วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 10, 2568

ทักษิณ อาจไม่รู้ข่าวนี้ - Naomi Campbell banned from charity involvement. A small fraction of the millions raised by the charity founded by Naomi Campbell was actually going towards a cause, a UK Charity commission inquiry has found.


วิวาทะ V2
9 hours ago
·
"ขณะที่ปี2024 นาโอมิ แคมป์เบล เพิ่งโดนสอบเรื่องการทุจริตเงินองค์กรการกุศลไปใช้ชีวิตหรูหรา"

- มิตรฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1047008504121578&set=a.465768305578937


Naomi Campbell banned from charity involvement | ABC News

ABC News (Australia)

Sep 27, 2024 

A small fraction of the millions raised by the charity founded by Naomi Campbell was actually going towards a cause, a UK Charity commission inquiry has found. 

Fashion for Relief aimed to raise money to tackle poverty and support young people. 

Grace McKinnon for ABC News Digital 


https://www.youtube.com/watch?v=9HZKHVotSvw




 

พท. – ปชน. เห็นพ้องรัฐสภาต้องรับหลักการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ 13-14 ก.พ. 68 นี้

09/02/2025
iLaw

9 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00 – 16.00 น. ที่ห้องรัฐศาสตร์ 103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (Constitution Advocacy Alliance : CALL) จัดเสวนาหัวข้อ “ผ่าน 256 เปิดประตูเลือกตั้ง สสร. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ระหว่างสองตัวแทนพรรคการเมืองที่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เข้าสู่รัฐสภา พร้อมด้วยนักวิชาการและภาคประชาชนเข้าร่วมพูดคุยในประเด็นนี้ด้วย ก่อนที่รัฐสภาจะพิจารณาข้อเสนอตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญมาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568

การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่กลับมาเป็นประเด็นร้อนให้ถกเถียงกันอีกครั้งหลังพรรคประชาชนซึ่งนำโดยพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคประชาชนยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อปูทางไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต่อมาพรรคเพื่อไทยก็ได้ยื่นร่างเข้าประกบ จึงทำให้ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 รัฐสภาจะพิจารณาร่างทั้งสองฉบับในวาระหนึ่ง

ข้อเสนอพรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทยระบุเหมือนกันให้ สสร. มาจากการเลือกตั้ง แต่มีข้อแตกต่างที่วิธีการเลือกตั้ง พรรคประชาชนใช้ระบบผสม แบ่ง สสร. 200 คน ออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกมาจาการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตตามจังหวัด 100 คน และประเภทที่สองมาจากแบบบัญชีรายชื่อใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง 100 คน ส่วนพรรคเพื่อไทยให้ สสร. ทั้ง 200 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเท่านั้น นอกจากวิธีการเลือกตั้ง สสร. แล้วอำนาจหน้าที่ของ สสร. ก็ยังคงมีความแตกต่างกันโดยร่างฉบับเพื่อไทยระบุ สสร. มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้แต่ห้ามแก้ไขเนื้อหาในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ในขณะที่ร่างฉบับพรรคประชาชนไม่ได้มีข้อห้ามนี้

รัฐธรรมนูญ 60 มีปัญหาที่มา – เนื้อหา ต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
 


ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จุดยืนของพรรคเพื่อไทยยืนยันมาโดยตลอดว่ารัฐธรรมนูญ 2560 มีปัญหาสองส่วนหลักคือเนื้อหาและที่มา ในอดีตพรรคเพื่อไทยเคยเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญทั้งแก้ไขทั้งรายมาตราและตั้ง สสร. มาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ หากถามว่าเนื้อหารัฐธรรมนูญ 2560 มีข้อเสีย ปัญหานั้นพรรคเพื่อไทยเคยนำเสนอผ่านข้อเสนอแก้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

แต่ปัญหาสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ คือ ปัญหาเชิงที่มา แม้จะพูดกันว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มาจากการทำประชามติ แต่กระบวนการก่อนประชามติขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาชนควรเป็นองค์ประกอบในการมีส่วนร่วมก่อนที่จะบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พรรคเพื่อไทยคาดหวังให้ประชาชนได้มีการเลือกตั้ง สสร. เพื่อให้กระบวนการ สสร. นำไปสู่บรรยากาศสังคมประชาธิปไตยที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เราต้องการหาฉันทามติใหม่ของสังคมไทย

ในเชิงเนื้อหา พรรคเพื่อไทยเห็นว่าประเด็นยุทธศาสตร์ชาติมีปัญหา ที่มาขององค์กรอิสระและอำนาจก็เป็นปัญหา อาจจะไม่ได้ชี้ถูกชี้ผิดว่าควรเป็นแบบไหน แต่ตนเห็นว่าสมควรที่จะต้องแก้ไข



พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. พรรคประชาชน ระบุว่า ปัญหารัฐธรรมนูญ 2560 แบ่งออกได้เป็นที่มา และเนื้อหา ประเด็นเรื่องที่มาของรัฐธรรมนูญ 2560 นั้นถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม และการทำประชามติในปี 2559 ก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่าไม่ได้มีความเสรีและเป็นธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญไปให้ถึงบ้านของประชาชน ส่วนผู้ที่รณรงค์เห็นค้านก็ถูกดำเนินคดี รัฐบาลที่มาจากรัฐประหารก็เป็นผู้ดูแลการจัดทำประชามติโดยเอาการเลือกตั้งเป็นตัวประกัน

ปัญหาใหญ่ในเชิงเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้ประชาชนอ่อนแอทั้งในด้านอำนาจและสิทธิเสรีภาพ ทำให้อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนถูกบั่นทอนหรือครอบงำจากอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
  • ประการแรก วุฒิสภา ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการเลือกกันเอง ยังจำเป็นหรือไม่ หรือควรมีที่มาที่สอดคล้องกับอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยอย่างไร โดย สว. มีอำนาจให้ความเห็นชอบผู้มาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการองค์กรอิสระ
  • ประการที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่ควรจะเป็นกลางและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ข้อถกเถียงในประเด็นขอบเขตอำนาจที่ขยายเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับอดีตเช่นการยุบพรรคการเมือง ประเด็นวิธีการได้มาของตำแหน่งเหล่านี้ แม้ว่ากรรมการสรรหาจะมาจากการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายแต่อำนาจชี้ขาดก็อยู่ที่วุฒิสภา ประเด็นที่ประชาชนขาดอำนาจในการตรวจสอบถ่วงดลด้วยตัวเอง
  • ประการที่สาม คือการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นที่วางบทบัญญัติไม่ได้วางความคืบหน้าเพื่อกระจายอำนาจาเลย
  • ประการสุดท้าย คือยุทธศาสตร์ชาติไม่เคยมาสอบถามประชาชนแต่วางกรอบเวลาไว้ถึง 20 ปี
ด้านสิทธิเสรีภาพ แม้ว่าจะถูกเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้รัดกุมหรือเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก กระบวนการยุติธรรม หรือสิทธิการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี

พริษฐ์ระบุว่า บางคนยอมรับว่ารัฐธรรมนูญ 2560 เนื้อหามีปัญหาแต่ไม่อยากแก้ไขรายมาตรา ตนจึงอยากสื่อสารว่า “เหมือนเราอยู่ในบ้านนึงที่เราไม่ได้ออกแบบสร้างขึ้นมา จริงอยู่ที่จะบอกว่าแก้ทีละจุด แต่ประชาชนก็มีสิทธิที่จะบอกว่าทำบ้านหลังใหม่และมีส่วนร่วมออกแบบบ้านหลังใหม่ได้เช่นกัน การแก้ไขรายมาตราไม่เพียงพอ”



ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ กล่าวในประเด็นนี้ว่า นอกเหนือจากเรื่องที่มา รัฐธรรมนูญฉบับนี้เคยถูกแก้ไขมาแล้ว เพราะเนื้อหาในฉบับก่อนทำประชามติและหลังทำประชามติเมื่อปี 2559 ไม่เหมือนกัน และเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ปัญหาของที่มาส่งผลต่ออำนาจของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญด้วย การแก้ไขที่ดีทีสุดคือการเปิดโอกาสให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทั้งฉบับ



ปุรวิชญ์ วัฒนสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกร่างบนบรรยากาศแห่งความกลัว ประชาชนที่รณรงค์ไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูฉบับนี้มีคดีความมาจนถึงทุกวันนี้แม้ว่าจะเปลี่ยนผ่านมาสู่รัฐบาลเลือกตั้งสองชุดแล้ว รัฐธรรมนูญควรเป็นเครื่องมือตรวจสอบและถ่วงดุลสถาบันทางการเมืองต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่สามารถตรวจสอบสถาบันทางการเมืองได้เลย

ประเด็นสิทธิเสรีภาพ มีข้อยกเว้นต้องไม่กระทบ “ความมั่นคง” ซึ่งข้อยกเว้นควรจะใช้อย่างจำกัด แต่ในรัฐธรรมนูญ 2560 ข้อยกเว้นแทบจะกลายเป็นบรรทัดฐาน

ปุรวิชญ์กล่าวต่อว่า รัฐธรรมนูญ 2560 ยังเป็นเครื่องมือในการทำให้สถาบันรัฐประหารเปลี่ยนสภาพมาอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมีการทำรัฐประหารแล้วเพราะกลไกตามรัฐธรรมนูญ 2560 สามารถควบคุมการเมืองได้โดยไร้ที่ติ ยกตัวอย่างเช่นประเด็นมาตรฐานจริยธรรมที่เอาอัตวิสัยมาตัดสินผ่านกฎหมาย ที่ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งมาแล้ว
 
ชัดเจนแล้วไม่ต้องทำประชามติก่อนยื่นแก้รัฐธรรมนูญ

สำหรับข้อถกเถียงว่าการทำประชามติต้องทำกี่ครั้งมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ที่ระบุรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ได้โดยทำประชามติเสียก่อนเพื่อสอบถามความเห็นประชาชนก่อน สรุปแล้วต้องทำประชามติสองครั้งหรือสามครั้ง

  • พริษฐ์เห็นว่าเป็นการทำประชามติแค่สองครั้ง แต่ก็มีบางคนมองว่าอาจจำเป็นต้องทำถึงสามครั้งโดยตีความว่าคำว่า “ก่อน” คือทำก่อนที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ตนพยายามค้นหาหลักฐานต่างๆ เพื่อสนับสนุนว่าประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา และทำประชามติเพียงสองครั้งก็เพียงพอ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น คำวินิจฉัยส่วนตนที่ตุลาการเสียงข้างมากห้าคนระบุว่าการทำประชามติสองครั้งเพียงพอ มีเพียงคนเดียวที่บอกว่าต้องทำสามครั้งเท่านั้น อีกสองคนระบุไว้คล้ายกับคำวินิจฉัยกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งที่ระบุว่าทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้เลย
  • ภาพอินโฟของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่สรุปคำวินิจฉัยที่ 4/2564 ไม่ได้ระบุว่าต้องทำประชามติก่อนแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256
  • ความเห็นของนักวิชาการต่างๆ ระบุว่าไม่จำเป็นต้องมีประชามติก่อนแก้ไขมาตรา 256 ที่สอดคล้องกับหลักนิติศาสตร์
  • ผลการหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง ไม่มีข้อขัดแย้งใดเลยว่าต้องทำประชามติถึงสามครั้ง
ชนินทร์กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ยังไม่ใช่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้เป็นอำนาจของ สส. และ สว. และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2564 ออกมาระหว่างที่รัฐสภากำลังพิจาณราร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสาม ณ ขณะนั้นก็ไม่เคยคำสั่งห้ามพิจารณา จึงเป็นเครื่องยืนยันว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา

ชนินทร์ระบุว่า ในความเห็นของตนและพรรคเพื่อไทยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำประชามติถึงสามครั้ง แต่อ้างอิงจาก ชูศักดิ์ ศิรินิล ในฐานะผู้ที่ผลักดันการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่มาโดยตลอด มีความกังวลว่าสมาชิกรัฐสภาจะไม่เข้าร่วมประชุม โดยมองว่าประเด็นนี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ จึงเห็นความจำเป็นว่าก็อาจจะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยก็อาจจะดีกว่าให้กระบวนการนี้ถูกล้มไป

ส่วนพริษฐ์มองประเด็นการส่งศาลรัฐธรรมนูญว่า ไม่เห็นความจำเป็นของการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตามหลักฐานต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้ว และเห็นว่าสำหรับใครที่จะยื่น ก็มีคำถามว่ายื่นไปแล้วได้อะไร เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยไม่รับคำร้องมาแล้วในปี 2567 แต่ต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง จะได้คำตอบที่แตกต่างจากเดิมอย่างไร เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้วด้วยเช่นกัน

ปุรวิชญ์ แสดงความเห็นในประเด็นการส่งศาลรัฐธรรมนูญว่า ในเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญระบุคำวินิจฉัยกลางในประเด็นนี้ว่า ต้องทำประชามติก่อนและหลัง แต่กระบวนการในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ยังไม่ใช่ขั้นตอนที่ต้องทำประชามติก่อน เป็นเพียงการปลดล็อกเพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น ซึ่งตามกระบวนการก็จะต้องทำประชามติอยู่แล้วเมื่อข้อเสนอผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ตนไม่เห็นความจำเป็นใดนอกจากจะเป็นการถ่วงเวลาให้เส้นทางจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดช้าขึ้นเท่านั้น

