(จากซ้าย) ภาณุพงศ์ จาดนอก, พริษฐ์ ชิวารักษ์, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ อานนท์ นำภา ทั้งหมดเคยเป็นแกนนำการชุมนุมเมื่อ 4 ปีก่อน และยังเผชิญกับคดีมากมายจนถึงตอนนี้
จิราภรณ์ ศรีแจ่ม
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
14 พฤศจิกายน 2024
การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา ในช่วงปี 2563-2564 ถือเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์การชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดของไทย นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารปี 2557
แต่จนถึงตอนนี้ แกนนำจำนวนมากกำลังเผชิญคดีทางการเมือง และอย่างน้อย 37 คนอยู่ระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ ขณะที่บางส่วนเลือกเดินทางออกนอกประเทศหรือลี้ภัยทางการเมืองในประเทศอื่น โดยพวกเขาส่วนหนึ่งให้คำนิยามว่าสถานการณ์นักโทษทางการเมืองยังไม่ดีขึ้น แม้ไทยผ่านการเลือกตั้งทั่วไปมาแล้วปีกว่า และมีรัฐบาลพลเรือนแล้วก็ตาม
บีบีซีไทยสำรวจว่า 4 ปีผ่านไป แกนนำการชุมนุมของคนรุ่นใหม่ต่างแตกฉานซ่านเซ็นอยู่ที่ใด และพวกเขามีความคาดหวังเช่นไรต่อประเด็นการนิรโทษกรรม
“ไมค์ ระยอง” เริ่มต้นชีวิตใหม่ในแคนาดา
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
14 พฤศจิกายน 2024
การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา ในช่วงปี 2563-2564 ถือเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์การชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดของไทย นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารปี 2557
แต่จนถึงตอนนี้ แกนนำจำนวนมากกำลังเผชิญคดีทางการเมือง และอย่างน้อย 37 คนอยู่ระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ ขณะที่บางส่วนเลือกเดินทางออกนอกประเทศหรือลี้ภัยทางการเมืองในประเทศอื่น โดยพวกเขาส่วนหนึ่งให้คำนิยามว่าสถานการณ์นักโทษทางการเมืองยังไม่ดีขึ้น แม้ไทยผ่านการเลือกตั้งทั่วไปมาแล้วปีกว่า และมีรัฐบาลพลเรือนแล้วก็ตาม
บีบีซีไทยสำรวจว่า 4 ปีผ่านไป แกนนำการชุมนุมของคนรุ่นใหม่ต่างแตกฉานซ่านเซ็นอยู่ที่ใด และพวกเขามีความคาดหวังเช่นไรต่อประเด็นการนิรโทษกรรม
“ไมค์ ระยอง” เริ่มต้นชีวิตใหม่ในแคนาดา
ภาณุพงศ์ จาดนอก (มะณีวงษ์) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ไมค์ ระยอง” ครั้งหนึ่งเคยเป็นแกนนำการประท้วงในนามกลุ่มราษฎรช่วงปี 2563-2564 จากนั้นตกเป็นผู้ต้องหาคดี ม.112 รวมถึงคดีอื่น ๆ ทั้งหมด 43 คดี เขาให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยจากแคนาดาผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยเสื้อไหมพรมสีน้ำตาลและท่าทีที่ค่อนข้างดูผ่อนคลาย
เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา เขาถูกศาลอาญารัชดาออกหมายจับ เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วว่าไมค์ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาคดีละเมิด ม.112 และละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ในครั้งนั้น เขาโต้ตอบศาลด้วยการโพสต์เฟซบุ๊กว่า “...คุกเคยเข้าแล้ว แต่ขอเลือกวันเข้าด้วยตัวเอง...”
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ ภาณุพงศ์ขอสงวนไม่บอกข้อมูลการเดินทางจากไทยไปยังประเทศทางอเมริกาเหนือ แต่บอกว่าเพิ่งมาถึงที่นี่ได้ไม่นานและอยู่ระหว่างการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ในฐานะผู้อยู่อาศัยถาวร (Permanent Residence)
“ผมประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงกับตัวเองเยอะมาก ว่าจะไปเจออะไรบ้างในทางข้างหน้า” เขาเล่าย้อนกลับไปช่วงเดินทางออกจากประเทศไทย
“ก่อนที่ผมจะออกมา ผมมีความหวั่นใจพอสมควรว่าจะถูกอุ้มหาย จากกระบวนการที่เราทราบกันดีว่ามันเคยเกิดขึ้นกับนักกิจกรรมไทยหลาย ๆ คน หลาย ๆ ท่าน ก็เลยมีการเตรียมพร้อมกับตัวเองในการบันทึกวิดีโอไว้ แล้วสั่งเสียกับคนสนิทไว้ว่าหากวันหนึ่งไม่สามารถติดต่อได้ ให้รู้เลยว่าเราถูกอุ้มหายไปแล้ว”ภาณุพงศ์เผชิญหน้ากับตำรวจในการชุมนุมประท้วง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน้ากระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564
