
A Ka San
12 hours ago
·
#31พฤษภาคม2504 #วันนี้เมื่อ64ปีที่แล้ว
ประวัติศาสตร์คำพูดในเครื่องหมาย “อัญประกาศ” ก่อนความตายด้วย ม. 17 ของ ครอง จันดาวงศ์
https://prachatai.com/journal/2018/09/78822
https://www.facebook.com/photo/?fbid=9916380681772753&set=a.469175836493332
.....
“ครอง จันดาวงศ์” นักต่อสู้ ปชต. เจ้าของวาทะ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ”

ครูครอง จันดาวงศ์ (28 มกราคม พ.ศ.2451-31 พฤษภาคม พ.ศ.2504)
ผู้เขียน กฤษณะ โสภี
ผู้เขียน กฤษณะ โสภี
31 พฤษภาคม พ.ศ.2568
ศิลปวัฒนธรรม
ครอง จันดาวงศ์ เป็นนักต่อสู้ทางการเมืองผู้ไม่เห็นด้วยกับระบอบเผด็จการ รวมถึงพยายามคัดค้านระบอบนี้อย่างหัวชนฝา บทบาทการต่อสู้ทางการเมืองของ “ครูครอง” เรียกได้ว่าเคียงคู่มากับ “ขุนพลภูพาน” เตียง ศิริขันธ์ ส.ส. จากจังหวัดสกลนคร (ถึงแม้จะไม่โดดเด่นเท่า) มาตั้งแต่ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยสายอีสานเลยทีเดียว จากนั้นก็เคลื่อนไหวต่อสู้กับระบบอันอยุติธรรมมาตลอดช่วงชีวิต จนครูครองได้รับการขนานนามว่าเป็น “วีรบุรุษแห่งสว่างแดนดิน”
ประวัติ ครอง จันดาวงศ์
ครอง จันดาวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2451 ในครอบครัวชาวนาที่ค่อนข้างมีฐานะ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร บิดา ชื่อ นายกี จันดาวงศ์ (ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นหมื่นศรีภักดี) มารดาชื่อ แม่เชียงวัน ทั้งบิดาและมารดามีเชื้อสายไทยย้อ มีบุตรด้วยกัน 9 คน ครูครองเป็นคนสุดท้อง
ในวัยเด็กครูครองเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดศรีษะเกษใกล้บ้าน จากนั้นเรียนโรงเรียนมัธยมที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จนจบชั้นมัธยม จึงไปประกอบอาชีพเป็นครูที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน ต่อมาได้ย้ายมาเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านบงเหนือ และได้สมรสกับ น.ส.มุกดา ลูกสาวกำนันบ้านบงเหนือ แต่ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น จึงได้หย่าขาดจากกัน
ต่อมาได้ย้ายไปเป็นครูอีกหลายโรงเรียน และได้สมรสใหม่กับ น.ส.แตงอ่อน แซ่เต็ง ใน พ.ศ. 2480 จนกระทั่งย้ายมาเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนวัดบ้านทรายมูล ตำบลพันนา ในอำเภอสว่างแดนดิน [1] จังหวัดสกลนคร
การต่อสู้ทางการเมืองของ ครอง จันดาวงศ์
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าครอง จันดาวงศ์ เป็นอดีตเสรีไทยสายอีสานร่วมกับเตียง ศิริขันธ์ อีกทั้งยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร มีการต่อต้านคัดค้านระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมาโดยตลอด เคยถูกจับข้อหาเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนเมื่อปี 2491 และกบฏสันติภาพเมื่อปี 2495 ถูกปล่อยตัวออกมาในช่วง พ.ศ. 2500 ในกรณีนิรโทษกรรมกึ่งพุทธกาล ช่วงที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารโค่นจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการยุบสถาและเปิดให้มีการเลือกตั้งในปีเดียวกัน
ครูครองลงสมัคร ส.ส. ก็ได้เป็น ส.ส. จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งจอมพล สฤษดิ์ ก่อการรัฐประหารครั้งที่สอง เพื่อยึดอำนาจใน พ.ศ. 2501 พร้อมกับปกครองในระบอบเผด็จการเต็มรูปแบบ ยกเลิกระบอบรัฐสภาและยุติการเลือกตั้ง จากนั้นก็ได้กวาดล้างปราบปรามนักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองฝ่ายค้านจำนวนมาก

