ooo
บอร์ดประกันสังคมมีมติปล่อยกู้รัฐบาล 2 แสนล้านเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
Published on Mon, 2015-06-08
ที่มา ประชาไท
คณะกรรมการประกันสังคมมีมติปล่อยกู้ 2 แสนล้าน สำหรับให้รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีข้อแม้ให้รัฐบาลออกพันธบัตรค้ำประกัน ดอกเบี้ย 3-3.5% กระทรวงการคลังเตรียมออกกฎหมายรองรับ - ส่วน คสรท. ไม่เห็นด้วยเนื่องจากผู้ประกันตน 13 ล้านคนจะได้รับผลกระทบ
8 มิ.ย. 2558 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ว่า นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข่าวกระทรวงการคลัง ชักชวนกองทุนประกันสังคม ร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลจำนวน 200,000 ล้านบาท
โดย กรรมการบอร์ด สปส. บางคนเห็นว่าควรกระจายการลงทุนว่า ปีนี้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีงบประมาณการลงทุนสูงที่สุดจำนวน 400,000 ล้านบาท คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เรื่องการลงทุนที่เป็นยุทธศาสตร์ เป็นการลงทุนในภาครัฐต่างๆ เช่น การก่อสร้างระบบรถไฟ ระบบบริหารน้ำ โดยแบ่งงบประมาณการลงทุนไว้ 200,000 ล้านบาทให้รัฐบาลกู้ โดยมีข้อแม้ว่ารัฐจะต้องออกพันธบัตรค้ำประกันให้ สปส. ดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 3 – 3.5 ซึ่งได้เสนอมติไปยังกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงการคลังเห็นชอบในหลักการ และหากดำเนินการต่อไป กระทรวงการคลังต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อกู้เงิน ส่วนกรณีที่เครือข่ายแรงงานมีความเป็นห่วงในเรื่องความมั่นคงและความคุ้มค่าในการลงทุน แม้ผลตอบแทนอาจไม่มากเท่ากับการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ แต่ได้ผลตอบแทนในอัตราที่คุ้มค่า ส่วนเรื่องของความมั่นคง ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะรัฐบาลเป็นผู้ประกัน ทั้งนี้ จะระบุรายละเอียดการจ่ายเงินคืนและผลตอบแทนใน พ.ร.บ. ยืนยันว่าไม่กระทบต่อการจ่ายเงินกรณีบำเหน็จและบำนาญชราภาพแน่นอน นอกจากจะมีการออกพันธบัตรเพื่อกู้เงิน สปส.แล้ว พ.ร.บ.นี้จะออกพันธบัตรเพื่อใช้หนี้เงินสมทบที่รัฐค้างจ่าย สปส.เป็นเงินกว่า 80,000 ล้านบาทด้วย โดยที่ผ่านมาไม่มีการนำเงินให้รัฐบาลกู้ในลักษณะนี้มาก่อน และในเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ สปส.ปล่อยเงินกู้
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับมติของ สปส.ให้รัฐบาลกู้เงินไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนและอนาคตของผู้ประกันตนกว่า 13 ล้านคน เนื่องจาก สปส.ต้องทยอยจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตน หากนำเงินไปลงทุนจำนวนมากโดยไม่มีหลักประกัน อาจกระทบต่อการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ทั้งนี้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะขอเข้าพบ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านและสอบถามรายละเอียดอีกครั้ง
คณะกรรมการประกันสังคมมีมติปล่อยกู้ 2 แสนล้าน สำหรับให้รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีข้อแม้ให้รัฐบาลออกพันธบัตรค้ำประกัน ดอกเบี้ย 3-3.5% กระทรวงการคลังเตรียมออกกฎหมายรองรับ - ส่วน คสรท. ไม่เห็นด้วยเนื่องจากผู้ประกันตน 13 ล้านคนจะได้รับผลกระทบ
8 มิ.ย. 2558 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ว่า นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข่าวกระทรวงการคลัง ชักชวนกองทุนประกันสังคม ร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลจำนวน 200,000 ล้านบาท
โดย กรรมการบอร์ด สปส. บางคนเห็นว่าควรกระจายการลงทุนว่า ปีนี้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีงบประมาณการลงทุนสูงที่สุดจำนวน 400,000 ล้านบาท คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เรื่องการลงทุนที่เป็นยุทธศาสตร์ เป็นการลงทุนในภาครัฐต่างๆ เช่น การก่อสร้างระบบรถไฟ ระบบบริหารน้ำ โดยแบ่งงบประมาณการลงทุนไว้ 200,000 ล้านบาทให้รัฐบาลกู้ โดยมีข้อแม้ว่ารัฐจะต้องออกพันธบัตรค้ำประกันให้ สปส. ดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 3 – 3.5 ซึ่งได้เสนอมติไปยังกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงการคลังเห็นชอบในหลักการ และหากดำเนินการต่อไป กระทรวงการคลังต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อกู้เงิน ส่วนกรณีที่เครือข่ายแรงงานมีความเป็นห่วงในเรื่องความมั่นคงและความคุ้มค่าในการลงทุน แม้ผลตอบแทนอาจไม่มากเท่ากับการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ แต่ได้ผลตอบแทนในอัตราที่คุ้มค่า ส่วนเรื่องของความมั่นคง ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะรัฐบาลเป็นผู้ประกัน ทั้งนี้ จะระบุรายละเอียดการจ่ายเงินคืนและผลตอบแทนใน พ.ร.บ. ยืนยันว่าไม่กระทบต่อการจ่ายเงินกรณีบำเหน็จและบำนาญชราภาพแน่นอน นอกจากจะมีการออกพันธบัตรเพื่อกู้เงิน สปส.แล้ว พ.ร.บ.นี้จะออกพันธบัตรเพื่อใช้หนี้เงินสมทบที่รัฐค้างจ่าย สปส.เป็นเงินกว่า 80,000 ล้านบาทด้วย โดยที่ผ่านมาไม่มีการนำเงินให้รัฐบาลกู้ในลักษณะนี้มาก่อน และในเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ สปส.ปล่อยเงินกู้
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับมติของ สปส.ให้รัฐบาลกู้เงินไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนและอนาคตของผู้ประกันตนกว่า 13 ล้านคน เนื่องจาก สปส.ต้องทยอยจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตน หากนำเงินไปลงทุนจำนวนมากโดยไม่มีหลักประกัน อาจกระทบต่อการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ทั้งนี้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะขอเข้าพบ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านและสอบถามรายละเอียดอีกครั้ง