
NationTV
10 hours ago
·
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 68 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมราชดำเนินเสวนา หัวข้อ “สังคายนาระบบเตือนภัย” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว โดยผ่านระบบ On Line ถ่ายทอดสด เพจสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวตอนหนึ่งไว้อย่างน่าสนใจว่า การสำรวจรอยเลื่อนของประเทศไทยควรทำอย่างต่อเนื่อง เพราะข้อมูลเรายังมีน้อยมาก และที่ผ่านมางบสำรวจรอยเลื่อนก็มีน้อยมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้
.
อย่างปัญหาของกรุงเทพฯ ก็ต้องไปเน้นการสำรวจลอยเลื่อนที่กาญจนบุรีเป็นพิเศษ แม้จะมีสำรวจอยู่บ้างแต่น้อยเกินไป ทำให้มีข้อมูลใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนภาคเหนือมีหลายรอยเลื่อนกว่าสิบแห่งที่กระจายอยู่ บางที่ก็เห็นชัดบนผิวดิน
.
แต่ที่ซ่อนอยู่ในชั้นดินก็ต้องใช้เทคนิคทางด้านธรณีมาสำรวจ ตอนนี้ยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นเรื่องเป็นราว คิดว่าหน่วยงานเกี่ยวข้องควรสำรวจอย่างสม่ำเสมอ มีงบสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ จะได้มีความรู้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และจะได้บริหารจัดการปัญหานี้ได้
"มีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศให้ข้อมูลที่น่าสนใจกับผมว่า อาคาร สตง.ที่ถล่ม จัดเป็นอาคารสูงที่อยู่ระยะไกลที่สุดที่มันพังจากแผ่นดินไหว เมื่อเทียบกับสถิติทั่วโลก และยังเป็นอาคารที่สูงที่สุดที่ถล่มจากแผ่นดินไหวด้วย คือทั้งสูงที่สุดและอยู่ไกลจากแผ่นดินไหวมากที่สุด เพราะฉะนั้นเรามีสถิติโลกสถิติใหม่ในครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ภูมิใจนัก แต่มันชี้ให้เห็นว่าปัญหาแผ่นดินไหวของไทยอยู่ในระดับที่ต้องใส่ใจพอสมควร"
https://www.facebook.com/NationTV/posts/1110369164469109
🔴อัปเดตกรณี ตึก สตง. ถล่ม จากเหตุแผ่นดินไหว
— prachatai (@prachatai) April 2, 2025
- ผู้สูญหาย 72 ราย
- ผู้เสียชีวิต 15 ราย
- ผู้รอดชีวิต 9 ราย
.
ข้อมูล ณ วันที่ 2 เมษายน 2568 เวลา 16.00 น.
ที่มา: เพจเฟซบุ๊กกรุงเทพมหานคร pic.twitter.com/kZhCoNhAiU