Romadon Panjor - รอมฎอน ปันจอร์
12 hours ago
·
คำขอโทษและตากใบ --- วันนี้ (2 พ.ย.) เมื่อ 18 ปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าว #คำขอโทษ อย่างเป็นทางการต่อสิ่งที่เกิดขึ้นใน #เหตุการณ์ตากใบ ต่อหน้าผู้นำและประชาชนในชายแดนใต้ 1,500 คน ณ ห้องประชุมน้ำพราว โรงแรมซีเอสปัตตานี ระหว่างการลงพื้นที่ครั้งแรกหลังรับตำแหน่ง (หลังรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ) เมื่อ 1 เดือนก่อนหน้านั้นของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และเพิ่งผ่านวาระครบรอบ 2 ปี เหตุการณ์ตากใบไปไม่กี่วัน คำขอโทษในวันนั้นมีผลสะเทือนอย่างมาก เพราะตามมาด้วยปฏิกริยาที่หลากหลายทั้งจากในสังคมไทยโดยรวมและในพื้นที่ชายแดนใต้ ทั้งในมิติของการตอบรับและการตอบโต้
อย่างไรก็ตาม เราควรต้องทำความเข้าใจต่อความหมายของคำขอโทษครั้งนั้นสักหน่อยครับ
คำกล่าวขอโทษที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของช่วงถาม-ตอบและแสดงความคิดเห็น หลังจากที่นายกฯ สุรยุทธ์ มีคำกล่าวยาวเหยียดก็มีคนลุกขึ้นอภิปรายเสนอแนะและตั้งคำถามจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นผู้นำมุสลิมจากสตูล (จริง ๆ คือพ่อผมเอง) เสนอหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเรียกร้องให้นำเจ้าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ตากใบมาลงโทษ พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการขอโทษ หลังจากนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ ก็กล่าวถึงแนวคิดที่จะมีการถอนฟ้องในคดีที่รัฐกำลังทำสำนวนฟ้องแกนนำผู้ชุมนุม 58 คน เนื่องจากเห็นว่าหลักฐานอ่อน พร้อมทั้งยืนยันว่าการดำเนินคดีทั้งอาญาและแพ่งกำลังอยู่ในระหว่างการสืบสวน พร้อมทั้งกล่าวว่า
“...เรียนให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจว่าผมไม่ได้มองด้านเดียว ผมมองปัญหาโดยรอบ แล้วที่ท่านขอให้รัฐบาลขอโทษ ผมมาในวันนี้ ผมขอโทษแทนรัฐบาลที่แล้ว ขอโทษแทนรัฐบาลนี้ว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในอดีตเป็นความผิดเป็นส่วนใหญ่ของรัฐ ซึ่งเราจะต้องหาทางช่วยกันแก้ไขกันต่อไป วันนี้มาในฐานะที่อยากจะยื่นมือออกไป และบอกว่าผมเป็นคนผิด ผมมาขอโทษ ผมในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการทหารบกในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ผมได้พยายามคัดค้านแต่ก็ไม่เป็นผล นั่นเป็นความผิดส่วนหนึ่งของผม ซึ่งไม่สามารถจัดการได้ และยอมรับว่าผมมีส่วนที่ได้พยายามคัดค้านการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลที่แล้ว แต่ไม่เป็นผล หลาย ๆ คนได้ช่วยกันคัดค้าน ไม่ใช่ผมคนเดียว แต่ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้คัดค้าน และท่านคงทราบดีว่าผมเป็นคนซึ่งเขามองในลักษณะที่ไม่ได้ให้ความร่วมมือ”
หากอ่านคำกล่าวของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในวันที่ 2 พ.ย.2549 อย่างละเอียด จะเข้าใจได้ว่าคำขอโทษนั้นมี 2 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ ความหมายแรก เป็นการขอโทษในนาม #รัฐบาล ต่อสิ่งที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้ทำไป (รัฐบาลทักษิณ) และถือเป็นความผิดของ #รัฐ ในขณะที่อีกความหมายหนึ่งคือการขอโทษในสิ่งที่ตนไม่สามารถจะ #คัดค้าน แนวทางของรัฐบาลทักษิณได้สำเร็จ ผลก็คือทำให้สถานการณ์บานปลายและยืดเยื้อถึงตอนนั้น