ข้อเสนอตั้ง สสร. ออกแบบรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย-พรรคประชาชน
โมเดล ปชน. เพิ่มความหลากหลาย แบ่งเขตตามจังหวัด 100 คน – ใช้ประเทศเป็นเขต 100 คน


พริษฐ์ระบุว่า ข้อเสนอพรรคประชาชนมีข้อเสนอหลักและข้อเสนอรอง ในข้อเสนอหลักระบุให้มีการเลือกตั้ง สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อเสนอรองเป็นการแก้ไขวิธีแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ที่มาของ สสร. พรรคประชาชนเห็นว่าควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่ข้อแตกต่างกับข้อเสนอพรรคเพื่อไทย คือการใช้ระบบผสม ซึ่งใช้จังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง 100 คน และใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้งอีก 100 คน สาเหตุที่ใช้ระบบนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ ตัวแทนของทุกกลุ่มควรจะมาจากการเลือกตั้ง 100% การใช้ระบบนี้จะทำให้ตัวแทนมีความหลากหลายซึ่งนอกจากทำให้มีตัวแทนทุกจังหวัดแล้วยังทำให้มีตัวแทนของกลุ่มประเด็นที่อยู่กว้างขวางกว่าพื้นที่จังหวัดเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชนด้วย

สสร. มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ทั้งฉบับมีแค่ล็อกไว้ว่าเปลี่ยนแปลงการปกครองและรูปแบบของรัฐไม่ได้ ที่ข้อเสนอของพรรคประชาชนไม่ได้ล็อกหมวด 1 หมวด 2 ไว้เพราะไม่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องล็อก เพราะที่ผ่านมาเคยมีการปรับปรุงหมวด 1 หมวด 2 มาโดยตลอดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงการปกครองและรูปแบบของรัฐ ซึ่งตนมองประเด็นนี้ว่าหากสมาชิกรัฐสภาเห็นความกังวลก็สามารถถูกแก้ไขให้ล็อกหมวด 1 หมวด 2 ได้

ส่วนข้อเสนอรองที่แก้ไขเนื้อหาในมาตรา 256 พรรคประชาชนเสนอให้เพิ่มขึ้นเงื่อนไขให้แก้ไขได้ยากขึ้นโดยระบุเพิ่มให้ต้องมีเสียง สส. สองในสามเห็นชอบกับการแก้ไขรายมายตรานั้นด้วยแทนการใช้เสียงของ สว. หนึ่งในสาม พริษฐ์ยืนยันว่าส่วนนี้ไม่ใช่การตัดอำนาจ สว. แต่เป็นการรักษาสมดุลอำนาจที่ล้นเกินของ สว. ที่มาจากระบบเลือกกันเอง

โมเดลเพื่อไทย สสร. แบ่งเขตตามจังหวัดล้วน 200 คน

ชนินทร์ อธิบายโมเดลพรรคเพื่อไทยว่า จุดยืนของพรรคเพื่อไทยคือการยืนยันให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งข้อเสนอพรรคเพื่อไทยระบุให้มาจากระบบแบ่งเขตตามจังหวัด 200 คน สาเหตุที่ใช้ระบบนี้เพราะเห็นว่าไม่สามารถหาสัดส่วนได้ชัดเจนในการกำหนดจำนวนประเภท สสร. หลังพูดคุยกันแล้วพรรคเพื่อไทยและตนก็มองว่าไม่ว่าจะมาจากระบบเขตตามจังหวัดหรือมาจากแบบใดก็เป็นตัวแทนของคนไทยทั้งประเทศได้เช่นกัน

ในประเด็นห้าม สสร. แก้ไขหมวด 1 หมวด 2 ชนินทร์ระบุว่า เป็นจุดยืนและนโยบายของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด พรรคเพื่อไทยมองทั้งในเชิงหลักการและเชิงสังคม บางประเด็นมีความอ่อนไหวเชิงรายละเอียด พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการใช้หลักการเพียงอย่างเดียวทำให้กลไกในการขับเคลื่อนไม่สามารถทำได้จริง เอาเรื่องที่เห็นพ้องต้องกันในสังคมมาขับเคลื่อนจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ยืนยันว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ว่าแก้ไขไม่ได้เลย แต่เห็นว่าหากจะแก้ไขจริงๆ ต้องทำประชามติก่อนที่จะมีการแก้ไขแล้วจึงค่อยแก้ไขอีกครั้งอาจจะดีกว่าเพื่อหาฉันทามติของสังคม

ภัสราวลีแสดงความเห็นในฐานะภาคประชาชนว่า แม้ว่าร่างทั้งสองฉบับจะกำหนดระบบเลือกตั้ง สสร. แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม รัฐสภาควรรับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ แต่ควรเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนเข้าไปพูดคุยในวาระสองด้วย ภัสวราวลีทิ้งท้ายไปยังพรรคเพื่อไทยในคำถามแรกว่า “แม้ว่าการออกแบบร่างของพรรคเพื่อไทยจะเป็นการออกแบบโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้จริงในสังคมแต่จะพูดได้อย่างไรว่าจะเป็นการร่างใหม่ในสังคมประชาธิปไตย เพราะมีการตีกรอบอำนาจของ สสร. ไว้ก่อนที่ประชาชนจะได้เลือกตั้ง”

และคำถามที่สองว่า “ในประเด็นสัดส่วนของ กรธ. ในการยกร่างของเพื่อไทย ซึ่ง สส. เสนอ 12 คน สว. เสนอ 5 คน และ ครม. เสนอได้อีก 6 คน หาก ครม. อยากมีส่วนร่วมทำไมจึงไม่มีการเสนอร่างของ ครม. และทำไมถึงต้องมีสัดส่วนของ ครม. ในการยกร่าง”

ชนินทร์ ตอบคำถามแรกของภัสราวลีว่า “การล็อกหมวด 1 หรือหมวด 2 จะทำให้บรรยากาศการแก้ไขจะเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนหรือไม่ พรรคเพื่อไทยเป็นว่าเราเป็นปฏิบัตินิยม เราพยายามขับเคลื่อนไปอย่างมั่นคง โดยหาความร่วมมือจากมุมมองที่เห็นตรงกัน ในมุมของพรรคเพื่อไทยเราอยากจะขับเคลื่อนในประเด็นที่เห็นพ้องต้องกันก่อน ส่วนประเด็นอื่นก็ควรจะต้องถกเถียงกันต่อไป”

