วันจันทร์, เมษายน 17, 2566

หนังสือใหม่ของ Yoshinori Nishizaki เสนอความคิดน่าสนใจ แทนที่จะมองปวศ.ประชาธิปไตยไทยว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างราษฎร vs กองทัพ เขามองว่าเป็นพลวัตการต่อสู้ของการเมืองแบบครอบครัวผู้มีอิทธิพล 2 แบบ


Pipob Udomittipong
19h

หนังสือใหม่ของ Yoshinori Nishizaki น่าสนใจ แทนที่จะมองปวศ.ประชาธิปไตยไทยว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างราษฎร vs กองทัพ เขามองว่าเป็นพลวัตการต่อสู้ของการเมืองแบบครอบครัวผู้มีอิทธิพล 2 แบบ เป็น "dynastic democracy" ระหว่าง “commoner capitalist families” ครอบครัวนักการเมืองสามัญชนที่ทุนหนาฝายหนึ่ง vs princely/bureaucratic political families ครอบครัวซากเดนศักดินาที่ยังคงมีบทบาทหลัง “การปฏิวัติแบบไม่สุด” เมื่อปี 2475 ที่ประชาธิปไตยไทยถดถอยมาทุกวันนี้ เป็นเพราะบทบาทของครอบครัวศักดินาที่เข้าสู่การเมืองโดยตรง (เป็นนายกฯ ฯลฯ) แทรกแซงอยู่ข้างหลัง สร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหาร

ดูเหมือนอ.นิชิซากิ จาก NUS จะเชี่ยวชาญครอบครัวนักการเมืองแบบแรกมาก เพราะเคยเขียนหนังสือเป็นเล่มเกี่ยวกับ “บรรหารบุรี” ไปตามอ่านได้ แต่ในงานชิ้นใหม่นี้ เขาให้ความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดองคาพยพทางการเมืองของไทย ไม่ใช่อิทธิพลของอุดมการณ์ล้วน ๆ แบบแนวคิด “Network Monarchy” ของ Duncan McCargo ซึ่งเขามองว่ามีจุดอ่อน เพราะไม่ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติของชนชั้นนำ มองแค่เพียงว่าเป็นกลุ่มคนที่ผูกพันกันด้วยอดุมการณ์จงรักถักดีต่อสถาบันกษัตริย์ล้วน ๆ

อ.นิชิซากิ และนักวิชาการหลายคนมองว่าการอภิวัฒน์ 2475 เป็น “unfinished business” เป็น revolution ที่แปลกประหลาดมาก ไปไม่สุด เพราะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากไม่ได้ถอนรากถอนโคนศักดินา ยังมีการพึ่งพาบริการของศักดินา ดังนายกฯ คนแรกของสยามก็มาจากซากเดนเหล่านี้ ซึ่งเดิมมีการเสนอว่าที่ “ผู้ก่อการ” ทำแบบนี้ เพราะ (1) ขาดประสบการณ์การเมือง ต้องเอาซากเดนศักดินามาบริหารงาน + (2) เกรงว่าถ้าเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ต่างชาติจะแทรกแซง โดยเฉพาะอังกฤษ คณะราษฎร์จึงต้อง ยอมรักษาระบอบเก่าไว้

แต่อ.นิชิซากิ เสนอว่า เหตุผลสำคัญของการประนีประนอมครั้งนี้ ซึ่งส่งผลมาถึงประชาธิปไตยครึ่งใบในปัจจุบัน เป็นเพราะเกือบครึ่งหนึ่งของ “ผู้ก่อการ” มีญาติพี่น้องเป็นศักดินาเก่า ลูกชาย+ลูกสาว ป. พิบูลสงคราม แต่งกับตระกูลสนิทวงศ์ อ.ปรีดี แต่งกับเครือญาติของเจ้าพระยายมราช ฯลฯ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายเจ้า จึงทำให้ไม่กล้าถอนรากถอนโคนระบอบเก่า นับเป็นความล้มเหลวของการอภิวัฒน์ 2475 นี่อ.นิชิซากิพูดนะ ไม่ใช่ผมพูด

ในการเขียนหนังสือเล่มใหม่นี้ อ.นิชิซากิ วิจัยจากหนังสืองานศพของนักการเมืองไทยเป็นพันคน นับเป็นความอุตสาหะอย่างมาก เขาสำรวจสาแหรกของนักการเมืองทั้งฝ่ายไพร่และฝ่ายเจ้าเหล่านี้ 3,453 คนจาก 77 จังหวัด ตั้งแต่ปี 2475 จนถึงปัจจุบัน และพบว่ามีความสัมพันธ์ทางครอบครัวไขว้กันไปมามาก ทำให้เกิดประชาธิปไตยแบบเครือญาติ "dynastic democracy"

การแทรกแซงของชนชั้นอำมาตย์ อย่างอานันท์ ปันยารชุน “royalist elitist” ซึ่งเขาเขียนถึงอย่างกว้างขวางในหนังสือ ที่เป็นผู้นำการปฏิรูประบอบการเลือกตั้ง สถาปนารัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มีสว.จากการเลือกตั้ง + สส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งแม้มีเจตนาดี แต่นำไปสู่ “สภาผัวเมีย” ผัวเปลี่ยนจากสส.เขตมาเป็นสส.บัญชีรายชื่อ เสนาะ เทียนทอง บรรหาร ศิลปะอาชา ส่งลูก ๆ ลงสส.เขตแทน จนนำไปสู่การทำรัฐประหารถึงสองครั้ง เพื่อทำลายระบอบเลือกตั้งที่ฝ่ายเจ้าสถาปนาขึ้นมาเอง

เขามองว่า ช่วงทศวรรษ 2000 อานันท์และและเครือข่าย princely เหล่านี้ จึงมีส่วนในการทำลายการเมือง สนับสนุน + วางแผนทำรัฐประหาร + ใช้คำวินิจฉัยของศาล เพื่อโค่นล้มรบ.ที่มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยที่อยู่ใต้การควบคุมของสส. สร้างความถดถอยให้กับระบอบประชาธิปไตยเป็นระยะ ขาดเสถียรภาพกว่าปท.อื่น อ.นิชิซากิ ยังพูดถึงประยุทธ์ ในฐานะเป็น die-hard uncompromising royalist ที่ต้องพึ่งพาบริการของนักการเมืองแบบ “commoner capitalist families” เพราะจำเป็นต้องชนะเลือกตั้ง+มีเสียงข้างมากในสภา จึงทำให้เกิดรบ.ที่อ่อนแอ

ที่เขียนมายังไม่ได้อ่านครับ ฟังจาก podcast ที่อ. Patrick Jory สัมภาษณ์
https://newbooksnetwork.com/dynastic-democracy

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=10160489174876649&set=a.10150096728651649)