ภาณุพงศ์เผชิญหน้ากับตำรวจในการชุมนุมประท้วง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน้ากระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564
เขาบอกว่าได้บันทึกวิดีโอสั่งลาไว้หลายอัน ไม่ว่าจะเป็นการบอกลาแม่ มวลชน คนที่รักเคารพนับถือ หรือแม้กระทั่งตัวเอง รวมถึงวางแผนบันทึกนาทีสุดท้ายของชีวิต หากเกิดเหตุร้ายขึ้นกับตัวเองขณะเดินทางไปยังประเทศแคนาดา
“ก็อยากจะทําทุกอย่างให้มีหลักฐานกับตัวเองหรือเพื่อที่จะชี้ตัวฆาตกร ถ้าสมมติว่ามันเป็นวินาทีสุดท้ายของชีวิต มันก็ต้องเป็นประโยชน์กับใครหลาย ๆ คนที่เขายังสู้อยู่หรือได้เสียชีวิตไปแล้ว”
“ไมค์มีสมบัติชิ้นสุดท้ายในชีวิตตัวเองก็คือแม่ แม่ผมก็อายุ 60 ปีแล้ว ก็เลยตัดสินใจย้ายถิ่นฐานออกมาจากประเทศไทย เพื่อความสบายใจของคนรอบข้าง” เขาตอบ เมื่อบีบีซีไทยสอบถามถึงเหตุผลการเดินทางออกนอกประเทศในครั้งนี้
เขากล่าวต่อว่าในวันที่ม็อบซาลง ตัวเองได้หันมามองคนรอบข้าง และพบว่าแม่ทุกข์ใจอย่างหนักเมื่อต้องเห็นลูกชายถูกดำเนินคดีจำนวนมากจากการแสดงออกทางการเมืองและไม่มั่นใจว่ากระบวนการยุติธรรมจะให้ความยุติธรรมได้ รวมถึงไม่สามารถทำใจได้หากต้องเห็นลูกชายกลับไปอยู่ในเรือนจำจนกระทั่งบั้นปลายชีวิตของผู้เป็นแม่
“พูดแบบภาษาชาวบ้าน ถ้าวันที่แม่ตาย แล้วเราอยู่ในคุกเนี่ย เราจะได้ลาแม่ไหม ? เทียบกับการไปอยู่ต่างประเทศ เรายังได้อยู่กับแม่ในวินาทีสุดท้ายถึงจะผ่านโทรศัพท์ก็ตาม”
เมื่อสอบถามว่าเหตุใดจึงมานึกถึงคนรอบข้างในตอนนี้ ภาณุพงศ์ยืนยันว่าตนเอง “ไม่ได้ต้องการจะหนี” ที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของเขาและเพื่อน ๆ ก็เป็นการเรียกร้องรัฐสวัสดิการให้มวลชนและคนรอบตัวมาโดยตลอด ใช่ว่าเป็นการเรียกร้องให้ตนเองได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว
“การตัดสินใจครั้งนี้มันยากมาก ๆ แต่เมื่อเห็นรอยยิ้มของแม่ตอนที่บอกว่าตัดสินใจจะทำอะไร ก็รู้สึกว่า ตัดสินใจถูกแล้ว นี่เป็นสมบัติชิ้นเดียวที่อยากรักษาไว้” ไมค์ในวัย 28 ปี กล่าว
“เราไม่ได้มีใจที่จะมาสุขสบายแล้วเห็นเพื่อนอยู่ในความลำบาก แต่ถ้าเราไม่ตัดสินใจแบบนี้ คนที่ลำบากมากที่สุดคือแม่ของเรา คนรอบข้างของเราที่เขาจะต้องทนทุกข์กับการที่เห็นเราผ่านกระจกใส ๆ มองตากัน น้ำตาก็ไหลอยู่ตลอดเวลา นั่นคือความเจ็บปวด นั่นคือความจำเป็นที่เราตัดสินใจแบบนี้”
ยืนยันว่าหากย้อนเวลากลับไป ก็เคลื่อนไหวเช่นเดิม
“ก็อยากจะทําทุกอย่างให้มีหลักฐานกับตัวเองหรือเพื่อที่จะชี้ตัวฆาตกร ถ้าสมมติว่ามันเป็นวินาทีสุดท้ายของชีวิต มันก็ต้องเป็นประโยชน์กับใครหลาย ๆ คนที่เขายังสู้อยู่หรือได้เสียชีวิตไปแล้ว”
“ไมค์มีสมบัติชิ้นสุดท้ายในชีวิตตัวเองก็คือแม่ แม่ผมก็อายุ 60 ปีแล้ว ก็เลยตัดสินใจย้ายถิ่นฐานออกมาจากประเทศไทย เพื่อความสบายใจของคนรอบข้าง” เขาตอบ เมื่อบีบีซีไทยสอบถามถึงเหตุผลการเดินทางออกนอกประเทศในครั้งนี้
เขากล่าวต่อว่าในวันที่ม็อบซาลง ตัวเองได้หันมามองคนรอบข้าง และพบว่าแม่ทุกข์ใจอย่างหนักเมื่อต้องเห็นลูกชายถูกดำเนินคดีจำนวนมากจากการแสดงออกทางการเมืองและไม่มั่นใจว่ากระบวนการยุติธรรมจะให้ความยุติธรรมได้ รวมถึงไม่สามารถทำใจได้หากต้องเห็นลูกชายกลับไปอยู่ในเรือนจำจนกระทั่งบั้นปลายชีวิตของผู้เป็นแม่
“พูดแบบภาษาชาวบ้าน ถ้าวันที่แม่ตาย แล้วเราอยู่ในคุกเนี่ย เราจะได้ลาแม่ไหม ? เทียบกับการไปอยู่ต่างประเทศ เรายังได้อยู่กับแม่ในวินาทีสุดท้ายถึงจะผ่านโทรศัพท์ก็ตาม”
เมื่อสอบถามว่าเหตุใดจึงมานึกถึงคนรอบข้างในตอนนี้ ภาณุพงศ์ยืนยันว่าตนเอง “ไม่ได้ต้องการจะหนี” ที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของเขาและเพื่อน ๆ ก็เป็นการเรียกร้องรัฐสวัสดิการให้มวลชนและคนรอบตัวมาโดยตลอด ใช่ว่าเป็นการเรียกร้องให้ตนเองได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว
“การตัดสินใจครั้งนี้มันยากมาก ๆ แต่เมื่อเห็นรอยยิ้มของแม่ตอนที่บอกว่าตัดสินใจจะทำอะไร ก็รู้สึกว่า ตัดสินใจถูกแล้ว นี่เป็นสมบัติชิ้นเดียวที่อยากรักษาไว้” ไมค์ในวัย 28 ปี กล่าว
