"ดิฉันอยากให้ท่านรับรู้ว่าคนที่อยู่ในเรือนจำ เพราะคดีมาตรา 112 ก็เป็นประชาชนคนธรรมดา ไม่ใช่กลุ่ม ไม่ใช่ขบวนการที่มุ่งหมายจะล้มล้างการปกครอง แต่พวกเขามีเลือดเนื้อ ชีวิต และมีคนรักเช่นกัน"
— prachatai (@prachatai) July 9, 2025
.
9 ก.ค. 2568 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีวาระการพิจารณาร่างกฎหมาย… pic.twitter.com/XbAf3ydisg
https://x.com/prachatai/status/1942926441756410153
prachatai
@prachatai
"ดิฉันอยากให้ท่านรับรู้ว่าคนที่อยู่ในเรือนจำ เพราะคดีมาตรา 112 ก็เป็นประชาชนคนธรรมดา ไม่ใช่กลุ่ม ไม่ใช่ขบวนการที่มุ่งหมายจะล้มล้างการปกครอง แต่พวกเขามีเลือดเนื้อ ชีวิต และมีคนรักเช่นกัน"
.
9 ก.ค. 2568 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีวาระการพิจารณาร่างกฎหมาย พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข และพ.ร.บ.นิรโทษกรรม รวมทั้งหมด 5 ฉบับ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน
9 ก.ค. 2568 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีวาระการพิจารณาร่างกฎหมาย พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข และพ.ร.บ.นิรโทษกรรม รวมทั้งหมด 5 ฉบับ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน
.
พูนสุข พูนสุขเจริญ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เป็นตัวแทนเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน นำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน โดยมีเนื้อหาการนำเสนอ 6 ประเด็น
ประเด็นที่หนึ่ง สถานการณ์และสถิติคดีการเมือง ตั้งแต่ปี 2563 – มีนาคม 2568 มีผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 1,977 คน นับเป็นระลอกล่าสุดของความขัดแย้งทางการเมือง คดีที่มีคนถูกดำเนินคดีมากที่สุดคือคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากมีสถานการณ์โควิด เมื่อมีคนไปชุมนุม ก็ถูกกวาดจับจำนวนมาก ประมาณ 1,400 คน รองลงมาคือคดีมาตรา 112 จำนวน 281 คน ซึ่งเป็นคดีมาตรา 112 ถูกนำมาใช้มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ประเด็นที่สอง ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน รายละเอียดมีดังนี้ ระยะเวลาในการนิรโทษกรรม ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เพื่อที่จะครอบคลุมกลุ่มบุคคลทั้งหมด
บุคคลที่ได้รับการนิรโทษกรรม นิรโทษกรรมประชาชน โดยไม่รวมเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดการสลายการชุมนุม
การกระทำที่ได้รับนิรโทษกรรม กลุ่มแรก เป็นคดีที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ทางการเมืองก็ให้ได้รับการนิรโทษกรรมได้เลยทันที ไม่ต้องผ่านการพิจารณาอีก และกลุ่มที่สอง ไม่ระบุฐานความผิด แต่ต้องใช้คณะกรรมการพิจารณา
.
พูนสุข พูนสุขเจริญ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เป็นตัวแทนเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน นำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน โดยมีเนื้อหาการนำเสนอ 6 ประเด็น
ประเด็นที่หนึ่ง สถานการณ์และสถิติคดีการเมือง ตั้งแต่ปี 2563 – มีนาคม 2568 มีผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 1,977 คน นับเป็นระลอกล่าสุดของความขัดแย้งทางการเมือง คดีที่มีคนถูกดำเนินคดีมากที่สุดคือคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากมีสถานการณ์โควิด เมื่อมีคนไปชุมนุม ก็ถูกกวาดจับจำนวนมาก ประมาณ 1,400 คน รองลงมาคือคดีมาตรา 112 จำนวน 281 คน ซึ่งเป็นคดีมาตรา 112 ถูกนำมาใช้มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ประเด็นที่สอง ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน รายละเอียดมีดังนี้ ระยะเวลาในการนิรโทษกรรม ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เพื่อที่จะครอบคลุมกลุ่มบุคคลทั้งหมด
บุคคลที่ได้รับการนิรโทษกรรม นิรโทษกรรมประชาชน โดยไม่รวมเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดการสลายการชุมนุม
การกระทำที่ได้รับนิรโทษกรรม กลุ่มแรก เป็นคดีที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ทางการเมืองก็ให้ได้รับการนิรโทษกรรมได้เลยทันที ไม่ต้องผ่านการพิจารณาอีก และกลุ่มที่สอง ไม่ระบุฐานความผิด แต่ต้องใช้คณะกรรมการพิจารณา
.