เราอาจจะพูดได้ว่า #คำขอโทษสองชั้น ในสองความหมายนี้เป็นทั้งการปลดปล่อยความรู้สึกอัดอั้นกดดันของประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยความรุนแรงตลอดเกือบสามปีก่อนหน้านั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความชอบธรรมต่อการครองอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารไปด้วยในเวลาเดียวกัน
มันจึงค่อนข้างประดักประเดิดนิดหน่อย เมื่อในอีก 20 ปีถัดมา ผู้นำรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยกล่าวถึง #คำขอโทษ ของสุรยุทธ์โดยไม่แสดงว่าได้ตระหนักถึงเรื่องนี้
บริบทของคำขอโทษนั้นก็น่าสนใจครับ การลงพื้นที่ครั้งนั้นเกิดขึ้นหลังจากนายกฯ สุรยุทธ์ ลงนามในคำสั่งสำนักนายกฯ 3 ฉบับ ที่มีนัยสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นก็คือคำสั่งที่ 205/2549 ที่ฟื้นบทบาทของ กอ.รมน.อีกครั้ง (หลังจากก่อนหน้านั้นไม่นานมีคดีอื้อฉาวที่คนของ กอ.รมน.เข้าไปมีส่วนพัวพันกับคดีลอบสังหารนายกฯ ทักษิณ) และถือเป็นกลไกหลักในการรับมือกับไฟใต้ ในขณะที่คำสั่ง 206/2549 เป็นนโยบายการเสริมสร้างสันติสุข จชต. ที่กำหนดทิศทางและจุดเน้นใหม่อย่างเป็นระบบ ส่วนคำสั่ง 207/2549 คือคำสั่งฟื้นคืนบทบาทของ ศอ.บต. หลังจากที่นายกฯ ทักษิณ สั่งยุบไปเมื่อเมษายน 2545 และกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงตลอดสถานการณ์ #ไฟใต้ ก่อนหน้านั้น
คำสั่งทั้งสามฉบับลงนามในวันที่ 30 ต.ค. หรือก่อนหน้าจะลงพื้นที่เพียง 3 วัน ในขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการ ศอ.บต. คนใหม่ได้รับแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 1 พ.ย.เลย ซึ่งก็คือ พระนาย สุวรรณรัฐ น้องชายของพลากร สุวรรณรัฐ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนี้และขณะนั้นเป็นหนึ่งในองคมนตรี วันลงพื้นที่จึงถือเป็นวันเปิดตัว #ผู้อำนวยการ คนใหม่ด้วยเช่นกัน
การลงพื้นที่ในวันนั้นเป็นการไปเช้าเย็นกลับ นายกฯ สุรยุทธ์ เดินทางมาพร้อมกับรัฐมนตรีบางคนและหัวหน้าหน่วยงาน โดยเฉพาะ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คมช.ที่รั้งตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และแน่นอน ผอ.พระนาย นั่นเอง เดิมทีงานในวันนั้นมีนัดหมายกับผู้นำและตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ให้มาร่วมรับฟังถ้อยแถลง มีรายงานว่าในตอนแรกเชิญ 1,000 คน แต่มาจริง 1,500 คน เรียกได้ว่าเต็มห้องประชุมน้ำพราวซึ่งใหญ่ที่สุดในโรงแรมซีเอสฯ ในจำนวนนี้มีกลุ่มญาติผู้สูญเสียในเหตุการณ์จำนวนหนึ่งที่เตรียมยื่นหนังสืออีกด้วย
จะว่าไปแล้ว ข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี #กล่าวคำขอโทษ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในห้องประชุมวันนั้น ที่น่าสนใจก็คือประเด็นนี้เป็น 1 ใน 19 ข้อเรียกร้องของอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 คนหนึ่ง ที่แถลงก่อนวันก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณเพียง 1 วัน นั่นก็คือ พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวในวันที่ 18 ก.ย. เสนอต่อ #รัฐบาลใหม่ ที่จะมีนายกฯ #หน้าเหลี่ยม หรือ #หน้าหล่อ นอกจาก “รัฐบาลใหม่ต้องไปขอโทษประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ เหมือนอย่างที่สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยทำมาแล้ว” ซึ่งอยู่ในข้อ 2 แล้ว ยังมีการเรียกร้อง “ให้คำตอบเรื่องกรณีตากใบ” ที่ระบุเอาไว้ในข้อ 6 ด้วย
