วันอาทิตย์, ตุลาคม 20, 2567

ร้าวสุดใจ “พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี” กับ 8 ปี ตากใบ - อ.สมศักดิ์ โพสต์ "วันที่เกิดโศกนาฏกรรมตากใบ พล.อ.พิศาลให้สัมภาษณ์ในวันนั้นหลังเกิดเรื่องว่า #เขาต้องรีบไปเฝ้าพระราชินี #ทำให้ไม่มีเวลาดูแล ผมเขียนจากความทรงจำ แต่คิดว่าไม่ผิดแน่"

.....

Somsak Jeamteerasakul
20 hours ago
·
วันที่เกิดโศกนาฏกรรมตากใบ พล.อ.พิศาลให้สัมภาษณ์ในวันนั้นหลังเกิดเรื่องว่า #เขาต้องรีบไปเฝ้าพระราชินี #ทำให้ไม่มีเวลาดูแล
ผมเขียนจากความทรงจำ แต่คิดว่าไม่ผิดแน่
.....

Rangla Sakdinakul
https://www.isranews.org/.../17262-%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0...
การพุดคุยในช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันนั้น มีบางช่วงที่บันทึกเทปได้ แต่บางช่วงเจ้าตัวขออย่าบันทึกเทป โดยข้อความบางส่วนถูกถ่ายทอดลงในหน้ากระดาษใน คอลัมน์ “จุดเปลี่ยน” นสพ.มติชนรายวัน เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2555 ไปแล้ว
.
.
.
เรื่องราวเบื้องหลังหลายอย่าง "พล.อ.พิศาล" กล่าวว่า พี่เล่าได้แต่ขอร้องน้องๆ ว่าอย่าเอาไปเขียนเลย ทั้งสาเหตุของการไม่อยู่ในพื้นที่ รวมถึงข้อสังเกตการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมบางราย
.
.
.
"ที่จริงเรื่องตากใบ ลูกหลานหลายคนก็เคยมานอนที่บ้านผม ผมเสียใจ ผมไม่ได้ทิ้งเหตุการณ์ ต้องอย่าลืมว่าช่วงนั้นมีการประทับอยู่ใกล้พื้นที่นั้นเรามีหน้าที่ถวายอารักขา เราจะไปสั่งฆ่าได้ยังไง ในเมื่อเป็นลูกหลานเราทั้งนั้น หลายคนเคยไปกินไปนอนกับผม และผมเสียใจตรงนี้ ไม่ได้มาเรียกร้องอะไร
.....

ร้าวสุดใจ “พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี” กับ 8 ปี ตากใบ

25 ตุลาคม 2555
สำนักข่าวอิศรา

ถึงวันนี้ เวลามีใครเอ่ยถึง "เหตุการณ์ตากใบ" ให้ได้ิยิน “พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี” อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 มักจะขอโอกาสพูด-ขอโอกาสชี้แจง ในฐานะ "จำเลย" ของประวัติศาสตร์ อยู่เสมอๆ

ด้วยข้อหา “ทิ้งเหตุการณ์” ไปต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางลงมาในพื้นที่ จนทำให้เหตุการณ์ควบคุมการชุมนุมของชาวบ้านหน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส ลุกลามบานปลาย กระทั่งมีผู้เสียชีวิต 78 ศพ จากการลำเลียงผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี อย่างไม่ถูกวิธี ทำให้หลายคนขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิต

เสียงคำรามหลังเหตุการณ์ว่า “ไม่ต้องไปหาตัวผู้รับผิดชอบ เพราะผู้สั่งการคือผม!” คือการยืดอกยอมรับชะตากรรมที่จะตามมา

และ “ชีวิตราชการ” ของ พล.ท.พิศาล (ยศขณะนั้น) ก็จบลงตั้งแต่วินาทีนั้น

เมื่อ “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ผบ.ทบ.เวลานั้น ลงนามให้ไปช่วยราชการที่กองทัพบก และให้ พล.ต.ขวัญชาติ กล้าหาญ รองแม่ทัพภาคที่ 4 รักษาการแทน

ก่อนจะถูกโยกเข้ากรุไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แม้จะได้รับการเลื่อนยศเป็น “พลเอก” ก็ตาม


ขณะที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบเหตุการณ์ มี “นายพิเชต สุนทรพิพิธ” อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นประธาน ก่อนจะสรุปว่า มีความประมาทในการปฏิบัติ ทำให้ พล.อ.พิศาลถูกกระทรวงกลาโหมลงโทษริบบำเหน็จและบันทึกประวัติ

แถมยังต้องเดินสายต่อสู้คดีในศาลเพียงลำพังในเวลาต่อมา...

