![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj9VD6HS7o-sImYzOKj3YWDFEBCZdQgTkYeonQQdUAR7M30hkprp4h-BXchvFEW_TuMwad9BM59_hxyq-rna97fKQFzZ5CiNd7cWJN32HmISgQ6mJI0C-tXdjyaiX1uUmV96AQFxMutMc3CxdNb6jsCQK9_tQhA7l_qM_08I4iDwhzOamHYmr8eVA/w395-h494/479361296_1035232895113847_6966887966809509810_n.jpg)
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
15 hours ago
·
ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ #ณัฐชนน ก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษา #คดี112 หลังถูกกล่าวหาพิมพ์หนังสือ “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า” รวมคำปราศรัยข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์
.
วันที่ 17 ก.พ. 2568 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดธัญบุรีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในคดีของ ณัฐชนน ไพโรจน์ ซึ่งถูกฟ้องในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ผลิต “หนังสือปกแดง” หรือหนังสือ “ฟ้ามืดเมื่อมีได้ ก็ฟ้าใหม่ย่อมคงมี ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา 10 ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์”
.
เหตุในคดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2563 ก่อนการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบจาก สภ.คลองหลวง, ตำรวจภูธรภาค 1 และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้เดินทางไปที่บ้านของสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ และตรวจยึดหนังสือดังกล่าวจำนวนเกือบ 50,000 เล่ม ซึ่งอยู่ในรถเตรียมไปแจกในงานชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้แสดงหมายค้น อ้างว่าจะนำหนังสือไปตรวจสอบว่ามีเนื้อหาล้มล้างการปกครองหรือไม่
.
ต่อมา พนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง ออกหมายเรียกให้ณัฐชนนเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ มาตรา 8 ก่อนพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรียื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดธัญบุรี ในฐานความผิด หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 เพียงข้อหาเดียว โดยหยิบยกข้อความที่อยู่ในหนังสือจำนวน 15 ข้อความ และข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ระบุว่าเข้าข่ายองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112
.
ณัฐชนนยืนยันปฏิเสธข้อกล่าวหา ศาลจึงนัดสืบพยานทั้งสองฝ่ายรวม 4 นัด โดยโจทก์นำสืบว่า จำเลยเป็นสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ และเป็นผู้ครอบครองหนังสือจากการที่นั่งบนรถบรรทุกที่ขนหนังสือ โดยในหนังสือระบุในคำนำว่า ‘กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม’ เห็นว่าในหนังสือมีเนื้อหาที่ดูหมิ่นกษัตริย์ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองและล้มล้างสถาบันกษัตริย์
.
ส่วนจำเลยต่อสู้คดีว่า ถึงแม้จะเป็นสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ แต่ไม่ได้เป็นผู้จัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือ รวมทั้งข้อความในหนังสือหรือข้อความตามคำฟ้องก็ไม่ได้มีคำพูดของจำเลยและข้อความดังกล่าวไม่มีเจตนาดูหมิ่นกษัตริย์ฯ ส่วนผู้ที่ปราศรัยในวันดังกล่าวก็ไม่ใด้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 นอกจากนี้ในวันเกิดเหตุก็ไม่ได้มีเพียงจำเลยคนเดียวที่อยู่บนรถบรรทุก โดยในวันนั้นมี ชนินทร์ วงษ์ศรี ถูกพาตัวไป สภ.คลองหลวง และแจ้งข้อหามาตรา 116 ส่วนคนอื่นนอกจากนั้นก็ไม่ได้ถูกแจ้งความดำเนินคดีแต่อย่างใด
.
ในวันที่ 8 พ.ย. 2566 ศาลจังหวัดธัญบุรีได้พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า หนังสือดังกล่าวที่มีข้อความตามฟ้องเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ แต่ไม่มีคำปราศรัยของจำเลยในหนังสือ และพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 112 แต่ให้ริบหนังสือของกลางทั้ง 45,080 เล่ม เนื่องจากไม่มีเลข ISBN และที่ตั้งของโรงพิมพ์
.