เรื่องจังหวะเวลาของข้อเสนอนี้ก็น่าสนใน เพราะใน 19 ข้อนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 ก.ย. หรือวันดีเดย์ในการยึดอำนาจ ไม่นับรวมหลายเรื่องที่เรียกร้องให้ทหารต้อง “ทำในสิ่งที่ควรทำ” และการวิจารณ์การปรับปรุงโครงสร้างบางอย่างภายใน กอ.รมน. ที่หนึ่งในข้อเรียกร้องคือให้ ผบ.ทบ.นั้นดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ กอ.รมน. แทนที่จะให้รองนายกฯ ชิดชัย ในขณะนั้นถือตำแหน่งนี้
ทั้งจังหวะเวลา ถ้อยความ และข้อเสนอนั้นดูจะสอดรับกับเหตุการณ์ล้มรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น พล.อ.ปานเทพ คนนี้ในเวลาต่อมาได้รับกาแต่งตั้ง (จาก คมช.) ให้ดำรงตำแหน่ง สนช. และเคยประกาศด้วยว่าพร้อมจะเป็น #พยาน ในคดีที่ลากตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ตากใบด้วยเช่นกัน
ผลสะเทือนของคำขอโทษนั้นคงต้องมีการประเมินกันดี ๆ ครับ เพราะแม้ว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดีในที่ประชุม ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้เข้าร่วมบางคนหลั่งน้ำตาด้วยความซาบซึ้งใจ พร้อมกับคาดหวังว่าสถานการณ์ในชายแดนใต้จะดีขึ้น ในวันที่มีการกล่าวคำขอโทษ ทางอัยการสูงสุดก็ตอบสนองโดยการมีคำสั่งให้มีการถอนฟ้องแกนนำผู้ชุมนุมในคดีตากใบ (แต่ก็ต้องบันทึกไว้ด้วยว่าในวันที่ 13 ธ.ค.หรืออีก 1 เดือนต่อมา อัยการนราธิวาสก็มีคำสั่ง #งดสอบสวน ในคดีที่เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมหน้าโรงพักตากใบ ซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 ศพ) ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้น ในขณะที่รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น (จาตุรนต์ ฉายแสง) ก็ให้ความเห็นตอบรับอย่างดี
ในความเห็นผม ปฏิกริยาตอบโต้ต่อการริเริ่มของนายกฯ สุรยุทธ์ จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน ซึ่งผมยังไม่มั่นใจว่าเกี่ยวข้องกันโดยตรงหรือไม่ แต่สถานการณ์เผชิญหน้าและความตึงเครียดเพิ่มสูงขึ้นไม่ถึงสัปดาห์หลังจากนั้น หมุดหมายที่ผมเคยบันทึกเอาไว้คือวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งปรากฎเหตุการณ์ 2 ชุด ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการวัดใจรัฐบาลในขณะนั้น
หนึ่ง คือการชุมนุมเพื่อขับไล่ฐาน ตชด. 3201 ที่โรงเรียนบ้านบาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งจะกลายเป็นตัวแบบให้กับการชุมนุมอีกหลายสิบครั้งตลอดปลายปี 2549 ต่อเนื่องถึงปี 2550 ในการชุมนุมเหล่านั้น แม้จะเป็นการชุมนุมโดยสันติ แต่เมื่อเกิดขึ้นในห้วงที่ความรุนแรงยังคงถาโถมอย่างหนักและตามมาด้วยการชุมนุมต่อต้านการชุมนุมอีกหลายครั้ง สถานการณ์เผชิญหน้าเกิดขึ้นอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้ก็ยากจะรับมือ
อีกชุดเหตุการณ์ คือ การลอบสังหารและเผาร่างพ่อลูกชาวไทยพุทธที่บ้านสันติ 2 ซึ่งยังผลให้ชาวบ้านหลายร้อยคนต้องอพยพย้ายออกจากหมู่บ้านกลางเขาในบันนังสตามาพำนักที่วัดนิโรธสังฆาราม กลางเมืองยะลา ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิกฤตขั้นสุดที่เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยจนต้องมีการโยกย้ายหนีตายกันทั้งชุมชน