ส่วนในคำถามที่สองชนินทร์ระบุว่า “ส่วนในประเด็นสัดส่วนของ กรธ. นั้นล้อมาจากการตั้งกรรมาธิการในสภา แต่ก็ไม่ได้แก้ไขไม่ได้ สามารถแก้ไขได้ในการพิจารณาของรัฐสภา อย่างไรก็ดี กรธ. เป็นเพียงผู้ยกร่าง สสร. สามารถแก้ไขได้อยู่ดี”

ปุรวิชญ์ แสดงความเป็นในประเด็นการแก้ไขได้ทั้งฉบับว่า “ในประวัติศาสตร์การร่างรัฐธรรมนูญไทย ผมยืนยันได้ว่า หมวด 1 หมวด 2 ไม่เคยเป็นประเด็นสำคัญในการยกร่าง เป็นหมวดที่ใช้เวลาในการอภิปรายแทบจะน้อยที่สุด และที่สำคัญในอดีตหมวด 1 หมวด 2 เคยมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างเป็นพลวัต แต่ถึงจะมีความเห็นต่างในประเด็นนี้อย่างไรก็เป็นเหตุผลที่จะควรตกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13 14 กุมภาพันธ์ 2568 นี้”

https://www.ilaw.or.th/articles/50439



 

ย้อนดูพัฒนาการรัฐธรรมนูญไทย 20 ฉบับ หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหามาตลอด


iLaw
18 hours ago
·
ย้อนดูรัฐธรรมนูญ หมวด 1 บททั่วไป เนื้อหาเปลี่ยนแปลงตลอด
.
นับแต่คณะราษฎรเข้าเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 จนถึงวันที่ราชวงศ์จักรีมีอายุครบ 235 ปีในวันที่ 6 เมษายน 2560 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดโครงสร้างการปกครองของประเทศถึงจำนวน 20 ฉบับ ในจำนวนดังกล่าว เก้าฉบับเป็นผลสืบเนื่องจากทำรัฐประหาร หนึ่งฉบับคือรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ใช้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง อีก 10 ฉบับคือรัฐธรรมนูญถาวร ที่ร่างโดยองค์กรผู้จัดทำรัฐธรรมนูญที่มีรูปแบบ ที่มา แตกต่างกันไป
.
ตลอดระยะเวลานี้บทบัญญัติว่าด้วยการปกครองของรัฐ อำนาจอธิปไตย รวมถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ถูกจัดตำแหน่งแห่งที่ให้อยู่ในมาตราต้นๆ ของรัฐธรรมนูญ ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 อันเป็นปฐมรัฐธรรมนูญ เขียนให้อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรไว้ในบทบัญญัติแรก ภายใต้หมวด 1 ข้อความทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงการออกแบบโครงสร้างของรัฐธรรมนูญที่นำเรื่อง “คุณค่าพื้นฐาน” มาจัดตำแหน่งแห่งที่ไว้ในตอนต้นของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา ก็เดินรอยตามโดยให้หมวด 1 เป็นหมวด บททั่วไป มาอย่างต่อเนื่อง
.
แม้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหลังการรัฐประหาร ที่มีไม่กี่มาตราและไม่ได้แบ่งหมวดหมู่ ก็ยังคงนำเรื่องที่เคยมีในหมวด 1 มาเขียนไว้ ได้แก่ บทบัญญัติเรื่องอำนาจธิปไตย หลักความเป็นรัฐเดี่ยวแบ่งแยกไม่ได้ รัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับล้วนแต่มีบทบัญญัติเรื่องอำนาจอธิปไตย และ 19 ฉบับ มีบทบัญญัติที่เขียนรูปแบบของรัฐว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว แบ่งแยกไม่ได้
.
หมวด 1 บททั่วไป ไม่ได้มีเพียงแต่มาตราที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของรัฐ ระบอบการปกครอง อำนาจอธิปไตยและองค์กรผู้ใช้อำนาจเท่านั้น แต่ยังมีหลักการที่สัมพันธ์กับประชาชนในรัฐธรรมนูญอย่างหลักความเสมอภาคอีกด้วย
.
บทบัญญัติในหมวด 1 ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตลอดในรัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ รวมทั้งการแก้ไขถ้อยคำเพียงเล็กน้อยแต่ก็ส่งผลต่อนัยการตีความที่แตกต่างกัน หรือแก้ไขเชิงเนื้อหาสาระสำคัญ เช่น รัฐธรรมนูญ 2540 ขยายความหลักความเสมอภาคให้กว้างขึ้น กำหนดรับรองความเสมอภาคทางเพศ และเพิ่มบทบัญญัติ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ
.
นอกจากนี้หลักการที่เป็น “คุณค่าพื้นฐาน” ในรัฐธรรมนูญหมวด 1 แต่ละฉบับ ก็แตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ร่างและปัจจัยทางการเมืองในขณะนั้น รัฐธรรมนูญบางฉบับเขียนหลักการที่ไม่มีในฉบับอื่นๆ เช่น รัฐธรรมนูญ 2517 กำหนดห้ามนิรโทษกรรมผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือรัฐธรรมนูญ บางฉบับก็ขยับบทบัญญัติในเคยอยู่ในหมวดอื่นๆ มาไว้ในหมวด 1 อาทิ หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จากที่เคยอยู่ในหมวดบทสุดท้ายเริ่มมาอยู่ในหมวด 1 ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2517
.
.
อ่านทั้งหมดได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/50366

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1029625165877769&set=a.625664036273886

https://www.ilaw.or.th/articles/50366


เหตุใดทรัมป์จึงลงนามคว่ำบาตรต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) องค์กรนี้สำคัญอย่างไร


8 กุมภาพันธ์ 2025
บีบีซีไทย

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารในการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court -ICC) ซึ่งเขากล่าวอ้างว่า มี "การกระทำที่ผิดกฎหมายและไม่มีมูลความจริงซึ่งมุ่งหมายไปที่ สหรัฐฯ และอิสราเอล"

อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศ กล่าวว่า ICC "ยืนหยัดอย่างมั่นคง" ต่อบุคลากรของศาลฯ และว่า คำสั่งดังกล่าวพยายามที่จะทำลายงานที่ "มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง" ของ ICC ลง

โดยปกติแล้ว ICC มีอำนาจดำเนินคดีเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม

ICC ดำเนินการเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งอยู่ในกรุงเฮก ของเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 เพื่อดำเนินการต่อผู้นำที่ไม่ซื่อสัตย์และทุจริตให้รับผิดชอบต่อการกระทำที่โหดร้าย

นับตั้งแต่สงครามในยูโกสลาเวียและเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นต้นมา ผู้นำโลกต่างร่วมกันผลักดันให้ก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้น

