วันพุธ, พฤศจิกายน 06, 2567

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บอก ขอให้มั่นใจได้ว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย ส่วน MOU 44 ยังคงอยู่ไม่สามารถมีการยกเลิกได้ หากจะยกเลิกต้องใช้ข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ หากไทยยกเลิกเองก็ไม่สามารถทำได้ เพราะอาจถูกฟ้องได้ - ถ้าเขาจะฟ้อง ต้องถามกลับว่า จะฟ้องศาลไหน? อำนาจมาจากไหน?


Phil Saengkrai
20 hours ago
·
เรื่องนี้ ไทยได้เปรียบกัมพูชาในเชิงข้อกฎหมายแน่ๆ แต่ทำไมนายกกลับบอกว่า ถ้าขอยกเลิก MOU เขา "จะฟ้องเราแน่ๆ"

จุดนี้ น่าจะเข้าใจผิดเช่นเคย
(ดู (https://www.facebook.com/photo?fbid=1013438954155781&set=a.360119619487721)

ถ้าเขาจะฟ้อง ต้องถามกลับทันทีว่า จะฟ้องศาลไหน? อำนาจมาจากไหน? (ซึ่งนักข่าวก็ไม่ถาม)
ไทยไม่ได้รับเขตอำนาจศาลโลกในข้อพิพาทเกี่ยวกับทะเล และตอนนี้กัมพูชาก็ไม่ได้เป็นภาคี UNCLOS ที่จะอาจทำให้มีสิทธิไปฟ้องไทย

ถ้าเขายื่นฟ้อง ศาลจะไม่เอสลงสารบบความ ให้เป็นคดีด้วยซ้ำ

และสมมติว่า กัมพูชาให้สัตยาบัน UNCLOS หรือหาศาลที่มีเขตอำนาจได้ ในแง่ข้อกฎหมายเขาก็เสียเปรียบมากอยู่ดี ในเชิงยุทธศาสตร์ จึงไม่มีเหตุผลให้ฟ้อง เพราะ
- เกาะกูดอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยไทย ประเด็นนี้ชัดเจนเป็นที่ยุติมาตั้งแต่สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และแม้แต่ใน MOU ปี 44 เอง กัมพูชาก็ยอมรับ ด้วยการไม่ลากเส้นเขตแดนผ่านตัวเกาะ แต่อ้อมลงไปด้านใต้เกาะ
ในส่วนนี้ นายกพูดถูกแล้วว่า "ไม่มีข้อพิพาทกันระหว่างไทยกับกัมพูชา" เพราะท่าทีของไทยชัดเจนมาตลอด
- เมื่อเกาะกูดเป็นของไทย จึงใช้เป็นฐานกำหนดในการอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปได้ ผลที่ตามมา คือ พื้นที่ที่ไทยอ้างได้กว้างไปไกล 200 ไมล์ทะเล ไม่ใช่แค่รอบๆ ด้านใต้ของเกาะตามที่กัมพูชาเขียนเส้นมา

สิ่งที่ควรสื่อสารในตอนนี้ จึงไม่ใช่การอ้างลอยๆ ว่ากัมพูชาจะฟ้องคดี เสมือนว่าไทยเราโดนบังคับให้เจรจา (ซึ่งยิ่งจะทำให้ประชาชนระแวงรัฐบาลกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นไปอีก) แต่ควรอธิบายให้เหตุผลว่า การเดินหน้าเจรจากรอบ MOU เป็นประโยชน์กับประเทศอย่างไรทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ส่วนประชาชนฟังแล้ว จะโน้มน้าวไหม อันนั้นขึ้นอยู่กับเครดิตและความสามารถของรัฐบาล