วันอาทิตย์, มกราคม 23, 2565

แด่ ท่านนัท ฮันห์ Engaged Buddhism เป็นคำของท่าน เพราะท่านเห็นว่า คนถือพุทธนั้น ไม่ว่าที่เมืองญวน จีน เกาหลี หรือญี่ปุ่น พวกที่ถือพุทธมักจะไม่ข้องเกี่ยวกับสังคมเลย ต่างกับพุทธไทยนะ พุทธไทยเห็นว่าสังคมต้องอยู่ในมือเผด็จการโดยธรรม 🤣


Sulak Sivaraksa
20h ·
[ แด่ ท่านนัท ฮันห์ ]
.
ท่านนัท ฮันห์ เพิ่งมรณภาพที่เวียดนาม สิริรวมอายุ 95 ปี (11 ตุลาคม 2469 - 22 มกราคม 2565) ท่านเป็นพระญวนซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณ จะว่าที่สุดก็ได้ ในบรรดาพระภิกษุทั้งหมดจากเวียดนาม
.
ท่านเป็นผู้ซึ่งนำเอาพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับสังคม คำว่า Engaged Buddhism เป็นคำของท่าน เพราะท่านเห็นว่า คนถือพุทธนั้น ไม่ว่าที่เมืองญวน จีน เกาหลี หรือญี่ปุ่น พวกที่ถือพุทธมักจะไม่ข้องเกี่ยวกับสังคมเลย ปล่อยให้สังคมอยู่ในมือของคนอื่น โดยเฉพาะที่เมืองญวนนั้น ฝรั่งเศสมาครอบครองตั้งนาน ฝรั่งเศสก็อุดหนุนคนญวนที่ถือคาทอลิก พวกญวนถือพุทธก็หนีเข้าป่าไป ทีหลังพวกอเมริกันก็เข้ามาปู้ยี้ปู้ยำอีก ท่านนัท ฮันห์ จึงปลุกให้พระเณร ภิกษุภิกษุณีตื่นขึ้น ต่อสู้ด้วยอหิงสวิธี
.
ท่านตั้งโรงเรียนปลุกเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เสียสละเพื่อสังคม รวมถึงตั้งมหาวิทยาลัยพุทธอย่างใหม่ซึ่งแหวกแนวมาก แต่แล้ว ท่านก็ไม่อาจอยู่ในเมืองญวนได้ เมื่อท่านเดินทางไปสหรัฐอเมริกาพูดเรื่องสงครามเวียดนาม ท่านก็ไม่ได้รับอนุญาตให้กลับประเทศท่าน จึงมาตั้งสำนักอยู่ที่ฝรั่งเศสจนมีชื่อเสียงมาก ชื่อว่า Plum Village และมีสำนักในหลายประเทศ รวมถึงไทยด้วย
.
หมู่บ้านพลัมเปิดโอกาสให้คนมาภาวนาอย่างง่าย ๆ สงบจิตสงบใจ ก็เป็นที่พึงพอใจของคนรุ่นใหม่มาก ท่านเองนอกจากปฏิบัติภาวนาแล้ว ท่านยังเขียนพรรณนาถึงสิ่งที่ท่านประพฤติปฏิบัติมา เป็นที่น่าดีใจว่า หนังสือของท่านเกือบจะทุกเล่ม มีแปลเป็นภาษาไทยแล้ว
.
ดังผมเองได้แปลเรื่อง #ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุดของท่าน ซึ่งท่านอาจารย์พุทธทาสถึงกับปรารภกับพระที่อุปัฏฐากท่านว่า "สิงห์ทอง อ่านเล่มนี้เล่มเดียวแล้วเอาไปปฏิบัติ เท่านั้นก็พอแล้ว" ส่วน #สู่ชีวิตอันอุดม นั้นนับเป็นเรื่องแปลที่ยากที่สุดที่ผมเคยทำมา เป็นคาถา 50 โศลก ที่ท่านนำมาอธิบายอันจะช่วยให้เข้าใจคำสอนทั้งหมดของพระอภิธรรม
.
นอกจากนี้ ยังมีนักกิจกรรมอีกหลายต่อหลายคนที่แปลงานของท่านมาเป็นภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นประชา หุตานุวัตร, วิศิษฏ์ วังวิญญู, สันติสุข โสภณสิริ, รสนา โตสิตระกูล ฯลฯ
.
สำหรับท่านกับผมนั้น จะเรียกว่าเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกันก็ว่าได้ เราใกล้ชิดกันมาก เวลาผมต้องภัยพาลทีไร ท่านก็เป็นห่วงเป็นใย และหาทางช่วยเหลือเกื้อกูลผมมาตลอด ตามวิถีของแบบพุทธ
.
ผมพบท่านเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อผมอายุ 80 ไปเยี่ยมท่านที่หมู่บ้านพลัม โคราช และได้ถ่ายภาพกันไว้ด้วย หลังจากนั้นท่านก็อาพาธหนัก แต่ยังดีที่สามารถเดินทางกลับไปที่บ้านเมืองเกิดของท่านได้ ทางนอกเมืองเว้ออกไป และได้มรณภาพที่วัดตื่อเฮี้ยว เมืองเว้
.
ชีวิตของท่านนัท ฮันห์ ถือว่าเป็นบรรทัดฐานให้ชาวพุทธร่วมสมัย งานเขียนของท่านนั้นดลบันดาลใจให้คนเดินในทางสัมมาปฏิบัติ ด้วยวิถีอย่างน่าเลื่อมใสมาก หวังว่าพวกเราชาวไทยจะภาวนาส่งกุศลไปถวายท่าน เชื่อว่าท่านจะบำเพ็ญโพธิสัตวธรรมบารมีต่อไปในชาติต่อ ๆ ไป ตราบจนถึงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
.
ส. ศิวรักษ์
22-1-2022
---------------
ภาพ : กับท่านนัท ฮันห์ ที่หมู่บ้านพลัม โคราช เมื่อ พ.ศ. 2556 จากหนังสือ "ด้านหน้า ส. ศิวรักษ์" (2557)
...
Atukkit Sawangsuk
16h ·
“ท่านเป็นผู้ซึ่งนำเอาพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับสังคม คำว่า Engaged Buddhism เป็นคำของท่าน เพราะท่านเห็นว่า คนถือพุทธนั้น ไม่ว่าที่เมืองญวน จีน เกาหลี หรือญี่ปุ่น พวกที่ถือพุทธมักจะไม่ข้องเกี่ยวกับสังคมเลย ปล่อยให้สังคมอยู่ในมือของคนอื่น”
ต่างกับพุทธไทยนะ พุทธไทยเห็นว่าสังคมต้องอยู่ในมือเผด็จการโดยธรรม 
ท่านนัท ฮันห์ ยังน่าทึ่งว่าท่านรณรงค์สันติภาพ ต่อต้านสงครามเวียดนาม แต่ก็ถูกเนรเทศ และหลังพรรคคอมมิวนิสต์ชนะก็ไม่ได้กลับประเทศ 39 ปี
...