“เราไม่ได้มีใจที่จะมาสุขสบายแล้วเห็นเพื่อนอยู่ในความลำบาก แต่ถ้าเราไม่ตัดสินใจแบบนี้ คนที่ลำบากมากที่สุดคือแม่ของเรา คนรอบข้างของเราที่เขาจะต้องทนทุกข์กับการที่เห็นเราผ่านกระจกใส ๆ มองตากัน น้ำตาก็ไหลอยู่ตลอดเวลา นั่นคือความเจ็บปวด นั่นคือความจำเป็นที่เราตัดสินใจแบบนี้”
ยืนยันว่าหากย้อนเวลากลับไป ก็เคลื่อนไหวเช่นเดิม
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้รับการประกันตัวชั่วคราว และมีคดีติดตัวมากกว่า 20 คดีจากการชุมนุม
“สำหรับเราก็เคยมีคิดบ้างว่าใน alternative life จะมีชีวิตแบบไหนนะ ถ้าชีวิตฉันไม่เป็นแบบนี้ แล้วมันจะเป็นอย่างไรนะ” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง วัย 26 ปี จากแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ผู้มีคดี 112 และอื่น ๆ รวมกัน 23 คดีติดตัว กล่าวกับบีบีซีไทย
ทุกคนจดจำผู้หญิงคนนี้ได้จากการประกาศข้อเรียกร้องทะลุเพดาน 10 ข้อ ระหว่างการปราศรัยในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อปี 2563
ปัจจุบันเธอเป็นนักศึกษาปริญญาโท สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ด้วยความตั้งใจจะหาเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆ เพื่อสานต่อความเคลื่อนไหวของเธอและเพื่อน ๆ เมื่อหลายปีก่อน เนื่องจากในตอนนี้การเคลื่อนไหวเช่นเดิมทำได้ยากขึ้น ด้วยเงื่อนไขการให้ประกันตัวต่าง ๆ ของศาล รวมถึงบรรยากาศการเมืองของมวลชน
“พอได้มาเรียนมหิดลแล้วมันก็จี๊ดใจ เพราะส่วนตัวเลยอยากเรียนดุริยางคศิลป์เพราะเล่นดนตรีมาก่อน” เธอกล่าวยิ้ม ๆ
“ย้อนกลับไปถามตัวเองว่าทำไมเลือกทางนี้ ก็ไม่ได้รู้สึกเสียดายหรือเสียใจ แต่อาจมาคิดบ้างในลักษณะแวบคิดเล่น ๆ เพราะช่วงที่ผ่านมานี้มีความเครียดสะสมจากการเคลื่อนไหวตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รวมถึงคดีความต่าง ๆ แต่กลับมาปัจจุบันว่าชีวิตเราเป็นอย่างนี้ แล้วเราเสียใจไหมที่รุ้งในวันนั้นทำให้รุ้งเป็นอย่างนี้ในวันนี้ ก็ไม่นะ เราค่อนข้างชอบตัวเองในตอนนั้นทีเดียว อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นมันย่อมดีอยู่แล้ว ไม่ควรคิดว่าจะกลับไปแก้ไขอะไร แต่คิดไปข้างหน้าว่าเราจะเดินหน้าต่ออย่างไร นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คิดเรียนต่อ ป.โท” ปนัสยา กล่าว
เมื่อสอบถามว่าเหตุใดเธอจึงเลือกเผชิญหน้าคดีความต่าง ๆ อยู่ในประเทศไทย เธอหัวเราะแล้วบอกว่า หากตอบเอาขำ ๆ ก็คงเป็นเพราะทิ้งแมวและหนูแกสบี้ไม่ได้เลยสักตัว แต่เหตุผลจริง ๆ คือรู้สึกว่าพ่อแม่เริ่มมีอายุมากขึ้นแล้ว จึงไม่อยากอยู่ห่างจากพวกเขาไป แต่เธอเข้าใจเพื่อนคนอื่น ๆ ที่ตัดสินใจเลือกเดินทางออกนอกประเทศในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นไมค์ หรือ เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำการชุมนุมที่มีคดีความมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันได้ทุนศึกษาต่อในต่างประเทศและไม่ได้อยู่ในประเทศไทยแล้ว ท่ามกลางหมายจับและคดีความต่าง ๆ มากมาย
“เรารู้อยู่แก่ใจว่าไม่ว่าใครจะเลือกทางไหน ความคิด อุดมการณ์ที่เราเคยมีร่วมกัน มันยังคงมีอยู่ อยู่ที่ไหนก็ขับเคลื่อนได้ทั้งนั้น เอาที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัยและดำเนินชีวิตต่อได้ การเคลื่อนไหวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ละคนก็มีหน้าที่อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ลูก หน้าที่การเป็นนักเรียน เป็นน้องของใครสักคน หรือเป็นเจ้าของแมวบางตัว”
ขณะที่ไมค์บอกว่า หากย้อนเวลากลับไปได้ เขาก็ยังยืนยันว่าจะเคลื่อนไหวเช่นเดิม
“นักกิจกรรมทุกคนรับรู้ความเสี่ยงว่ามีต้นทุนที่ต้องจ่าย ทุกคนทราบดีว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้าง แต่สิ่งสําคัญที่สุดคือ หากวันนี้เราไม่เริ่มต้นกับการต่อสู้ แล้วเมื่อไหร่การเปลี่ยนแปลงมันจะเกิดขึ้น”
เขาบอกด้วยว่าการเคลื่อนไหวในช่วงที่ผ่านมาได้ทำให้ผู้คนกล้าวิพากษ์สถาบันมากขึ้น รวมถึงตระหนักในเรื่องสิทธิและเสรีภาพด้านต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งเขามองว่าเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่ง แม้ยังไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเชิงโครงสร้างก็ตาม
การเคลื่อนไหวของม็อบคนรุ่นใหม่ สูญเปล่าหรือไม่ ?
