ทหารไทยทันสมัย ไม่งั่ง
เคยจ้างบรรษัทข้ามชาติอังกฤษฉกข้อมูลผู้ใช้เฟชบุ๊คเอามาปั่นกระแสทำรัฐประหารได้สำเร็จ
(Subject to further digging.)
บรรษัทดังกล่าว ‘เอสซีแอล’ หรือ Strategic Communication Laboratories (สถานวิจัยยุทธศาสตร์การสื่อสาร)
กำลังถูกเพ่งเล็งโดยกระบวนการสอบสวนเรื่องการแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐปี ๒๕๕๙ โดยรัสเซีย
ของอัยการพิเศษ รอเบิร์ต เอส. มูลเลอร์ ที่สาม
ผลงานเบื้องต้นของเอสซีแอลนอกจากจะเคยติดต่อกับบริษัทน้ำมันรัสเซีย
‘ลู้คออย’ ซึ่งพึ่งพาประธานาธิบดีวลาดิเมียร์
ปูตินแล้ว มักพัวพันในทางการเมืองโลกของประเทศที่กำลังพัฒนา
โดยผู้นำทหารและนักการเมืองของประเทศเหล่านั้นใช้บริการเพื่อโน้มน้าวมติมหาชนและจุดมุ่งหมายทางการเมือง
“จนประสพความสำเร็จในการทำรัฐประหาร”
เอสซีแอลอ้างว่าประเทศที่ใช้บริการเพื่อโน้มน้าวกระบวนการเลือกตั้งได้แก่
อิตาลี แล้ทเวีย ยูเครน อัลเบเนีย โรมาเนีย อาฟราใต้ ไนจีเรีย คีเนีย เมาริเชียส อินเดีย
อินโดนีเซีย ไทยแลนด์ ไต้หวัน โคลัมเบีย แอนติกัว เซนต์วินเซ้นต์และกรานาดีนส์
เซนต์คิตส์และเนวิส กับทรินิแดดและโทเบโก
เอสซีแอลร่วมกับมหาเศรษฐีอเมริกันรอเบิร์ต
เมอร์เซอร์ ซึ่งได้ชื่อว่า รวยที่สุดในโลกคนหนึ่ง ผู้สนับสนุนคนสำคัญของดอแนลด์
ทรั้มพ์ ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี ๕๙ จัดตั้งบริษัทลูกเปิดบริการปั่นกระแสการเมืองในสหรัฐ
นามว่า ‘Cambridge Analytica’
(บริษัทวิจัยเคมบริดจ์) ด้วยทุนของเมอร์เซอร์ ๑๕ ล้านดอลลาร์
รอเบิร์ต เมอร์เซอร์และลูกสาว (รีเบกาห์)
เข้าดำเนินการ ‘ซีเอ’ เต็มตัวโดยนำ
อเล็กซานเดอร์ นิก อดีตหัวหน้าแผนก ‘การเลือกตั้ง’ ของเอสซีแอลมาเป็นซีอีโอ ลูกค้าใหญ่ของซีเอในอเมริกาคือ เท็ด ครู้ซ หนึ่งในผู้เสนอตัวเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรครีพับลิกันเมื่อปี
๕๙
เทคนิคที่ซีเอใช้ในการช่วยหาเสียงให้เท็ด
ครู้ซ มาจากศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นามว่า ดร.อเล็กซานเดอร์
โคแกน ผู้คิดค้นแอพพลิเกชั่นในการฉกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เฟชบุ๊คเอามาวิจัยถึงความโน้มเอียงทางการเมืองเพื่อออกแบบการรณรงค์หาเสียงทางอินเตอร์เน็ต
(ผู้ที่ดึงโคแกนเข้ามาเป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้งเคมบริดจ์
แอนาลิติกา นามว่าคริสโตเฟอร์ ไวลี่ ซึ่งแยกตัวออกมาตั้งบริษัทใหม่ในปี ๒๕๕๗
เนื่องจากไม่พอใจที่ซีเอถูกนำไปใช้สนับสนุนกลุ่มการเมืองฝ่ายขวา เขาให้นิยามการปฏิบัติงานของซีเอว่าเป็น
“คลังแสงอาวุธ ในสงครามวัฒนธรรม”)
แอ็พดังกล่าวสามารถฉกข้อมูลให้แก่เคมบริดจ์
แอนาลิติกา ถึง ๕๐ ล้านราย ในจำนวนนี้มี ๓๐ ล้านรายที่นำเอาไปใช้สร้างฐานข้อมูล ‘แผนภาพจิตวิทยา’
สำหรับเจาะเข้าถึงในการหาเสียง (ทั้งนี้ตามรายงานของนิตยสาร The Intercept)
หากแต่ว่าใน
๓๐ ล้านรายนี้มีเพียง ๒๗๐,๐๐๐ รายเท่านั้นที่ให้การยอมรับในการใช้ข้อมูล เป็นเหตุให้เฟชบุ๊คมีหนังสือถึงซีเอเรียกร้องให้ลบข้อมูลเหล่านั้นเสีย
