วันพฤหัสบดี, เมษายน 06, 2566

Book Review: รัฐสยดสยอง ใครที่ Romanticize อยากกลับไปอยู่ในช่วงรัฐราชาธิราชหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต้องอ่าน

กับแกล้มแนมประวัติสาด
February 11

ระหว่างรอตัดต่อ ep ขุนนาง มารีวิวหนังสือประวัติศาสตร์ที่แอดฯเพิ่งอ่านจบไปดีกว่า
Book Review: รัฐสยดสยอง
เมื่อคุณดูละครตอนสองทุ่มที่ทำออกมาในธีมวินเทจหรือย้อนยุคแล้วโคตรอิน ดื่มด่ำกับอดีตอันงดงาม Romanticize ไม่ไหวแล้ว อยากกลับไปอยู่ในช่วงรัฐราชาธิราชหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์
..
อยากให้ลองมาอ่านหนังสือเล่มนี้ดูก่อน
..
หนังสือเล่มนี้ถูกปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนที่ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ของอารมณ์และความรู้สึกของผู้คนที่อาศัยอยู่ในช่วงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงรัชกาลที่ 5
ความสยดสยองที่กล่าวถึงประกอบไปด้วยกลไกการลงโทษของรัฐจารีตที่รุนแรง, ลักษณะนิสัยของผู้คนที่ยังไม่มีความรู้เรื่องสาธารณสุข, เมืองที่แออัดและล้าหลัง ไม่มีระบบการกำจัดของเสียและซากศพที่ดีเพียงพอ, รวมถึงระบบสาธารณสุข+โรงพยาบาลที่เพิ่งเริ่มตั้งไข่
ทั้งหมดนี้ถูกเขียนบรรยายให้นึกภาพตามได้ชัดเจนจนแทบจะเป็นอวสานอาหารที่เพิ่งกินไป
..
การตัดสินและลงโทษของกฎหมายจารีตที่เน้นการลงโทษที่โหดเหี้ยมและรุนแรง บวกกับความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายและการเกิดใหม่ นักโทษที่ถึงโทษตายแต่ไม่ได้เพียงแค่โดนประหารแล้วจบ เพราะจะต้องโดนการทรมานร่างกายอย่างสาหัสก่อนที่จะถูกนำไปประหาร วิธีก็เช่น แล่เนื้อเอาเกลือทา, ตัdมือ-แขน-เท้า-ขา, ทวนลวดหนัง, ใส่ขื่อแล้วตากแดด ฯลฯ
กรรมวิธีพวกนี้ก็เพื่อทำให้นักโทษเหล่านี้เกิดมาในชาติหน้าแบบไม่สมประกอบและจะไม่สามารถก่อกรรมทำเข็ญได้อีกตามความเชื่อที่บอกไปข้างต้น
ความผิดโทษฐานใดที่ถือว่าร้ายแรงที่สุด? แน่นอนว่าการเป็น "กบฏ" หรือปองร้ายพระมหากษัตริย์ การกระทำเหล่านี้มีโทษถึงริบเรือนหรือประหารเจ็ดชั่วโคตรได้
การทรมานร่างกายก่อนประหารนี้เริ่มไม่เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ยกเลิกไป เหลือแต่ประหารเท่านั้น
นอกจากนั้น การปกครองของรัฐจารีตมักจะชอบวิธี "เชือดไก่ให้ลิงดู" โดยการปักศีรษะ หรือประจานศพให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างไม่ให้ใครคิดจะกระทำอีก
..
กลไกการจัดการซากศพก็เป็นประเด็นอีกอย่าง
คนในสมัยนั้นสามารถที่จะเห็นศพข้างทางได้เป็นว่าเล่น ยิ่งในสมัยที่มีโรคระบาด ทั้งอหิวาต์และกาฬโรค ในสมัยที่การเผาศพยังไม่แพร่หลาย เมรุก็ไม่มีนั้น การกำจัดศพเป็นอะไรที่ยุ่งยากไม่ใช่เล่น ยิ่งมีการตายแบบ mass นี่ก็เล่นเอา "ขุนกะเฬวราก" หรือสัปเหร่อเหงื่อตก บางทีก็ใช้สัตว์ในการช่วยกำจัด เช่นแร้งหรือหมา โดยการแล่เนื้อและอวัยวะของศพแล้วโยนให้พวกมันกิน
(เคยได้ยินเรื่องแร้งวัดสระเกศไหมล่ะ นั่นแหละ)