ผู้ประท้วงเดินขบวนพร้อมเป็ดยางเป่าลมระหว่างการชุมนุมประท้วงรัฐบาลหน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563
“จะเรียกว่าสูญเปล่ามันก็คงไม่ได้ แต่อยากจะเรียกว่ามันได้ส่งมรดกที่สำคัญให้กับการเมืองไทย” รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวกับบีบีซีไทยและบอกว่า สิ่งที่เขาเห็นช่วงก่อนการเลือกตั้งเดือน พ.ค. 2566 คือพรรคการเมืองต่าง ๆ สืบทอดหรือรับลูกการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในปี 2563-2564
ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด พรรคการเมืองหลายพรรคหาเสียงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ปิดสวิตช์ สว. และระบอบประยุทธ์ รวมถึงเสนอแก้ไขมาตรา 112 เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งสอดคล้องกับ 3 ข้อเรียกร้องหลักของผู้ชุมนุมที่ขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกและยุบสภา ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และร่างรัฐธรรมนูญใหม่
นอกจากนี้ นี่ยังถือเป็นครั้งแรกที่เห็นนโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน หลังสิ่งที่ ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ จากธรรมศาสตร์เรียกว่า “ฉันทมติภูมิพล (the Bhumibol consensus)” เริ่มสั่นคลอนลง เมื่อเกิดการเปลี่ยนผลัดรัชสมัย
“ความสั่นคลอนที่สั่งสมมาทำให้เกิดการตั้งคำถามระหว่างสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับประชาชนมากขึ้นเรื่อย ๆ” รศ.ดร.ยุกติ ระบุ
“จะเรียกว่าสูญเปล่ามันก็คงไม่ได้ แต่อยากจะเรียกว่ามันได้ส่งมรดกที่สำคัญให้กับการเมืองไทย” รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวกับบีบีซีไทยและบอกว่า สิ่งที่เขาเห็นช่วงก่อนการเลือกตั้งเดือน พ.ค. 2566 คือพรรคการเมืองต่าง ๆ สืบทอดหรือรับลูกการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในปี 2563-2564
ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด พรรคการเมืองหลายพรรคหาเสียงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ปิดสวิตช์ สว. และระบอบประยุทธ์ รวมถึงเสนอแก้ไขมาตรา 112 เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งสอดคล้องกับ 3 ข้อเรียกร้องหลักของผู้ชุมนุมที่ขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกและยุบสภา ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และร่างรัฐธรรมนูญใหม่
นอกจากนี้ นี่ยังถือเป็นครั้งแรกที่เห็นนโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน หลังสิ่งที่ ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ จากธรรมศาสตร์เรียกว่า “ฉันทมติภูมิพล (the Bhumibol consensus)” เริ่มสั่นคลอนลง เมื่อเกิดการเปลี่ยนผลัดรัชสมัย
“ความสั่นคลอนที่สั่งสมมาทำให้เกิดการตั้งคำถามระหว่างสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับประชาชนมากขึ้นเรื่อย ๆ” รศ.ดร.ยุกติ ระบุ
รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
เขามองว่าการรัฐประหาร 2 ครั้งล่าสุดนั้น หากกลับไปอ่านคำประกาศของคณะรัฐประหารก็จะพบว่าหนึ่งในเหตุผลสำคัญของการลงมือกระทำการยึดอำนาจคือการอ้างว่า เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
“โดยเฉพาะการรัฐประหารปี 2557 ที่นำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้นำความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือการสถาปนาอำนาจของพระมหากษัตริย์ในลักษณะที่ผมคิดว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันฯ กับประชาชนในลักษณะใหม่ ในลักษณะที่พระมหากษัตริย์มีความเป็นอิสระหรือมีความเป็นเอกชนมากขึ้น ทั้งจากสถานะเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติอย่างชัดเจน มีความเป็นหน่วยงานของรัฐมากขึ้น อย่างเมื่อก่อนการจะทำอะไรก็ต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการ แต่ในตอนนี้เราเห็นพระบรมราชโองการจำนวนมากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยที่ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ”