อัยการอุทธรณ์ อ้าง จำเลยนั่งมาในรถบรรทุกหนังสือ ทั้งแสดงตนไม่ให้ตำรวจตรวจยึด ชี้ชัดว่าเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือ
.
หลังมีคำพิพากษา พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรียื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงวันที่ 25 มี.ค. 2567 ระบุว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องจำเลย จึงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามฟ้อง ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้
.
ข้อเท็จจริงในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่าหนังสือของกลางในคดีนี้มีเนื้อหาเป็นถ้อยคำปราศรัยของ ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และอานนท์ นำภา ซึ่งได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 และถ้อยคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์ ที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 ซึ่งมีข้อความอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
.
นอกจากนี้ พ.ต.ท.คชา ได้เบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นสมาชิกและแกนนำของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทั้งได้ร่วมขึ้นเวทีกล่าวคำปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ด้วย ถึงแม้ว่าคำปราศรัยของจำเลยจะไม่ปรากฏในหนังสือของกลาง แต่ส่วนท้ายของคำนำในหนังสือระบุว่า “กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” อันเป็นในลักษณะของผู้จัดพิมพ์และผลิตหนังสือ
.
อีกทั้งในวันเกิดเหตุคดีนี้ หนังสือถูกขนย้ายมาจากบ้านที่จำเลยเช่าพักอาศัยอยู่กับกลุ่มเพื่อน และเจ้าพนักงานตรวจยึดหนังสือของกลางได้ ซึ่งตามบันทึกการตรวจยึดหนังสือระบุว่า จำเลยนั่งมากับรถบรรทุกหนังสือด้วย โดยจำเลยมีจุดมุ่งหมายจะไปส่งยังที่ชุมนุม สอดคล้องกับคำเบิกความจำเลยที่ยืนยันว่า จำเลยจะนำหนังสือไปแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อตำรวจตรวจยึดของกลาง จำเลยก็ได้แสดงตนต่อเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้มีการตรวจยึดหนังสือ อันเป็นข้อบ่งชี้ยืนยันแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือ และเนื้อหาในหนังสือดังกล่าวมีถ้อยคำที่เป็นการใส่ความสถาบันกษัตริย์ มีการพาดพิงถึงรัชกาลที่ 9 และ 10 ซึ่งเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทกษัตริย์
.
ถึงแม้ว่าไม่มีลายมือชื่อจำเลยรับรองไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองหนังสือของกลางก็ตาม แต่พฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นมีน้ำหนักมั่นคงแน่นหนาให้รับฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือที่มีข้อความดูหมิ่นและหมิ่นประมาทกษัตริย์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามฟ้อง
.
.
ก่อนที่ศาลจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในวันที่ 17 ก.พ. นี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนชวนอ่านบทสัมภาษณ์ณัฐชนน ที่เคยให้สัมภาษณ์และเผยแพร่ครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 ที่พูดคุยถึงชีวิตด้านการศึกษา การเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมถึงการต่อสู้ในคดีนี้
.
“เขากล่าวหาว่า เราครอบครองหนังสือซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นฯ เท่ากับเราหมิ่นฯ ผิดมาตรา 112 เลย (1) สู้ว่าไม่ได้ครอบครองหนังสือ ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ (2) สู้ว่าเนื้อหาในหนังสือไม่ได้หมิ่นฯ เป็นการแสดงความคิดเห็นที่สุจริต มีเจตนาในการพัฒนาประเทศ และ (3) ต่อให้ครอบครองก็ไม่ผิด หรือเนื้อหาหมิ่นก็ไม่ผิด เพราะเนื้อหาไม่ได้มาจากปากเรา เราไม่ได้เป็นคนพูดเอง และตัวผมไม่ใช่คนพิมพ์และไม่ใช่คนเผยแพร่” ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ณัฐชนน
.
.
