Pipob Udomittipong
17 hours ago
·
"อ.สุรชาติจะยังคงเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อไปด้วยความมั่นใจ เพราะความเข้าใจที่ว่าการเยียวยาจะเกิดขึ้นไม่ได้หากคดีในศาลไม่สิ้นสุด เป็นความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงมากครับ ประเด็นนี้ สส.พรรคประชาชาติ ถึงขึ้นออกมาแถลงข่าวแจกแจงไปแล้วว่าการดำเนินการเยียวยาในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขณะที่มีท่านทวี สอดส่อง เป็นเลขาฯ ศอ.บต.นั้นเป็นการดำเนินการโดยฝ่ายบริหาร ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.การบริหารราชการ จชต. 2553 แยกขาดกับการดำเนินคดีในชั้นศาลครับ
แต่ดูเหมือน อ.สุรชาติ จะไม่รับฟังคำชี้แจงใด ๆ เลย"
"นักวิชาการใหญ่" ที่มั่นใจในตัวเองมาก
Romadon Panjor
18 hours ago
·
ความยุติธรรมของ อ.สุรชาติ --- อ.สุรชาติ บำรุงสุข ปล่อยบทความอีกชิ้นเพื่อ #สรุปบทเรียน #ตากใบ ครับ ยังคงมีความสับสนและคลาดเคลื่อนอยู่ในประเด็นเดิม (ซึ่งจะไล่เรียงข้างล่าง) แต่รอบนี้แกนำเสนอแนวทาง #ยุติธรรมสมานฉันท์ หรือ Restorative Justice พร้อมแนะให้ #รัฐบาล สื่อสารสิ่งที่รัฐไทยเคยทำมาแล้วให้ชัด กระนั้นก็ตาม เรายังคงพบปัญหาของข้อเท็จจริงอยู่เช่นเดิม เห็นได้ชัดว่า #ความจริงที่ตากใบ ยังคงจำเป็นต้องได้รับการชำระสะสาง
แนวทางยุติธรรมสมานฉันท์นี้เป็นกรอบคิดที่ใช้เป็น #ทางเลือก ครับ แต่ปัญหาของ #คดีตากใบ ที่เรากำลังทุ่มเถียงในรอบปีสุดท้ายของอายุความคือกระบวนการยุติธรรม #ทางหลัก ที่ประชาชนเลือกที่จะใช้กลไกทางอาญาปกติที่ประเทศอย่างเราพอจะมีอยู่บ้าง เพื่อให้ความจริงปรากฎและผู้รับผิดชอบต่อการบาดเจ็บล้มตาย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องแสดงความรับผิดชอบ
เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนมีอยู่ ศาลท่านก็ประทับรับฟ้อง ในขณะที่อีกสำนวน อัยการก็สั่งฟ้อง (แม้จะมีคำถามตามมาว่าเหตุใดจึงมาเร่งรัดในเวลานี้ก็ตาม)
ต่อให้มีสภาวะยกเว้นใด ๆ หรือการประกาศกฎอัยการศึกใด ๆ ไม่ว่าจะ #สุดซอย หรือ #ต้นซอย หากพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้กระทำความผิด ก็ต้องได้รับการพิพากษาลงโทษครับ ไม่มีอภิสิทธิภายใต้ข้ออ้างใด ๆ หรือเครื่องแบบใด ๆ
การกล่าวอ้างเรื่อง #ยุติธรรมสมานฉันท์ จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะเป้าหมายคือการอยู่ร่วมกันให้ได้หลังเหตุการณ์ฆ่ากันตายขนานใหญ่ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อให้เกิดการลอยนวลพ้นผิดและผู้ต้องรับผิดชอบ-ไม่ต้องรับผิดชอบ! ไม่เช่นนั้นแล้ว กรอบคิดและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์และออกแบบมาก็จะถูกบิดเบือนและใช้ประโยชน์เพื่อให้ความอยุติธรรมดำรงอยู่ต่อไป --- บังเอิญว่าประเทศนี้มีการนำเข้าไอเดียแบบนี้และบิดบังบิดเบือนไม่น้อย
พูดโดยสรุปคือ เมื่อ #ทางหลัก พอจะเดินได้ ก็ต้องเดินให้ถึงที่สุด ไม่ใช่เอา #ทางเลือก มากีดกันและกดทับแนวทางที่ควรจะเป็น เพราะถึงที่สุดแล้วมันจะฟื้นฟูความเชื่อมั่นไว้วางใจของประชาชน อันเป็นหัวใจของแนวทางการเมืองนำการทหารไม่ใช่หรือ?
อย่างไรก็ดี คำอธิบายของแกในบางแง่ก็น่ารับฟัง เพราะคดีอาญาที่เกิดขึ้นในระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการใช้ความรุนแรงต่อกันนั้น กระบวนการยุติธรรมทางหลักอาจไม่สามารถทำงานได้อย่างครอบคลุม แต่ดูเหมือนว่าแนวทางที่อาจารย์สุรชาติแนะนำมาจะไม่เพียงพอ ในโลกที่มนุษย์แสวงหาหนทางในการรับมือกับความขัดแย้งที่มีการห้ำหั่นถึงตายกันขนานใหญ่จึงมีการออกแบบแนวทางอื่นที่อาจจะครอบคลุมมากกว่า โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองหรือการเปลี่ยนจากสงครามไปสู่สันติภาพ นั่นก็คือความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน หรือ Transitional Justice ซึ่งครอบคลุม prosecution (การดำเนินคดี) ทั้งกลไกศาลภายในประเทศและกลไกศาลระหว่างประเทศ
แต่คงจะไม่ใช่เวลาแจกแจงแนวทาง TJ เพื่อโต้แย้งและสนทนากับ RJ ในเวลานี้ครับ ตอนนี้เรามาดูปัญหาของ #บทเรียน ที่อาจารย์ขมวดมาสักเล็กน้อย
ในบรรดาการดำเนินการทั้ง 9 ข้อ ที่ อ.สุรชาติไล่เรียงมาให้ ผมพบว่านัรบตั้งแต่ข้อ 4 ถึงข้อ 9 นั้นล้วนมีปัญหาเรื่องข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ในข้อ 4 ที่พูดถึงการที่รัฐบาล #ยอม ประนีประนอมนั้น ก็อาจเป็นไปตามนั้นหากมองจากจุดยืนของรัฐ แต่ลองนึกดูล่ะกันว่าในขณะที่ #คดีอาญา ยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนการตาย การฟ้องแพ่งในเวลานั้นของประชาชนจึงเป็นทางเลือกที่ไม่มากนัก การยอมในที่นี้ควรเป็นต้องพิจารณาจากมุมมองของ #ผู้ฟ้องคดี ซึ่งก็คือโจทย์ที่เป็นประชาชนมากกว่า
ส่วนข้อ 5 ที่ว่ารัฐบาลดำเนินการในทางคดีด้วย #การฟ้องต่อศาล ในกรณีผู้เสียชีวิต ทั้งกรณีที่ตายในระหว่างการสลายการชุมนุม (7 ศพ) และระหว่างการขนย้ายลำเลย #ขนส่ง (78 ศพ) แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อ กมธ.กฎหมายฯ เมื่อต้นปีก็คือ คดีแรกนั้นอัยการสั่ง #งดการสอบสวน ไปในปลายปี 2549 ส่วนคดีที่สองนั้นทางตำรวจ (สภ.หนองจิก) และผู้ว่าฯ ปัตตานี เห็นว่าการเสียชีวิตที่ #ขาดอากาศหายใจ นั้นไม่ได้เป็นผลมาจากการกระทำความผิดทางอาญา จึงไม่ได้มีการดำเนินคดีต่อนับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา (จนกระทั่งมาฟื้นอีกทีในปีนี้)
อาจกล่าวได้ว่าทั้งสองสำนวนนั้นยังไม่ได้มี #การฟ้องต่อศาล เลยก่อนหน้าปี 2567 ครับ
ประเด็นนี้น่าสนใจคือกรณีคดีแรก (7 ศพ) เพราะถ้าผมเข้าใจไม่ผิด น่าจะหมายถึงคดีที่ในบทความชิ้นนี้ อ.สุรชาติ กล่าวถึงผลของการดำเนินคดีตามแนวคิด RJ นี่เองที่ทำให้ สนง.อัยการนราธิวาส ออกหนังสือลงวันที่ 24 พ.ย.2549 ถึงผู้กำกับ สภ.ตากใบ เพื่อ “ขอให้งดการดำเนินคดี (สำนวนคดีกรณีตากใบ)” พร้อมทั้งระบุว่า “ซึ่งก็คือการยุติคดีโดยรัฐเป็นผู้ยอมความนั่นเอง”
ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่ครับ นี่คือคดีอาญาแผ่นดิน รัฐหรือใครไม่อาจยอมความได้ครับอาจารย์!
การตายในที่เกิดเหตุ 6 ศพ (ในจำนวนนี้ถูกยิงที่หัว 5 ศพ) และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเพิ่มอีก 1 ศพ อันเป็นผลมาจากการสลายการชุมนุม แม้จะมีระบุในรายงานของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ ที่ตั้งโดยนายกฯ ทักษิณ แต่ข้อเท็จจริงในกรณีนี้ยังคงเป็น #ปริศนา ถึงทุกวันนี้ หลักฐานที่ตำรวจส่งให้ กมธ.กฎหมายเมื่อตอนต้นปีระบุถึงหนังสือที่อัยการส่งกลับให้ผู้กำกับ สภ.ตากใบ ในวันที่ 13 ธ.ค.2549 (หลังจากหนังสือที่ อ.สุรชาติ อ้างถึง) โดยระบุว่าความเห็นของอัยการโสภณ ทิพย์บำรุง อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานคดีศาลสูงเขต 9 ปฏิบัติรักษาราชการแทนอัยการจังหวัดนราธิวาสว่า
“ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วให้ งดการสอบสวน หากต่อมารู้ตัวผู้กระทำผิด ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปได้...”
คดีนี้จึงค้างเติ่งเอาไว้อย่างนี้และยังไม่ถึงชั้นศาลเลยด้วยซ้ำ
ผมจึงไม่แน่ใจว่า อ.สุรชาติ ได้ข้อมูลและมั่นใจในข้อมูลเรื่องการดำเนินคดีต่อศาลเหล่านี้มาได้อย่างไร และกลับกลายเป็นว่าความมั่นอกมั่นใจในข้อมูลของแกนี่เองที่อาจทำให้ #ประเมินสถานการณ์ ได้คลาดเคลื่อน หากแกมีข้อมูลที่หนักแน่นว่าศาลได้มีรับเอาคดีนี้ไปพิจารณาเสร็จสิ้นกระบวนความแล้ว ซึ่งในความเห็นผมก็น่าจะเป็นไปไม่ได้ที่ทางผู้เสียหาย ทีมทนายและนักสิทธิมนุษยชนที่ติดตามเรื่องนี้จะไม่รู้เรื่องอะไรเลย ที่ร้ายแรงกว่านั้น แสดงว่าทางตำรวจภูธรภาค 9 ดันส่งข้อมูลให้กรรมาธิการคลาดเคลื่อนไป
ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ไปอีกชั้นครับ
หากข้อเท็จจริงในข้อ 5 ที่คลาดเคลื่อน จึงไม่แปลกที่ข้อ 6 อ.สุรชาติจะยังคงเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อไปด้วยความมั่นใจ เพราะความเข้าใจที่ว่าการเยียวยาจะเกิดขึ้นไม่ได้หากคดีในศาลไม่สิ้นสุด เป็นความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงมากครับ ประเด็นนี้ สส.พรรคประชาชาติ ถึงขึ้นออกมาแถลงข่าวแจกแจงไปแล้วว่าการดำเนินการเยียวยาในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขณะที่มีท่านทวี สอดส่อง เป็นเลขาฯ ศอ.บต.นั้นเป็นการดำเนินการโดยฝ่ายบริหาร ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.การบริหารราชการ จชต. 2553 แยกขาดกับการดำเนินคดีในชั้นศาลครับ
แต่ดูเหมือน อ.สุรชาติ จะไม่รับฟังคำชี้แจงใด ๆ เลย
ส่วนในข้อ 7. เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเงินเยียวยาแลกกับสิทธิในการฟ้องคดี ซึ่งเป็นประเด็นมาก เพราะคำอธิบายของเจ้าหน้าที่รัฐหลายหน่วย โดยเฉพาะ กอ.รมน. (ผมเคยร่วมวงเสวนากับผู้แทนของหน่วย) เองก็มักจะเน้นย้ำเมื่อเยียวยาไปแล้วก็จบ ไม่มีสิทธิที่จะฟ้อง ถึงขั้นลำเลิกว่าได้มีการลงนามเพื่อไม่ใช่สิทธิการฟ้องคดีแลกกับการเยียวยา นักกฎหมายหลายคนเห็นแย้งว่าการทำข้อตกลงเหล่านั้นไม่น่าจะถูกต้อง เพราะสิทธิในการฟ้องร้องเป็นสิทธิของประชาชนอยู่แล้ว
ความเข้าใจภายในแวดวงเจ้าหน้าที่ที่ว่ารัฐไม่ได้นำเอาการเยียวยาเหล่านั้นมายุติสิทธิของญาติในการฟ้องคดีนั้น เป็นคำอธิบายที่ #ประกอบสร้าง ขึ้นมาในภายหลังครับ
นอกจากนี้ อ.สุรชาติเห็นว่า “(การฟ้องคดีเกิดขึ้นในปีที่ 19 จึงกลายเป็นปัญหาอีกแบบ)” แต่แกก็ไม่ได้อธิบายว่าการที่ราษฎรใช้สิทธิของตนเองฟ้องร้องดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงนั้น #เป็นปัญหา อย่างไร?
ข้อ 8 ของ อ.สุรชาติ จึงไม่ใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นการประมวลความเข้าใจคลาดเคลื่อนของแกเอง (แกเขียนไว้ว่า “.ในภาพรวมของกระบวนการยุติธรรม ฝ่ายรัฐยอมนำคดีตากใบใน 4 ส่วนเข้าสู่กระบวนการของศาล มิได้ปล่อยให้คดีหายเงียบไป โดยรัฐไม่แสดงความสนใจ หรือใช้อำนาจของกฎอัยการศึกในการยุติคดี”)
ต้องไล่เรียงย้ำอีกครั้งว่าทั้ง 4 คดี ที่ อ.สุรชาติ ระบุนั้นเป็นเพียงส่วนเดียวของกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น แม้จะมีการไกล่เกลี่ยในคดีแพ่ง การถอนฟ้องแกนนำผู้ชุมนุม แต่กรณีการเสียชีวิตใน 2 กรณี (7 ศพ และ 78 ศพ) ก็ยังไม่อาจถือว่าได้พิจารณาในศาลยุติธรรมเสร็จสิ้นแล้ว ---- กรณี 7 ศพ นั้นยุติการสอบสวนไปดังที่กล่าวข้างต้น ส่วนกรณี 78 ศพ นั้น ศาลสงขลาเพียงแต่อ่าน #คำสั่ง สาเหตุและพฤติกรรมการตาย (ขาดอากาศหายใจ) ในปี 2552 ซึ่งเป็นเหตุให้ตำรวจและผู้ว่าฯ เห็นว่าไม่พบว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาเท่านั้น!
ส่วนข้อสุดท้าย อันนี้เหนื่อยใจหน่อยครับ เพราะคำอธิบายว่า #รัฐ ได้ใช้แนวคิด #ยุติธรรมทางเลือก นั้น เป็นคำอธิบายย้อนหลังกลับไปเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐในสถานการณ์ต่าง ๆ เท่านั้นครับ
อย่างไรก็ดี ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ว่ารัฐบาลไทยต้องมีการสื่อสารและอธิบายกับคนในพื้นที่ คนในสังคมไทย และประชาคมระหว่างรประเทศให้เข้าใจในสิ่งที่รัฐบาลไทยชุดต่าง ๆ ได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ขอเพิ่มเติมด้วยว่า อาจต้องอธิบายด้วยว่า #รัฐบาลไทยจะทำอย่างไรต่อเพื่อฟื้นความยุติธรรมให้กรณีตากใบ ถ้าทึกทักเอาง่าย ๆ ว่ามันจบไปพร้อมกับอายุความแล้ว รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรแล้ว ก็ต้องเรียนตามตรงว่า ประชาชนไม่ได้คิดอย่างนั้นครับ
ที่สำคัญมากกว่าการสื่อสาร คือ การทำความเข้าใจกับข้อมูล ข้อเท็จจริง และความรู้พื้นฐาน เสียก่อนครับอาจารย์!
#ตากใบต้องไม่เงียบ
#โศกนาฏกรรมตากใบ
#สังหารหมู่ตากใบ
#ตากใบ2547
#ตากใบ2567
#ภัยความมั่นใจ
Romadon Panjor
อ่านงานของ อ.สุรชาติ ครับ