อาจารย์ด้านสังคมวิทยาอธิบายเพิ่มเติมว่า ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือผู้รับผิดชอบ การไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทำให้เกิดความเสี่ยงว่าหากพระบรมราชโองการไปก่อความเสียหายต่อประชาชน แล้วกลายเป็นว่าพระมหากษัตริย์จะกระทำการบางอย่างที่พระองค์ทรงต้องรับผิดชอบเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะที่ละเมิดมิได้ ถูกฟ้องร้องมิได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการ The king can do no wrong ที่หมายถึงพระมหากษัตริย์ไม่ทรงทำอะไรผิด เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ทรงทำอะไรเลย ดังนั้นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจึงเป็นผู้ต้องรับผิดชอบ
พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งปี 2566 แต่จัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ
รศ.ดร.ยุกติ กล่าวว่า หากพิจารณาผลการเลือกตั้งปี 2566 ซึ่งพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง ได้สะท้อนแล้วว่าประชาชนจำนวนมากต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง โดยส่วนหนึ่งผ่านการสั่งสมตั้งแต่ความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงมาจนกระทั่งความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในช่วง 4 ปีก่อน ซึ่งเขามองว่าอิทธิพลทางความคิดเหล่านี้ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
31 ม.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของพรรคก้าวไกลในการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่งยุติการกระทำ ซึ่งนำไปสู่คำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลเมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา ใน “คดีล้มล้างการปกครอง”
“ผมคิดว่าสิ่งนี้ทำให้เราเห็นการยุบพรรคเพื่อปกป้องสถาบันฯ ซึ่งสอดคล้องกับการรัฐประหารในช่วง 2 ครั้งหลังที่ผ่านมา มันทำให้เห็นความพยายามของชนชั้นนำไทยที่พยายามขีดเส้นความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันฯ กับประชาชนแบบใหม่ โดยชนชั้นนำที่นำโดยทหารและองค์กรอิสระได้สร้างขีดเส้นความสัมพันธ์แบบใหม่ ที่ทำให้สถาบันฯ ก้าวล้ำเข้ามาในพื้นที่การเมืองของภาคประชาชนมากยิ่งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาได้เพิ่มอำนาจให้กับองค์กรอิสระ ทำให้องค์กรอิสระหลุดลอยออกไปจากอำนาจของประชาชนมากขึ้นเรื่อย ๆ และถึงตอนนี้เอง องค์กรอิสระก็ยังเป็นมรดกของคณะรัฐประหารอยู่ ดังนั้นอำนาจเผด็จการจึงฝังตัวอย่างถูกต้องตามกฎหมายในการเมืองไทย” อาจารย์จาก มธ. กล่าว
เขาตั้งข้อสังเกตด้วยว่ากลุ่มชนชั้นนำพยายามสร้างบรรยากาศการเมืองไทยให้ย้อนกลับไปราวปี 2520 ที่พรรคขนาดกลางมีอำนาจต่อรองค่อนข้างสูง เนื่องจากพรรคขนาดใหญ่ไม่ได้คุมอำนาจในรัฐสภาได้เบ็ดเสร็จ เช่น พรรคเพื่อไทยในขณะนี้ที่ตั้งรัฐบาลผสม ขณะที่พรรคก้าวไกลซึ่งถูกยุบไปนั้นได้เกิดใหม่เป็นพรรคประชาชนและกลายเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้านที่ยังเผชิญมรสุมคดีทางการเมือง
“ผู้มีอำนาจนำพยายามเป็นลูกพี่ใหญ่และเป็นพี่เลี้ยงทางการเมือง โดยสร้างสภาวการณ์ให้เกิดการแก่งแย่งชิงดีกัน และไม่สามารถให้ใครเข้ามาเป็นผู้มีอำนาจนำได้ พอเกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 มันเกิดฉันทานุมัติใหม่ แต่ฉันทานุมัตินั้นกลับถูกล้มโดยการรัฐประหารปี 2549 และชัดที่สุดคือการรัฐประหารปี 2557 ดังนั้นทั้งจากรัฐธรรมนูญปี 2560 กลไกการเลือกตั้ง อำนาจ สว. และอำนาจขององค์กรอิสระ มันทำให้อำนาจทางการเมืองไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะต่อรองอะไรได้” รศ.ดร.ยุกติ ระบุ
4 ปีผ่านไป แกนนำการชุมนุมของคนรุ่นใหม่ แตกฉานซ่านเซ็นอยู่ที่ใด ?
