วันเสาร์, เมษายน 01, 2566

บทเรียนจากสิงคโปร์ กับการแก้ปัญหาหมอกควันพิษ แม้ปัญหาจะเกิดในประเทศเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลสิงคโปร์ไม่ได้นิ่งเฉย ใช้มาตรการทุกอย่างกดดันและบีบบังคับบริษัทสิงคโปร์เหล่านี้ให้ยกเลิกการตัดไม้เผาป่า โดยใช้เครื่องมือสำคัญคือการออกกฎหมายหมอกควันข้ามพรมแดน หรือ Transboundary Haze Pollution Act เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2557

ประกายพฤกษ์ จิตกาธาน
1d
บทเรียนจากสิงคโปร์ กับการแก้ปัญหาหมอกควันพิษ
บริษัทน้ำตาลรายใหญ่ของไทยได้รับอนุมัติสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน 123,547 ไร่ เพื่อเพาะปลูกอ้อยและตั้งโรงงานน้ำตาลเป็นเวลานาน 70 ปี และบริษัทน้ำตาลอีกรายก็ได้รับสัมปทานปลูกอ้อยในสปป.ลาวนับแสนไร่เช่นกัน
หมอกควันพิษที่ลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้านจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเชื่อมโยงถึงบริษัทเกษตรกรรมรายใหญ่ของไทย แต่ดูเหมือนรัฐบาลไทยไม่ได้มีมาตรการระหว่างประเทศอะไรเลยเพื่อยับยั้งหมอกควันพิษที่ลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
ลองหันมาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาหมอกควันพิษในประเทศสิงคโปร์ว่าเขาจัดการอย่างไร
เป็นเวลานับสิบปีแล้วที่ประชาชนชาวสิงคโปร์ต้องทนทุกข์กับหมอกควันพิษที่ลอยมาจากการเผาป่าและพืชไร่บนเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวของประเทศอินโดนีเซีย
รัฐบาลสิงคโปร์ทำการสืบสวน พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าสำหรับเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสิงคโปร์เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในบริษัทปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ
แม้ปัญหาจะเกิดในประเทศเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลสิงคโปร์ไม่ได้นิ่งเฉย ใช้มาตรการทุกอย่างกดดันและบีบบังคับบริษัทสิงคโปร์เหล่านี้ให้ยกเลิกการตัดไม้เผาป่า โดยใช้เครื่องมือสำคัญคือการออกกฎหมายหมอกควันข้ามพรมแดน หรือ Transboundary Haze Pollution Act เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2557 เพื่อเป็นกลไกทางกฎหมายสำหรับควบคุมการดำเนินธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียของบริษัทที่มีที่ตั้งในสิงคโปร์ ไม่ให้เผาป่าเพื่อบุกเบิกพื้นที่การเกษตร อันเป็นการแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่ต้นเหตุ
กฎหมายฉบับนี้ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้มีส่วนในการสร้างหมอกควันพิษต้องรับผิดชอบทั้งในทางอาญาและแพ่ง และกฎหมายนี้ได้ครอบคลุมไปถึงบริษัทที่แม้จะไม่ได้เผาซากปาล์มน้ำมันโดยตรง แต่หากพิสูจน์ได้ว่ารับซื้อปาล์มน้ำมันหรือมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ประชาชนชาวสิงคโปร์ทั่วไปก็สามารถมีสิทธิ์ฟ้องได้ นอกจากนั้นประเทศสิงคโปร์ยังใช้มาตรการคว่ำบาตรสินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยในเดือนตุลาคม ปี 2558 สภาสิ่งแวดล้อมแห่งสิงคโปร์ได้ระงับการใช้ฉลากเขียวของ Universal Sovereign Trading ผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของบริษัท Asia Pulp & Paper Group (APP) ผู้ผลิตเยื่อและกระดาษของอินโดนีเซีย
เนื่องจากบริษัทดังกล่าวต้องสงสัยว่ามีความเกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรด้วยการเผาป่าในอินโดนีเซีย ทำให้ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในสิงคโปร์ดำเนินการในการนำผลิตภัณฑ์ของ APP ออกจากชั้นวางภายใน 2 สัปดาห์อย่างรวดเร็ว
https://thestandard.co/lessons-singapore-smog-solution/