iLaw
11 hours ago
·
ย้อนอดีต UN เคยพูดกับรัฐบาลไทยเรื่องมาตรา 112 ว่าอะไรบ้าง ?
นับแต่ช่วงการรัฐประหาร 2549 จนถึง 1 มกราคม 2567 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติส่งหนังสือมาถามรัฐบาลไทยทั้งหมด 111 ครั้ง ในจำนวนดังกล่าวมี 104 ครั้งที่เป็นประเด็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก โดยในจำนวนดังกล่าว มี 23 จากทั้งหมด 111 เรื่องที่มีเนื้อหาสอบถามมายังรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
อ่านบทความฉบับเต็ม (https://www.ilaw.or.th/articles/46748)
.....
iLaw
13 hours ago
·
27 ตุลาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. iLaw ร่วมกับ Kinjai Contemporary จัดวงพูดคุยในหัวข้อ “ชีวิตคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย” ชวนฟังเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ถูก “ซ่อน” ระหว่างทางฝันของพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีกว่าเดิม
ถิรนัย เล่าว่าตนเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 2563 ช่วงนั้นเรียน ปวช. อยู่ ในตอนนั้นอายุประมาณ 19-20 ปี ช่วงที่เริ่มมีการรัฐประหารจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ในปี 2563 เป็นครึ่งชีวิตของตนอยู่กับรัฐบาลนี้ ตั้งแต่การรัฐประหารก็เปิดดูข่าวต่างๆ มากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าทำไมประเทศต้องมาแย่ตอนที่เราโต พอมีการชุมนุมตนก็เข้าร่วมกับกลุ่มฟันเฟืองอาชีวะ อาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ถัดมาถิรนัยก็ถูกจับกุมในวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ในการชุมนุมที่จัดโดยณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ตนยืนยันว่าไม่ชอบความรุนแรง ในระหว่างเส้นทางไปทำเนียบรัฐบาล เมื่อเพื่อนทราบว่าตนถูกจับกุม ตำรวจจึงพาตัวไปยังสโมสรตำรวจ ซึ่งตอนย้ายตัวไป เจ้าหน้าที่ไม่บอกว่าจะพาไปไหน ภายหลังศาลตัดสินว่ามีระเบิดไว้ในครอบครอง ตนสู้มาตลอด สู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อ เพราะเชื่อว่าคดีของตนจะยกฟ้องแน่นอน ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 แต่สุดท้ายก็ติดคุกเพิ่มอีกสามอาทิตย์
ถิรนัย ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2567 ตั้งแต่ได้รับการปล่อยตัว ถิรนัยยืนยันกับเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำว่าตนจะไปร่วมเคลื่อนไหวกับเครือข่ายนิรโทษกรรม ตลอดเวลาที่อยู่ในเรือนจำตนนั่งพับนกเสรีภาพวันละตัวจนครบหนึ่งพันตัว บางทีโดนยึดเอาไปทิ้งบ้าง
“การเขียนจดหมายมาหานักโทษในเรือนจำเปรียบเหมือนดวงใจของคนที่อยู่ในเรือนจำ เรามักจะรอตลอดว่าแฟนเราจะเขียนมาหรือไม่ ครอบครัวจะเขียนมาหรือไม่ เพื่อนจะเขียนหรือไม่ เราพร้อมอ่าน เราพร้อมเขียนโต้กลับ” ถิรนัยเล่าในฐานะคนที่เคยอยู่ในเรือนจำ
เมื่อถามว่าอนาคตจะเป็นยังไงต่อไป ถิรนัยบอกว่า พื้นฐานคงอยากให้ประเทศนี้ดีกว่านี้ ไม่มีการทุจริต ตอนนี้ก็พยายามเรียนหนังสืออาจจะเป็นคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ความหวังตอนนี้ของคนที่อยู่ข้างในคือการนิรโทษกรรม ถิรนัยบอกว่า ยังเชื่อมั่นว่าจะมีการนิรโทษกรรมในอนาคตอยู่
