วันอังคาร, พฤศจิกายน 12, 2567

“วัดใจ ครม.แพทองธาร จะปกป้องประชาชนจากกฎหมายมรดกเผด็จการ คสช.หรือไม่”


Lanner
a day ago
·
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2568 มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ จัดเวทีเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “วัดใจ ครม.แพทองธาร จะปกป้องประชาชนจากกฎหมายมรดกเผด็จการ คสช.หรือไม่” ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ที่มีเนื้อหามุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่กลับมีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนในกว่า 4,000 ชุมชน และพื้นที่กว่า 4 ล้านไร่ ที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า แม้ภาคประชาชนจะคัดค้านอย่างรุนแรงเพื่อปรับแก้กฎหมายนี้ แต่กรมอุทยานฯ ยังคงเดินหน้าเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.
.
"พวกเราเป็นพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเครือข่ายที่ทำงานด้านป่าไม้ที่ดินก็คงจะได้ติดตามสถานการณ์ที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็พยายามจะผลักดันเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ซึ่งตัวร่างพระราชกฤษฎีกา ทั้ง 2 ฉบับ ก็เป็นตัวกฎหมายลำดับรองประกอบในส่วนของมาตรา 64 ของพรบ.อุทยานแห่งชาติ และพรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ามาตรา 121 ซึ่งทั้ง 2 มาตรานี้ ก็เป็นหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการทำกินที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นนี้ได้ร้อนขึ้นมาเพราะมีกลุ่มประชาชนออกมาขับเคลื่อนเคลื่อนไหวให้ทางกระทรวงทรัพย์ถอนเรื่องนี้ออกจากครม. หรือว่าเคลื่อนไหวให้ทางครม.เองก็ตามคือไม่รับเรื่องนี้ไปพิจารณาในครม. ซึ่งตอนนี้เส้นตายที่เกิดขึ้นก็คือวันที่ 12 พฤศจิกายน วันอังคารที่จะถึงนี้เป็นนัดสุดท้ายท้ายชี้ชะตาว่ากฎหมายทั้งร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้จะผ่านที่ประชุมของครม.หรือไม่ และถ้าผ่านมาแล้วจะสร้างผลกระทบกับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศอย่างไร" พชร คำชำนาญ
.
"การออกกฎหมายฉบับนี้จึงทำให้เกิดความผิดหวังต่อระบบกฎหมายและการปกครองที่ไม่สามารถรับรองสิทธิของประชาชนในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างแท้จริง" ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์
.
"แม้ในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ครม. รับรองจะมีการแก้ไข แต่ไม่นานนายกฯ เศรษฐาก็พ้นจากตำแหน่ง และหลังจากนายกฯ พรทองทานขึ้นมา ก็เคลื่อนไหวอีกครั้ง จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2567 รัฐบาลใหม่มีมติชะลอการออก พ.ร.บ. ชุดนี้ก่อน แต่ยังคงมีการผลักดันให้เข้าสู่ ครม. วันที่ 12 พฤศจิกายน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเร่งรัดออกมา ​ ทั้งที่มันมีผลกระทบกับ 4,000 ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์ ในวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา อธิบดีกรมอุทยานกล่าวว่า 4,000 ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์คือ "ผู้บุกรุก" ไม่ใช่ "ผู้บุกเบิก" ซึ่งชุมชนเหล่านี้ยืนยันว่ายังมีสิทธิ์ที่จะแสดงว่า พวกเขาคือผู้ดูแลพื้นที่มาโดยตลอด และคำกล่าวนี้ไม่สะท้อนถึงความเป็นธรรมเพราะชุมชนเหล่านี้อยู่มาก่อนและได้ดูแลพื้นที่มาโดยตลอด การใช้คำว่า "ผู้บุกเบิก" ไม่ควรถูกละเลยแบบนี้" จรัสศรี จันทร์อ้าย
.
"หน้าที่ของรัฐมีการออกแบบในการที่จะทำให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ โดยให้เหมาะสมกับพื้นที่ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชนต่างๆ นี่คือหน้าที่ของรัฐที่จะเข้ามาช่วยทำให้การจัดการทรัพยากรมันมันยั่งยืนและสมดุลและยั่งยืน" สุมิตรชัย หัตถสาร
.
วันนี้ (10 พ.ย.67) เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนขอให้รัฐบาลทบทวนการผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะออกตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มีเนื้อหาเป็นกฎหมายแย่งยึดที่ดินของประชาชนอย่างชัดเจน หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านจะกระทบต่อคน 4,265 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 1 ล้านคน เนื้อที่รวมกัน 4.27 ล้านไร่
.
อ่าน วัดได้ถ้าใจถึง ถกจัดหนัก ‘ครม.แพทองธาร’ ดันร่าง กม.อุทยานฯ-สงวนสัตว์ป่า ส่อฉุดสิทธิชุมชนลงเหวลึก https://www.lannernews.com/10112567-02/