โดยศาลจะเป็นทางเลือกสุดท้าย และจะเข้ามาแทรกแซงเฉพาะคดีเท่านั้น เมื่อหน่วยงานระดับชาติไม่สามารถหรือจะไม่ดำเนินคดีได้

อย่างไรก็ตาม ICC จะสามารถดำเนินดคีอาญาที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 1 ก.ค. 2002 หลังจากธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ "ธรรมนูญกรุงโรม" มีผลบังคับ เท่านั้น

ทั้งนี้ ธรรมนูญกรุงโรมมีผู้ลงนามและให้สัตยาบันรับรอง 125 ประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร และหลายประเทศในยุโรป หลังจากนั้น มีอีกมากกว่า 30 ประเทศที่ได้ร่วมลงนามและอาจจะลงสัตยาบันรับรองธรรมนูณกรุงโรมนี้ในอนาคต

ทว่า สหรัฐฯ และอิสราเอลยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ ICC

เหตุใดทรัมป์จึงต้องการคว่ำบาตร ICC ?


คาริม ข่าน หัวหน้าอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ

ในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ICC ได้ออกหมายจับนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่า มี "เหตุอันสมควร" ที่เชื่อได้ว่า เนทันยาฮู, โยอาฟ กาลันต์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และโมฮัมเหม็ด เดอีฟ ผู้บัญชาการกองพัน "อิซ อัลดิน อัลคัสซัม" (Izz al-Din al-Qassam) ใน "ความรับผิดชอบทางอาญาในข้อกล่าวหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ"

อิสราเอลปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว ส่วนเดอีฟถูกสังหารในระหว่างการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลเมื่อปีที่แล้ว

ทั้งนี้ การประกาศมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวของทางการสหรัฐฯ ต่อ ICC มีขึ้นในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลกำลังเดินทางเยือนสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี

ทำเนียบขาวระบุว่า ICC ได้สร้าง "ความเท่าเทียมทางศีลธรรมอันน่าละอาย" ระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล

ส่วนคำสั่งฝ่ายบริหารของทรัมป์ระบุว่า การกระทำล่าสุดของ ICC ได้ "สร้างแบบอย่างที่เป็นอันตราย" ที่ทำให้ชาวอเมริกันตกอยู่ในอันตรายโดยทำให้พวกเขา "ถูกคุกคาม ล่วงละเมิด และอาจถูกจับกุม"

สหรัฐฯ กล่าวหา ICC ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า จำกัดสิทธิของอิสราเอลในการป้องกันตนเอง ขณะเดียวกันก็เพิกเฉยต่ออิหร่านและกลุ่มต่อต้านอิสราเอล

อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ยังได้วิพากษ์วิจารณ์การออกหมายจับเนทันยาฮูของ ICC โดยเรียกการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ "อุกอาจ"

มาตรการคว่ำบาตรนี้อาจส่งผลต่อ ICC อย่างไร ?

มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวจะมีผลต่อการจำกัดทางการเงินและวีซ่าสำหรับบุคคลและครอบครัวที่ช่วยเหลือในการสืบสวนของ ICC เกี่ยวกับพลเมืองอเมริกันหรือชาติพันธมิตร

"[มาตรการดังกล่าว]ยังมีศักยภาพในการอายัดทรัพย์สินและสินทรัพย์ รวมถึงการระงับการเข้าประเทศของเจ้าหน้าที่ ICC และสมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดของพวกเขา" แซคารี คอฟแมน อดีตเจ้าหน้าที่ของหัวหน้าอัยการคนแรกของศาล กล่าวกับบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

แม้ว่าจะมีคำสั่งฝ่ายบริหารของทรัมป์ ด้าน ICC ให้คำมั่นที่จะดำเนินการด้านตุลาการต่อไป และกล่าวว่า ICC "ยืนหยัดอย่างมั่นคง" โดยบุคลากรของ ICC และจะยังคงมอบ "ความยุติธรรมและความหวัง" ต่อไป ICC กล่าวเพิ่มเติมว่า คำสั่งดังกล่าวมีเจตนาที่จะทำลายงานของศาลฯ ที่ "เป็นอิสระและเป็นกลาง"

เหตุใด สหรัฐฯ จึงไม่เป็นสมาชิกของ ICC ?

ย้อนกลับไปช่วงการเจรจาเพื่อก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ สหรัฐฯ ได้โต้แย้งว่า ทหารสหรัฐฯ อาจจะประเด็นที่ถูกดำเนินคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง หรือ อาจจะดำเนินคดีเล็ก ๆ น้อย ๆ

หนึ่งในการตัดสินใจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันแพร่หลาย เกิดขึ้นในเดือน ก.ค. 2002 เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ลงมติประนีประนอมที่ให้ทหารสหรัฐฯ ได้รับการยกเว้นจากการดำเนินคดีเป็นเวลา 12 เดือน โดยจะมีการต่ออายุทุกปี

อย่างไรก็ตาม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับแจ้งจากโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น ได้ปฏิเสธที่จะต่ออายุข้อยกเว้นดังกล่าวในเดือน มิ.ย. 2004 หลังจากมีภาพกองทัพสหรัฐฯ กระทำการทารุณนักโทษชาวอิรัก ซึ่งสร้างความตกตะลึงให้คนทั่วโลก

การดำเนินการงานของ ICC ดูเหมือนว่าจะอ่อนแอลงหากปราศจากการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า มีความร่วมมือกับ ICC ในบางคดี

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยสั่งให้หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ แลกเปลี่ยนหลักฐานการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียในยูเครนกับศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย

แล้วมีประเทศอื่นอีกหรือไม่ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ ICC

ยังมีประเทศที่สำคัญจำนวนหนึ่งไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของ ICC

มีหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย และตุรกี ยังไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญา

ส่วนประเทศอื่น ๆ รวมถึงอิสราเอล อียิปต์ อิหร่าน และรัสเซีย ได้ลงนามแล้ว แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน

ICC ดำเนินคดีอะไรบ้าง ?

คำพิพากษาครั้งแรกของศาลอาญาระหว่างประเทศมีขึ้นในเดือน มี.ค. 2

012 เป็นการตัดสินต่อโธมัส ลูบังกา ผู้นำกองกำลังติดอาวุธในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในอาชญากรรมสงครามที่เกี่ยวข้องกับการใช้เด็กในความขัดแย้งของประเทศนั้น และถูกตัดสินจำคุก 14 ปีในเดือน ก.ค.

