The Reporters
8h
HUMAN RIGHTS: เลขาธิการสูงสุดแอมเนสตี้ ย้ำ ขอให้รัฐบาลในอนาคตใส่ใจเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งในและนอกประเทศ ชี้ รัฐบาลชุดหน้ากำลังเผชิญ ‘งานใหญ่’ ในการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน
วันนี้ (20 เม.ย. 66) เวลา 18.30 น. ที่ลานคนเมืองกรุงเทพมหานคร แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการสูงสุดของแอมเนสตี้ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานก่อนการดีเบต หัวข้อ “เลือกตั้ง 66 วาระสิทธิมนุษยชน”
แอกเนส กล่าวว่า การได้เห็นผู้คนมากมายมาเข้าร่วมงานเพื่อพูดคุยเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นแรงบันดาลใจและช่วยสร้างความหวัง เพราะโลกใบนี้กำลังตกอยู่ในสภาพที่เลวร้ายเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความขัดแย้งความทุกข์ทรมาน หายนะด้านสภาพภูมิอากาศที่คร่าชีวิตคนนับพัน การคุมขังผู้เห็นต่างเป็นจำนวนหลายพันคน เพียงเพราะพวกเขาแสดงความคิดเห็นโดยสงบ
การลอยนวลพ้นผิดยังคงเกิดขึ้นในทุกที่ โดยคนที่กระทำการสังหาร การทรมาน การข่มขืน และการทุจริตฉ้อโกง ยังคงสามารถหลีกหนีกระบวนการยุติธรรม สภาวะสองมาตรฐาน และแนวทางแบบเลือกสนใจแค่บางเรื่อง ในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความไม่มั่นคงความไม่เชื่อใจกัน และความรู้สึกเคลือบแคลงสงสัยนำไปสู่การบ่อนทำลายระเบียบโลกซึ่งเคยตั้งอยู่บนหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
แอกเนส กล่าวว่า ในปีนี้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีอายุครบ 75 ปีนับว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลทุกประเทศต้องสนับสนุนให้เกิดการเคารพและปกป้องหลักนิติธรรม (rule of law) ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลทุกคนและทุกหนแห่ง มิใช่หลักนิติวิธี (rule by law) โดยเริ่มจากต้องมีความเป็นผู้นำโดยตั้งมั่นอยู่บนหลักการไม่ว่าจะสำหรับผู้นำรัฐบาล รวมถึงผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเงินและด้านอื่นๆ ซีการเปลี่ยนแปลงจะต้องมาจากภายในประเทศ สถาบันภายในประเทศและพรรคการเมืองภายในประเทศของพวกเราดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมรับฟังการอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย
แอกเนส กล่าวต่อว่า เยาวชน ทั้งในประเทศไทยและในพื้นที่อื่นๆ บอกดิฉันว่า พวกเขามองไม่เห็นอนาคต เพราะการกดขี่ ความรุนแรง และความอยุติธรรมว่าด้วยปัญหาทางสภาพอากาศ ในฐานะผู้สมัครลงรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำประเทศในอนาคตของประเทศ พวกท่านมีความรับผิดชอบหลักในการรับฟังสารที่พวกเขาต้องการสื่อ และทำงานร่วมกับพวกเขาและผู้คนจากกลุ่มต่างๆ
“ดิฉันคิดว่ารัฐบาลชุดหน้าของไทยกำลังเผชิญ ‘งานใหญ่’ ในการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนต่อไป”
แอกเนส ระบุว่า พวกเราทุกคนล้วนจะรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเมื่อสิทธิมนุษยชนได้รับการปกป้องคุ้มครอง การปกป้องคุ้มครองสิทธินั้นครอบคลุมคนทุกคน รวมถึงผู้ที่มาจากประเทศอื่น ซึ่งหมายรวมถึงผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเช่นเดียวกัน ผู้ที่เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแสวงหาที่พักพิง และความปลอดภัยนั้นกลับต้องอยู่อย่างหวาดกลัวที่จะถูกส่งกลับ สัปดาห์ที่แล้วเราพบว่ามีนักกิจกรรมชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้อพยพในไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนกับทาง UNHCR เป็นที่เรียบร้อยแล้วถูกส่งตัวไปในสถานที่คุมขังของตำรวจในประเทศเวียดนามอย่างลึกลับ ชาวเมียนมาที่หลบหนีข้ามพรมแดนมาไทยยังต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวที่จะถูกส่งกลับและตกอยู่ในสภาวะอันยากลำบาก คนเหล่านี้มีสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีสิทธิที่จะขอลี้ภัย
“ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการรับและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับผู้ลี้ภัย ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ด้วยเหตุเช่นนี้ประเทศไทยจึงต้องดำเนินการต่อไป และต้องทำให้มากขึ้นกว่าที่เคยด้วยสำหรับผู้นำประเทศไทย และผู้ที่อาจจะได้เข้ามาเป็นรัฐบาลในอนาคตพวกท่านต้องรับรองว่านโยบายด้านการรองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพจะไม่ถูกทำให้เป็นเกมการเมืองและนโยบายเหล่านี้ต้องไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ ในการกดขี่ด้วย”
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #เลือกตั้ง66 #เวทีสิทธิมนุษยชน
.....
Amnesty International Thailand was live.
9h
[LIVE] สดจริงยิงตรงจากสนามข่าวโดย The Reporters
LIVE: เวทีดีเบตพรรคการเมือง
“เลือกตั้ง 66: วาทะผู้นำ วาระสิทธิมนุษยชน” สดจากลานคนเมือง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ดีเบตพรรคการเมือง “เลือกตั้ง 66: วาทะผู้นำ วาระสิทธิมนุษยชน”
พบกับตัวแทน 12 พรรคการเมือง
พรรคไทยสร้างไทย - สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
พรรคเพื่อไทย - จาตุรนต์ ฉายแสง
พรรคก้าวไกล - พริษฐ์ วัชรสินธุ
พรรคเสรีรวมไทย- สมชัย ศรีสุทธิยากร
พรรคประชาธิปัตย์ - รัชดา ธนาดิเรก
พรรคชาติพัฒนากล้า - วรนัยน์ วาณิชกะ
พรรคชาติไทยพัฒนา - ภิเศก สายชนะพัน
พรรคสามัญชน - กรกนก คำตา
พรรคไทยภักดี - วรงค์ เดชกิจวิกรม
พรรคเป็นธรรม - กัณวีร์ สืบแสง
พรรคพลังประชารัฐ - ไพบูลย์ นิติตะวัน
พรรคเสมอภาค - นาดา ไชยจิตต์
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #วาทะการเมืองวาระสิทธิมนุษยชน
(https://www.facebook.com/AmnestyThailand/videos/1006224613865041)