วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 23, 2568

สว. เกาะกันเป็นกลุ่มเป็นก๊วน เอ๊ะมันยังไง? 🧐 ย้อนดูคะแนนเลือกกันเอง #สว67 8 จังหวัดในรอบระดับประเทศ เห็นชัดใครเป็นตัวจริง ใครเป็นผู้เสียสละโหวตให้ผู้อื่น


https://www.facebook.com/photo?fbid=1039242594916026&set=a.625664036273886

iLaw
17 hours ago
·
เอ๊ะยังไง? ย้อนดูคะแนนเลือกกันเอง #สว67 8 จังหวัดในรอบระดับประเทศ เห็นชัดใครเป็นตัวจริง ใครเป็นผู้เสียสละ
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศ เมื่อ 26 มิถุนายน 2567 จบลงด้วยปรากฏการณ์ที่บางจังหวัดสามารถส่งผู้สมัครเป็น สว. ได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะจังหวัดอย่างบุรีรัมย์หรืออยุธยา ที่สามารถพาผู้สมัครจากระดับจังหวัดเข้ารอบไปได้แทบทุกคน และลงท้ายก็มี สว. มาจากจังหวัดเหล่านี้ในอัตราส่วนที่สูงกว่าจังหวัดอื่นมาก
รูปแบบการลงคะแนนของผู้สมัครที่มาจากบางจังหวัดที่มีผู้เข้ารอบไขว้และเป็น สว. มากกว่าจังหวัดอื่นสามารถบอกอะไรเราได้หลายอย่าง ผลการลงคะแนนในรอบเลือกกันเองแสดงให้เห็นว่าจังหวัดใดเป็นจังหวัดที่มี “หวังผล” ในขณะที่การเลือกรอบไขว้ทำให้เห็นว่าผู้สมัครคนใดเข้าร่วมกระบวนการนี้ในฐานะ “ตัวจริง” และใครที่มาเพื่อเพียงแค่เสียสละตัวเอง
อ่านต่อได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/40112



iLaw
Yesterday
·

ย้อนรอยผลคะแนนการสรรหา สว.67 ระดับประเทศ พบปรากฎการณ์คะแนนแพ็คกันแน่นของผู้สมัคร Top 6 คนของทุกกลุ่ม ที่มีคะแนนนำโด่งล้นกระดาน ชวนดูกันว่าผู้สมัครที่คะแนนนำโด่งหรือผู้สมัครที่มาทิ้งคะแนนตัวเองเพื่อลงคะแนนให้ผู้สมัครคนอื่นมาจากจังหวัดไหนบ้าง
.
หากใครอยากรับชมคลิปยาวรวมบทสรุปปัญหา ช่องโหว่ของระบบการเลือก สว.67 สามารถรับชมได้ใน https://youtu.be/GeY05VWMV9g?si=puSDlzpdPQ0SCx26
.
หรืออ่านบทความ: บทสรุปสว.67 : ระบบ “แบ่งกลุ่ม”-“เลือกกันเอง” https://www.ilaw.or.th/articles/41759

https://www.facebook.com/watch/?v=635255285655297