วันจันทร์, มกราคม 24, 2565

ไหนว่า ทองแท้ไม่กลัวไฟ 🙋🏽รู้หรือไม่? สถิติที่ไทยขอให้กูเกิ้ลลบเนื้อหา "วิจารณ์รัฐบาล" รวมถึง "เนื้อหาวิจารณ์กษัตริย์"


iLaw
18h ·

รู้หรือไม่? สถิติที่ไทยขอให้กูเกิ้ลลบเนื้อหา "วิจารณ์รัฐบาล" รวมถึง "เนื้อหาวิจารณ์กษัตริย์"

จากกรณีที่สื่อมวลชนเผยแพร่รายงานข่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2552 ไทยขอให้กูเกิ้ลลบเนื้อหาออกจากแพลตฟอร์มมากที่สุดเป็นอันดับที่ 16 ของโลก เนื้อหาร้อยละ 95.2 เป็นเนื้อหาวิจารณ์รัฐบาล (Government criticism) หากดูอัตราส่วนของคำขอลบเนื้อหาในประเภทดังกล่าว ต่อคำขอลบเนื้อหาทั้งหมด ไทยถือเป็นอันดับหนึ่ง (https://www.matichon.co.th/foreign/news_3143186)

ข้อมูลจากรายงานเพื่อความโปร่งใสของกูเกิ้ล (Transparency Report) ระบุว่า ตามหลักเกณฑ์การจัดการเนื้อหาของบริษัท กูเกิ้ล รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐของแต่ละประเทศสามารถยื่นคำร้องขอให้ลบเนื้อหาออกจากระบบค้นหาของกูเกิ้ลและเว็บไซต์ภายใต้การดูแลของกูเกิ้ล (https://transparencyreport.google.com/.../government...) เช่น ยูทูป บล็อกเกอร์ สตรีทวิว เป็นต้น โดยอาศัยเหตุผลที่ต่างกันออกไป รัฐบาลอาจอ้างว่า เนื้อหาที่ขอให้ลบเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ หรืออาจเห็นว่า เนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์ภายใต้การดูแลของกูเกิ้ลส่งผลกระทบต่อสมาชิกรัฐบาล เช่น ละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือเป็นการหมิ่นประมาท

ในคำอธิบายระบุว่า บ่อยครั้งที่รัฐบาลของแต่ละประเทศส่งคำร้องไปขอให้ลบเนื้อหาทางการเมือง รัฐบาลอาจอ้างว่า เป็นเนื้อหาหมิ่นประมาทบุคคล (Defamation) ละเมิดความเป็นส่วนตัว (Privacy) หรือแม้แต่เรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งกูเกิ้ลจะประเมินแต่ละคำร้องและตรวจดูเนื้อหาว่า เนื้อหาดังกล่าวควรถูกลบตามกฎหมายท้องถิ่นหรือนโยบายด้านเนื้อหาของกูเกิ้ลหรือไม่ เหตุที่จะไม่ลบอาจเป็นเพราะคำร้องไม่ระบุอย่างชัดเจนเพียงพอว่า ต้องการให้กูเกิ้ลลบอะไร โดยกูเกิ้ลอาจจะขอข้อมูลเพิ่มเติม และด้วยความแตกต่างของกฎหมายของแต่ละประเทศ เนื้อหาที่ละเมิดกฎหมายบางข้อในประเทศหนึ่งอาจไม่ผิดกฎหมายในประเทศอื่นๆ ดังนั้น กูเกิ้ลอาจจะลบหรือบล็อคเนื้อหาในประเทศที่ถือว่า เนื้อหาดังกล่าวผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเข้าถึงได้จากประเทศอื่น

ในปี 2554 กูเกิ้ลได้เริ่มจัดเก็บและเผยแพร่รายงานความโปร่งใส อธิบายข้อมูลคำร้องที่ขอให้ลบเนื้อหาที่มาจากรัฐบาลแต่ละประเทศ และสถิติการลบเนื้อหาตามคำร้อง โดยเท่าที่เผยแพร่บนเว็บไซต์พบว่า นับตั้งแต่ปี 2553 กูเกิ้ลได้รับคำร้องให้ลบข้อมูลจากหน่วยงานรัฐของไทยจำนวน 1,220 ฉบับ รวมแล้วขอให้ลบ 31,225 ยูอาร์แอล

———-

ทำไมคำร้องลบเนื้อหาวิจารณ์รัฐบาลจึงอาจหมายรวมเนื้อหาวิจารณ์กษัตริย์?

จากข้อเท็จจริงจากไฟล์รายงานเพื่อความโปร่งใสของกูเกิ้ลพบว่า ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2555 มีคำร้องขอให้ลบเนื้อหาประเภทวิจารณ์รัฐบาลสองฉบับ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ถูกยกตัวอย่างไว้ในหน้าเว็บไซต์ของรายงานเพื่อความโปร่งใส ระบุว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ชื่อเดิมของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ยื่นคำร้องสองฉบับขอลบเนื้อหาวิดีโอบนยูทูปจำนวน 14 ยูอาร์แอล ระบุเหตุผลว่า เนื้อหาอาจละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ (Lèse-majesté laws) เมื่อกูเกิ้ลพิจารณาแล้วได้บล็อคการเข้าถึงวิดีโอของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ในประเทศไทยจำนวน 3 จากทั้งหมด 14 ยูอาร์แอล

ปี 2556 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่กูเกิ้ลได้ให้คำอธิบายโดยสรุปไว้บนหน้าเว็บไซต์ พบว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม หน่วยงานรัฐไทยได้ยื่นคำร้องขอลบเนื้อหาจำนวน 12 ฉบับขอให้ลบเนื้อหา 323 ยูอาร์แอล แบ่งเป็นเนื้อหาวิจารณ์รัฐบาล (Government criticism) 3 คำร้อง เนื้อหาหมิ่นประมาท (Defamation) 3 คำร้อง และเนื้อหาที่มีความรุนแรง (Violence) 1 คำร้อง

รายงานของกูเกิ้ลให้รายละเอียดว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ชื่อเดิมของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ยื่นคำร้อง 2 ฉบับขอลบเนื้อหาวิดีโอบนไซต์ยูทูปจำนวน 298 ยูอาร์แอล ระบุเหตุผลว่า เนื้อหาอาจละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ (Lèse-majesté laws) เมื่อกูเกิ้ลพิจารณาแล้วไม่ได้ลบเนื้อหาทั้งหมดเนื่องจากตามคำร้องขอให้ปิดกั้นการเข้าถึงของคนทั่วโลก

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงพอสรุปได้ว่า กูเกิ้ลจัดประเภทคำร้องขอให้ลบเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อยู่ในประเภทเดียวกับ คำร้องให้ลบเนื้อหาที่วิจารณ์รัฐบาล (Government criticism) 
...
เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ แสดงว่าในประเทศที่มีการใช้กูเกิ้ลทั้งหมด ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 จากทั้งโลกที่ปิดหูปิดตาประชาชน ให้งมงายในกษัตริย์ และรัฐบาล มิน่าสลิ่มคลั่ง มันเลยเยอะ 112 โดยศาล ที่อ้างตัวว่าเป็นคนดี ที่แท้ก็ชั่วอย่างนี้นี่เอง
..
แล้วบอกทองแท้ไม่กลัวไฟ ที่แท้คือคนจัญไรกลัวคนติชม

ความเห็นส่วนหนึ่งในโพสต์
https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10153394320770551/10166268343210551/