.jpg)
2/04/2568
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
2 เม.ย. 2568 ทนายความได้เดินทางไปที่เรือนจำบางขวางเพื่อเยี่ยม “จอย สถาพร” (สงวนนามสกุล) ชาวจังหวัดอุดรธานีวัย 33 ปี ผู้ต้องขังคดีตามมาตรา 112 จากการแสดงออกระหว่างขบวนเสด็จผ่านบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 ผู้ถูกคุมขังหลังศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 1 ปี 6 เดือน และไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างอุทธรณ์
ก่อนหน้านี้ สถาพรถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ก่อนเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 จะถูกบังคับย้ายเรือนจำตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์ ไปพร้อมกับ ก้อง อุกฤษฏ์ และ บุ๊ค ธนายุทธ มายังเรือนจำกลางบางขวาง โดยทั้งสามคนถูกแยกกันไปอยู่คนละแดน
.
เหตุการณ์หลังถูกบังคับย้ายเรือนจำ: ญาติยังเยี่ยมไม่ได้-ติดต่อสื่อสารลำบาก
สถาพรเล่าถึงเหตุการณ์ย้ายเรือนจำว่า ในช่วงเช้าวันนั้น ทราบชื่อผู้ต้องขังที่มีคำสั่งย้าย และพบว่าตนเอง รวมถึงบุ๊คและก้องอยู่ในรายชื่อจะถูกย้ายด้วย ตัวเขาไม่ต้องการย้ายเรือนจำ เนื่องจากเพื่อนและผู้ต้องขังที่เริ่มคุ้นเคยส่วนใหญ่อยู่ที่นั่น อีกทั้งสถานที่ใหม่ก็อยู่ไกล ทำให้คาดว่าจะติดต่อสื่อสารกับญาติได้ยาก
จอยยังเล่าว่า การบังคับย้ายเรือนจำดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ไม่ได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือนำข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นติดตัวมาด้วย ทำให้ต้องมาหาซื้อใหม่ที่เรือนจำใหม่
รวมทั้งเขาต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยวเนื่องจากยังไม่มีเพื่อน และยังต้องปรับตัวกับสภาพใหม่ทั้งหมด การติดต่อกับบุคคลภายนอกก็ยากขึ้น เนื่องจากไม่มีระบบ “โดมิเมล” ที่ช่วยให้ส่งจดหมายได้รวดเร็วขึ้นเหมือนในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หากต้องการติดต่อ ต้องใช้วิธีเขียนจดหมายส่งตามไปรษณีย์เท่านั้น
สถาพรยังกังวลเกี่ยวกับการเยี่ยมของญาติ เนื่องจากเรือนจำบางขวางกำหนดเงื่อนไขเข้มงวดมากกว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แม้เขาจะเพิ่มชื่อคุณยาย น้า ลุงและเพื่อนไว้ในรายชื่อผู้มีสิทธิเยี่ยมแล้ว แต่กลับยังไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ เนื่องจากต้องมีเอกสารรับรองความเป็นญาติอีก แต่เรือนจำบางขวางก็มีความแออัดน้อยกว่าที่เรือนจำเดิม และอาหารค่อนข้างดีกว่า
.
ถูกคุกคามทางเพศภายในเรือนจำ
นอกจากความโดดเดี่ยวจากการถูกแยกจากเพื่อนและห่างไกลจากญาติ สถาพรยังเป็นผู้ต้องขังที่อยู่ในกลุ่มประชากรเปราะบางทางเพศ เขาเป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่ม LGBTQ+ แต่กลับกลายเป็นเป้าให้กับการละเมิดภายในเรือนจำ
ในห้องเยี่ยม สถาพรได้พูดด้วยน้ำเสียงที่ค่อย ๆ เปิดเผยสถานการณ์อันเจ็บปวด โดยเล่าว่าตั้งแต่ถูกย้ายมาที่เรือนจำบางขวาง เขาถูกคุกคามทางเพศโดยผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ทั้งการล้อเลียนทางวาจา การเหยียดหยามฐานะความหลากหลายทางเพศ ไปจนถึงการถูกจับเนื้อต้องตัว บางทีกระทั่งถูกจับอวัยวะเพศ ซึ่งเขาบอกว่าเกิดขึ้นแทบจะทุกวัน
จอยระบุว่า คนในห้องก็ไม่มีใครสนใจเรื่องนี้ อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติในพื้นที่นี้ และไม่รู้ว่าเรือนจำแห่งนี้มีห้องเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังที่เป็น LGBTQ+ เหมือนที่เรือนจำคลองเปรมหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ตอนนี้เขาก็อยากย้ายแดน ทำให้ยังต้องติดตามเรื่องนี้ต่อไป
.
ทั้งนี้ทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเตรียมยื่นหนังสือร้องเรียนในเรื่องการคุกคามทางเพศดังกล่าว ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคม 2568 มีกรณีของ “แอมป์ ณวรรษ” ที่ร้องเรียนการถูกคุกคามทางเพศในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาก่อนแล้ว โดยหลังมีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าวจากทางเรือนจำ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้มีการโยกย้ายแดนของผู้ต้องขัง
.