รศ.ดร.ยุกติ กล่าวว่า หากพิจารณาผลการเลือกตั้งปี 2566 ซึ่งพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง ได้สะท้อนแล้วว่าประชาชนจำนวนมากต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง โดยส่วนหนึ่งผ่านการสั่งสมตั้งแต่ความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงมาจนกระทั่งความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในช่วง 4 ปีก่อน ซึ่งเขามองว่าอิทธิพลทางความคิดเหล่านี้ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
31 ม.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของพรรคก้าวไกลในการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่งยุติการกระทำ ซึ่งนำไปสู่คำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลเมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา ใน “คดีล้มล้างการปกครอง”
“ผมคิดว่าสิ่งนี้ทำให้เราเห็นการยุบพรรคเพื่อปกป้องสถาบันฯ ซึ่งสอดคล้องกับการรัฐประหารในช่วง 2 ครั้งหลังที่ผ่านมา มันทำให้เห็นความพยายามของชนชั้นนำไทยที่พยายามขีดเส้นความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันฯ กับประชาชนแบบใหม่ โดยชนชั้นนำที่นำโดยทหารและองค์กรอิสระได้สร้างขีดเส้นความสัมพันธ์แบบใหม่ ที่ทำให้สถาบันฯ ก้าวล้ำเข้ามาในพื้นที่การเมืองของภาคประชาชนมากยิ่งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาได้เพิ่มอำนาจให้กับองค์กรอิสระ ทำให้องค์กรอิสระหลุดลอยออกไปจากอำนาจของประชาชนมากขึ้นเรื่อย ๆ และถึงตอนนี้เอง องค์กรอิสระก็ยังเป็นมรดกของคณะรัฐประหารอยู่ ดังนั้นอำนาจเผด็จการจึงฝังตัวอย่างถูกต้องตามกฎหมายในการเมืองไทย” อาจารย์จาก มธ. กล่าว
เขาตั้งข้อสังเกตด้วยว่ากลุ่มชนชั้นนำพยายามสร้างบรรยากาศการเมืองไทยให้ย้อนกลับไปราวปี 2520 ที่พรรคขนาดกลางมีอำนาจต่อรองค่อนข้างสูง เนื่องจากพรรคขนาดใหญ่ไม่ได้คุมอำนาจในรัฐสภาได้เบ็ดเสร็จ เช่น พรรคเพื่อไทยในขณะนี้ที่ตั้งรัฐบาลผสม ขณะที่พรรคก้าวไกลซึ่งถูกยุบไปนั้นได้เกิดใหม่เป็นพรรคประชาชนและกลายเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้านที่ยังเผชิญมรสุมคดีทางการเมือง
“ผู้มีอำนาจนำพยายามเป็นลูกพี่ใหญ่และเป็นพี่เลี้ยงทางการเมือง โดยสร้างสภาวการณ์ให้เกิดการแก่งแย่งชิงดีกัน และไม่สามารถให้ใครเข้ามาเป็นผู้มีอำนาจนำได้ พอเกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 มันเกิดฉันทานุมัติใหม่ แต่ฉันทานุมัตินั้นกลับถูกล้มโดยการรัฐประหารปี 2549 และชัดที่สุดคือการรัฐประหารปี 2557 ดังนั้นทั้งจากรัฐธรรมนูญปี 2560 กลไกการเลือกตั้ง อำนาจ สว. และอำนาจขององค์กรอิสระ มันทำให้อำนาจทางการเมืองไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะต่อรองอะไรได้” รศ.ดร.ยุกติ ระบุ
4 ปีผ่านไป แกนนำการชุมนุมของคนรุ่นใหม่ แตกฉานซ่านเซ็นอยู่ที่ใด ?
ผู้ประท้วงชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 บริเวณสี่แยกปทุมวัน
ข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ในปี 2567 ยังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองรวมกันอย่างน้อย 37 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ต้องหาคดี ม.112 ทั้งหมด 25 คน ซึ่งในจำนวนนี้มี 22 คนที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี เช่น ทนายอานนท์ นำภา หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร และ โสภณ หรือ เก็ท สุรฤทธิ์ธำรง จากกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ซึ่งอยู่ในเรือนจำมากกว่า 1 ปีแล้ว โดยพวกเขายื่นขอประกันตัวชั่วคราวอยู่ตลอด แต่ศาลระบุไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และเมื่อราว 5 เดือนก่อน เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง นักกิจกรรมทางการเมืองจากกลุ่มทะลุวัง ก็เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังในทัณฑสถานหญิงกลาง
หากไม่นับรวม ไมค์ ภาณุพงศ์ และ เพนกวิน พริษฐ์ ที่เพิ่งมีรายงานว่าเลือกเดินทางออกนอกประเทศ ก่อนหน้านี้พบว่ามีแกนนำผู้ชุมนุมจำนวนมากที่เลือกเส้นทางนี้ เช่น ทัตเทพ หรือ ฟอร์ด เรืองประไพกิจเสรี หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเยาวชนปลดแอก รวมถึง เมลิญณ์-สุพิชฌาย์ ชัยลอม และ เบญจมาภรณ์ หรือ พลอย นิวาส อดีตสมาชิกกลุ่มทะลุวัง เป็นต้น
รุ้งยอมรับว่าการเคลื่อนไหวแบบเดิมในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าศาลก็เร่งรัดพิจารณาคดีความต่าง ๆ ท่ามกลางคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมในหลายประเด็น แต่ที่แย่กว่านั้นคือสถานการณ์ของผู้ที่ถูกคุมขังจากคดีทางการเมือง แม้ผลัดชุดมาเป็นรัฐบาลจากพลเรือนแล้วก็ตาม
