วันเสาร์, พฤศจิกายน 16, 2567
ประเพณียี่เป็ง (ที่ถูกทำให้ลืม) คนละอย่างกับเทศกาลลอยกระทง บังเอิญมาตรงกันที่ขึ้น 15 ค่ำเดือนยี่ 2 รัฐที่มีประเพณีคนละอย่าง แต่เมื่อรัฐหนึ่งตกเป็นเมืองขึ้นอีกรัฐหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงแบบระดมรุกๆๆๆๆเข้ามาจึงเกิดขึ้น และแล้วในที่สุดยอดผลก็คือ คนในล้านนาน้อยลงๆๆๆรู้เรื่องประเพณีดั้งเดิมของเขาเอง
Lanner
1d ·
[Repost] “ประเพณีลอยกระทง” ของคนไทยในภาคกลาง และ “ประเพณียี่เป็ง” ของคนล้านนาในภาคเหนือนั้น หากนับตามวันและเวลาของปฏิทินจันทรคติแล้วพบว่า น่าจะเป็น “คนละประเพณีที่บังเอิญมาตรงอยู่กับวันเดียวกัน” สิ่งที่กล่าวมานี้ อาจคงเป็นที่ฉงนสนเท่ห์ใจสำหรับใครอยู่ไม่มากก็น้อยและความต่างที่ว่านี้ก็คงไม่ได้วางอยู่บนนัยยะทางภาษาที่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด ข้อเขียนต่อไปในเดือนแห่งเทศกาลทั้งสองที่ว่านี้ จึงมุ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในเรื่องหัวใจสำคัญ ตลอดจนรายละเอียดของประเพณีหรือพิธีกรรมเพื่อเป็นบททดลองนำเสนอเล่นๆ ให้เห็นว่าความรู้ว่าด้วยเทศกาลงานประเพณียี่เป็งของคนล้านนาที่มีมาแต่เดิมนั้น ได้ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ของความหมาย (Relocate of meaning) ให้เกิดการพร่าเลือนลงของทั้งความรับรู้และความรู้ที่มีต่อ “ยี่เป็ง” ดังกล่าวผ่านอำนาจนำของระบบการสื่อสารมวลชน ระบบการศึกษาและวัฒนธรรมต่างๆ จาก “รัฐกรุงเทพ” ให้ถูกแทนที่ด้วย “ลอยกระทง” ของคนไทยในภาคกลาง อย่างไรบ้าง
.
ย้อนกลับไปในเกร็ดเก่าเล่าตำนานคู่แผ่นดินล้านนา ดินแดนแถบนี้มีการใช้ระบบปฏิทินแบบจันทรคติที่นับเวลาล่วงหน้าเร็วกว่าเดือนของทางภาคกลางถึงสองเดือนด้วยกันซึ่งทำให้ “ยี่เป็ง” หรือวันเพ็ญ 15 ค่ำของเดือนยี่ มีขึ้นในเดือนที่สองของล้านนา (ยี่ คือ การนับเลขแบบในภาษาล้านนาโบราณที่แปลว่า 2) โดยมูลเหตุดังกล่าวสามารถเล่าคร่าวๆ ผ่านตำนานพื้นถิ่นล้านนาที่ว่าด้วย “การเลื่อนเดือน” ให้เคลื่อนไปข้างหน้าของพระนางจามเทวีกษัตรีย์แห่งนครหริภูญชัย (ลำพูน) ให้เกิดเป็นกุศโลบายทางการเมืองโดยกล่าวกันว่า พระนางผู้ซึ่งเป็นธิดาของกษัตริย์รัฐละโว้เมืองใต้นั้น ไม่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเสกสมรสร่วมกับขุนหลวงวิลังคะผู้เป็นเจ้าแผ่นดินถิ่น พิงครัฐผู้ถูกมองว่าเป็นอารยชนคนมิลักขะแถบนี้ที่ยังไม่รู้จักระบบปฏิทินไว้นับวันเดือนปี ยิ่งไปกว่านั้น เกร็ดเก่าเล่าตำนานที่ว่านี้ ยังสื่อและแทรกความระหว่างบรรทัดให้สามารถตีความได้ถึงยุคสมัยในการแผ่กระจายเข้ามาของภูมิปัญญาความรู้เกี่ยวกับระบบการนับวันเดือนปีแบบจันทรคติจากอารยธรรมมอญ-ขะแมร์แห่งรัฐละโว้แห่งพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาที่เคลื่อนเข้ามาสู่ดินแดนที่ราบลุ่มลำน้ำปิงแถบนี้ได้เป็นอย่างดี
.
อ่าน “วันยี่เป็ง” กับ “วันเพ็ญเดือนสิบสอง” ความต่างที่ถูก (ทำให้) ลืม!!! ในรูปแบบเว็บไซต์ ได้ที่ (https://www.lannernews.com/20112566-01/)
.
เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง
.....
ธเนศวร์ เจริญเมือง
18h ·
ประเพณียี่เป็งคนละอย่างกับเทศกาลลอยกระทง
บังเอิญมาตรงกันที่ขึ้น 15 ค่ำเดือนยี่
2 รัฐที่มีประเพณีคนละอย่าง แต่เมื่อรัฐหนึ่งตกเป็นเมืองขึ้นอีกรัฐหนึ่ง
การเปลี่ยนแปลงแบบระดมรุกๆๆๆๆเข้ามาจึงเกิดขึ้น
และแล้วในที่สุดยอดผลก็คือ คนในล้านนาน้อยลงๆๆๆรู้เรื่องประเพณีดั้งเดิมของเขาเอง
แต่เกือบทั้งหมดเข้าใจว่าล้านนากับสยามนั้น อะไรๆๆๆๆๆก็เหมือนกันทั้งนั้น
เพราะคิดว่าเป็นรัฐเดียวกันตลอดมานั่นเอง