หากกรณีการชุมนุมเป็นความขัดแย้งแนวดิ่งระหว่างรัฐกับประชาชน การสังหารชาวพุทธจนต้องหนีตายออกมาในเมืองก็สะท้อนวิกฤตความสัมพันธ์แนวราบระหว่างประชาชนที่มีชาติพันธุ์-ศาสนาต่างกัน ทั้งหมดนี้ ส่งผลทั้งโต้ตอบและตั้งคำถามต่อความมั่นคงแน่วแน่ของรัฐบาลสุรยุทธ์ในเวลานั้น ในวินาทีนั้นเราใกล้เคียงสภาวะ #สงครามกลางเมือง มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสุรยุทธ์ในเวลานั้นก็ถูกโจมตีอย่างหนักว่ากำลังดำเนินนโยบาย #ปูผ้ากราบโจร แม้ว่าในทางปฏิบัติจะเริ่มมีปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นขนานใหญ่เพื่อรื้อทำลายโครงสร้างของบีอาร์เอ็นในระดับหมู่บ้านในขณะนั้นก็ตาม ผลที่ตามมาก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและส่งผลให้เกิดความรู้สึกต่อต้านหนักมากยิ่งขึ้น
ในปีถัดมา หรือในปี 2550 เกิดเหตุการณ์จำนวนมากในแบบแผนที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ยอดสถิติของเหตุการณ์ความรุนแรงและบาดเจ็บล้มตายมากที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังคำขอโทษของนายกรัฐมนตรีครับ บทเรียนสำคัญก็คือว่าการริเริ่มส่งสัญญาณสันติภาพนั้นต้องมีความมุ่งมั่น แน่วแน่ และยืนหยัดผ่านการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็ยาวเกินไปแล้วครับ ไว้ค่อยไล่เรียงกันอีกทีวันหลัง
ปล.ภาพประกอบจาก #กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 3 พ.ย.2549
#คดีตากใบ
#ตากใบ2547
#ตากใบ2567
.....
Romadon Panjor - รอมฎอน ปันจอร์
สำหรับคนที่สนใจ อ่านคำกล่าวในวันนั้นตามนี้ครับ
·
คำขอโทษและตากใบ --- วันนี้ (2 พ.ย.) เมื่อ 18 ปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าว #คำขอโทษ อย่างเป็นทางการต่อสิ่งที่เกิดขึ้นใน #เหตุการณ์ตากใบ ต่อหน้าผู้นำและประชาชนในชายแดนใต้ 1,500 คน ณ ห้องประชุมน้ำพราว โรงแรมซีเอสปัตตานี ระหว่างการลงพื้นที่ครั้งแรกหลังรับตำแหน่ง (หลังรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ) เมื่อ 1 เดือนก่อนหน้านั้นของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และเพิ่งผ่านวาระครบรอบ 2 ปี เหตุการณ์ตากใบไปไม่กี่วัน คำขอโทษในวันนั้นมีผลสะเทือนอย่างมาก เพราะตามมาด้วยปฏิกริยาที่หลากหลายทั้งจากในสังคมไทยโดยรวมและในพื้นที่ชายแดนใต้ ทั้งในมิติของการตอบรับและการตอบโต้
อย่างไรก็ตาม เราควรต้องทำความเข้าใจต่อความหมายของคำขอโทษครั้งนั้นสักหน่อยครับ
คำกล่าวขอโทษที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของช่วงถาม-ตอบและแสดงความคิดเห็น หลังจากที่นายกฯ สุรยุทธ์ มีคำกล่าวยาวเหยียดก็มีคนลุกขึ้นอภิปรายเสนอแนะและตั้งคำถามจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นผู้นำมุสลิมจากสตูล (จริง ๆ คือพ่อผมเอง) เสนอหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเรียกร้องให้นำเจ้าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ตากใบมาลงโทษ พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการขอโทษ หลังจากนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ ก็กล่าวถึงแนวคิดที่จะมีการถอนฟ้องในคดีที่รัฐกำลังทำสำนวนฟ้องแกนนำผู้ชุมนุม 58 คน เนื่องจากเห็นว่าหลักฐานอ่อน พร้อมทั้งยืนยันว่าการดำเนินคดีทั้งอาญาและแพ่งกำลังอยู่ในระหว่างการสืบสวน พร้อมทั้งกล่าวว่า
