พวก คสช.นี่บริหารบ้านเมือง
แก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประดิษฐ์คิดคำ เอามาใช้หลอกชาวบ้านไปวันๆ สองสามวันก่อน
ทั่นรองฯ กูรูฝ่ายเศรษฐกิจบอกไทยกำลัง ‘ทะยาน’
ไปสู่โฉมหน้าใหม่
“เป็นเศรษฐกิจยุคใหม่ในระดับที่พัฒนาขึ้น
และพร้อมเป็นศูนย์กลางการลงทุน
การคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน
โดยมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญต่อการทะยานในครั้งนี้”
ขณะที่ “โลตัสจัดโรลแบ๊คสู้กำลังซื้อดิ่ง ดัชนีอุตสาหกรรมตก
คนว่างงานเหยียบ ๕ แสน ข้าว ยาง ปาล์ม สินค้าเกษตร ผลไม้ราคาตก”
(จากคอมเม้นต์ของ ชัยวุฒิ สุวรรณโณ)
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังพูดถึง “การก้าวไปสู่การพลิกโฉมประเทศ
จำเป็นต้องมุ่งเน้นพัฒนากลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย”
โดยมีเลขาธิการสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ และนวัตกรรม (สวทน.)
มาเสริมว่า เมื่อปีที่แล้วมีการลงทุนด้านนี้จำนวนมหาศาลถึงกว่า ๑ แสนล้านบาท
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ อ้างว่าการลงทุนในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิต
สูงสุดเป็นด้านอาหาร ที่เฉือนด้านยานยนต์ด้วยมูลค่า ๑๕,๐๕๑ ล้านบาท กับ ๑๑,๘๗๙
ล้านบาท แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาไปกระจุกอยู่กับนายทุนอุตสาหกรรมรายใหญ่ ซีพี
สหพัฒน์ และไทยเบฟ
ปล่อยให้นวัตกรรมแท้ๆ ถูกเบียดบัง
และแม้กระทั่งเอารัดเอาเปรียบ ตัวอย่างใหม่เอี่ยมในประเด็นนี้สองเรื่องคือ กรณีรถเร่
‘มินิซี’ ออกจำหน่ายสินค้าของชำ
(groceries) ตามชุมชน
นัยว่าเป็นการทดลองตลาดเฉพาะที่ราชสีมาก่อนเท่านั้น แต่ก็ทำให้บรรดาผู้ค้ารถกระบะรุงรังพากันร้องจ้าก
อีกกรณีเกี่ยวกับนวัตกรรมการผลิต
เบียร์ประดิษฐ์ หรือ ‘Craft beers’ ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง
และสามารถคิดค้นได้ในประเทศ
แต่ต้องนำไปผลิตนอกประเทศเพราะกฏหมายเอื้อเฉพาะอุตสาหกรรมเบียร์รายใหญ่
อย่างบุญรอดฯ และไทยเบฟ
เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว บีบีซีไทยเสนอรายงานเกี่ยวกับคร้าฟท์เบียร์ไทย
“แค่คิดก็ผิดแล้ว” พบว่ามีเบียร์ประดิษฐ์สัญชาติไทยเกิดขึ้นราว ๓๐ ราย
ในรอบสองปีที่ผ่านมา แต่ว่าไม่สามารถผลิตในประเทศได้ แม้แต่การทดลองสูตรส่วนผสม ก็ยังถูกปรับกันระนาว
นันท์ชนก วงษ์สมุทร
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย เล่าถึง “เอ๊าท์ลอว์
เบียร์สัญชาติไทยซึ่งมีสำนักงานอยู่ใน อ.เมือง จ.เลย
ถูกดำเนินคดีในระหว่างที่ทดลองค้นสูตรเบียร์ที่เหมาะสม
ก่อนการนำสูตรดังกล่าวไปผลิตอย่างถูกกฎหมายในต่างประเทศ” (กัมพูชา)
ยังมีผู้ผลิตและคิดค้นอีกหลายเจ้าที่ถูกจับถูกปรับกันรายละหลายๆ
ครั้ง เพราะจำเป็นต้องทดลองสูตรของตนภายในประเทศให้สมบูรณ์เสียก่อนจะส่งไปผลิตนอกเขตแดน
ผู้ผลิตเหล่านั้นคิดค้นเบียร์คุณภาพดี รสชาติใหม่ๆ เป็นที่นิยมดื่มแพร่หลาย
ด้วยตัวบทกฎหมายที่เอื้อเฟื้อบริษัทเจ้าสัวแต่จำกัดจำเขี่ยกับผู้ผลิตแบบศิลปินเช่นนี้
ทำให้นวัตกรรมชนิดที่รองฯ สมคิดคุยนักหนาในปาฐกถา รังแต่จะเฉาตาย ขณะเดียวกันแนวโน้มที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศตะวันตกจะเข้ามารุกตลาดคร้าฟท์เบียร์เอเซีย
จะยิ่งทำให้เบียร์ประดิษฐ์ไทยตายทั้งกลม
ย้อนกลับไปเรื่อง ‘มินิซี’ แรกมีเสียงบ่นว่า “
ทว่านายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์
ชี้แจงว่า “ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ว่าธุรกิจดังกล่าวกระทำผิด
เพราะดูจากข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการดังกล่าวของห้างค้าปลีกรายใหญ่สามารถทำได้ไม่ต้องขออนุญาต”
Adisak
Limparungpatanakij ได้รับการตอบสนองและเอาไปแชร์
Nithiwat Wannasiri เสริมว่า “ของที่ขายจากระบบสายพานอุตสาหกรรมกับระบบสายพานการผลิตท้องถิ่น
ยังมีความแตกต่างของสินค้าอยู่ อันไหนมันเหมือนกันก็เกิดการแข่งขัน ก็เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากกว่า
สิ่งที่คิดว่าควรจะโวยจริงคือการ ‘ละเว้นภาษี ๕%’ ให้ ๒๔ ทุนใหญ่ประชารัฐ เพราะมันเป็นการทำลายศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดของทุนที่ไม่หนุนรัฐประหาร”