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกคนที่ถูกนำเข้าสู่ ICC คือ อดีตประธานาธิบดีโลร็อง บากโบ ของไอวอรีโคสต์ เขาถูกตั้งข้อหาเมื่อปี 2011 ในข้อหาฆาตกรรม ข่มขืน ประหัตประหาร และ "การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอื่น ๆ" แต่ต่อมากลับพ้นข้อกล่าวหาทั้งหมดแล้ว


โจเซฟ โคนี ผู้นำกองกำลังต่อต้านของพระเจ้า (Lords Resistance Army - LRA) ในยูกันดา คือหนึ่งในบุคคลที่ ICC ต้องการ

ในบรรดาผู้ที่ ICC ต้องการคือ โจเซฟ โคนี ผู้นำขบวนการกบฏของยูกันดา กองทัพต่อต้านของพระเจ้า (Lords Resistance Army - LRA) เขาถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม รวมถึงการลักพาตัวเด็กหลายพันคน

ICC ยังมีหมายจับอดีตประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาชีร์ ของซูดาน ในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ICC ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะจากสหภาพแอฟริกา ที่ให้ความสำคัญกับแอฟริกา อย่างไรก็ตาม ICC ได้ปฏิเสธว่าไม่มีอคติใด ๆ โดยชี้ไปที่ข้อเท็จจริงที่ว่า บางกรณีมีประเทศที่ได้รับผลกระทบแต่ฝ่ายเดียว หรืออ้างถึงโดยสหประชาชาติ

ในปี 2023 ICC ได้ออกหมายจับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย โดยกล่าวหาว่า เขาต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงคราม และมุ่งความสนใจไปที่การเนรเทศเด็กจากยูเครนไปยังรัสเซียอย่างผิดกฎหมาย

ICC จะดำเนินคดีต่อผู้ต้องสงสัยอย่างไร ?

ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีกองกำลังตำรวจของตนเองที่จะติดตามและจับกุมผู้ต้องสงสัย ดังนั้นจึงต้องอาศัยบริการตำรวจระดับชาติในแต่ละประเทศช่วยจับกุมแล้ว ก็จะขอให้ส่งตัวผู้ต้องสงสัยไปยังกรุงเฮก ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ICC

อัยการเริ่มการสอบสวนหากคดีดังกล่าวถูกส่งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือโดยรัฐที่ให้สัตยาบัน

ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ แต่การดำเนินคดีจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะผู้พิพากษา

ทั้งอัยการและผู้พิพากษาได้รับเลือกโดยรัฐที่มีส่วนร่วมในศาล

เมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาคดี การดำเนินคดีจะต้องพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมเหตุสมผลว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิด ผู้พิพากษาสามคนพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดแล้วจึงออกคำตัดสิน และหากพบว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดก็จะถูกตัดสินจำคุก

ICC มีผลต่อศาลยุติธรรมในประเทศต่าง ๆ อย่างไร ?

รัฐที่เข้าร่วมสนธิสัญญาอาจต้องการให้แน่ใจว่าตนเองสามารถดําเนินคดีอาชญากรรมทั้งหมดที่ครอบคลุมได้ มิฉะนั้นศาลอาจเข้าไปแทรกแซง

รัฐบาลบางประเทศได้ออกกฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบตุลาการของตนเองแล้ว

ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้กับ ICC?

การให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ ICC เป็นไปตามกฎเดียวกันกับที่ใช้ควบคุมการมีส่วนร่วมของรัฐสมาชิกในองค์การสหประชาชาติ โดยพิจารณาจากความมั่งคั่งของชาติโดยประมาณ

การที่ไม่มีสหรัฐฯ แล้ว ก็จะทำให้การระดมทุนของ ICC หลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นสำหรับประเทศอื่น ๆ

ปัจจุบัน ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษเป็นหนึ่งในผู้มีสมทบทุนรายใหญ่ที่สุด

https://www.bbc.com/thai/articles/c07kyn52k8ko


112 ห้ามแก้ การบังคับใช้ที่มีปัญหา ก็แก้ไม่ได้ เซงเลย !


ประชาธิปไตยสองสี:ใบตองแห้งEP.44 Iสาวตรี สุขศรี I 112 แก้ไขไม่ได้ แก้บังคับใช้ก็ตีบตัน

matichon tv

Premiered Feb 8, 2025 

รายการประชาธิปไตยสองสี : ใบตองแห้ง อธึกกิต แสวงสุข สัมภาษณ์พิเศษ รศ.สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ประเด็นว่าด้วย มาตรา 112 แก้ไขไม่ได้ แก้ไขการบังคับใช้ก็ตีบตัน เป็นไปได้ยากเช่นกัน สภาพปัญหาและผลกระทบต่อระบบกฎหมายไทย เผยแพร่ เสาร์ 8 ก.พ. 2568 เวลา 18.00 น. 

https://www.youtube.com/watch?v=mnqykIQObNE



"เกษียร เตชะพีระ" ชี้ "จุดเปราะบาง" ของ "ฉันทมติ 112" ในสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย


"เกษียร เตชะพีระ" ชี้ "จุดเปราะบาง" ของ "ฉันทมติ 112" ในสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว

Feb 8, 2025 

เกษียร เตชะพีระ" ชี้ "จุดเปราะบาง" ของ "ฉันทมติ 112" ในสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย จากวงเสวนา "ทางออกของสังคมการเมืองไทย จากเส้นทางความรุนแรง" ในงานปาฐกถา "ชัยวัฒน์ สถาอานันท์" เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568

https://www.youtube.com/watch?v=oCxJpgKS_KI



1 ใน 4 ของผู้ต้องขังในไทยในปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิสูจน์ความผิด แต่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ [ปัญหาการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิดในประเทศไทย

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
February 7
·
[ปัญหาการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิดในประเทศไทย]
.
1 ใน 4 ของผู้ต้องขังในไทยในปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิสูจน์ความผิด แต่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ
.
พบกับความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 109 จาก #𝐓𝐔𝐋𝐀𝐖𝐈𝐧𝐟𝐨𝐠𝐫𝐚𝐩𝐡𝐢𝐜
.
สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์" - หลักการในรัฐธรรมนูญที่กลายเป็นเพียงตัวอักษร เมื่อทุก ๆ 15 นาที มีคนไทยถูกคุมขังโดยที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าผิด ทำไมกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2478 ถึงยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ? และทำไมการ 'ขังก่อนพิสูจน์' ถึงกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย?
.
มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผ่าน #𝙏𝙐𝙇𝘼𝙒 สรุปประเด็นที่น่าสนใจจาก Justube “ปัญหาการสันนิษฐานว่าผิดในประเทศไทย” โดยผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
สามารถรับชมย้อนหลังได้ผ่านทาง https://www.facebook.com/share/p/19z2xmVhsg/

