วันพุธ, มกราคม 22, 2568

ตลอดปี 2567 มีคำพิพากษาของศาลในคดีมาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รวม 82 คดี ในปี 2568 จะมีคำพิพากษาอีกจำนวนไม่น้อยและหลายคดีจะเป็นคำพิพากษาในศาลสูง มีแนวโน้มว่าจะมีคนเข้าไปในเรือนจำมากกว่าเดิม


Pipob Udomittipong
18 hours ago
·
ในปี 2568 จะมีคำพิพากษาอีกจำนวนไม่น้อยและหลายคดีจะเป็นคำพิพากษาในศาลสูง มีแนวโน้มว่าจะมีคนเข้าไปในเรือนจำมากกว่าเดิม

iLaw
19 hours ago
·
ตลอดปี 2567 มีคำพิพากษาของศาลในคดีมาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รวม 82 คดี ผลคำพิพากษาแบ่งเป็น
๐ คดีที่ศาลยกฟ้องทั้งหมด 13 คดี ซึ่งเป็นคดีที่ศาลยกฟ้องมาตรา 112 แต่ลงโทษในข้อหาอื่น 7 คดี
๐ คดีที่ยกฟ้องทุกข้อหา 6 คดี
๐ คดีที่ศาลลงโทษจำคุกไม่รอการลงโทษ 47 คดี
๐ คดีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ก่อน 21 คดี
๐ คดีของเยาวชนที่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการฝึกอบรม 1 คดี
หากพิจารณาตามลำดับชั้นของศาล
๐ มีคำพิพากษาจากศาลชั้นต้น 51 คดี
๐ มีคำพิพากษาจากศาลอุทธรณ์ 29 คดี
๐ มีคำพิพากษาจากศาลฎีกา 2 คดี
หากพิจารณาตามลำดับเวลา มีคำพิพากษาของศาลออกมาในทุกเดือน โดย เดือนมกราคม และเดือนตุลาคม 2567 เป็นเดือนที่ศาลมีคำพิพากษามากที่สุด คือ เดือนละ 11 คดี
ภาพรวมของคำพิพากษา บาส-มงคล ถิระโคตร ยังคงเป็นจำเลยที่มีโทษจำคุกสูงที่สุดในชุดคดีมาตรา 112 หลังการชุมนุม 2563 จากการโพสต์ข้อความที่ถูกดำเนินคดีรวม 29 ข้อความ เดิมในปี 2566 ศาลพิพากษาให้มีความผิด 14 ข้อความ ให้จำคุกข้อความละ 3 ปี รวม 42 ปี แต่ลดให้เหลือข้อความละ 2 ปี รวม 28 ปี แต่ในปี 2567 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาเห็นว่ามีความผิดเพิ่มเติมอีก 11 ข้อความ ตามอุทธรณ์ของฝ่ายโจทก์ โดยเห็นว่ามีการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นอดีตพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 ให้ลงโทษจำคุกอีก 11 ข้อความ ข้อความละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 22 ปี รวมโทษจำคุกทั้งหมดของบาส-มงคล ถิระโคตร เป็น 50 ปี อีกทั้งยังมีคดีมาตรา 112 จากกรณีโพสต์ 2 ข้อความ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 อุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ให้จำคุก 4 ปี 6 เดือน ทำให้รวมโทษในทุกคดีของเขาอยู่ที่จำคุก 54 ปี 6 เดือน
คดีส่วนใหญ่ที่มีคำพิพากษาเป็นคดีของคนทั่วไป ขณะที่คดีมาตรา 112 ของแกนนำราษฎรเริ่มทยอยมีคำพิพากษาแล้วคือ คดีมาตรา 112 ของอานนท์ นำภา ซึ่งมีคำพิพากษาทั้งปีมากถึง 5 คดี จากกรณีถูก “แน่งน้อย” พสกนิกรผู้จงรักภักดีกล่าวหาจากการ โพสต์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ และการใช้ มาตรา 112, กรณีโพสต์จดหมาย #ราษฎรสาส์น, กรณีปราศรัยข้อเสนอแนะปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในม็อบแฮรี่พอตเตอร์ 1, กรณีปราศรัยย้ำข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 และกรณีโพสเฟซบุ๊ก 2 ข้อความ เรื่องการที่วชิราลงกรณ์ ลงมาบริหารราชการแผ่นดินด้วยตนเอง และไม่ทำตนเป็นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย นับถึงสิ้นปี 2567 อานนท์มีโทษจำคุกรวม 18 ปี 10 เดือน 20 วัน
รวมถึงไบรท์-ชินวัตร จันทร์กระจ่าง ที่มีคำพิพากษาทั้งปีมากถึง 6 คดีจากกรณีปราศรัยตั้งคำถามต่อทรัพย์สินกษัตริย์ในม็อบ #25พฤศจิกาไปSCB, กรณีปราศรัยประเด็น “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” หน้า สน.บางเขน, กรณีปราศรัย “ปลดอาวุธศักดินาไทย” หน้าราบ 11 #ม็อบ29พฤศจิกา, กรณีให้สัมภาษณ์สื่อปมบังคับใช้ ม.112 เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์, กรณีปราศรัยหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้เรียกร้องสิทธิประกันตัวบุ้ง-ใบปอและร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย”เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 และกรณีปราศรัยวิจารณ์การโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ใน #ยืนหยุดขัง ท่าน้ำนนท์ รวมชินวัตรมีโทษจำคุกยี่สิบปี ก่อนลดโทษเหลือแปดปี 24 เดือนหรือประมาณสิบปี
ในปี 2568 จะมีคำพิพากษาอีกจำนวนไม่น้อยและหลายคดีจะเป็นคำพิพากษาในศาลสูง มีแนวโน้มว่าจะมีคนเข้าไปในเรือนจำมากกว่าเดิม จากสถิติคดีที่ถูกยกฟ้องในศาลชั้นต้นมีคำพิพากษากลับโดยศาลอุทธรณ์ให้ลงโทษจำคุก 6 คดี และมีคดีที่เพิ่มขึ้นใหม่ อย่างน้อย 47 คดี มีผู้ถูกดำเนินคดีรายใหม่เพิ่มขึ้น 22 คน
อ่านทั้งหมด : https://www.ilaw.or.th/articles/50144

Pipob Udomittipong
16 hours ago
·
"นับตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2564 ประเทศไทยถูกต่างชาติวิจารณ์เรื่อง #มาตรา112 ไม่น้อยกว่า 22 ครั้ง"


iLaw
18 hours ago
·
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” (lèse-majesté law) เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งองค์กรระหว่างประเทศและประเทศอื่นอยู่บ่อยครั้ง นอกจากปัญหาในตัวเนื้อหาของกฎหมายเอง เช่น อัตราโทษที่สูงเกินไปจนไม่ได้สัดส่วนกับความผิดและการไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ ไปจนถึงการไม่มีคำนิยามที่แน่นอนของคำว่า “ดูหมิ่น” นอกจากนี้ มาตรา 112 ยังมีปัญหาในการบังคับใช้ที่ถูกตีความอย่างไร้ขอบเขต และยังไม่สอดคล้องกับหลักสากลที่วางไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) เนื่องจากขาดความชัดเจน ขัดกับหลักการได้สัดส่วนและหลักความจำเป็นอย่างยิ่งยวด

ด้วยเหตุนี้ มาตรา 112 จึงตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมระหว่างประเทศ ผ่านทั้งกลไกระหว่างประเทศ การส่งจดหมายซักถาม ไปจนถึงการออกมาให้ความเห็นของเอกราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2564 ประเทศไทยถูกต่างชาติวิจารณ์เรื่องมาตรา 112 ไม่น้อยกว่า 22 ครั้ง โดยส่วนใหญ่นั้นมาจากองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และชาติตะวันตกต่าง ๆ เนื้อหามีทั้งการวิพากษ์วิจารณ์การบังคับใช้และเสนอแนะให้ปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมาย

อ่านทั้งหมด : https://www.ilaw.or.th/articles/9939

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1015959173911035&set=a.625664036273886
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1015998983907054&set=a.625664036273886