วันพุธ, มกราคม 26, 2565

มหากาพย์เพชรซาอุฯ ปัจจุบันยังไม่มีใครรู้ว่า "บลูไดมอนด์" อยู่ที่ไหน และคดีฆาตกรรมนักการทูตและนักธุรกิจชาวซาอุยังไม่ถูกคลี่คลาย


เพชรซาอุฯ โจรกรรมนำรอยร้าวของสองประเทศ - BBC News ไทย

Sep 21, 2019

ผ่านมา 30 ปีแล้วกับคดีเพชรซาอุฯ คดีโจรกรรมข้ามชาติที่ก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบียมายาวนาน 
คดีนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรและจะเป็นอย่างไรจากนี้ 
ขอบคุณภาพประกอบคดีจากข่าวสด
...
มหากาพย์คดีเพชรซาอุ




ส.ค. 2532 เกรียงไกร เตชะโม่ง แรงงานไทยชาวลำปาง คนงานในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ช่วงที่เจ้าชายไฟซาลเสด็จไปพักผ่อนที่ต่างประเทศ สื่อไทยรายงานว่าเขาขโมยเครื่องเพชรออกมาได้นับร้อยชิ้น น้ำหนักรวมกันกว่า 90 กก. รวมทั้ง "บลูไดมอนด์" ซึ่งเป็นเพชรเก่าแก่หายากสีน้ำเงินขนาด 50 กะรัต ว่ากันว่าเพชรล้ำค่าประจำราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียเม็ดนี้เป็นหนึ่งในเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

หลังเกิดเหตุ ซาอุฯ ติดต่อทางการไทยหาตัวผู้ก่อเหตุและส่งของมีค่าทั้งหมดคืน

ปี 2533 กรมตำรวจในสมัยนั้นมอบหมายให้ พล.ต.ท ชลอ เกิดเทศ เป็นหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวน จนจับกุมนายเกรียงไกรมาดำเนินคดีฐานลักทรัพย์ได้สำเร็จ

เกรียงไกรให้การรับสารภาพ ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี

ตำรวจเริ่มตาหาเพชรที่นายเกรียงไกรขายไปก่อนถูกจับ หนึ่งในพ่อค้าเพชรที่รับซื้อของโจรต่อจากเกรียงไกรคือ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ พ่อค้าเพชรย่านสะพานเหล็กในกรุงเทพฯ

ไม่นานนัก ตำรวจตามหาเพชรบางส่วนคืนมาได้และส่งมอบของกลางส่วนแรกนี้คืนให้ทางการซาอุฯ

ทางการซาอุฯ พบว่าของที่ส่งคืนมานั้น กว่าครึ่งเป็นของปลอม และที่สำคัญคือไม่ได้ส่งบลูไดมอนด์มาด้วย ทำให้ พล.ต.ท.ชลอเริ่มต้นตามหาเพชรที่หายไปอีกครั้ง โดยมุ่งเป้าไปที่นายสันติ แต่เขายืนยันว่าได้ส่งคืนเพชรให้ตำรวจหมดแล้วและปฏิเสธว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับเพชรบลูไดมอนด์

ก.พ. 2533 นักการทูตซาอุฯ 2 คนถูกลอบสังหารในกรุงเทพฯ และมีนักธุรกิจซาอุฯ อีก 1 คนหายตัวไป คาดว่าถูกฆาตกรรมเช่นกัน ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ เลวร้ายลงไปอีก และต่อมาซาอุฯ ได้ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย

ก.ค. 2537 ชุดปฏิบัติการนำโดย พล.ต.ท. ชลอ ลักพาตัวและเรียกค่าไถ่นางดาราวดีและ ด.ช.เสรี ศรีธนะขัณฑ์ ภรรยาและลูกชายของนายสันติ เพื่อบีบให้นายสันตินำเพชรมาคืน และได้ฆ่าปิดปากเหยื่อทั้งสองโดยจัดฉากให้ดูเหมือนว่าสองแม่ลูกประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิต

ปี 2552 ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำตัดสินศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ เขาถูกถอดยศและถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ปี 2556 ชลอได้รับการปล่อยตัว หลังติดคุกมานานกว่า 19 ปี และเปลี่ยนชื่อเป็นธัชพล เกิดเทศ
ปัจจุบันยังไม่มีใครรู้ว่า "บลูไดมอนด์" อยู่ที่ไหน และคดีฆาตกรรมนักการทูตและนักธุรกิจชาวซาอุยังไม่ถูกคลี่คลาย