มน้ำมันในมาเลเซียและอินโดนีเซีย จนสถานการณ์ปัญหาการเผาไหม้เพื่อขยายพื้นที่ปลูกปาล์มเริ่มคลี่คลายลง
การเรียกร้องเกษตรกรรายย่อยให้ยุติการเผาแต่กลับสนับสนุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมให้แก่บริษัทอาหารสัตว์และน้ำตาลยักษ์ใหญ่ไม่มีทางแก้ปัญหาฝุ่นพิษจากภาคเกษตรกรรมได้ เพราะพวกเขาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบอุตสาหกรรมและนโยบายที่รัฐและเอกชนเป็นผู้กำกับและเป็นผู้แสดงมาตั้งแต่ต้น
ที่จริงยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมทั้งสองกลุ่มนี้ทราบดีว่า ไม่ใช่เสียงเรียกร้องในประเทศเท่านั้นที่จะทำให้พวกเขาต้องแสดงความรับผิดชอบ แต่แรงกดดันในระหว่างประเทศจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นจากที่มีมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการปลูกปาล์มที่ทำลายพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน กรณีวัตถุดิบอาหารสัตว์จากประมงแบบทำลายล้าง การสัมปทานปลูกอ้อยในเพื่อนบ้านที่เกิดปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน จะเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
https://www.facebook.com/photo/?fbid=6268466863191782&set=a.467826533255873
...
Thanapol Eawsakul
21 hours ago
·
พยากรณ์คุณภาพอากาศนนทบุรี
ตั้งแต่ตอนนี้ ไปจนถึงตอนค่ำ
คาดว่าคุณภาพอากาศจะดีขึ้น
แต่ไม่ได้เกี่ยวผลงานอะไรของรัฐบาล
เป็นธรรมชาติล้วนๆ
ประเทศนี้อยู่ตามยถากรรมจริงๆ