วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 14, 2568

รัฐบาลยกโขยงล้มประชุมแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไทยแสดงตัว 22 ที่เหลือหายหัวหมด พรรคประชาชนมาประชุมครบ พลังประชารัฐจับมือรัฐบาลร่วมล้มด้วย ดูรายชื่อผลการแสดงตัวว่าใครร่วมไม่ร่วมประชุมจนเป็นสาเหตุให้องค์ประชุมไม่ครบทำ “สภาล่ม”


@sirotek ·8h

รัฐบาลยกโขยงล้มประชุมแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไทยแสดงตัว 22 ที่เหลือหายหัวหมด พรรคประชาชนมาประชุมครบ พลังประชารัฐจับมือรัฐบาลร่วมล้มด้วย 

https://x.com/sirotek/status/1890005142738719079
.....

ชวนดูรายชื่อผลการแสดงตัวว่าใครร่วมไม่ร่วมประชุมจนเป็นสาเหตุให้องค์ประชุมไม่ครบทำ “สภาล่ม”


iLaw
9 hours ago
·
13 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ประชุมรัฐสภามีนัดสำคัญในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสองฉบับ เสนอโดยพรรคเพื่อไทยและพรรค สาระสำคัญของร่าง คือ การปลดล็อครัฐธรรมนูญ 2560 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่ในการรางรัฐธรรมนูญใหม่ แต่เมื่อเริ่มประชุมไปได้เพียงสองชั่วโมงครึ่ง การประชุมก็ต้องจบลงเพราะ “สภาล่ม” และนัดประชุมใหม่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น.

ก่อนหน้าที่จะมีการแสดงตัวนับองค์ประชุมในเวลา 12.00 น. ที่ประชุมได้พิจารณาญัตติว่าจะเลื่อนข้อเสนอของเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่อยากให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่ารัฐสภามีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติไม่เห็นชอบให้เลื่อนด้วยคะแนนเสียง 275 เห็นชอบ 247 เสียง และงดออกเสียงอีกสี่เสียง เวลา 11.16 น. การลงมตินี้มีองค์ประชุม 527 คน

เมื่อแพ้โหวต สว. บางส่วนก็ประกาศว่าจะไม่ร่วมพิจารณาในวันนี้อีกแล้ว ด้าน สว. เปรมศักดิ์ก็เสนอให้มีการนับองค์ประชุมใหม่ทันที ปรากฏว่า “สภาล่ม” องค์ประชุมไม่ครบ เหลือสมาชิกรัฐสภาในที่ประชุมเพียง 204 คน จากจำนวนต้องการอย่างน้อย 346 เสียง (ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 692 คน) โดยมี สส.ไม่แสดงตัวในที่ประชุมแม้ว่าจะมาร่วมประชุมในขณะที่ลงมติตอนแรก 323 คน

จากผลการตรวจสอบองค์ประชุม พบว่า สส. ฟากพรรคร่วมรัฐบาลและ สว. จำนวนมากไม่แสดงตนนับเป็นองค์ประชุม แม้แต่พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นผู้เสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญ มี สส. แสดงตัวเพียงแค่ 22 คน ส่วนอีก 120 คนไม่แสดงตัว ด้านพรรคร่วมรัฐบาลคู่ขวัญอย่างภูมิใจไทยดอดไม่เข้าประชุมตั้งแต่แรก 69 คน พรรคประชาธิปัตย์แบ่งมาแสดงตัวพียงห้าคนส่วนอีก 20 คนไม่เข้าแล้ว พรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่โดดประชุมเกือบทั้งหมด

ส่วนฟากที่แสดงตัวนับเป็นองค์ประชุมอย่างชัดเจน คือ พรรคประชาชนมี สส. แสดงตัวมากที่สุดในที่ประชุม 140 คน ไม่แสดงตัว 3 คน ส่วน สว.แสดงตัวเข้าร่วมประชุม 32 คน ไม่เข้าร่วมประชุม 167 คน

ชวนดูรายชื่อผลการแสดงตัวว่าใครร่วมไม่ร่วมประชุมจนเป็นสาเหตุให้องค์ประชุมไม่ครบทำ “สภาล่ม” https://www.ilaw.or.th/articles/50550