วันอาทิตย์, มกราคม 12, 2568

สิริพรรณ และชาตรี ผ่านสรรหาเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ ๒ คน ลุ้นด่านสุดท้าย สว.สีน้ำเงิน จะเกิดอาการแทรกซ้อนให้ต้องนับหนึ่งใหม่หรือไม่

สรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีดราม่านิดหน่อย หนึ่งในสองผู้ได้รับการคัดสรร ต้องโหวตกันถึงสามรอบ ส่วนอีกท่านเต็งหนึ่ง ผ่านเอกฉันท์ตั้งแต่โหวตแรก ๘ ต่อ ๐ ถ้าไม่โดน สว.สีน้ำเงินเบี้ยว ก็จะเป็น ตลก. รธน.สตรีคนแรก

เมื่อวันที่ ๑๐ มกรา ได้มีการประชุมคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ๘ คน โดยเชิญผู้สมัครที่ผ่านเข้ารอบ ๖ คนไปตอบข้อซักถามในด้านวิสัยทัศน์ เรื่องหน้าที่และอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้มีตุลาการเดิม ๒ คนสิ้นสุดวาระตำแหน่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๗ คือนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานคณะตุลาการ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์ และนายปัญญา อุดชาชน ตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารราชการ

ในสายรัฐศาสตร์มีผู้เข้ารอบสองคนคือ ศ.ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร มาจากสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศิลปากร กับ ศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี จากสาขารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังเสร็จการฟังความคิดเห็น กรรมการทั้ง ๘ โหวต ศ.สิริพรรณเข้ารอบสอง

แต่ไปถึงสายผู้บริหาร ๔ คน มีอดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมการกงสุล อดีตอธิบดีกรมทางหลวง และ อดีตอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน ปรากฏว่า ชาตรี อรรจนานันท์ อดีตอธิบดีกรมการกงสุล ละเอกอัคราชทูตกรุงเฮก คะแนนมากที่สุด

แต่ในการโหวตทั้งรอบแรกและรอบสอง ยังคงคะแนน ๕ ส่วนจากกรรมการทั้ง ๘ ซึ่งไม่ถึง ๒ ใน ๓ ตามระเบียบมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๕) ซึ่งก็คือ ๖ คน ดังนั้นพอก่อนจะโหวตรอบที่สาม นางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกาขอเปิดประชุมลับ

“ประธานในที่ประชุมได้หารือว่า นายชาตรีได้คะแนน ๕ เสียงแล้ว ขาดเพียง ๑ เสียงก็จะได้คะแนนครบสองในสาม หรือ ๖ คะแนน จะมีกรรมการสรรหาฯ คนใดเปลี่ยนใจหรือไม่” นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยอมเปลี่ยนโหวต

ประธานการประชุมยังขอต่อไปด้วยว่า อยากให้คะแนนโหวตผ่านของนายชาตรีดูดี เหหมือนกับเสียงเอกฉันท์ของ ศ.สิริพรรณ ทำให้นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด และนายชาญนะ เอี่ยมแสง บุคคลซึ่ง ป.ป.ช.แต่งตั้ง ยอมเปลี่ยนด้วย

ทำให้คะแนนคัดสรรนายชาตรี เข้าไปแทนที่นายปัญญา อุดชาชน ซึ่งครบวาระเมื่อ ๒๖ พ.ย.๖๗ ได้ ๘ ต่อ ๐ เหมือนของ ศ.สิริพรรณ เป็นอันว่าผู้ได้รับการคัดสรรทั้งสองเข้าสู่การอนุมัติของวุฒิสภาในรอบสุดท้าย ที่ว่ากันว่าอาจมีอาการแทรกซ้อน

เพราะวุฒิสภา ๒๐๐ คนชุดนี้มีเสียงข้างมากท่วมท้นเป็น สว.สีน้ำเงิน มาจากผลการ แฮ็ก วิธีการเลือกสรรกันเองซับซ้อน ด้วยการส่งผู้สมัครเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อโหวตให้กับ ตัวจริง ที่จัดตั้งมาโดยจ้าวพ่อการเมืองท้องถิ่น เนรวิน ณ บุรีรัมย์

ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบกระบวนการสรรหาก็ต้องล้ม และเริ่มนับหนึ่งใหม่ทั้งหมด” บทความ เดอะสแตนดาร์ด ว่า

(https://www.facebook.com/story.php=945637271028950&id=100067480567756, https://www.isranews.org/article/isranews/134840-politics-145.html และ https://www.isranews.org/article/isranews-news/134818-politics-142.html=2)