วันเสาร์, มกราคม 18, 2568

ฝนหลวง สามารถแก้วิกฤตฝุ่นได้ 50% จริงหรือ คุณบัณรสวิจารณ์กรมฝนหลวงกับปฏิบัติการลดฝุ่นว่า ต้องไม่สื่อสารการแก้ปัญหาแบบเกินจริง โฆษณาชวนเชื่อ กล่อมให้ประชาชนหลงไปว่ารัฐได้แก้ปัญหาให้แล้ว

Bunnaroth Buaklee
21 hours ago
·
50% ตรงไหน อย่าแก้วิกฤตฝุ่นด้วยมาตรการตีกิน

#ฝุ่นไฟ68 ep8

17 มกราคม 2568



เมื่อวาน (16มค) ได้มีการประชุมหารือในหัวข้อเรื่อง การจัดการปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยา เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา PM2.5 จัดโดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate – HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

ในครั้งนี้ HTAPC ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตรให้ข้อมูลนำเสนอแนวทางการจัดการปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาดัดแปรสภาพอากาศให้ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยน

ผมได้รับเชิญเข้าร่วมด้วยทางซูมและได้มีโอกาสสอบถามข้อสงสัยแลกเปลี่ยนกับท่านผู้เชี่ยวชาญฝนหลวง

ข้อหารือและข้อสรุปทางวิชาการ HTAPC คงจะมุ่งไปทางพัฒนาการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีความรู้เชิงวิชาการ หรือการศึกษาวิจัยที่ก้าวหน้าต่อ

แต่สำหรับผม ในฐานะผู้ประสบปัญหาภาคประชาชน มองเห็นในแง่ปัญหาของนโยบายสาธารณะ public policy โดยเฉพาะมาตรการแก้ปัญหาวิกฤตมลพิษอากาศที่เรื้อรังมานาน ถ้ามาตรการมันไม่ใช่ รัฐต้องปรับปรุง

ในแง่มุมนี้ ผมเห็นว่า รัฐบาลและกระทรวงเกษตร ต้องไม่สื่อสารการแก้ปัญหาแบบเกินจริง โฆษณาชวนเชื่อ กล่อมให้ประชาชนหลงไปว่ารัฐได้แก้ปัญหาให้แล้ว ทั้งๆ ที่เนื้อปัญหายังไม่ได้แก้

ต้องไม่ตีกิน และโอเวอร์เคลม



เดิมกรมฝนหลวง ทำฝนเทียม อันนี้ไม่แตะ

กรมฝนหลวงมีปฏิบัติการแก้ปัญหาฝุ่น pm2.5 ผ่านมาตรการ 3 เทคนิค คือ เลี้ยงเมฆ ก่อเมฆ และสุดท้ายคือ เจาะบรรยากาศ

การเลี้ยงเมฆก่อเมฆ ต้องใช้ความชื้นสูง พอเข้าหน้าแล้งความชื้นไม่พอก็ไม่ได้ทำ สองเรื่องดีงามนี้ก็ไม่ขอแตะ

แต่ที่จะต้องแตะคือ เทคนิคบินโปรยน้ำ โปรยสารน้ำแข็งแห้ง ที่ชั้นบรรยากาศผกผัน inversion ระดับบน (2-3 ก.ม.) อ้างว่า เจาะออกให้อากาศระบายได้ และทำให้ฝุ่นลด

สำหรับปีนี้ภาคเหนือ กรมฝนหลวงเริ่มบินต้้งแต่ ธันวาคมที่ผ่านมา มีฐานที่เชียงใหม่ จนล่าสุดก็บินเกือบทุกวัน อ้างว่า เจาะบรรยากาศแก้พื้นที่ปัญหา แต่ข้อเท็จจริงคือ อากาศตอนนี้ดีทุกวัน หน้าหนาว ลมพัดทิศทางจากเหนือ/เฉียงเหนือ แหล่งกำเนิดใหญ่ไม่มี ฝุ่นต้นฤดูเกิดมากที่อีสานกลางลงไปโน่น

บินโปรยทุกวัน มีค่าใช้จ่ายทั้งการบินและการสารเคมี ในนามของการแก้วิกฤตที่ข้างล่างยังไม่ถึงเวลาเกิดวิกฤต

และทุกๆ วัน เพจของกรมฝนหลวง ก็ออกมาสื่อสารสรุปปฏิบัติการ โดยเล่าว่าได้บินวนเหนือท้องฟ้าจังหวัด เพื่อระบายฝุ่น กลับลงมาตอนเย็น ได้เอาค่าฝุ่นจากสถานีพื้นราบมาเคลม เป็นนัยบอกว่า การที่ค่าฝุ่นจากสถานีพื้นราบลดลงนั้น มาจากปฏิบัติการขึ้นไปเจาะบรรยากาศ

อันนี้คือตีกิน ลักษณะโอเวอร์เคลม !

เพราะปกติแล้ว ค่าฝุ่นภาคเหนือจะสูงในตอนเช้า และพอตกบ่ายมันก็ยกขึ้น อากาศดีขึ้น เป็นวงจรปกติ .... ตอนบ่ายลดลงจากตอนเช้ามันเป็นปกติของมันต่อให้ไม่มีการบินไปเจาะอากาศใดๆ เลยก็ตาม

กรมฝนหลวงใช้วิธีสื่อสารเทียบค่าอากาศจาก แอพพลิเคชั่น airvisual ที่จัดลำดับเมืองที่มีค่าฝุ่นระดับโลก แล้วบอกว่าหลังจากการบินโปรยสาร สามารถทำให้ กรุงเทพ หรือ เชียงใหม่ มีค่าลำดับลดลงเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ทั่วโลก

เป็นการเทียบแบบดื้อๆ ทื่อๆ โดยขอแค่มีลำดับลด หยิบมาเป็นผลงานของตัวเองเฉยซะงั้น !!

มาตรการของรัฐ ใช้ภาษี ต้องไม่หลอกประชาชน รัฐต้องตรงไปตรงมาโดยเฉพาะกับภัยพิบัติ แก้ได้จริงหรือไม่...มีศักยภาพจริงแค่ไหน...ต้องไม่ตีกินในแบบโฆษณาชวนเชื่อ ยาบวดหายรักษาทุกโรค

ประชาชนทนทุกข์มานาน และถูกหลอกถูกตบตามานาน เช่น ไม่กี่ปีก่อนมีการระดมคนมาฉีดน้ำขึ้นฟ้า บอกว่ากำลังแก้ให้นะ !



ชั้นบรรยากาศผกผัน inversion เป็นอะไรค่อนข้างซับซ้อนจากความสนใจสังคม มันคืออากาศบนฟ้าเหนือเราขึ้นไป มีชั้นที่อุ่น เหมือนฝาปิด ปกติอากาศนั้นยิ่งสูงยิ่งหนาว พอมีอะไรมาปิดก็ไม่ระบาย การไปแก้ต้องทำให้ตรงนั้นมีอุณหภูมิต่ำลง

แต่อากาศมันกว้างใหญ่ แค่น้ำแข็งแห้ง 1-2 ตันบินวนก้นหอยรัศมี 10 กิโลเมตร สามารถทำให้ชั้นฟ้าตรงนั้นทะลุออก ..ทำได้จริงหรือไม่ แค่ไหน ที่ประชุมระดมหารือกันตรงนี้มากเป็นพิเศษ

กรมฝนหลวงได้ทำการทดลองเมื่อปี 60-61 ระหว่างที่ปัญหาฝุ่นเริ่มทวีขึ้น โดยใช้น้ำแข็งแห้งโปรยเหนือระดับ inversion แต่ไม่สามารถไปวัดอุณหภูมิที่ชั้นดังกล่าวได้ มันอันตรายกับการบิน ท่านจึงใช้วิธีวัดเปรียบเทียบค่า aerossolฝุ่นละอองจิ๋ว จากระดับที่โปรย...

แล้วได้ข้อสรุปว่า ปริมาณ aerosol หลังจากบินโปรย มีมากกว่ากันถึง 50% อนุมานว่า นี่คงเป็น pm2.5 ที่ทะลักผุดขึ้นจากรอยรูรั่วนั้น ขึ้นไปบนชั้นฟ้า

ซึ่งเทคนิค methodology ตรงนี้ วงวิชาการก็สงสัยอยู่ครับ ว่ามันไม่ได้พิสูจน์ว่า น้ำแข็งแห้งและสเปรย์น้ำเย็น สามารถสลาย inversion ได้จริง มันควรต้องมีวิจัยสนับสนุนเพิ่ม

งานวิจัยวิชาการก็ว่าไปต่อเหอะครับ แต่สำหรับผมมันชัดเจนแล้วว่า กรมฝนหลวงเอาตัวเลข 50% ของการวัดค่าอนุมูลฝุ่นหลังโปรย มาเคลมแบบเหมารวม ตีกิน ทำให้สังคมเบลอ

ด้วยการเอาตัวเลข 50% มาแถลงข่าว ตั้งแต่ปีที่แล้ว มายันรัฐมนตรีเกษตรคนปัจจุบัน บอกสังคมว่า โปรยสารแล้วสามารถลดฝุ่นลงได้ 50%

เฮ้ยยยยยยย อ่ะครับ !!! การทดลองบนชั้นฟ้า สูงขึ้น 3 กม. วัดแค่อณูละอองฝุ่น aerosol หลังการโปรยมีมากขึ้น แต่ไม่ได้มีอะไรที่ยืนยันว่า ในระหว่าง 2-3 ชั่วโมงหลังจากโปรย มันสามารถดูด pm2.5 จากระดับพื้นดินทะลุเพดาน จนทำให้ค่าฝุ่นพื้นราบลดลง 50% แม้แต่น้อย !