Pipob Udomittipong
15h ·

ท่านนัทฮันห์ (1926-2022X มรณภาพในวันใกล้เคียงกับวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ทั้งสองท่านมีจุดร่วมกันคือ การต่อต้าน #สงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องเผชิญกับชะตากรรมที่คล้ายกัน ฝ่ายแรกถูกรบ. #เวียดนาม ห้ามกลับเข้าปท. ฝ่ายหลังเกิดความขัดแย้งกับรบ.สหรัฐฯ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่นาน รบ.ตอบสนองการประท้วงที่นำโดย MLK และเพิ่งประกาศใช้กม.ส่งเสริมสิทธิเลือกตั้ง (Voting Rights Act of 1965)

MLK แสดงท่าทีต่อต้านสงครามตั้งแต่ต้นปี 1965 ท่านเห็นว่าแทนที่จะส่งคนอเมริกันไปตาย แทนที่จะเอางบประมาณมากมายไปทิ้งในปท.อื่น ควรนำช่วยเหลือคนจน คนผิวสีในปท. จุดยืนที่ต่อต้านสงครามทำให้ทั้งสองคนได้พบกัน ท่านนัทฮันห์เคยให้สัมภาษณ์ในรายการของ Oprah Winfrey ว่า ครั้งแรกที่รู้จักกับ MLK เพราะได้เขียนจดหมายไปหาเมื่อเดือนมิ.ย.1965 อธิบายให้ MLK ทราบว่าที่พระเวียดนามเผาตัวจนตาย ไม่ได้เป็นการฆ่าตัวตายเพราะความสิ้นหวัง แต่เป็นเพราะต้องการให้โลกทราบถึงผลกระทบจากสงคราม และเป็น “การกระทำที่เกิดจากความเมตตา และความรัก” และขอให้เขาสนับสนุนการต่อต้านสงคราม

ปีต่อมาทั้งสองท่านจึงได้พบกันตัวเป็น ๆ ในสหรัฐฯ และปี 1967 MLK ได้เสนอชื่อท่านนัทฮันห์เข้ารับรางวัลโนเบลสันติภาพ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โลกตะวันตกรู้จักกับพระภิกษุท่านนี้ ขอให้เรารำลึกถึงทั้งสองท่านเพราะจุดยืนที่ต่อต้านสงครามของท่านเช่นนี้

ในภาพเป็นอนุสาวรีย์ของ MLK และท่านนัทฮันห์ที่เมือง Batesville มิสซิสซิปปี

https://thichnhathanhfoundation.org/.../8/9/when-giants-meet
https://www.oprah.com/.../oprah-talks-to-thich-nhat-hanh/all
https://kinginstitute.stanford.edu/encyclo.../beyond-vietnam