Pasit P Wongngamdee
a day ago
·
วิทยานิพนธ์ป.เอกของผมในที่สุดก็ถูก upload ขึ้นเว็บทางการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแล้วนะครับ ถ้าใครสนใจก็สามารถไปเปิดอ่านได้ (กราบล่ะครับ ช่วยกันอ่านหน่อยเถอะ )
.
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ: The Thai military’s political education and its resistance : the case of the Reserve Officer Training Corps Programme 2014-2023
.
ชื่อเรื่องภาษาไทย: การให้การศึกษาทางการเมืองของกองทัพและการถูกต่อต้าน: กรณีศึกษาหลักสูตรรักษาดินแดน พ.ศ. 2557-2566
.
idea หลักๆคือ
.
1) หลักสูตรรักษาดินแดน (ร.ด.) เป็นช่องทางสำคัญของกองทัพในการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อให้เยาวชน (ในที่นี้คือนักศึกษาวิชาทหาร [นศท.]) ยอมรับการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของกองทัพ
.
2) หลักสูตร ร.ด. มีความเหมาะสมอย่างมากในการทำหน้าที่ตรงนี้ เพราะ หนึ่ง เป็นหลักสูตรขนาดใหญ่ ปีนึงมี นศท. เข้าเรียนในหลักสูตรมากกว่า 300,000 คน (คิดเป็น 15% ของนักเรียนม.ปลายทั่วประเทศ) สอง นศท. เหล่านี้ใช้เวลาถูกปลูกฝังเป็นเวลานาน โดยหลักสูตร 1 ปี ใช้เวลา 80 ชม. และต้องเข้าค่ายภาคสนามอีก 3-7 วัน ยิ่งไปกว่านั้น กองทัพยังมีการพยายามขยายผลโดยใช้ นศท. เหล่านี้ในฐานะ "พลังมวลชน" เพื่อแพร่กระจายอุดมการณ์ของกองทัพไปยังสังคมวงกว้างผ่านกิจกรรม เช่น ร.ด. จิตอาสา และ ร.ด. ไซเบอร์อีกด้วย
.
3) อย่างไรก็ดี การปลูกฝังอุดมการณ์ของกองทัพกลับถูกต่อต้านอย่างหนักจากผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตัว นศท. เอง, ครูฝึก, หรือครูผู้กำกับ การต่อต้านเหล่านี้จะไม่ได้มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบระเบียบและเผชิญหน้าโดยตรง แต่เป็น "การต่อต้านในชีวิตประจำวัน" เช่น การนินทา, การล้อเลียน, การอู้, การหลบหนี, การทำงานที่ไม่ดีออกมา, การไม่ให้ความร่วมมือ, และเอาตัวรอดจากการถูกจับได้โดยการใช้กลยุทธ์ผักชีโรยหน้า
.
4) แม้การต่อต้านในชีวิตประจำวันเหล่านี้จะดูไม่จริงจังและมีนัยสำคัญ แต่แท้จริงแล้วหลายครั้งมันถูกรองรับด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอันแข็งกร้าว บางครั้งถึงขั้นปฏิเสธอำนาจนำของกองทัพ และเรียกร้องหาระบอบการเมืองแบบใหม่ที่กองทัพต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
.
5) วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จึงมองว่า หลักสูตร ร.ด. ไม่ใช่เพียงแค่หลักสูตรการฝึกทหาร หรือช่องทางการปลูกฝังอุดมการณ์ของกองทัพเท่านั้น แต่เป็นพื้นที่ในการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำเดิมในกองทัพกับพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่และทหารหัวก้าวหน้าที่เรียกร้องหาการปฏิรูปกองทัพ
.
link 1: https://ir.canterbury.ac.nz/.../6e6d8850-ba00-4bf8-adf1...
.
link 2: https://ir.canterbury.ac.nz/.../6515fda1-07d0.../content
.