50% ของการแถลงข่าว จึงเป็น 50% กำกวม หลอกล่อ ทำให้งง ตีกิน เหมือนขึ้นไปชกลมฟืดฟาด แล้วบอกประชาชนว่ากูต่อยศัตรูให้เอ็งแล้วนะ

ประชาชนถูกกระบวนท่าหลอกล่อ ไม่ชกจริงมาหลายเรื่องแล้วครับ ขอเถอะครับท่านครับ



ผมเรียนตัวแทนกรมฝนหลวงในที่ประชุมว่า สิ่งที่ได้กรมได้ทำมานั้นมีคุณค่ากับสังคม เห็นด้วยกับเทคนิคก่อเมฆ หรือกระทั่งบินไปสลายแนวโน้มเกิดพายุฤดูร้อนลูกเห็บต่างๆ

แต่สำหรับกรณีการบินเจาะอากาศผมยังสงสัย ในฐานะประชาชนดมฝุ่นผมยังไม่เชื่อว่า บินตอนบ่ายโปรยปุ๊บ มันจะสามารถดูดฝุ่นจากพื้นล่างขึ้นไป จนทำให้ค่าฝุ่นตามสถานีต่างๆ ลดลง อันนี้ได้เรียนไปตามตรง โดยไม่ได้มีความเป็นปฏิปักษ์ส่วนตัวใดๆ เอาปัญหาส่วนรวมเป็นตัวตั้ง

ในฐานะผู้อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหา ยังเห็นว่า รัฐยังบริหารจัดการมาตรการแก้วิกฤตให้มีประสิทธิภาพกว่านี้ ในบางหน่วยที่ไปเผชิญเหตุ แก้ที่ต้นเหตุ เช่นการลาดตระเวน ป้องปราม เฝ้าระวัง ยังขาดงบประมาณอยู่เลย

ระบบราชการเราเป็นแท่งภารกิจ งบปกติไม่ได้ตั้ง ปีนี้งบกลางยังไม่ออก ปีกลายกว่างบกลางออกปาเข้าไปปลายฤดู มีหน่วยที่ขาดงบขาดคนอีกเยอะแยะ

แต่บางหน่วย เงินอู้ฟู่ บินตั้งแต่ธันวาคม ตั้งแต่อากาศยังเหลืองยังเขียว สูดเข้าปอดสบายๆ ท่านก็บิน อ้างว่า ลดฝุ่นให้

มันไม่ใช่แค่น้ำมันเครื่องบิน สารเคมีที่ซื้อไปโปรยนั้นก็เงินภาษี ใครล่ะที่ได้ประโยชน์มากสุด

ผมเขียนเรื่องนี้ คงมีคนไม่ชอบขี้หน้าเพิ่มขึ้น ติดต่องานลำบากขึ้น แต่ถ้าประชาชนไม่เปิดไม่ชน ราชการด้วยกันคงไม่ทำ ฝ่ายวิชาการท่านก็มีบุคลิกลักษณะของท่าน ปัญหาจะเรื้อรังต่อไปอีก

เรื่องเทคนิควิชาการ ไปถามวงวิชาการนะครับ

ส่วนเรื่องการเคลม การทำให้สังคมหลง งง เบลอ อันนี้มันชัดเจน ว่าท่านต้องเลิกตีกิน สงสารประชาชนเถอะ



อ่านข่าว สำนักข่าวไทย -- “นฤมล” สั่งกรมฝนหลวงปฏิบัติการเจาะชั้นบรรยากาศเร่งระบายฝุ่น PM 2.5 ท้ายเมนท์
https://tna.mcot.net/environment-1472488
https://www.facebook.com/photo/?fbid=9653532524691403&set=a.102517406459677
.....

ถาม Google AI





Yes, cloud seeding can potentially help reduce PM 2.5 levels by inducing rainfall which can wash particulate matter out of the atmosphere, thereby temporarily lowering air pollution, particularly in areas with high PM 2.5 concentrations; however, its effectiveness is dependent on weather conditions and the type of pollution, and is not considered a long-term solution as it does not address the root causes of air pollution.

Mechanism:
When cloud seeding creates rain, the falling droplets can capture and carry PM 2.5 particles to the ground, effectively removing them from the air.

Limitations:
Weather dependent: Cloud seeding only works when suitable cloud conditions exist, meaning it cannot be used to produce rain on demand.

Localized impact: The area affected by cloud seeding is typically limited, mainly benefiting nearby regions.

Potential for minimal effect on finer particles: While cloud seeding can reduce larger particulate matter (like PM10), its effectiveness on very fine particles like PM 2.5 might be less pronounced.

Research and concerns:

While research suggests potential benefits of cloud seeding for air quality, further studies are needed to fully understand its impact and potential environmental consequences.

Some critics argue that focusing on cloud seeding as a primary solution can distract from addressing the root causes of air pollution like industrial emissions.