สำหรับหนังสือ “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์” หรือหนังสือปกแดง เป็นหนังสือบันทึกคำปราศรัยของแกนนำ 4 คน ได้แก่ อานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ในการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคำปราศรัยของ พริษฐ์ ชิวารักษ์ ในการชุมนุม #จัดม็อบไล่แม่งเลย เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่น
.
อ่านบทสัมภาษณ์ #ณัฐชนน ที่
https://tlhr2014.com/archives/72935
·
ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ #ณัฐชนน ก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษา #คดี112 หลังถูกกล่าวหาพิมพ์หนังสือ “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า” รวมคำปราศรัยข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์
.
วันที่ 17 ก.พ. 2568 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดธัญบุรีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในคดีของ ณัฐชนน ไพโรจน์ ซึ่งถูกฟ้องในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ผลิต “หนังสือปกแดง” หรือหนังสือ “ฟ้ามืดเมื่อมีได้ ก็ฟ้าใหม่ย่อมคงมี ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา 10 ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์”
.
เหตุในคดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2563 ก่อนการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบจาก สภ.คลองหลวง, ตำรวจภูธรภาค 1 และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้เดินทางไปที่บ้านของสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ และตรวจยึดหนังสือดังกล่าวจำนวนเกือบ 50,000 เล่ม ซึ่งอยู่ในรถเตรียมไปแจกในงานชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้แสดงหมายค้น อ้างว่าจะนำหนังสือไปตรวจสอบว่ามีเนื้อหาล้มล้างการปกครองหรือไม่
.
ต่อมา พนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง ออกหมายเรียกให้ณัฐชนนเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ มาตรา 8 ก่อนพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรียื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดธัญบุรี ในฐานความผิด หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 เพียงข้อหาเดียว โดยหยิบยกข้อความที่อยู่ในหนังสือจำนวน 15 ข้อความ และข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ระบุว่าเข้าข่ายองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112
.
ณัฐชนนยืนยันปฏิเสธข้อกล่าวหา ศาลจึงนัดสืบพยานทั้งสองฝ่ายรวม 4 นัด โดยโจทก์นำสืบว่า จำเลยเป็นสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ และเป็นผู้ครอบครองหนังสือจากการที่นั่งบนรถบรรทุกที่ขนหนังสือ โดยในหนังสือระบุในคำนำว่า ‘กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม’ เห็นว่าในหนังสือมีเนื้อหาที่ดูหมิ่นกษัตริย์ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองและล้มล้างสถาบันกษัตริย์
.
ส่วนจำเลยต่อสู้คดีว่า ถึงแม้จะเป็นสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ แต่ไม่ได้เป็นผู้จัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือ รวมทั้งข้อความในหนังสือหรือข้อความตามคำฟ้องก็ไม่ได้มีคำพูดของจำเลยและข้อความดังกล่าวไม่มีเจตนาดูหมิ่นกษัตริย์ฯ ส่วนผู้ที่ปราศรัยในวันดังกล่าวก็ไม่ใด้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 นอกจากนี้ในวันเกิดเหตุก็ไม่ได้มีเพียงจำเลยคนเดียวที่อยู่บนรถบรรทุก โดยในวันนั้นมี ชนินทร์ วงษ์ศรี ถูกพาตัวไป สภ.คลองหลวง และแจ้งข้อหามาตรา 116 ส่วนคนอื่นนอกจากนั้นก็ไม่ได้ถูกแจ้งความดำเนินคดีแต่อย่างใด
.
ในวันที่ 8 พ.ย. 2566 ศาลจังหวัดธัญบุรีได้พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า หนังสือดังกล่าวที่มีข้อความตามฟ้องเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ แต่ไม่มีคำปราศรัยของจำเลยในหนังสือ และพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 112 แต่ให้ริบหนังสือของกลางทั้ง 45,080 เล่ม เนื่องจากไม่มีเลข ISBN และที่ตั้งของโรงพิมพ์
.
![](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/t39/1/16/2b55.png)
.
หลังมีคำพิพากษา พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรียื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงวันที่ 25 มี.ค. 2567 ระบุว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องจำเลย จึงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามฟ้อง ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้
.
