วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2567
25 พฤศจิกายน วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ขวัญข้าว คงเดชา เขียนถึง 'การฆ่าเพื่อเกียรติ' (honor killing) ชวนตั้งคำถามว่า ‘เกียรติแบบใดกันที่ได้มาจากการฆ่าสตรีหนึ่งคน?’
The101.world
18h ·
25 พฤศจิกายน #วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล
.
แม้ประเด็นความเท่าเทียมทางเพศนั้นจะมีการพัฒนามากขึ้นในโลกปัจจุบัน แต่ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศยังคงอยู่ และหลายครั้งนำไปสู่ความตาย
.
เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ขวัญข้าว คงเดชา เขียนถึง 'การฆ่าเพื่อเกียรติ' (honor killing) ชวนตั้งคำถามว่า ‘เกียรติแบบใดกันที่ได้มาจากการฆ่าสตรีหนึ่งคน?’
.
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/honor-killing/
.
“เมื่อเอ่ยถึงการฆ่าเพื่อเกียรติหรือ honor killing นิยามในกระแสหลักจะหมายถึงการยึดโยงเกียรติและความตายกับพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวของสตรีเป็นสำคัญ ในลักษณะที่ว่าเกียรติของตระกูลและครอบครัวขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของสตรี”
.
“หากสตรีรักษาเกียรติที่ติดตัวมาแต่เกิดไม่ได้ ย่อมหมายถึงความอัปยศของทั้งตระกูล แล้วครอบครัวจะทำอย่างไรได้ นอกเสียจากตอบโต้ความอัปยศอดสูด้วยการทำลายผู้ที่ทำให้เสียเกียรติ เมื่อไม่มีบุคคลที่เป็นจุดด่างพร้อย ครอบครัวหรือตระกูลก็จะไร้ซึ่งมลทิน กลับมาเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม”
.
“เกียรติที่ขึ้นอยู่กับการกำหนดบทบาททางเพศให้แก่สตรีในครอบครัวจึงมีความเปราะบางและอ่อนไหวเป็นอย่างมาก และนำไปสู่ความชอบธรรมในอำนาจของบุรุษในครอบครัว เกิดเป็นความรุนแรงที่พบเห็นได้ในภาพข่าว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งสอนภายในบ้านไปจนถึงการรุมประชาทัณฑ์โดยคนในชุมชนและการฆ่าโดยคนในครอบครัว”
.
“เมื่อพิจารณาดูแล้ว จึงไม่ใช่เกียรติที่ผูกติดกับพฤติกรรมของสตรีจนนำไปสู่ความรุนแรง แต่เป็นบุรุษภายใต้มุมมองบทบาททางเพศที่นำเอาเกียรติของตนเองไปกำหนดพฤติกรรมของสตรีในครอบครัว ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวจึงมีส่วนมาจากความรู้สึกอับอายหรือการที่ผู้ชายรู้สึกเสียเกียรติจากการกระทำของผู้หญิงภายใต้ความคาดหวังของบุรุษที่มีต่อสตรี ดังคำที่ว่า เสียเชิงชาย”
.
“...แม้ว่าประเด็นความเท่าเทียมทางเพศนั้นจะมีการพัฒนามากจนไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสังคมเกิดความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น หากแต่เส้นทางข้างหน้าก็ยังขรุขระและต้องมีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เพียงแค่ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (กฎหมายและข้อบังคับ) แต่ยังรวมไปถึงความรุนแรงทางกายภาพและจิตใจที่มีรากฐานจากความรุนแรงทางค่านิยมและความเชื่อของสังคม”
.
ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด