วันจันทร์, กรกฎาคม 28, 2568

"ถึงรบกันยังไง สุดท้าย ก็ต้องมาคุยกัน ต้องมาเจรจา" ประสบการณ์ตรงจากทหารทำงานด้านเจรจา - ใช่เลย ! หวังว่าเราจะมองสงครามอย่างเข้าใจ อย่าหลงไปอยู่กับกระแสชาตินิยมสะใจที่เห็นใครตาย หรือสูญเสีย


ตุ๊ดส์review
11 hours ago
·
"ถึงรบกันยังไง สุดท้าย ก็ต้องมาคุยกัน ต้องมาเจรจา"
ประสบการณ์ตรงจากทหารทำงานด้านเจรจา #ไทยกัมพูชา

1) พลตรีณัฏฐ์ ศรีอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 หัวหน้าทีมเจรจาจนกองทัพกัมพูชายอมปรับกำลัง ถอยจากแนวปะทะ พูดสื่อสารกับสังคม ลงสื่อไทยรัฐ เมื่อ 16 มิถุนายน 2568 ในสิ่งที่ตรงกับความคิดของเรา และเราขอเผยแพร่ความคิดชุดนี้ไปยังสังคมออนไลน์ครับ

2) พลตรีณัฏฐ์ ผ่านประสบการณ์ที่เจรจาสำเร็จในหลายกรณีระหว่างไทย และกัมพูชา ในปี 2552-2554 และผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเจรจาให้ทหารกัมพูชาถอยกลับไปอยู่ด้านหลังศาลาตรีมุข และกลบคูเลตทั้งหมด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2568

3) หัวใจของการทำงานในมุมของทหารจริงๆ ที่ถูกต้อง คือ ต้องการเพียงรักษาอธิปไตยของชาติ ไม่ใช่ต้องการฆ่าใคร เห็นใครตาย เจ็บ หรือเสียเลือดเนื้อ แต่ตั้งใจให้ยุติไวที่สุดเพื่อเกิดการเจรจา หรือไม่ให้เกิดสงครามให้ได้มากที่สุด ให้สงครามเป็นทางเลือก/สุดท้าย

4) เวลาใครถามคุณว่า "ทหารมีไว้ทำไม?" บทสัมภาษณ์นี้คือวิธีคิดที่ดีมาก และเป็นคำตอบที่ถูกที่สุด คือ มีไว้ปกป้องประเทศ ป้องกันและรักษาอธิปไตยของประเทศ ไม่ใช่แค่เพียงทำสงคราม แต่หมายถึงการเจรจาพูดคุย ณ จุดพื้นที่ที่เกิดสงคราม จะทำอย่างไรก็ได้ ไม่ให้สงครามยืดเยื้อออกไป คือหัวใจการทำงานของทหาร

5) มันยิ่งตอกย้ำกับเราว่า ถ้าเรา Put the right man on the right job จริงๆ ประเทศนี้จะก้าวหน้าไปอีกไกลมาก เพราะทหารมีพื้นที่ที่เก่งในรูปแบบของตัวเอง คือ ยุทธวิธีการรบ และการเจรจา ณ สนามรบ เพื่อทำหน้าที่การปกป้องดินแดนให้ดีที่สุด

6) สิ่งที่เป็นจริงอย่างหนึ่งที่ พลตรีณัฏฐ์ เคย Post ถึงปัญหาไทย-กัมพูชาว่า จริงๆแล้ว กัมพูชา มีปัญหาพื้นที่บริเวณชายแดนมาตลอด ตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ไม่ใช่ว่าการทำสงคราม ณ วันนี้แล้วจะจบทุกอย่างได้จริงๆ เพราะเขายังคงต้องเป็นเพื่อนบ้านเราแบบนี้ต่อไป เราจะต้องเจอกับเรื่องราวนี้ต่อไปในวันที่บทบาทเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน และต้องคอยรับมือกับมันให้ได้

7) พลตรีณัฏฐ์ เคยระบุปัญหาว่า "ทหารกัมพูชาละเมิด MOU43 มาโดยตลอด ทั้งขยายชุมชน สร้างกาสิโน ปลูกพืชไร่ประชิดชายแดน ที่เป็นการทำลายสันปันน้ำ ไทยประท้วง 400 กว่าครั้ง แต่ให้ความร่วมมือแก้ไขน้อยมาก" และนี่คงเป็นสิ่งที่บอกได้อย่างหนึ่งว่า ต่อให้ไม่มีปัญหาจากตระกูลชินวัตร action ของกัมพูชาต่อแนวชายแดน ก็ไม่ปลอดภัยต่ออาณาเขตของเรามาตลอด

8 ) บทความนี้ ไม่ได้เพื่อเชิดชูทหาร หรือด่าทอสร้างความเกลียดชังต่อกัมพูชา แต่เราแค่อยากทำให้เห็นความจริงว่า การทำงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในแง่ความสัมพันธ์ และการถ่วงดุลอำนาจ ไม่มีวันจบสิ้น แต่มันคือการทำงานสานต่อความมั่นคงแบบนี้ไปเรื่อยๆ และการก่อสงครามไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้เลย

9) ถ้าเลือกได้ จงเลือกชนะ โดยการเจรจา ที่ไม่มีสงคราม เป็น way ที่ฉลาดที่สุด และในวันนี้ ต่อให้มีสงครามเกิดขึ้นแล้ว ยิ่งยุติเร็วขึ้นเท่าไหร่ แล้วไปสู่ประตูเจรจาได้เร็วขึ้น ความเดือดร้อนของประชาชนก็ยิ่งจบลงเร็วเท่านั้น และไม่ต้องสูญเสียใครไปเลย พลตรีณัฏฐ์ ระบุว่า "สิ่งสำคัญผมไม่อยากให้มีการปะทะ เพราะการที่ทหารตาย 1 นาย มันไม่ใช่เรื่องสนุก...เพราะทหาร 1 คน ต้องมีลูกเมียพ่อแม่ คนอยู่ข้างหลังอีกหลายคน"

10) ในขณะที่คนทำงานไปรบไม่อยากให้สูญเสีย นักรบห้องแอร์เชียร์เย้วๆ ให้คนเดินหน้าไปรบเสี่ยงตาย ถ้าคุณมีหัวใจที่มีความเป็นคนจริงๆ เลิกเชียร์สงครามด้วยความสนุกสะใจ เพราะคุณอาจไม่เคยรู้ว่าใครต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ จงใช้สติปัญญาให้อยู่เหนืออารมณ์ของคุณเสมอ

หวังว่าเราจะมองสงครามอย่างเข้าใจ อย่าหลงไปอยู่กับกระแสชาตินิยมสะใจที่เห็นใครตาย หรือสูญเสีย ไม่ว่าฟากไหนฝั่งไหน เพราะสงครามไม่ใช่เรื่องสนุกของใครทั้งนั้น

https://www.facebook.com/photo?fbid=1316903050000656&set=a.808136554210644