ต้นปี 2555 ผมกับนักข่าวรุ่นพี่คนหนึ่งได้มีโอกาสไปนั่งคุย “พล.อ.พิศาล” ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในห้องทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ซึ่งเขาถูก “นายธีระ วงศ์สมุทร” รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนข้าราชการที่ทำงานร่วมกันในภาคใต้เป็นเวลาหลายสิบปีดึงให้มาช่วยงานในตำแหน่งดังกล่าว

ช่วงเวลานั้น มีประเด็นเรื่องรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เตรียมจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ จากความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึง “เหตุการณ์ตากใบ” ด้วย

รอยยิ้มเหมือนที่เคยเห็นตามสื่อต่างๆ ยังคงอยู่ น้ำเสียงก็นุ่มนวลเช่นคำบอกเล่า แต่นัยน์ตา สีหน้า และลมหายใจที่พรูออกจากปากเป็นระยะ แสดงให้เห็นถึงบางอย่างที่ยังค้างในอกอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 รายนี้

กว่า 3 ชั่วโมงที่นั่งสนทนากันถึงเรื่องราวในภาคใต้ในหลากหลายมิติ ทั้งอดีตและปัจจุบัน พล.อ.พิศาลในฐานะ “ผู้เล่า” ต้องขออนุญาต “ผู้ฟัง” อย่างพวกเรา เพื่อจุดบุหรี่สูบเป็นระยะๆ คล้ายต้องการดับอารมณ์ที่คุกรุ่นในใจ

การพุดคุยในช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันนั้น มีบางช่วงที่บันทึกเทปได้ แต่บางช่วงเจ้าตัวขออย่าบันทึกเทป โดยข้อความบางส่วนถูกถ่ายทอดลงในหน้ากระดาษใน คอลัมน์ “จุดเปลี่ยน” นสพ.มติชนรายวัน เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2555 ไปแล้ว

"ผมเสียใจในสิ่งที่เกิดขึ้นนะ แต่ยืนยันว่าไม่ได้สั่งให้ทหารฆ่าประชาชน เพราะเราทำแบบนั้นไม่ได้อยู่แล้ว แล้วในวันนั้น ทั้งโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม กรรมการอิสลามจังหวัด ฯลฯ ก็อยู่กับผมทั้งหมด ผมจำได้ หลังผมไปออกรายการ ผมยกมือไว้ขอโทษพี่น้องมุสลิม เพราะเราไม่อยากให้เกิดแบบนั้น"

"ผมคนเดียว ผมยอมได้ คดีในศาลตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา ผมก็ต่อสู้โดยลำพัง ผมไม่ว่า แต่กลับทำให้เราซาบซึ้งเป็นที่สุด แม้ฝ่ายรัฐจะปล่อยเราไว้ลำพัง แต่คนที่ช่วยเรากลับเป็นพี่น้องในพื้นที่ ทั้งพยานบุคคลอะไรต่างๆ อิหม่าม โต๊ะครู พ่อแม่ผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะสื่อในพื้นที่ที่ถ่ายภาพการลำเลียงชาวบ้านทับกันไปลงข่าว ทุกคนช่วยผม ไม่เช่นนั้นผมติดคุกไปแล้ว"

เรื่องราวเบื้องหลังหลายอย่าง "พล.อ.พิศาล" กล่าวว่า พี่เล่าได้แต่ขอร้องน้องๆ ว่าอย่าเอาไปเขียนเลย ทั้งสาเหตุของการไม่อยู่ในพื้นที่ รวมถึงข้อสังเกตการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมบางราย


"ที่จริงเรื่องตากใบ ลูกหลานหลายคนก็เคยมานอนที่บ้านผม ผมเสียใจ ผมไม่ได้ทิ้งเหตุการณ์ ต้องอย่าลืมว่าช่วงนั้นมีการประทับอยู่ใกล้พื้นที่นั้นเรามีหน้าที่ถวายอารักขา เราจะไปสั่งฆ่าได้ยังไง ในเมื่อเป็นลูกหลานเราทั้งนั้น หลายคนเคยไปกินไปนอนกับผม และผมเสียใจตรงนี้ ไม่ได้มาเรียกร้องอะไร

"ไม่มีใครอยากให้ใครตาย ผมออกมาอนาคตหมดเลย เหลืออีก 8 ปีจะเกษียณ ไม่เหลืออนาคตอะไรเลย ไม่ได้ฝันอะไรมากมายไปกว่านี้ เป็นร้อยตรีมีเท่าไหร่ เกษียณมาก็อยู่เท่านั้น ที่อยู่ทุกวันนี้จะร้อยตรี หรือพลเอกก็เหมือนกัน ไม่ได้ยึดติดตรงนั้นเลย"

ถึงวันนี้ พล.อ.พิศาลก็ยังรู้สึกว่า เหตุการณ์หน้า สภ.ตากใบ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2547 เป็น “แผลในใจ” ที่จะต้องพยายามอธิบายให้สาธารณชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงอีกด้าน

แม้จะผ่านไป 8 ปี หรืออีกกี่ปีก็ตาม...

-ภาพประกอบจาก คอลัมน์ "จุดเปลี่ยน" นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 ก.พ.2555