“...เรียนให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจว่าผมไม่ได้มองด้านเดียว ผมมองปัญหาโดยรอบ แล้วที่ท่านขอให้รัฐบาลขอโทษ ผมมาในวันนี้ ผมขอโทษแทนรัฐบาลที่แล้ว ขอโทษแทนรัฐบาลนี้ว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในอดีตเป็นความผิดเป็นส่วนใหญ่ของรัฐ ซึ่งเราจะต้องหาทางช่วยกันแก้ไขกันต่อไป วันนี้มาในฐานะที่อยากจะยื่นมือออกไป และบอกว่าผมเป็นคนผิด ผมมาขอโทษ ผมในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการทหารบกในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ผมได้พยายามคัดค้านแต่ก็ไม่เป็นผล นั่นเป็นความผิดส่วนหนึ่งของผม ซึ่งไม่สามารถจัดการได้ และยอมรับว่าผมมีส่วนที่ได้พยายามคัดค้านการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลที่แล้ว แต่ไม่เป็นผล หลาย ๆ คนได้ช่วยกันคัดค้าน ไม่ใช่ผมคนเดียว แต่ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้คัดค้าน และท่านคงทราบดีว่าผมเป็นคนซึ่งเขามองในลักษณะที่ไม่ได้ให้ความร่วมมือ”
หากอ่านคำกล่าวของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในวันที่ 2 พ.ย.2549 อย่างละเอียด จะเข้าใจได้ว่าคำขอโทษนั้นมี 2 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ ความหมายแรก เป็นการขอโทษในนาม #รัฐบาล ต่อสิ่งที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้ทำไป (รัฐบาลทักษิณ) และถือเป็นความผิดของ #รัฐ ในขณะที่อีกความหมายหนึ่งคือการขอโทษในสิ่งที่ตนไม่สามารถจะ #คัดค้าน แนวทางของรัฐบาลทักษิณได้สำเร็จ ผลก็คือทำให้สถานการณ์บานปลายและยืดเยื้อถึงตอนนั้น
เราอาจจะพูดได้ว่า #คำขอโทษสองชั้น ในสองความหมายนี้เป็นทั้งการปลดปล่อยความรู้สึกอัดอั้นกดดันของประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยความรุนแรงตลอดเกือบสามปีก่อนหน้านั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความชอบธรรมต่อการครองอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารไปด้วยในเวลาเดียวกัน
มันจึงค่อนข้างประดักประเดิดนิดหน่อย เมื่อในอีก 20 ปีถัดมา ผู้นำรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยกล่าวถึง #คำขอโทษ ของสุรยุทธ์โดยไม่แสดงว่าได้ตระหนักถึงเรื่องนี้
บริบทของคำขอโทษนั้นก็น่าสนใจครับ การลงพื้นที่ครั้งนั้นเกิดขึ้นหลังจากนายกฯ สุรยุทธ์ ลงนามในคำสั่งสำนักนายกฯ 3 ฉบับ ที่มีนัยสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นก็คือคำสั่งที่ 205/2549 ที่ฟื้นบทบาทของ กอ.รมน.อีกครั้ง (หลังจากก่อนหน้านั้นไม่นานมีคดีอื้อฉาวที่คนของ กอ.รมน.เข้าไปมีส่วนพัวพันกับคดีลอบสังหารนายกฯ ทักษิณ) และถือเป็นกลไกหลักในการรับมือกับไฟใต้ ในขณะที่คำสั่ง 206/2549 เป็นนโยบายการเสริมสร้างสันติสุข จชต. ที่กำหนดทิศทางและจุดเน้นใหม่อย่างเป็นระบบ ส่วนคำสั่ง 207/2549 คือคำสั่งฟื้นคืนบทบาทของ ศอ.บต. หลังจากที่นายกฯ ทักษิณ สั่งยุบไปเมื่อเมษายน 2545 และกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงตลอดสถานการณ์ #ไฟใต้ ก่อนหน้านั้น
