วันเสาร์, พฤศจิกายน 30, 2567
‘นิติสงครามภาควิชาการ’ ความเฮงซวย ที่เกิดขึ้นกับงานของณัฐพล ผู้ฟ้องยอมรับต่อศาลเองว่าไม่ได้อ่านวิทยานิพนธ์และหนังสือ เพียงแต่รับฟังคำบอกเล่าจากไชยันต์ ไชยพร เท่านั้น ก็ฟ้องเลย
The101.world
1d ·
หลังต่อสู้คดีกันมาสามปีกว่า ในที่สุดเมื่อ 13 พ.ย. 2567 ศาลแพ่งก็ ‘ยกฟ้อง’ คดีที่ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต เรียกค่าเสียหายว่าวิทยานิพนธ์และหนังสือของณัฐพล ใจจริงละเมิดไขข่าวด้วยข้อความฝ่าฝืนความจริง
.
คดีนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการพยายามทำลายความชอบธรรมในงานศึกษาของณัฐพลผ่านหลายช่องทาง ในบริบทที่สังคมไทยเกิดการเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และผู้คนตื่นตัวในการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองมากขึ้น
.
ธนาพล อิ๋วสกุล จึงชวนทบทวนที่มาที่ไปของเรื่องนี้และบริบทภาพรวมของ ‘นิติสงครามภาควิชาการ’ ที่เกิดขึ้นกับงานของณัฐพล
.
หมายเหตุ - ธนาพลเป็นหนึ่งในหกจำเลยที่ถูกฟ้องในฐานะ บก. ฟ้าเดียวกัน ผู้ตีพิมพ์หนังสือ
.
อ่านฉบับเต็มได้ที่: https://www.the101.world/legal-warfare-in-academia/
.
“คำให้การของโจทก์ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิตนั้นได้มีการยอมรับต่อศาลเองว่าไม่ได้อ่านวิทยานิพนธ์และหนังสืออีกสองเล่มจนจบแต่อย่างใด เพียงแต่รับฟังคำบอกเล่าจากไชยันต์ ไชยพร เท่านั้น”
.
“คู่ขนานไปกับกระบวนการนิติสงครามที่เริ่มใช้ในการยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ตามมาด้วยการใช้กดปราบเยาวชนนักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ กลุ่มผู้ที่ต้องการทำลายความชอบธรรมของงานศึกษาของณัฐพล ใจจริง ซึ่งมีไชยันต์ ไชยพร เป็นต้นเรื่อง ก็ดำเนินการไปพร้อมกันในสามช่องทางคือ
“1. เดินสายออกสื่อต่างๆ ย้ำข้อกล่าวหาเดิมๆ ... 2. ร้องเรียนไปยังสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อให้ถอดถอนวิทยานิพนธ์ฯ 3. ดำเนินคดีในศาล”
.
“บันทึกควันหลงนี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งร่องรอยที่เผยว่าในห้วงเวลาไม่นานก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ กระทั่ง ‘เชิงอรรถ’ ในหนังสือ ‘ประวัติศาสตร์’ ยังกลายเป็นสมรภูมิหนึ่งที่มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือดไปได้”
.
ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด