วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 17, 2567

หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย ภายหลังเกิดเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร หรือการชุมนุมประท้วงโดยเฉพาะที่จบลงด้วยการปราบปราม สิ่งที่เรามักได้เห็นเกิดขึ้นตามมาก็คือการจับกุม ดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็น เราจะถอนอาการเหล่านี้ออกไปจากสังคมไทย ได้อย่างไร

https://www.facebook.com/FreedomBridgeTH/videos/858184143137166

Freedom Bridge
October 6
·
ธงชัย วินิจจะกูล: การมีอยู่ของนักโทษการเมือง ภาพสะท้อนอาการป…
See more

หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย ภายหลังเกิดเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร หรือการชุมนุมประท้วงโดยเฉพาะที่จบลงด้วยการปราบปราม สิ่งที่เรามักได้เห็นเกิดขึ้นตามมาก็คือการจับกุม ดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐ ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มคนที่เรียกว่า “นักโทษการเมือง” ขึ้นมาเป็นระลอก
.
หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่นอกจากจบลงด้วยโศกนาฏกรรมความสูญเสียและการรัฐประหารแล้ว ยังมีการจับกุมแกนนำนักศึกษาและผู้เข้าร่วมชุมนุมมากมาย ‘ศ.ดร. ธงชัย วินิจจะกูล’ ในฐานะแกนนำนักศึกษาในตอนนั้น คือหนึ่งในผู้ที่ถูกจับกุมและต้องกลายเป็นนักโทษทางการเมือง โดยเขาถูกคุมขังในเรือนจำเกือบ 2 ปี ก่อนจะได้รับการนิรโทษกรรมออกมาในปี 2521
.
แม้เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ผ่านมาแล้วถึง 48 ปี รวมถึงมีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นในสังคมไทย แต่วันนี้ เรายังพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเดินเข้าเรือนจำจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง การมีอยู่ของนักโทษการเมืองในสังคมแม้เราผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลามาหลายทศวรรษแล้ว จึงอาจมองได้ว่าเป็นภาพสะท้อนอาการเรื้อรังบางอย่างของสังคมนี้ที่ยังหาทางแก้ไม่ได้
.
ในวาระครบรอบ 48 เหตุการณ์ 6 ตุลา Freedom Bridge จึงได้ชวน ศ.ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ในฐานะที่เป็นทั้งนักประวัติศาสตร์และอดีตนักโทษการเมือง มองถึงสาเหตุของอาการเรื้อรังและหนทางในการถอนอาการเหล่านี้ออกไปจากสังคมไทย
.
อ่านบทความที่นี่ https://freedombridge.network/thongchai-winichakul.../