https://www.facebook.com/iLawClub/videos/853968763570388
.....
iLaw
a day ago
·
27 ตุลาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. iLaw ร่วมกับ Kinjai Contemporary จัดวงพูดคุยในหัวข้อ “ชีวิตคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย” ชวนฟังเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ถูก “ซ่อน” ระหว่างทางฝันของพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีกว่าเดิม
วันที่พบศพคนที่ลอยขึ้นมาบนแม่น้ำโขง กึกก้องเชื่อว่านี่คือศพของพ่อ ตนฝันเห็นภาพเหตุการณ์ทำนองนี้ เล่าให้แม่และภรรยาฟัง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่กึกก้องติดต่อกับพ่อไม่ได้ ปกติตนไม่ค่อยดูรูปศพในข่าว ผมคุยกับเพื่อนผู้ลี้ภัย ซึ่งเขาก็ส่งรูปสุดท้ายของพ่อมาให้ ชุดในภาพกับชุดที่พบศพเป็นชุดเดียวกัน ทำให้รู้ได้ทันทีว่าเป็นศพของพ่อ จึงติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ตนใช้ดีเอ็นเอของตนเพื่อตรวจสอบ แต่เจ้าหน้าที่ยังบังคับให้ตรวจดีเอ็นเอของแม่ด้วย กว่าที่ทางครอบครัวจะได้รับศพกลับก็ใช้เวลาไปกว่าสี่เดือน ช่วงนี้เป็นสี่เดือนที่วุ่นวายที่สุดในชีวิต
“แม่คิดเสมอว่าศพนั้นไม่ใช่พ่อ เมื่อไปเปิดศพดูมันไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว เหลือเพียงเส้นผมนิดหน่อย แม่รู้ทันทีว่าคือพ่อ ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเห็นแม่ร้องไห้ แม่ยังคงส่งไลน์หาไลน์ของพ่อตลอดในวันนี้ ความใฝ่ฝันสูงสุดของคนเป็นลูกคือการได้ส่งพ่อ แต่เราไม่มีโอกาสนั้น” กึกก้องเล่า
หลังพิสูจน์ศพเสร็จสิ้นแล้วในช่วงปี 2562 กึกก้องเดินทางไปยังนครพนมเพื่อถามร้อยเวรเจ้าของคดีถึงความคืบหน้า แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร อัยการยุติการสอบสวนเพราะว่าไม่สามารถหาตัวผู้กระทำได้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ บังคับให้ญาติต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ ซึ่งในตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างว่าจะให้หน่วยงานไหนรับเป็นผู้ดูแลคดีนี้
ในอดีตคนที่อุ้มหายที่ผ่านมา เช่น หะยีสุหลง โต๊ะมีนา หรือทนายสมชาย นีละไพจิตร ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ ทุกคนมักจะถูกกล่าวหาว่าไปมีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อเบี่ยงประเด็นว่ารัฐไม่ใช่ผู้กระทำความผิดจนเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้เสียชีวิตหรือสูญหาย
“สิ่งเหล่านี้ขัดกับสามัญสำนึกผมตั้งแต่เด็กมาก ถ้าพ่อผมตาย คนแรกที่ผมจะไปบอกคือตำรวจ กลายเป็นว่ามันไปค้างเติ่งและเราต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ” กึกก้องทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/47118?swcfpc=1
.....
iLaw
a day ago
·
27 ตุลาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. iLaw ร่วมกับ Kinjai Contemporary จัดวงพูดคุยในหัวข้อ “ชีวิตคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย” ชวนฟังเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ถูก “ซ่อน” ระหว่างทางฝันของพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีกว่าเดิม
วันที่พบศพคนที่ลอยขึ้นมาบนแม่น้ำโขง กึกก้องเชื่อว่านี่คือศพของพ่อ ตนฝันเห็นภาพเหตุการณ์ทำนองนี้ เล่าให้แม่และภรรยาฟัง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่กึกก้องติดต่อกับพ่อไม่ได้ ปกติตนไม่ค่อยดูรูปศพในข่าว ผมคุยกับเพื่อนผู้ลี้ภัย ซึ่งเขาก็ส่งรูปสุดท้ายของพ่อมาให้ ชุดในภาพกับชุดที่พบศพเป็นชุดเดียวกัน ทำให้รู้ได้ทันทีว่าเป็นศพของพ่อ จึงติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ตนใช้ดีเอ็นเอของตนเพื่อตรวจสอบ แต่เจ้าหน้าที่ยังบังคับให้ตรวจดีเอ็นเอของแม่ด้วย กว่าที่ทางครอบครัวจะได้รับศพกลับก็ใช้เวลาไปกว่าสี่เดือน ช่วงนี้เป็นสี่เดือนที่วุ่นวายที่สุดในชีวิต
“แม่คิดเสมอว่าศพนั้นไม่ใช่พ่อ เมื่อไปเปิดศพดูมันไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว เหลือเพียงเส้นผมนิดหน่อย แม่รู้ทันทีว่าคือพ่อ ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเห็นแม่ร้องไห้ แม่ยังคงส่งไลน์หาไลน์ของพ่อตลอดในวันนี้ ความใฝ่ฝันสูงสุดของคนเป็นลูกคือการได้ส่งพ่อ แต่เราไม่มีโอกาสนั้น” กึกก้องเล่า
หลังพิสูจน์ศพเสร็จสิ้นแล้วในช่วงปี 2562 กึกก้องเดินทางไปยังนครพนมเพื่อถามร้อยเวรเจ้าของคดีถึงความคืบหน้า แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร อัยการยุติการสอบสวนเพราะว่าไม่สามารถหาตัวผู้กระทำได้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ บังคับให้ญาติต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ ซึ่งในตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างว่าจะให้หน่วยงานไหนรับเป็นผู้ดูแลคดีนี้
ในอดีตคนที่อุ้มหายที่ผ่านมา เช่น หะยีสุหลง โต๊ะมีนา หรือทนายสมชาย นีละไพจิตร ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ ทุกคนมักจะถูกกล่าวหาว่าไปมีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อเบี่ยงประเด็นว่ารัฐไม่ใช่ผู้กระทำความผิดจนเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้เสียชีวิตหรือสูญหาย
“สิ่งเหล่านี้ขัดกับสามัญสำนึกผมตั้งแต่เด็กมาก ถ้าพ่อผมตาย คนแรกที่ผมจะไปบอกคือตำรวจ กลายเป็นว่ามันไปค้างเติ่งและเราต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ” กึกก้องทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/47118?swcfpc=1