“ผมอยากอ้อนวอนไปถึงพรรคเพื่อไทย ปล่อยเด็กเถอะครับ ให้เด็กกลับมาบ้านเถอะครับ เยาวชนทั้งนั้น มันใจร้ายเกินไป ในตอนนั้นคุณกับเราก็เดินเส้นเดียวกัน สู้ด้วยกัน” ถิรนัยกล่าวทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ (https://www.ilaw.or.th/articles/47118?swcfpc=1)
·
27 ตุลาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. iLaw ร่วมกับ Kinjai Contemporary จัดวงพูดคุยในหัวข้อ “ชีวิตคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย” ชวนฟังเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ถูก “ซ่อน” ระหว่างทางฝันของพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีกว่าเดิม
ถิรนัย เล่าว่าตนเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 2563 ช่วงนั้นเรียน ปวช. อยู่ ในตอนนั้นอายุประมาณ 19-20 ปี ช่วงที่เริ่มมีการรัฐประหารจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ในปี 2563 เป็นครึ่งชีวิตของตนอยู่กับรัฐบาลนี้ ตั้งแต่การรัฐประหารก็เปิดดูข่าวต่างๆ มากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าทำไมประเทศต้องมาแย่ตอนที่เราโต พอมีการชุมนุมตนก็เข้าร่วมกับกลุ่มฟันเฟืองอาชีวะ อาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ถัดมาถิรนัยก็ถูกจับกุมในวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ในการชุมนุมที่จัดโดยณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ตนยืนยันว่าไม่ชอบความรุนแรง ในระหว่างเส้นทางไปทำเนียบรัฐบาล เมื่อเพื่อนทราบว่าตนถูกจับกุม ตำรวจจึงพาตัวไปยังสโมสรตำรวจ ซึ่งตอนย้ายตัวไป เจ้าหน้าที่ไม่บอกว่าจะพาไปไหน ภายหลังศาลตัดสินว่ามีระเบิดไว้ในครอบครอง ตนสู้มาตลอด สู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อ เพราะเชื่อว่าคดีของตนจะยกฟ้องแน่นอน ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 แต่สุดท้ายก็ติดคุกเพิ่มอีกสามอาทิตย์
ถิรนัย ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2567 ตั้งแต่ได้รับการปล่อยตัว ถิรนัยยืนยันกับเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำว่าตนจะไปร่วมเคลื่อนไหวกับเครือข่ายนิรโทษกรรม ตลอดเวลาที่อยู่ในเรือนจำตนนั่งพับนกเสรีภาพวันละตัวจนครบหนึ่งพันตัว บางทีโดนยึดเอาไปทิ้งบ้าง
“การเขียนจดหมายมาหานักโทษในเรือนจำเปรียบเหมือนดวงใจของคนที่อยู่ในเรือนจำ เรามักจะรอตลอดว่าแฟนเราจะเขียนมาหรือไม่ ครอบครัวจะเขียนมาหรือไม่ เพื่อนจะเขียนหรือไม่ เราพร้อมอ่าน เราพร้อมเขียนโต้กลับ” ถิรนัยเล่าในฐานะคนที่เคยอยู่ในเรือนจำ
เมื่อถามว่าอนาคตจะเป็นยังไงต่อไป ถิรนัยบอกว่า พื้นฐานคงอยากให้ประเทศนี้ดีกว่านี้ ไม่มีการทุจริต ตอนนี้ก็พยายามเรียนหนังสืออาจจะเป็นคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ความหวังตอนนี้ของคนที่อยู่ข้างในคือการนิรโทษกรรม ถิรนัยบอกว่า ยังเชื่อมั่นว่าจะมีการนิรโทษกรรมในอนาคตอยู่
“ผมอยากอ้อนวอนไปถึงพรรคเพื่อไทย ปล่อยเด็กเถอะครับ ให้เด็กกลับมาบ้านเถอะครับ เยาวชนทั้งนั้น มันใจร้ายเกินไป ในตอนนั้นคุณกับเราก็เดินเส้นเดียวกัน สู้ด้วยกัน” ถิรนัยกล่าวทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ (https://www.ilaw.or.th/articles/47118?swcfpc=1)