“ขุนพลภูพาน” เตียง ศิริขันธ์ อดีต ส.ส. สกลนคร เสรีไทยสายอีสาน
ประวัติ ครอง จันดาวงศ์
ครอง จันดาวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2451 ในครอบครัวชาวนาที่ค่อนข้างมีฐานะ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร บิดา ชื่อ นายกี จันดาวงศ์ (ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นหมื่นศรีภักดี) มารดาชื่อ แม่เชียงวัน ทั้งบิดาและมารดามีเชื้อสายไทยย้อ มีบุตรด้วยกัน 9 คน ครูครองเป็นคนสุดท้อง
ในวัยเด็กครูครองเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดศรีษะเกษใกล้บ้าน จากนั้นเรียนโรงเรียนมัธยมที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จนจบชั้นมัธยม จึงไปประกอบอาชีพเป็นครูที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน ต่อมาได้ย้ายมาเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านบงเหนือ และได้สมรสกับ น.ส.มุกดา ลูกสาวกำนันบ้านบงเหนือ แต่ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น จึงได้หย่าขาดจากกัน
ต่อมาได้ย้ายไปเป็นครูอีกหลายโรงเรียน และได้สมรสใหม่กับ น.ส.แตงอ่อน แซ่เต็ง ใน พ.ศ. 2480 จนกระทั่งย้ายมาเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนวัดบ้านทรายมูล ตำบลพันนา ในอำเภอสว่างแดนดิน [1] จังหวัดสกลนคร
การต่อสู้ทางการเมืองของ ครอง จันดาวงศ์
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าครอง จันดาวงศ์ เป็นอดีตเสรีไทยสายอีสานร่วมกับเตียง ศิริขันธ์ อีกทั้งยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร มีการต่อต้านคัดค้านระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมาโดยตลอด เคยถูกจับข้อหาเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนเมื่อปี 2491 และกบฏสันติภาพเมื่อปี 2495 ถูกปล่อยตัวออกมาในช่วง พ.ศ. 2500 ในกรณีนิรโทษกรรมกึ่งพุทธกาล ช่วงที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารโค่นจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการยุบสถาและเปิดให้มีการเลือกตั้งในปีเดียวกัน
ครูครองลงสมัคร ส.ส. ก็ได้เป็น ส.ส. จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งจอมพล สฤษดิ์ ก่อการรัฐประหารครั้งที่สอง เพื่อยึดอำนาจใน พ.ศ. 2501 พร้อมกับปกครองในระบอบเผด็จการเต็มรูปแบบ ยกเลิกระบอบรัฐสภาและยุติการเลือกตั้ง จากนั้นก็ได้กวาดล้างปราบปรามนักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองฝ่ายค้านจำนวนมาก

“ขุนพลภูพาน” เตียง ศิริขันธ์ อดีต ส.ส. สกลนคร เสรีไทยสายอีสาน
ตอนแรกครอง จันดาวงศ์ ไม่ได้ถูกกวาดล้างในรอบแรกนี้ จึงต้องออกจาก ส.ส. มาประกอบอาชีพเป็นครูควบคู่กับการทำเกษตรกรและค้าขายที่สกลนคร รวมถึงยังคงทำงานร่วมกับประชาชนเช่นเดิม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะจัดตั้งให้ชาวนาชาวไร่รวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นสำคัญ ครูครองได้แนะนำการทำเกษตรกรโดยให้ชาวบ้านลงแขกเพื่อช่วยเหลือกันในการทำนา พร้อมกันนั้นเขาก็ได้ต่อต้านอำนาจเผด็จการไปด้วย [2]

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ครูครองและผองเพื่อนจัดตั้งสมาคมลับที่ชื่อ “สามัคคีธรรม” ทำการต่อต้านอำนาจเผด็จการ และอบรมสั่งสอนประชาชนที่ทุกข์ยาก ให้รู้จักถึงความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ ครูครองทำการต่อต้านอำนาจเผด็จการ จนกระทั่งถูกล้อมจับในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ท้ายที่สุดก็ถูกคำสั่งประหารชีวิตด้วยมาตรา 17 ของจอมพล สฤษดิ์ โดยไม่มีการไต่สวนพิจารณาคดีแต่อย่างใด
ครูครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารชีวิต พร้อมกับครูทองพันธ์ สุทธิมาศ ในวันที่ 31 พฤษภาคม ปีเดียวกัน กล่าวกันอย่างแพร่หลายว่าก่อนทำการประหารนั้น ทหารได้นำตัวครูครองไปพบจอมพล สฤษดิ์ ขณะที่ถูกจับครูครองให้สัมภาษณ์ว่า “ผมไม่ถือโทษโกรธตำรวจแต่อย่างไร เพราะต่างคนต่างมีหน้าที่ ขอแต่ให้ดำเนินคดีไปตามตัวบทกฎหมายก็แล้วกัน ผมไม่รู้สึกหวาดหวั่นเลย เพราะถูกจับเสียจนชินแล้ว” [3]
หลังจากนั้นครูครองกับเพื่อนที่ถูกจับก็ถูกนำตัวส่งเข้าหลักประหาร ก่อนถูกยิงเป้า เขาได้ฝากวาทะสำคัญอันลือเลื่องไว้ก็คือ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” จบประโยคกระสุนก็รัวใส่ร่างของครูครองจนสิ้นชีพ เป็นอันสิ้นสุดบทบาทของวีรบุรุษสว่างแดนดินแต่บัดนั้น.

ครูครอง จันดาวงศ์ ขณะถูกนำตัวเข้าหลักประหาร
รัฐบาลกล่าวอ้างการประหารชีวิตครูครองว่า เป็นการก่อการกบฏต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ เพื่อป้องกันมิให้เป็นตัวอย่างในการกระทำผิดชนิดนี้ต่อไปภายหน้า เจ้าหน้าที่จึงได้ดำเนินการประหารชีวิต [4]
กล่าวว่าปลายปี 2504 จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในคุกลาดยาว ได้แต่งเพลง “วีรชนปฏิวัติ”[5] ขึ้น จากความรู้สึกประทับใจในการต่อสู้ของครูครอง จันดาวงศ์ และในเวลาต่อมาเพลงนี้ก็ยังได้รับการเผยแพร่และขับร้องกันสืบมาในขบวนการของฝ่ายประชาชน
ถึงแม้ว่า ครูครอง จันดาวงศ์ จะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่คำกล่าวขานถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยยังคงครุกรุ่นอยู่เสมอ พร้อมกับประโยคทองของครูครองที่จะเป็นอมตะตลอดไป ตราบใดที่เผด็จการยังคงรู้สึกสง่างามกับอำนาจบาตรใหญ่ของเขา
https://www.silpa-mag.com/history/article_7479