
ก่อนหน้านี้ไม่นาน KKP Research พึ่งเผยรายงานที่ตอบคำถามว่า การแจกเงินหมื่นไปแล้ว ทำไมเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นอีก
.
โดยคำตอบแบบคร่าวๆ คือ การใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายทดแทนส่วนที่มีอยู่แล้ว ไม่ได้เกิดการบริโภคใหม่ รวมถึงบางส่วนยังถูกออมและนำไปใช้หนี้
.
นอกจากนั้น เงินหมื่นบางส่วนก็ยังไหลออกไปสู่เศรษฐกิจนอกระบบ ทำให้ยากจะจัดเก็บตัวเลขได้
.
จึงนำมาสู่การตั้งคำถามว่า รัฐบาลจำเป็นจะต้องพิจารณาการทบทวนการใช้งบประมาณหรือไม่
.
อย่างไรก็ตาม ทาง World Bank เองได้เผยแพร่รายงาน Thailand Economic Monitor ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 อัปเดตพัฒนาการเศรษฐกิจไทยและคาดการณ์ล่าสุดออกมา
.
โดยมีตอนหนึ่งอธิบายถึงผลของการแจกเงินหมื่นว่าทำให้ GDP ไทยเติบโตขึ้น 0.3% ในปี 2567 ที่ผ่านมา
.
แต่ขณะเดียวกันก็ใช้งบประมาณมากถึง 1.45 แสนล้านบาท หรือประมาณ 0.8% ของ GDP ไทยเลยทีเดียว
.
โดยตอนนี้นโยบายแจกเงินหมื่นหรือ Digital Wallet ได้เดินผ่านมา 2 เฟสแล้ว และกำลังเข้าสู่เฟสที่ 3 ในเดือนเมษายนและมิถุนายนนี้
.
โดย ‘จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์‘ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า เตรียมวงเงินรองรับการแจกเงินหมื่นในเฟส 3 ไว้แล้วไม่ต่ำกว่า 160,000 ล้านบาท
.
ข้อมูลจากรายงานของ World Bank เองก็ได้กล่าวถึงงบประมาณการแจกเงินหมื่นในเฟส 3 เช่นกันว่า จำเป็นจะต้องใช้เงินงบประมาณ 3.05 แสนล้านบาท (1.9% ของ GDP)
.
ทำให้แม้โครงการจะช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศได้ แต่ก็มีความท้าทายหลายด้านที่จะต้องเผชิญต่อ อย่างเช่น ความชอบธรรมของงบประมาณ ความล่าช้าในการดำเนินงาน หรือแม้แต่ตัวคูณทางการคลัง
.
ที่มา : https://www.worldbank.org/.../thailand-economic-monitor...
.
#BrandInside
#ธุรกิจคิดใหม่
https://www.facebook.com/BrandInsideAsia/posts/1024632759698960