วันพฤหัสบดี, มกราคม 16, 2568

ในช่วงหลังมานี้ศาลยุติธรรมตีความข้อหา 112 ของกฎหมายอาญา ไปเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 อยู่หลายคดี เช่น การที่ศาลยุติธรรมปฏิเสธการเรียกเอกสารเพื่อต่อสู้คดีของ ‘อานนท์ นำภา’ ‘สมชาย ปรีชาศิลปกุล’ เห็นว่านี่เป็นการตีความแบบครอบจักรวาล เพื่อหักล้างมาตรา 34 ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น


ประชาไท Prachatai.com
19 hours ago
·
ในช่วงหลังมานี้ศาลยุติธรรมตีความข้อหา 112 ของกฎหมายอาญา ไปเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 อยู่หลายคดี เช่น การที่ศาลยุติธรรมปฏิเสธการเรียกเอกสารเพื่อต่อสู้คดีของ ‘อานนท์ นำภา’ โดยศาลอ้างมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญจนเกิดข้อกังขาว่าการเรียกเอกสารดังกล่าวเป็นการล่วงละเมิดกษัตริย์อย่างไร ‘สมชาย ปรีชาศิลปกุล’ เห็นว่านี่เป็นการตีความแบบครอบจักรวาลและกำลังทำให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งอีกคุณค่าหนึ่งในรัฐธรรมนูญถูกหักล้าง
.
จักรวาล ทำให้ดูเหมือนว่าการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์จะกลายเป็นสิ่งที่ขัดต่อมาตรา 6
.
หลักการ king can do no wrong หมายถึงพระมหากษัตริย์ไม่อาจทำความผิดได้ในทางการเมือง เพราะต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่หากเป็นการกระทำส่วนพระองค์สามารถฟ้องร้องได้ เช่นที่รัชกาลที่ 7 เคยถูกกระทรวงการคลังฟ้อง
.
รัฐธรรมนูญ 2492 เป็นจุดเริ่มต้นของมาตรา 6 วรรคที่ว่า ‘ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้’
.
มาตรา 6 และมาตรา 34 ตามรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ล้วนเป็นคุณค่าหลักในรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถใช้คุณค่าใดคุณค่าหนึ่งเพื่อหักล้างอีกคุณค่าหนึ่งได้
.
การใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ประกอบกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทำให้เกิดการขยายความกฎหมายออกไปอย่างกว้างขวาง
.
อ่านต่อทั้งหมด
สมชาย ปรีชาศิลปกุล: ม.6 บวก 112 การตีความครอบจักรวาลที่หักล้างสิทธิเสรีภาพ
https://prachatai.com/journal/2025/01/111959