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่เริ่มมีชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศ ชนชั้นนำเริ่มรู้สึกถึงการถูกมองจากพวกฝรั่งว่าเรานั้น "ไม่ศิวิไลซ์" พอ จึงเริ่มตระหนักและออกกฎหมายการจัดการซากศพ แต่ก็ไม่ได้ลงมือช่วยใด ๆ มากนักนอกจาก "สั่งการ" ลงไปว่าอย่าให้เห็นมีศพเกลื่อนกลาด ชาวบ้านก็ต้องช่วยเหลือตัวเองไม่ให้ทำผิดกฎมากกว่าที่รัฐจะยื่นมือมาช่วย
(คุ้น ๆ เหมือนผู้นำประเทศแถวนี้ก็ชอบทำแบบนี้นะ ว่าการแก้ปัญหาคือ "สั่งการไปแล้ว" แต่ไม่มีมาตรการหรือการติดตามประเมินผล
หรือนี่คือ softpower ของประเทศนี้!?)
..
การขับถ่ายและสถานที่ขับถ่ายที่ถูกเล่าถึงในหนังสือนี้ก็จัดว่า "ทรงอย่างแบด" ไม่ใช่เล่น เล่นเอาอาหารเย็นที่กินเข้าไปแล้วค่อยมาอ่านหนังสือก่อนนอนเกือบจะไหลย้อนมา
ชาวบ้านชาวช่องขับถ่ายแบบไม่มีห้องน้ำ การขับถ่ายในที่สาธารณะแบบเปิดเผยตามทางเท้า หรือลงแม่น้ำลำคลอง เป็นเรื่องปกติของสมัยนั้นเลย แต่นี่ก็เป็นสาเหตุทำให้ช่วงโรคระบาดยิ่งเกิดการระบาดหนัก แม้แต่ตัวกลไกรัฐเองก็ยังเป็นซะเองในการสร้างความสกปรก เช่นตอนหนึ่งในหนังสือกล่าวไว้ว่า เจ้าหน้าที่นั่งเรือที่มีถังบรรจุมูลของนักโทษไปที่กลางแม่น้ำ แล้วทิ้งลงไปในแม่น้ำนั่นแหละ!! ทำให้เกิดแพshit ลอยมาฟ่อง ๆ ราวกับกลุ่มกอผักตบชวาเลยทีเดียว (ซึ่งตอนอ่านนี่รู้สึก what da fuxx มาก!)
จนเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีกลไกรัฐที่ยื่นมือมาช่วย คือ สุขาภิบาล ซึ่งตอนแรกมีไม่มีกี่ที่หรอก แต่พอพวกขุนนางที่คุมเมืองที่เห็นต้นแบบระบบนี้จึงของบมาตั้งในเมืองตัวเองกันยกใหญ่ เรื่องการกำจัดคูถ-มูตรพวกนี้จึงค่อย ๆ ดีขึ้น
..
อีกเรื่องที่อยากเล่าถึงคือ โรงพยาบาล
ในสมัยก่อนนั้น การรักษาการป่วยด้วยตนเองเป็นเรื่องปกติ เพราะโรงพยาบาลยังไม่มี
แล้วถ้าป่วยเป็นอะไรหนัก ๆ นี่ก็เตรียมบอกลาญาติพี่น้องได้เลย
ในหนังสือได้กล่าวถึงการจัดตั้งโรงพยาบาลโดยมีต้นแบบจากความรู้ของชาวตะวันตกที่นำมา แต่ด้วยความไม่พร้อมของรัฐสยาม โรงพยาบาลกลับกลายเป็นสถานที่ ๆ สร้างความสยดสยองเสียเอง ทั้งความสะอาดที่ไม่ได้มาตรฐาน มาตรการการกักตัว-แยกผู้ป่วยก็ไม่ดีพอ ส่งผลต่อความกลัวของผู้คนยุคนั้นที่ไม่คุ้นเคยกับการไปรักษานอกบ้าน แล้วไม่อยากไปรวมตัวกับผู้ป่วยอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นคนละโรคแล้วจะทำให้เป็นหนักขึ้นมากกว่าที่จะรักษาแล้วหาย
ในช่วงโรคระบาด รัฐพยายามที่จะเอาตัวผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลไปรักษาเพื่อตัดวงจรการระบาด แต่ด้วยอารมณ์ผู้คนที่ไม่ได้มองโรงพยาบาลในมุมมองแบบคนในปัจจุบัน เขาเน้นหนีอะครับ คิดว่าโรงพยาบาลเหมือนคุกมากกว่า hahaha
..
ที่มาเล่าให้ฟังกันนี่ก็อยากทุกคนซื้อติดบ้านไว้สักเล่มก็คงจะดี เพื่อไว้เจอพวกคลั่งรักอดีตอันงดงามจะได้ยื่นให้ไปอ่านก่อน จะได้เลิกเพ้อสักที
ขอบคุณที่ติดตามครับ
ด้วยรักและโชคดีที่เกิดไม่เร็วเกินไป
แอดฯ Ultra7_11