วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 18, 2568

ประเทศไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะเราอยู่ท้ายตารางให้เอง!


Brand Inside

ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะเราจะอยู่ท้ายตารางให้เอง! 'สภาพัฒน์' ประกาศ GDP ไทยปี 2567 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว โดย GDP ไทยในปี 2567 เติบโต 2.5% ทำให้เมื่อเทียบกับชาติอื่นในอาเซียนที่มีประกาศการเติบโตของ GDP แล้ว "ไทยอยู่ท้ายตารางในปีนี้"
.
การเติบโตของ GDP ชาติอาเซียนปี 2567
.
1) เวียดนาม 7.1%
2) ฟิลิปปินส์ 5.6%
3) มาเลเซีย 5.1%
4) อินโดนีเซีย 5%
5) สิงคโปร์ 4%
6) ไทย 2.5%
.
โดยตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา ทุกๆ ไตรมาส GDP ไทยโตรั้งท้ายชาติอาเซียนมาตลอด จึงไม่แปลกที่การเติบโตของ GDP ตลอดปีจะอยู่ท้ายตารางเช่นเดียวกัน
.
#BrandInside
#ธุรกิจคิดใหม่



ก่อนหน้านี้ KKP Research เคยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นชั่วคราวในช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้วจนถึงช่วงกลางปีนี้ แต่ถ้าไม่มีการผลักดันนโยบายแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเป็นรูปธรรม เศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มจะกลับมาโตต่ำกว่า 2.5% ในระยะยาว
.
รวมถึงยังมองปัญหาระยะยาวของเศรษฐกิจไทยว่า อาจจะไม่ใช่การฟื้นตัวช้าในช่วงหลังโควิด-19 อย่างที่หลายๆ คนคิด เพราะจริงๆ แล้วเศรษฐกิจไทยอาจกำลังถดถอยจากปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประชากรลดลง ผลิตภาพขาลง และไม่มีการลงทุนทางเทคโนโลยีทดแทน
.
เศรษฐกิจไทยจึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ถ้าไม่อยากให้ GDP เข้าสู่ยุตโตต่ำ 2%
.
อ่านเนื้อเต็มๆ ได้ใน https://brandinside.asia/kkp-on-how-to-improve-thailand.../

https://www.facebook.com/BrandInsideAsia/posts/1021389056689997
.....


Brand Inside
7 hours ago
·
โรงงานในไทยปิดเกิน 100 แห่งต่อเดือนมา 2 ปีติด
ปีนี้เสี่ยงปิดเพิ่มอีก โดยเฉพาะโรงงานเล็กๆ
เพราะกำลังซื้อเปราะบาง-แข่งสู้สินค้านำเข้าไม่ไหว
.
รายงาน 'ปี 2568 โรงงานยังเสี่ยงปิดตัวต่อเนื่อง' จาก KResearch บอกว่า ปี 2567 ที่ผ่านมาเป็นปีที่มี ‘โรงงาน’ ในไทยปิดตัวเฉลี่ยมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน ทำให้ประเทศไทยมีโรงงานปิดตัวเฉลี่ยมากกว่า 100 แห่งต่อเดือนมา 2 ปีติดกันแล้ว
.
KResearch ชี้ว่าเป็น “ภาพที่ไม่ดีต่อเนื่อง” เพราะแม้ในปี 2567 จะมีโรงงานเปิดมากกว่าปิดอยู่ (โรงงานเปิดจะมีจำนวน 2,112 โรงงาน โรงงานปิดมีจำนวน 1,234 โรงงาน)
.
แต่ถ้านำตัวเลข ‘โรงงานเปิดใหม่’ มาหักลบด้วย ‘โรงงานปิด’ เฉลี่ยต่อเดือน จะเห็นว่า ช่องว่างระหว่างโรงงานเปิดและโรงงานปิดลดลงเหลือเฉลี่ย 52 แห่งต่อเดือน แตกต่างจากช่วงปีก่อนหน้าที่จำนวนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 127 แห่งต่อเดือน
.
สะท้อนว่า แม้ประเทศไทยจะยังมีโรงงานเปิดใหม่อยู่เรื่อยๆ แต่จำนวนโรงงานที่ทยอยปิดตัวก็มีจำนวนต่อเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จนทำให้ช่องว่างระหว่างโรงงานเปิดใหม่กับโรงงานปิดตัวลดน้อยลง
.
สาเหตุที่ทำให้ ‘โรงงานปิดตัว’ หลักๆ มาจากปัญหาโครงสร้างการผลิต ความต้องการสินค้าลดลง การแข่งขันรุนแรงกับคู่แข่ง การแข่งขันรุนแรงกับสินค้านำเข้า
.
ที่สำคัญ ดูเหมือนแนวโน้มการปิดตัวจะเทไปยัง ‘โรงงานเล็ก’ มากขึ้น สะท้อนจากทุนจดทะเบียนของโรงงานที่ปิดตัวไปที่มีจำนวนน้อยกว่าปี 2566 ถึง 3.8 เท่า
.
ประเด็นสำคัญที่ KResearch บอกว่าเกี่ยวข้องกับการปิดตัวของโรงงาน คือ ในอนาคต 'จำนวนชั่วโมงการทำงาน' ที่ลดลงจะส่งผลต่อรายได้ของเหล่าแรงงาน อย่างตอนนี้ก็เริ่มเห็นการปรับลดลงของชั่วโมง OT ลงแล้ว ทำให้จำนวนแรงงานที่ทำงานน้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นกว่า 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
.
สุดท้าย KResearch ประเมินว่า ปีนี้โรงงานในไทยยังเสี่ยงปิดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ SMEs เพราะหลายๆ ปัจจัยกดดัน ตั้งแต่ค่าครองชีพ-หนี้ครัวเรือนสูง กดดันกำลังซื้อให้เปราะบาง ไปจนถึงสงครามการค้า และการแข่งขันกับสินค้านำเข้าด้วย
.
#BrandInside
#ธุรกิจคิดใหม่
#KResearch #โรงงานปิด

https://www.facebook.com/photo?fbid=1021399680022268&set=a.628388912656682