ย้อนอ่านเรื่องราวของสถาพร ขอความยุติธรรมจงสถิต “สถาพร” : การต่อสู้บนพื้นที่ชุมนุมของสื่อพลเมืองชาวอุดรฯ ก่อนตกเป็นจำเลยคดี 112
https://tlhr2014.com/archives/74524
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
2 เม.ย. 2568 ทนายความได้เดินทางไปที่เรือนจำบางขวางเพื่อเยี่ยม “จอย สถาพร” (สงวนนามสกุล) ชาวจังหวัดอุดรธานีวัย 33 ปี ผู้ต้องขังคดีตามมาตรา 112 จากการแสดงออกระหว่างขบวนเสด็จผ่านบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 ผู้ถูกคุมขังหลังศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 1 ปี 6 เดือน และไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างอุทธรณ์
ก่อนหน้านี้ สถาพรถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ก่อนเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 จะถูกบังคับย้ายเรือนจำตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์ ไปพร้อมกับ ก้อง อุกฤษฏ์ และ บุ๊ค ธนายุทธ มายังเรือนจำกลางบางขวาง โดยทั้งสามคนถูกแยกกันไปอยู่คนละแดน
.
เหตุการณ์หลังถูกบังคับย้ายเรือนจำ: ญาติยังเยี่ยมไม่ได้-ติดต่อสื่อสารลำบาก
สถาพรเล่าถึงเหตุการณ์ย้ายเรือนจำว่า ในช่วงเช้าวันนั้น ทราบชื่อผู้ต้องขังที่มีคำสั่งย้าย และพบว่าตนเอง รวมถึงบุ๊คและก้องอยู่ในรายชื่อจะถูกย้ายด้วย ตัวเขาไม่ต้องการย้ายเรือนจำ เนื่องจากเพื่อนและผู้ต้องขังที่เริ่มคุ้นเคยส่วนใหญ่อยู่ที่นั่น อีกทั้งสถานที่ใหม่ก็อยู่ไกล ทำให้คาดว่าจะติดต่อสื่อสารกับญาติได้ยาก
จอยยังเล่าว่า การบังคับย้ายเรือนจำดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ไม่ได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือนำข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นติดตัวมาด้วย ทำให้ต้องมาหาซื้อใหม่ที่เรือนจำใหม่
รวมทั้งเขาต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยวเนื่องจากยังไม่มีเพื่อน และยังต้องปรับตัวกับสภาพใหม่ทั้งหมด การติดต่อกับบุคคลภายนอกก็ยากขึ้น เนื่องจากไม่มีระบบ “โดมิเมล” ที่ช่วยให้ส่งจดหมายได้รวดเร็วขึ้นเหมือนในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หากต้องการติดต่อ ต้องใช้วิธีเขียนจดหมายส่งตามไปรษณีย์เท่านั้น
สถาพรยังกังวลเกี่ยวกับการเยี่ยมของญาติ เนื่องจากเรือนจำบางขวางกำหนดเงื่อนไขเข้มงวดมากกว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แม้เขาจะเพิ่มชื่อคุณยาย น้า ลุงและเพื่อนไว้ในรายชื่อผู้มีสิทธิเยี่ยมแล้ว แต่กลับยังไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ เนื่องจากต้องมีเอกสารรับรองความเป็นญาติอีก แต่เรือนจำบางขวางก็มีความแออัดน้อยกว่าที่เรือนจำเดิม และอาหารค่อนข้างดีกว่า
.
ถูกคุกคามทางเพศภายในเรือนจำ
นอกจากความโดดเดี่ยวจากการถูกแยกจากเพื่อนและห่างไกลจากญาติ สถาพรยังเป็นผู้ต้องขังที่อยู่ในกลุ่มประชากรเปราะบางทางเพศ เขาเป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่ม LGBTQ+ แต่กลับกลายเป็นเป้าให้กับการละเมิดภายในเรือนจำ
ในห้องเยี่ยม สถาพรได้พูดด้วยน้ำเสียงที่ค่อย ๆ เปิดเผยสถานการณ์อันเจ็บปวด โดยเล่าว่าตั้งแต่ถูกย้ายมาที่เรือนจำบางขวาง เขาถูกคุกคามทางเพศโดยผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ทั้งการล้อเลียนทางวาจา การเหยียดหยามฐานะความหลากหลายทางเพศ ไปจนถึงการถูกจับเนื้อต้องตัว บางทีกระทั่งถูกจับอวัยวะเพศ ซึ่งเขาบอกว่าเกิดขึ้นแทบจะทุกวัน
จอยระบุว่า คนในห้องก็ไม่มีใครสนใจเรื่องนี้ อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติในพื้นที่นี้ และไม่รู้ว่าเรือนจำแห่งนี้มีห้องเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังที่เป็น LGBTQ+ เหมือนที่เรือนจำคลองเปรมหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ตอนนี้เขาก็อยากย้ายแดน ทำให้ยังต้องติดตามเรื่องนี้ต่อไป
.
ทั้งนี้ทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเตรียมยื่นหนังสือร้องเรียนในเรื่องการคุกคามทางเพศดังกล่าว ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคม 2568 มีกรณีของ “แอมป์ ณวรรษ” ที่ร้องเรียนการถูกคุกคามทางเพศในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาก่อนแล้ว โดยหลังมีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าวจากทางเรือนจำ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้มีการโยกย้ายแดนของผู้ต้องขัง
.
ย้อนอ่านเรื่องราวของสถาพร ขอความยุติธรรมจงสถิต “สถาพร” : การต่อสู้บนพื้นที่ชุมนุมของสื่อพลเมืองชาวอุดรฯ ก่อนตกเป็นจำเลยคดี 112
https://tlhr2014.com/archives/74524