ปล. สำหรับหนังสือหรือบทความภาษาไทย ในอนาคตอยากจะเขียนอยู่ แต่ว่าไม่แน่ใจว่าเมื่อไหร่ ยังไงอ่านอันนี้กันไปก่อนนะครับ
·
วิทยานิพนธ์ป.เอกของผมในที่สุดก็ถูก upload ขึ้นเว็บทางการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแล้วนะครับ ถ้าใครสนใจก็สามารถไปเปิดอ่านได้ (กราบล่ะครับ ช่วยกันอ่านหน่อยเถอะ )
.
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ: The Thai military’s political education and its resistance : the case of the Reserve Officer Training Corps Programme 2014-2023
.
ชื่อเรื่องภาษาไทย: การให้การศึกษาทางการเมืองของกองทัพและการถูกต่อต้าน: กรณีศึกษาหลักสูตรรักษาดินแดน พ.ศ. 2557-2566
.
idea หลักๆคือ
.
1) หลักสูตรรักษาดินแดน (ร.ด.) เป็นช่องทางสำคัญของกองทัพในการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อให้เยาวชน (ในที่นี้คือนักศึกษาวิชาทหาร [นศท.]) ยอมรับการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของกองทัพ
.
2) หลักสูตร ร.ด. มีความเหมาะสมอย่างมากในการทำหน้าที่ตรงนี้ เพราะ หนึ่ง เป็นหลักสูตรขนาดใหญ่ ปีนึงมี นศท. เข้าเรียนในหลักสูตรมากกว่า 300,000 คน (คิดเป็น 15% ของนักเรียนม.ปลายทั่วประเทศ) สอง นศท. เหล่านี้ใช้เวลาถูกปลูกฝังเป็นเวลานาน โดยหลักสูตร 1 ปี ใช้เวลา 80 ชม. และต้องเข้าค่ายภาคสนามอีก 3-7 วัน ยิ่งไปกว่านั้น กองทัพยังมีการพยายามขยายผลโดยใช้ นศท. เหล่านี้ในฐานะ "พลังมวลชน" เพื่อแพร่กระจายอุดมการณ์ของกองทัพไปยังสังคมวงกว้างผ่านกิจกรรม เช่น ร.ด. จิตอาสา และ ร.ด. ไซเบอร์อีกด้วย
.
3) อย่างไรก็ดี การปลูกฝังอุดมการณ์ของกองทัพกลับถูกต่อต้านอย่างหนักจากผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตัว นศท. เอง, ครูฝึก, หรือครูผู้กำกับ การต่อต้านเหล่านี้จะไม่ได้มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบระเบียบและเผชิญหน้าโดยตรง แต่เป็น "การต่อต้านในชีวิตประจำวัน" เช่น การนินทา, การล้อเลียน, การอู้, การหลบหนี, การทำงานที่ไม่ดีออกมา, การไม่ให้ความร่วมมือ, และเอาตัวรอดจากการถูกจับได้โดยการใช้กลยุทธ์ผักชีโรยหน้า
.
4) แม้การต่อต้านในชีวิตประจำวันเหล่านี้จะดูไม่จริงจังและมีนัยสำคัญ แต่แท้จริงแล้วหลายครั้งมันถูกรองรับด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอันแข็งกร้าว บางครั้งถึงขั้นปฏิเสธอำนาจนำของกองทัพ และเรียกร้องหาระบอบการเมืองแบบใหม่ที่กองทัพต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
.
5) วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จึงมองว่า หลักสูตร ร.ด. ไม่ใช่เพียงแค่หลักสูตรการฝึกทหาร หรือช่องทางการปลูกฝังอุดมการณ์ของกองทัพเท่านั้น แต่เป็นพื้นที่ในการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำเดิมในกองทัพกับพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่และทหารหัวก้าวหน้าที่เรียกร้องหาการปฏิรูปกองทัพ
.
link 1: https://ir.canterbury.ac.nz/.../6e6d8850-ba00-4bf8-adf1...
.
link 2: https://ir.canterbury.ac.nz/.../6515fda1-07d0.../content
.
ปล. สำหรับหนังสือหรือบทความภาษาไทย ในอนาคตอยากจะเขียนอยู่ แต่ว่าไม่แน่ใจว่าเมื่อไหร่ ยังไงอ่านอันนี้กันไปก่อนนะครับ