คำสั่งทั้งสามฉบับลงนามในวันที่ 30 ต.ค. หรือก่อนหน้าจะลงพื้นที่เพียง 3 วัน ในขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการ ศอ.บต. คนใหม่ได้รับแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 1 พ.ย.เลย ซึ่งก็คือ พระนาย สุวรรณรัฐ น้องชายของพลากร สุวรรณรัฐ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนี้และขณะนั้นเป็นหนึ่งในองคมนตรี วันลงพื้นที่จึงถือเป็นวันเปิดตัว #ผู้อำนวยการ คนใหม่ด้วยเช่นกัน
การลงพื้นที่ในวันนั้นเป็นการไปเช้าเย็นกลับ นายกฯ สุรยุทธ์ เดินทางมาพร้อมกับรัฐมนตรีบางคนและหัวหน้าหน่วยงาน โดยเฉพาะ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คมช.ที่รั้งตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และแน่นอน ผอ.พระนาย นั่นเอง เดิมทีงานในวันนั้นมีนัดหมายกับผู้นำและตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ให้มาร่วมรับฟังถ้อยแถลง มีรายงานว่าในตอนแรกเชิญ 1,000 คน แต่มาจริง 1,500 คน เรียกได้ว่าเต็มห้องประชุมน้ำพราวซึ่งใหญ่ที่สุดในโรงแรมซีเอสฯ ในจำนวนนี้มีกลุ่มญาติผู้สูญเสียในเหตุการณ์จำนวนหนึ่งที่เตรียมยื่นหนังสืออีกด้วย
จะว่าไปแล้ว ข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี #กล่าวคำขอโทษ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในห้องประชุมวันนั้น ที่น่าสนใจก็คือประเด็นนี้เป็น 1 ใน 19 ข้อเรียกร้องของอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 คนหนึ่ง ที่แถลงก่อนวันก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณเพียง 1 วัน นั่นก็คือ พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวในวันที่ 18 ก.ย. เสนอต่อ #รัฐบาลใหม่ ที่จะมีนายกฯ #หน้าเหลี่ยม หรือ #หน้าหล่อ นอกจาก “รัฐบาลใหม่ต้องไปขอโทษประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ เหมือนอย่างที่สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยทำมาแล้ว” ซึ่งอยู่ในข้อ 2 แล้ว ยังมีการเรียกร้อง “ให้คำตอบเรื่องกรณีตากใบ” ที่ระบุเอาไว้ในข้อ 6 ด้วย
เรื่องจังหวะเวลาของข้อเสนอนี้ก็น่าสนใน เพราะใน 19 ข้อนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 ก.ย. หรือวันดีเดย์ในการยึดอำนาจ ไม่นับรวมหลายเรื่องที่เรียกร้องให้ทหารต้อง “ทำในสิ่งที่ควรทำ” และการวิจารณ์การปรับปรุงโครงสร้างบางอย่างภายใน กอ.รมน. ที่หนึ่งในข้อเรียกร้องคือให้ ผบ.ทบ.นั้นดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ กอ.รมน. แทนที่จะให้รองนายกฯ ชิดชัย ในขณะนั้นถือตำแหน่งนี้
ทั้งจังหวะเวลา ถ้อยความ และข้อเสนอนั้นดูจะสอดรับกับเหตุการณ์ล้มรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น พล.อ.ปานเทพ คนนี้ในเวลาต่อมาได้รับกาแต่งตั้ง (จาก คมช.) ให้ดำรงตำแหน่ง สนช. และเคยประกาศด้วยว่าพร้อมจะเป็น #พยาน ในคดีที่ลากตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ตากใบด้วยเช่นกัน
ผลสะเทือนของคำขอโทษนั้นคงต้องมีการประเมินกันดี ๆ ครับ เพราะแม้ว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดีในที่ประชุม ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้เข้าร่วมบางคนหลั่งน้ำตาด้วยความซาบซึ้งใจ พร้อมกับคาดหวังว่าสถานการณ์ในชายแดนใต้จะดีขึ้น ในวันที่มีการกล่าวคำขอโทษ ทางอัยการสูงสุดก็ตอบสนองโดยการมีคำสั่งให้มีการถอนฟ้องแกนนำผู้ชุมนุมในคดีตากใบ (แต่ก็ต้องบันทึกไว้ด้วยว่าในวันที่ 13 ธ.ค.หรืออีก 1 เดือนต่อมา อัยการนราธิวาสก็มีคำสั่ง #งดสอบสวน ในคดีที่เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมหน้าโรงพักตากใบ ซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 ศพ) ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้น ในขณะที่รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น (จาตุรนต์ ฉายแสง) ก็ให้ความเห็นตอบรับอย่างดี
