วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2567

ก.พลังงานสร้างได้เอง อุปกรณ์ ‘โซลาร์รู้ฟท้อป’ ปีหน้าออกขายประชาชนราคาถูก แต่ว่าโครงการรับซื้อ ‘โซลาร์ประชาชน’ เท่าจิ๋มแมวแค่ 90 MW ‘โซลาร์ฟาร์ม’ ได้มากกว่าหลายพันเท่า

นี่น่าจะอ้างเป็นผลงาน เอามาคุยได้ กระทรวงพลังงานในกำกับ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคที่ ทักษิณ บอกว่าไม่ใช่พวกรัฐประหารเพราะหัวเดิมไม่อยู่แล้ว สามารถผลิตอุปกรณ์โซลาร์ เตรียมออกขายราคาถูก

ทั่น รมว.ไปตรวจราชการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอีเล็คทรอนิคส์ บอก ถึงแม้กระทรวงพลังงานจะพยายามตรึงค่าไฟไว้ที่ระดับ ๔.๑๘ บาท โดยไม่ได้ขยับขึ้นมาตลอด แต่เข้าใจว่าปัญหาค่าไฟก็ยังเป็นภาระของพี่น้องประชาชนอยู่”

ดังนั้นจึงต้องผลักดันให้ชาวบ้านใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผ่านแผ่นโซลาร์บนหลังคากันมากๆ หน้าที่สำคัญของกระทรวงนอกจากปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แล้วก็เป็นการจัดหาอุปกรณ์ผลิตให้แก่ประชาชนในราคาถูก

บัดนี้กระทรวงพลังงานได้ผลิตต้นแบบของเครื่องอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้สำเร็จแล้ว ปีหน้าจะนำออกขายแก่ประชาชนในราคาถูก อุปกรณ์ดังกล่าวมาจากการคิดค้นของ ครูน้อยนายทวีชัย ไกรดวง

ตั้งแต่ปี ๖๕ เป็นต้นมา “ถ้าประชาชนติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านตัวเอง (Solar Rooftop) นอกจากจะช่วยลดค่าไฟและช่วยลดสภาวะโลกร้อนแล้ว ยังสามารถขายไฟคืนให้รัฐได้” เรียกโครงการนี้ว่า โซลาร์ประชาชนทำให้มีคนเข้าร่วมโครงการกันมาก

แต่รัฐบาลที่ผ่านมา อนุมัติปริมาณรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาประชาชนเพียงแค่ 90 MW จึงมีคนร่วมโครงการเต็มพิกัดตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๗ รัฐบาลแทนที่จะขยายโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์มากขึ้น กลับไปขยายการรับซื้อเพิ่มจากนายทุนแทน

เดือนกันยานี้เอง รัฐบาลแพทองธาร ประกาศรับซื้อพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์จาก โซลาร์ฟาร์ม เพิ่มขึ้นถึง 2,600 MW อันเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,600 MW ว่าที่จริงความลำเอียงมีมาตั้งแต่ปี ๖๕ โน่นแล้ว

ในปี ๖๕ มีโครงการรับซื้อพลังงานหมุนเวียน 5,200 MW ที่รับซื้อเพิ่มจากโซลาร์ฟาร์มของนายทุนไปแล้ว 3,400 MW และการรับซื้อแบบนี้ไม่โปร่งใส ไม่มีการประมูล ไม่ประกาศหลักเกณฑ์คำนวณคะแนนคัดเลือก “สามารถล็อคผู้ชนะ...ล็อคโควต้าได้”

อีกทั้งมีความเหลื่อมล้ำระหว่างการรับซื้อจากครัวเรือน หรือระบบ โซลาร์รู้ฟท้อป’ แต่ว่าโครงการรับซื้อพลังงาน กับโซลาร์ฟาร์ม แม้ราคาจะเท่ากันที่ ๒.๒ บาทต่อหน่วย แต่ขนาดกำลังการผลิตนั้นแตกต่างกันมาก เมื่อ “Solar Rooftop ต้องมีขนาดไม่เกิน 10 KW (0.01 MW)

ทว่า Solar Farm มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 90 MW” ซ้ำ “ระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า Solar Rooftop เพียงแค่ ๑๐ ปี แต่ Solar Farm มีระยะเวลารับซื้อถึง ๒๕ ปี”

(https://x.com/woraphopv/status/1858121737504006587?s และ https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1154577)