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1031291562362690&set=a.612234897601694


นิติไลฟ์ EP.4 "เมื่อรองศาสตราจารย์ต้องติดคุกใต้ถุนศาล: ปัญหาการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิดในประเทศไทย"

JusTube

Jan 24, 2025

เมื่อรองศาสตราจารย์ต้องติด #คุกใต้ถุนศาล ‼️❓ 

รายการ #นิติไลฟ์27นาที #EP4 สัปดาห์นี้พูดคุยกันในหัวข้อ "เมื่อรองศาสตราจารย์ต้องติดคุกใต้ถุนศาล: ปัญหาการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิดในประเทศไทย" 

จาก #ประสบการณ์จริง ของ รศ.ดร.บุญยัง ปลั่งกลาง (ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) 

📌ขอเชิญทุกท่านรับชมผ่านเพจ #FacebookLive ในวันที่ 23 มกราคม 2568 เริ่มไลฟ์เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป 📱🎥 

🎙ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1031291562362690&set=a.612234897601694

https://www.youtube.com/watch?v=wSOioX9-fYw



'กัณวีร์' ย้ำถึงเวลาไทยไม่ทำการทูตเงียบๆกับเมียนมา ชี้ปราบคอลเซ็นเตอร์ สร้างสันติภาพ เรื่องเดียวกัน


The Reporters
10 hours ago
·
UPDATE: 'กัณวีร์' ย้ำถึงเวลาไทยไม่ทำการทูตเงียบๆกับเมียนมา ชี้ปราบคอลเซ็นเตอร์ สร้างสันติภาพ เรื่องเดียวกัน
วันที่ 9 ก.พ.68 นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาคอลเซ็นเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภายในประเทศเมียนมา โดยระบุว่ารู้ตัวกันหรือยังว่า Quiet Diplomacy หรือการทูตเงียบๆ มันใช้ไม่ได้ และทำไมตนเองต้องพร่ำพูดเรื่องสันติภาพในเมียนมา เพราะหากไม่กระตุ้น สุดท้ายคนไทยและประเทศไทยนี่แหละที่รับผลกระทบมากที่สุด
"สถานการณ์คอลเซ็นเตอร์ สแกมเมอร์ ขบวนการนำพาและค้ามนุษย์ที่เกิดในเมียนมาและส่งผลกระทบต่อไทยและอีกหลายหลายประเทศทั่วโลกนี้คงเป็นเครื่องเตือนสติให้หลายคนได้คิดว่า หลายๆ ครั้งทำไมผมต้องพูดถึงสันติภาพในเมียนมา และความจำเป็นที่ไทยต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้นำในการสร้างสันติภาพในเมียนมาให้ได้อย่างเร็ว"
นายกัณวีร์ กล่าวย้ำว่า รัฐบาลไทยต้องไม่เป๋ ต้องดูและวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในบ้าน รอบบ้าน อนุภูมิภาค ภูมิภาคและเวทีโลกให้ออกว่าไทยเราอยู่ตรงไหน ประเด็นไหนที่มันสำคัญและเราจะเผชิญกับมันยังไง
"คราวนี้คงเชื่อผมแล้วว่าสำหรับไทย การใช้การทูตแบบเงียบๆ (Quiet Diplomacy) แบบไทยๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศมั่นใจนักหนาว่าเป็นการวางจุดยืนทางการทูตที่เยี่ยมยอดที่สุดของไทยต่อเมียนมาและเวทีโลกที่เราใช้กันมายาวนานนั้น มันใช้ไม่ได้จริงๆ"
นายกัณวีร์ กล่าวย้ำว่า เมื่อไทยทำการทูตแบบนั้นทำให้เราตามหลังทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งประเทศที่พัฒนาด้านต่างๆ แล้ว แถมยังตามพวกมาเฟียที่ใช้ประโยชน์จากการไม่ออกจากกะลาของเราอีก เพราะไทยเกรงกลัวต่อกรอบอะไรต่างๆ ไม่รู้เยอะแยะมากมาย เลยทำแบบ “ไม่ให้รู้ รู้ก็อย่าให้เห็น เห็นก็อย่าให้จับได้ ถ้าถูกจับได้ก็อย่าไปรับ แต่หากจะรับ ก็รับไว้ครึ่งเดียว” และเราถนัดการ “เข้าหลังบ้าน” เท่านั้น
"ตัวอย่างเช่น ไทยกลัวว่าหากทำอะไรมากในเมียนมาก็จะเกินกรอบกฎบัตรของอาเซียน ในหลักการไม่แทรกแซง (non interference) เลยไม่แตะ ไม่ยุ่ง ไม่สนปัญหาใดๆ ในประเทศเมียนมา ถึงแม้ปัญหามันจะมาพ่นลมรดต้นคอตลอดเวลา ทั้งผู้ลี้ภัย ยาเสพติด การเมืองการปกครองของเค้า และสุดท้ายก็เรื่องคาสิโน คอลเซ็นเตอร์ สแกมเมอร์ ขบวนการนำพาและการค้ามนุษย์ ด้วยเหตุผลเดียวไม่ใช่เรื่องเราและเราต้องทำการทูตแบบ เงียบๆ”
นายกัณวีร์ กล่าวว่ามีคนตำหนิตนเองว่า เป็น สส.ประเทศไหน ทำไมต้องไปยุ่งเรื่องของเขา เอาภาษีคนไทยไปใช้กับกิจการประเทศอื่นเพื่ออะไร ไปช่วยชีวิตเหยื่อชาติอื่นที่ไม่ใช่คนไทยทำไมจากเงื้อมมือพวกค้ามนุษย์ ต่างๆ มากมาย จนแยกแยะกันออกไม่ค่อยได้ว่าทำไมเราต้องมีจุดยืนและแผนการต่างประเทศที่ต้องล้ำกว่าสถานการณ์ภายนอก และไทยต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้นำในภูมิภาคอย่างแท้จริง
"นิ่งไม่ได้และเงียบไม่ได้ มิเช่นนั้นเงินภาษีพี่น้องคนไทยนี่แหละ ที่สุดท้ายต้องกลับมาจัดการกับขบวนการต่างๆ เหล่านี้ในที่สุด แถมสุดท้ายเงินพี่น้องประชาชนคนไทยที่เก็บสะสมไว้ใช้ในชีวิตก็จะถูกหลอกจากแก๊งค์ต่างๆ เหล่านี้ไปหมด นอกเหนือจากเม็ดเงินภาษีของพวกเราครับ"
นายกัณวีร์ ตั้งคำถามว่า เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้รู้สึก ตุยมั้ยครับ พร้อมระบุว่าเราคงไม่ถึงตุยแต่กระอักกระอ่วน ปัญหาต่างๆ ของเมียนมาที่กระทบไทย ไทยเราปิดหูข้างตาข้างมาโดยตลอด ค่ายผู้ลี้ภัยกว่า 40 ปี ยังไม่รู้จะเอาไง แรงงานข้ามชาติก็ปล่อยขึ้นๆ ลงๆ สุดท้ายพอเพื่อนบ้านมีปัญหาการเมืองทหารเมียนมาฆ่าฟันคนตัวเอง พี่ไทยก็แค่นั่งดูนอนดูไม่รู้ร้อนรู้หนาว และบอกว่ามันไม่เกี่ยวกับเราอย่าไปยุ่ง แต่ลืมดูว่าชายแดนที่ยาวมากกว่า 2,400 กม. มันต้องกระทบไทยอย่างรุนแรงเลวร้ายอย่างหลีกหนีไม่ได้
"นี่แหละครับ การทูตแบบเงียบๆ อย่างไทยๆ จนสุดท้ายพวกอาชญากรข้ามชาติมันฉลาด มันทั้งเห็นถึงลักษณะพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างดีถึงเรื่องบ่อนต่างๆ ที่มีอย่างโจ๋งครึ้ม การกดปราบข้ามชาติตามล่าตามฆ่ากันอย่างเปิดเผยจากประเทศหนึ่งไปประเทศหนึ่ง สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองโดยรวมของภูมิภาค การคอรัปชั่นที่เงินซื้อได้เกือบทุกอย่าง รัฐล้มเหลว"
นายกัณวีร์ กล่าวว่า เมื่อแก้ปัญหาแบบนี้ แก๊งค์อาชญากรรมข้ามชาติก็ยิ้มเลย มากันทั้งแก๊งค์เพราะรัฐบาลจีนไล่ปราบไล่ทลายแก๊งค์นี้ออกจากจีนด้วยนโยบายอันดุดันของสีจิ้นผิง มันก็ลงมาทางใต้สิ เมียนมาคือแดนสวรรค์ เพราะชายแดนติดไทยแทบทั้งหมด 2,400 กว่ากิโลเมตร หากแต่ “รัฐ” เข้าไม่ถึง แต่ในขณะเดียวกัน “เงิน” เข้าถึงทุกที่ถึงแม้จะมีสงครามอย่างยาวนาน
"หวานครับ ! แถมไทยยังเป็นประเทศศูนย์กลางของเมียนมา ลาวและกัมพูชา บวกกับนโยบาย Free Visa ซึ่งปราศจากมาตรการติดตามนักท่องเที่ยวอีก นำพาและล่อลวงเหยื่อมาได้แบบไม่จำกัด แถมอยู่ตรงกลางประเทศทั้งสามอีกต่างหาก ชายแดนที่ยาวและสามารถข้ามได้ตามช่องทางธรรมชาติอีกต่างหาก สบายไป "
นายกัณวีร์ กล่าวย้ำว่า อย่างเดียวที่จะทำปัญหาคอลเซ็นเตอร์ สแกมเมอร์ ขบวนการนำพาและค้ามนุษย์ในเมียนมาให้จบไป คือ สันติภาพและการเมืองของเมียนมาต้องกลับคืนมาเป็นปกติหรือเกือบปกติให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็สุดท้ายแต่คนเมียนมาเอง ไม่งั้นอย่าหวังครับว่าขบวนการอาชญากรรมข้ามชาตินี้จะหมดไปได้ และมันจะสร้างปัญหาต่อไปอย่างเรื้อรังและเลวร้าย
นายกัณวีร์ กล่าวย้ำว่าจะเสนอให้ทราบต่อไปว่า ถ้าไม่ใช้การทูตเงียบๆ (Quiet Diplomacy) เพราะมันผิดมหันต์ แล้วเราจะใช้การทูตแบบใด และจะเอาการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนยังไงต่อไป แล้วเราควรทำอย่างไรกับตัวละครทั้งหมดที่จะมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #เมียนมา