ในความเห็นผม ปฏิกริยาตอบโต้ต่อการริเริ่มของนายกฯ สุรยุทธ์ จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน ซึ่งผมยังไม่มั่นใจว่าเกี่ยวข้องกันโดยตรงหรือไม่ แต่สถานการณ์เผชิญหน้าและความตึงเครียดเพิ่มสูงขึ้นไม่ถึงสัปดาห์หลังจากนั้น หมุดหมายที่ผมเคยบันทึกเอาไว้คือวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งปรากฎเหตุการณ์ 2 ชุด ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการวัดใจรัฐบาลในขณะนั้น
หนึ่ง คือการชุมนุมเพื่อขับไล่ฐาน ตชด. 3201 ที่โรงเรียนบ้านบาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งจะกลายเป็นตัวแบบให้กับการชุมนุมอีกหลายสิบครั้งตลอดปลายปี 2549 ต่อเนื่องถึงปี 2550 ในการชุมนุมเหล่านั้น แม้จะเป็นการชุมนุมโดยสันติ แต่เมื่อเกิดขึ้นในห้วงที่ความรุนแรงยังคงถาโถมอย่างหนักและตามมาด้วยการชุมนุมต่อต้านการชุมนุมอีกหลายครั้ง สถานการณ์เผชิญหน้าเกิดขึ้นอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้ก็ยากจะรับมือ
อีกชุดเหตุการณ์ คือ การลอบสังหารและเผาร่างพ่อลูกชาวไทยพุทธที่บ้านสันติ 2 ซึ่งยังผลให้ชาวบ้านหลายร้อยคนต้องอพยพย้ายออกจากหมู่บ้านกลางเขาในบันนังสตามาพำนักที่วัดนิโรธสังฆาราม กลางเมืองยะลา ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิกฤตขั้นสุดที่เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยจนต้องมีการโยกย้ายหนีตายกันทั้งชุมชน
หากกรณีการชุมนุมเป็นความขัดแย้งแนวดิ่งระหว่างรัฐกับประชาชน การสังหารชาวพุทธจนต้องหนีตายออกมาในเมืองก็สะท้อนวิกฤตความสัมพันธ์แนวราบระหว่างประชาชนที่มีชาติพันธุ์-ศาสนาต่างกัน ทั้งหมดนี้ ส่งผลทั้งโต้ตอบและตั้งคำถามต่อความมั่นคงแน่วแน่ของรัฐบาลสุรยุทธ์ในเวลานั้น ในวินาทีนั้นเราใกล้เคียงสภาวะ #สงครามกลางเมือง มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสุรยุทธ์ในเวลานั้นก็ถูกโจมตีอย่างหนักว่ากำลังดำเนินนโยบาย #ปูผ้ากราบโจร แม้ว่าในทางปฏิบัติจะเริ่มมีปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นขนานใหญ่เพื่อรื้อทำลายโครงสร้างของบีอาร์เอ็นในระดับหมู่บ้านในขณะนั้นก็ตาม ผลที่ตามมาก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและส่งผลให้เกิดความรู้สึกต่อต้านหนักมากยิ่งขึ้น
ในปีถัดมา หรือในปี 2550 เกิดเหตุการณ์จำนวนมากในแบบแผนที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ยอดสถิติของเหตุการณ์ความรุนแรงและบาดเจ็บล้มตายมากที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังคำขอโทษของนายกรัฐมนตรีครับ บทเรียนสำคัญก็คือว่าการริเริ่มส่งสัญญาณสันติภาพนั้นต้องมีความมุ่งมั่น แน่วแน่ และยืนหยัดผ่านการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็ยาวเกินไปแล้วครับ ไว้ค่อยไล่เรียงกันอีกทีวันหลัง
ปล.ภาพประกอบจาก #กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 3 พ.ย.2549
#คดีตากใบ
#ตากใบ2547
#ตากใบ2567
.....
Romadon Panjor - รอมฎอน ปันจอร์
สำหรับคนที่สนใจ อ่านคำกล่าวในวันนั้นตามนี้ครับ