แต่ข้อเท็จจริงก็คือได้มีการเผยแพร่ข้อมูลกระจายออกไปบนโลกไซเบอร์นอกสารบบหมดแล้ว
หลังจากงานหาเสียงให้เท็ด
ครู้ซ ซึ่งไม่ประสพผลสำเร็จ เคมบริดจ์ แอนาลิติกา
ได้รับงานหาเสียงช่วยทีมของดอแนลด์ ทรั้มพ์ต่อ โดยเกี่ยวเนื่องกับสำนักข่าวไบร๊ท์บาร์ทของนายสตีเฟ็น
แบนน่อน ที่ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาพิเศษของประธานาธิบดีทรั้มพ์ แล้วไม่นานก็ลาออกหลังจากที่กระแส
‘ข้อกล่าวหา’ ร่วมมือรัสเซียช่วยโจมตีฮิลลารี่
คลินตัน ให้เป็นประโยชน์แก่ทรั้มพ์ กระหึ่มขึ้นมา
นั่นเป็นสาเหตุให้กองงานสืบสวนพิเศษของรอเบิร์ต
มูลเลอร์ (อดีตผู้อำนวยการเอฟบีไอ ซึ่งประธานาธิบดีจ๊อร์จ ดับเบิ้ลยู บุสช์ เป็นคนแต่งตั้ง)
ออกหมายเรียกข้อมูลอีเมลจากเคมบริดจ์ แอนาลิติกา ของผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวอังกฤษ
เนื่องจากสงสัยว่าจะมีการร่วมมือกับรัสเซียในการแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐ
ล่าสุด
อัยการพิเศษออกหมายเรียกไปถึงกิจการในเครือข่ายของดอแนลด์ ทรั้มพ์
เกี่ยวกับความผูกพันทางธุรกิจที่มีกับรัสเซีย ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐเขียนทวิตเตอร์เมื่อวันอาทิตย์
(๑๘ มีนาคม) โจมตีทีมงานของมูลเลอร์ว่าเต็มไปด้วยพวกเดโมแครท
(ทั้งที่มูลเลอร์เป็นสมาชิกพรรครีพับลิกันเก่าแก่)
ขณะที่ทนายส่วนตัวของทรั้มพ์แสดงความเห็นเรียกร้องให้มูลเลอร์ยุติการสอบสวนเรื่องทีมหาเสียงของทรั้มพ์ร่วมมือกับรัสเซียโน้มน้าวการเลือกตั้งจนได้ชัยชนะ
หลังจากที่กรรมาธิการพิเศษของสภาผู้แทน (เฮ้าส์) ยุติการสอบสวนไปเมื่อเดือนที่แล้ว
ประธานาธิบดีทรั้มพ์ออกมาย้ำเสริมว่า
“การสอบสวนของนายมูลเลอร์ไม่ควรจะมีขึ้นตั้งแต่แรก
เพราะไม่มีการร่วมมือกับรัสเซียในการปั่นกระแสในการเลือกตั้ง
ไม่มีอาชญากรรมเกิดขึ้น” เป็นผลให้เกิดการคาดหมายในแวดวงการเมืองเวลานี้ว่าประธานาธิบดีทรั้มพ์อาจสั่งปลดมูลเลอร์ในไม่ช้า
เช่นเดียวกับการปลดรัฐมนตรีต่างประเทศ
ที่ปรึกษาความมั่นคง และเจ้าหน้าที่รัฐหลายคนในช่วงนี้
ซึ่งมีทิศทางการทำงานไม่ตรงกับความต้องการส่วนตัวของทรั้มพ์
เรียบเรียงจาก
:วิกิพีเดีย https://en.wikipedia.org/wiki/SCL_Group, https://en.wikipedia.org/wiki/Cambridge_Analytica
นสพ.เดอะนิวยอร์คไทมส์ https://www.nytimes.com/2018/03/17/us/politics/cambridge-analytica-trump-campaign.html?emc=edit_th_180318&nl=todaysheadlines&nlid=364959380318, https://www.nytimes.com/2018/03/17/us/politics/cambridge-analytica-russia.html?ribbon-ad-idx=5&rref=politics&module=Ribbon&version=context®ion=Header&action=click&contentCollection=Politics&pgtype=article และ https://www.nytimes.com/2018/03/18/us/politics/trump-mueller.html?ribbon-ad-idx=5&rref=politics&module=Ribbon&version=origin®ion=Header&action=click&contentCollection=Politics&pgtype=article