ประเด็นที่สาม ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคดีมาตรา 112 ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้คดีมาตรา 112 ต้องถูกดำเนินคดีในศาลทหาร จากแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรี (ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ที่ลงในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ประกาศว่าจะบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรา มีนัยว่าจะใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุม ดังนั้นคดีมาตรา 112 จึงนับเป็นคดีอาญา และเป็นคดีการเมืองเช่นเดียวกับคดีมาตราอื่นๆ อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกเช่นกัน
ประเด็นที่สี่ มาตรา 112 ในทางสากล ไทยได้รับเลือกเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในปัจจุบัน และให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน ดังนั้นการควบคุมตัวบุคคลด้วยมาตรา 112 เป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบขัดต่อหลักการในข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทำให้ไทยเผชิญแรงกดดันจากนานาชาติด้านสิทธิมนุษยชน จากกรณีเคสล่าสุดคือ อาจารย์พอล แชมเบอร์ส ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ฯลฯ ตนมองว่าการรับร่างหลักการ กม.นิรโทษกรรมฉบับนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการพูดและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
ประเด็นที่ห้า เกณฑ์ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นเยาวชน คดีการเมืองตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกดำเนินคดี 286 ราย จึงต้องการเพิ่มเกณฑ์การพิจารณาในเรื่องของอายุ โดยไม่ต้องพิจารณาจากฐานความผิด .
พูนสุขกล่าวในส่วนของประเด็นที่หก ชีวิตคนเป็นมากกว่าตัวเลขสถิติว่า ร่างกฎหมายฉบับประชาชน ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ เป็นเพียงการคืนชีวิตปกติให้กับผู้ต้องขังคดีทางการเมือง ม.112 คืนแม่ให้ลูก คืนสามีให้ภรรยา คืนลูกให้พ่อ สร้างโอกาสในการคลี่คลายความขัดแย้ง และคืนความปกติให้ประชาชน
.
ประเด็นที่สี่ มาตรา 112 ในทางสากล ไทยได้รับเลือกเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในปัจจุบัน และให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน ดังนั้นการควบคุมตัวบุคคลด้วยมาตรา 112 เป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบขัดต่อหลักการในข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทำให้ไทยเผชิญแรงกดดันจากนานาชาติด้านสิทธิมนุษยชน จากกรณีเคสล่าสุดคือ อาจารย์พอล แชมเบอร์ส ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ฯลฯ ตนมองว่าการรับร่างหลักการ กม.นิรโทษกรรมฉบับนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการพูดและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
ประเด็นที่ห้า เกณฑ์ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นเยาวชน คดีการเมืองตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกดำเนินคดี 286 ราย จึงต้องการเพิ่มเกณฑ์การพิจารณาในเรื่องของอายุ โดยไม่ต้องพิจารณาจากฐานความผิด .
พูนสุขกล่าวในส่วนของประเด็นที่หก ชีวิตคนเป็นมากกว่าตัวเลขสถิติว่า ร่างกฎหมายฉบับประชาชน ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ เป็นเพียงการคืนชีวิตปกติให้กับผู้ต้องขังคดีทางการเมือง ม.112 คืนแม่ให้ลูก คืนสามีให้ภรรยา คืนลูกให้พ่อ สร้างโอกาสในการคลี่คลายความขัดแย้ง และคืนความปกติให้ประชาชน
.
อ่านเต็มที่ลิงก์ในคอมเมนต์