“สถานการณ์คนที่อยู่ในเรือนจำแย่กว่าสมัยประยุทธ์ อยากตบปากตัวเอง เพราะไม่ชอบ คือไม่อยากให้มันเป็นแบบนี้เลย” รุ้งบอก “พวกเขาต่างยื่นประกันอย่างต่อเนื่อง ซ้ำไปซ้ำมา และก็ได้เหตุผลแบบเดิมว่ามีพฤติกรรมเกรงว่าจะหลบหนี ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี เพราะฉะนั้นมันไม่เป็นไรหากใครที่คิดจะไปหรือใครคิดที่จะสู้อยู่ที่นี่”
ข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ในปี 2567 ยังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองรวมกันอย่างน้อย 37 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ต้องหาคดี ม.112 ทั้งหมด 25 คน ซึ่งในจำนวนนี้มี 22 คนที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี เช่น ทนายอานนท์ นำภา หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร และ โสภณ หรือ เก็ท สุรฤทธิ์ธำรง จากกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ซึ่งอยู่ในเรือนจำมากกว่า 1 ปีแล้ว โดยพวกเขายื่นขอประกันตัวชั่วคราวอยู่ตลอด แต่ศาลระบุไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และเมื่อราว 5 เดือนก่อน เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง นักกิจกรรมทางการเมืองจากกลุ่มทะลุวัง ก็เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังในทัณฑสถานหญิงกลาง
หากไม่นับรวม ไมค์ ภาณุพงศ์ และ เพนกวิน พริษฐ์ ที่เพิ่งมีรายงานว่าเลือกเดินทางออกนอกประเทศ ก่อนหน้านี้พบว่ามีแกนนำผู้ชุมนุมจำนวนมากที่เลือกเส้นทางนี้ เช่น ทัตเทพ หรือ ฟอร์ด เรืองประไพกิจเสรี หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเยาวชนปลดแอก รวมถึง เมลิญณ์-สุพิชฌาย์ ชัยลอม และ เบญจมาภรณ์ หรือ พลอย นิวาส อดีตสมาชิกกลุ่มทะลุวัง เป็นต้น
รุ้งยอมรับว่าการเคลื่อนไหวแบบเดิมในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าศาลก็เร่งรัดพิจารณาคดีความต่าง ๆ ท่ามกลางคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมในหลายประเด็น แต่ที่แย่กว่านั้นคือสถานการณ์ของผู้ที่ถูกคุมขังจากคดีทางการเมือง แม้ผลัดชุดมาเป็นรัฐบาลจากพลเรือนแล้วก็ตาม
“สถานการณ์คนที่อยู่ในเรือนจำแย่กว่าสมัยประยุทธ์ อยากตบปากตัวเอง เพราะไม่ชอบ คือไม่อยากให้มันเป็นแบบนี้เลย” รุ้งบอก “พวกเขาต่างยื่นประกันอย่างต่อเนื่อง ซ้ำไปซ้ำมา และก็ได้เหตุผลแบบเดิมว่ามีพฤติกรรมเกรงว่าจะหลบหนี ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี เพราะฉะนั้นมันไม่เป็นไรหากใครที่คิดจะไปหรือใครคิดที่จะสู้อยู่ที่นี่”
นายรัฐวิชญ์ อริยพัชญ์พล โฆษกศาลยุติธรรม ยืนยันว่ากระบวนการยุติธรรมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ด้านนายรัฐวิชญ์ อริยพัชญ์พล โฆษกศาลยุติธรรม ยืนยันว่าการที่มีผู้ต้องหาคดีทางการเมืองบางรายเดินทางออกนอกประเทศไปนั้นไม่มีผลต่อการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาคนอื่น ๆ ที่ยังอยู่ในเรือนจำ
“ไม่ได้นำปัจจัยของคดีอื่น หรือจำเลยผู้อื่นมาพิจารณา แต่จะพิจารณาคำร้องของแต่ละรายไป” เขาบอก
“การปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ” นายรัฐวิชญ์ ยืนยัน
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองไว้ว่าในคดีอาญาทุกคดีนั้น ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมีความผิด ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งตรงนี้ในการพิจารณาของศาลก็มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญารับรองไว้ว่ามีเหตุใดบ้างที่ศาลจะไม่ให้ประกัน (มาตรา 108/1) ซึ่งมีอยู่ 4-5 ประการ อย่างเช่นว่าปล่อยชั่วคราวไปแล้วจำเลยจะหลบหนี ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือว่าไปก่อให้เกิดความเสียหาย หรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือเหล่านี้ เป็นต้น”
นอกจากนี้ โฆษกศาลยุติธรรมยังยืนยันด้วยว่าศาลไม่ได้เร่งรัดการพิจารณาคดีแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นไปตามกรอบเวลาที่ระบุไว้ในกฎหมายและระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ตำรวจใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2564
ในอีกมุมหนึ่ง รศ.ดร.ยุกติ มองว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จในการปราบปรามการเคลื่อนไหวของประชาชนในระยะสั้น โดยอาศัยกลไกระบบยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางกฎหมาย การห้ามวิจารณ์ศาล หรือห้ามละเมิดอำนาจศาล รวมไปถึงโครงสร้างอำนาจของกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน
“เป็นกลไกที่ทำให้การปราบปรามประชาชนดูมีความชอบธรรม ดูมีอารยะสูงกว่าการปราบปรามประชาชนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยคนเสื้อแดงที่เคยถูกล้อมยิง ล้อมปราบ ขณะที่กลุ่มเยาวชนนักศึกษาคนรุ่นใหม่ไม่ได้ถูกกระทำรุนแรงเช่นนั้น แม้เคยมีการใช้กระสุนยางหรือแก๊สน้ำตา แต่มันก็ไม่ได้รุนแรงเท่ากับการใช้กระสุนจริงที่ใช้ปราบคนเสื้อแดง ประเด็นก็คือการใช้กลไกทางกฎหมาย มันทำให้การต่อสู้ของประชาชนยากยิ่งขึ้น หรือมันทำให้การอธิบายกับสังคมนานาชาติทำได้ง่ายขึ้นว่านี่คือการนำเขาเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายนะ ”
“แต่ความสำเร็จ [ในการปราบปรามประชาชน] จะประเมินอย่างไร” อาจารย์จาก มธ. ตั้งคำถาม “ก็ต้องประเมินใน 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือต้นทุนของรัฐเองที่นำเอาสถาบันสูงสุดมาเป็นขั้วตรงข้ามกับประชาชน ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมาก อีกด้านหนึ่งคือการทำให้กระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมันเป็นต้นทุนต่อความเชื่อมั่นของความยุติธรรม”
ขณะที่นายรัฐวิชญ์ ยืนยันว่าศาลยุติธรรมพิจารณาและพิพากษาคดีโดยยึดถือว่าต้องให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นโจทก์ จำเลย หรือผู้เสียหาย
“ในการพิจารณาของศาลนั้น นอกจากยึดตามหลักฐานพยานที่เข้าสู่สำนวนแล้ว ศาลก็ใช้ดุลยพินิจให้เกิดความเป็นธรรมภายใต้กฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ในแต่ละข้อหาหรือแต่ละมาตราที่โจทก์ฟ้องมา” เขาระบุ
ความคาดหวังต่อประเด็นนิรโทษกรรม
ปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรรับทราบรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง ของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเผชิญ “โรคเลื่อน” มาหลายครั้ง ทั้งที่เป็นเพียงวาระรับทราบและรับรองรายงาน ไม่ใช่พิจารณาร่างกฎหมาย
ในรายงานฉบับดังกล่าวของ กมธ. จัดให้คดี ม.112 เป็นคดีอ่อนไหว อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ จึงไม่ได้ชี้ชัดว่าจะรวมอยู่ในกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จากพรรคร่วมรัฐบาล เช่น พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคประชาธิปัตย์ ต่างเน้นย้ำว่าไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยคดี ม.112 เพราะเห็นว่าไม่ใช่คดีทางการเมือง ซึ่งนักกิจกรรมที่เป็นผู้ต้องหาในคดีรู้สึกเห็นต่าง
“ธงมันต้องตั้งไปที่เราจะนิรโทษกรรมคดีการเมืองทั้งหมด... จริง ๆ นักกิจกรรมทุกคนจะต้องบอกว่า เรายืนยันว่าเราไม่ได้ล้มล้างการปกครอง แต่เราอยากอยู่กับสถาบันที่เข้าใจสถานการณ์ เข้าใจประชาชน” ไมค์ กล่าว
ยังมีการถกเถียงว่าคดี ม.112 เป็นคดีทางการเมืองหรือไม่ แต่ดูเหมือนว่าการนิรโทษกรรมคดีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยลงทุกทีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ด้านปนัสยามองว่าพรรคเพื่อไทยอาจยังหวาดกลัวในแผลเก่าที่เคยผลักดัน “นิรโทษกรรมเหมาเข่ง” ในช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่เธอมองว่าการผลักดันให้เกิดการนิรโทษกรรมถ้วนหน้าโดยรัฐบาลชุดนี้จะเป็นผลดีกับพรรคเพื่อไทยมากกว่า ทั้งในแง่การยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2549 และเป็นทางออกที่สันติสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม
“มันก็มีลมพัดผ่านให้ได้ยินว่า ถ้านิรโทษกรรมเนี่ย แล้วจะกลับไปเย้ว ๆ เหมือนเดิมอีกหรือเปล่า คือรุ้งก็อยากพูดให้ชัดว่ามันจะไม่เป็นแบบนั้นหรอกค่ะ”
เธอยังชี้ให้เห็นด้วยว่าการที่รัฐคุมขังแกนนำต่าง ๆ เอาไว้ในเรือนจำ ก็เป็นเพียงการกักขังชีวิต ๆ หนึ่ง แต่ไม่อาจหยุดกระแสความคิดของผู้คนได้
“มันมีแนวคิดบางอย่างที่พยายามชี้ให้เห็นว่าคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเหล่านี้ เป็นคนแปลก คนบ้า คนที่ไม่เป็นที่ยอมรับ หรืออยากให้สังคมไม่ยอมรับเรา จริง ๆ เราก็เป็นคนอยู่ในกลุ่มสังคมของพวกคุณนั่นแหละ พวกคุณนั่นแหละที่สร้างให้เราเกิดขึ้น อยู่ ๆ เราไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง ถ้าคุณอยากยุติความขัดแย้งหรือแก้ปัญหา จะเรียกว่าเซ็ตซีโร่ (set zero) ก็ได้นะ มันทำได้ตอนนี้เลย หยุดตรงนี้ แล้วอะไร ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราค่อย ๆ หาวิธีไม่ให้มันเกิดปัญหาด้วยกัน” ปนัสยา กล่าวทิ้งท้าย
https://bbc.in/3YLOkVa