ข้อเท็จจริงในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่าหนังสือของกลางในคดีนี้มีเนื้อหาเป็นถ้อยคำปราศรัยของ ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และอานนท์ นำภา ซึ่งได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 และถ้อยคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์ ที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 ซึ่งมีข้อความอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
.
นอกจากนี้ พ.ต.ท.คชา ได้เบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นสมาชิกและแกนนำของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทั้งได้ร่วมขึ้นเวทีกล่าวคำปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ด้วย ถึงแม้ว่าคำปราศรัยของจำเลยจะไม่ปรากฏในหนังสือของกลาง แต่ส่วนท้ายของคำนำในหนังสือระบุว่า “กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” อันเป็นในลักษณะของผู้จัดพิมพ์และผลิตหนังสือ
.
อีกทั้งในวันเกิดเหตุคดีนี้ หนังสือถูกขนย้ายมาจากบ้านที่จำเลยเช่าพักอาศัยอยู่กับกลุ่มเพื่อน และเจ้าพนักงานตรวจยึดหนังสือของกลางได้ ซึ่งตามบันทึกการตรวจยึดหนังสือระบุว่า จำเลยนั่งมากับรถบรรทุกหนังสือด้วย โดยจำเลยมีจุดมุ่งหมายจะไปส่งยังที่ชุมนุม สอดคล้องกับคำเบิกความจำเลยที่ยืนยันว่า จำเลยจะนำหนังสือไปแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อตำรวจตรวจยึดของกลาง จำเลยก็ได้แสดงตนต่อเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้มีการตรวจยึดหนังสือ อันเป็นข้อบ่งชี้ยืนยันแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือ และเนื้อหาในหนังสือดังกล่าวมีถ้อยคำที่เป็นการใส่ความสถาบันกษัตริย์ มีการพาดพิงถึงรัชกาลที่ 9 และ 10 ซึ่งเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทกษัตริย์
.
ถึงแม้ว่าไม่มีลายมือชื่อจำเลยรับรองไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองหนังสือของกลางก็ตาม แต่พฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นมีน้ำหนักมั่นคงแน่นหนาให้รับฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ผลิตหรือครอบครองหนังสือที่มีข้อความดูหมิ่นและหมิ่นประมาทกษัตริย์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามฟ้อง
.
.
ก่อนที่ศาลจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในวันที่ 17 ก.พ. นี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนชวนอ่านบทสัมภาษณ์ณัฐชนน ที่เคยให้สัมภาษณ์และเผยแพร่ครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 ที่พูดคุยถึงชีวิตด้านการศึกษา การเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมถึงการต่อสู้ในคดีนี้
.
“เขากล่าวหาว่า เราครอบครองหนังสือซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นฯ เท่ากับเราหมิ่นฯ ผิดมาตรา 112 เลย (1) สู้ว่าไม่ได้ครอบครองหนังสือ ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ (2) สู้ว่าเนื้อหาในหนังสือไม่ได้หมิ่นฯ เป็นการแสดงความคิดเห็นที่สุจริต มีเจตนาในการพัฒนาประเทศ และ (3) ต่อให้ครอบครองก็ไม่ผิด หรือเนื้อหาหมิ่นก็ไม่ผิด เพราะเนื้อหาไม่ได้มาจากปากเรา เราไม่ได้เป็นคนพูดเอง และตัวผมไม่ใช่คนพิมพ์และไม่ใช่คนเผยแพร่” ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ณัฐชนน
.
.
สำหรับหนังสือ “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา ข้อเรียกร้องว่าด้วยสถาบันกษัตริย์” หรือหนังสือปกแดง เป็นหนังสือบันทึกคำปราศรัยของแกนนำ 4 คน ได้แก่ อานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ในการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคำปราศรัยของ พริษฐ์ ชิวารักษ์ ในการชุมนุม #จัดม็อบไล่แม่งเลย เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขอนแก่น
.
อ่านบทสัมภาษณ์ #ณัฐชนน ที่
https://tlhr2014.com/archives/72935