https://www.facebook.com/photo/?fbid=984364153885620&set=a.534942252161148

.....
กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang
13 hours ago
·
รู้ตัวกันยังว่า Quiet Diplomacy หรือการทูตเงียบๆ มันใช้ไม่ได้ และทำไมต้องพร่ำพูดเรื่องสันติภาพในเมียนมา เพราะหากไม่กระตุ้น สุดท้ายคนไทยและประเทศไทยนี่แหละที่รับผลกระทบมากที่สุด !!
สถานการณ์คอลเซนเตอร์ แสกมเมอร์ ขบวนการนำพาและะค้ามนุษย์ที่เกิดในเมียนมาและส่งผลกระทบต่อไทยและอีกหลายหลายประเทศทั่วโลกนี้คงเป็นเครื่องเตือนสติให้หลายคนได้คิดว่า หลายๆ ครั้งทำไมผมต้องพูดถึงสันติภาพในเมียนมา และความจำเป็นที่ไทยต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้นำในการสร้างสันติภาพในเมียนมาให้ได้อย่างเร็ว
ต้องไม่เป๋ ต้องดูและวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในบ้าน รอบบ้าน อนุภูมิภาค ภูมิภาคและเวทีโลกให้ออกว่าไทยเราอยู่ตรงไหน ประเด็นไหนที่มันสำคัญและเราจะเผชิญกับมันยังไง
คราวนี้คงเชื่อผมแล้วว่าสำหรับไทย การใช้การทูตแบบเงียบๆ (Quiet Diplomacy) แบบไทยๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศมั่นใจนักหนาว่าเป็นการวางจุดยืนทางการทูตที่เยี่ยมยอดที่สุดของไทยต่อเมียนมาและเวทีโลกที่เราใช้กันมายาวนานนั้น มันใช้ไม่ได้จริงๆ !!
มันเลยทำให้เราตามหลังทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งประเทศที่พัฒนาด้านต่างๆ แล้ว แถมยังตามพวกมาเฟียที่ใช้ประโยชน์จากการไม่ออกจากกะลาของเราอีก เพราะไทยเกรงกลัวต่อกรอบอะไรต่างๆ ไม่รู้เยอะแยะมากมาย เลยทำแบบ “ไม่ให้รู้ รู้ก็อย่าให้เห็น เห็นก็อย่าให้จับได้ ถ้าถูกจับได้ก็อย่าไปรับ แต่หากจะรับ ก็รับไว้ครึ่งเดียว” และเราถนัดการ “เข้าหลังบ้าน” เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ไทยกลัวว่าหากทำอะไรมากในเมียนมาก็จะเกินกรอบกฏบัตรของอาเซียน ในหลักการไม่แทรกแซง (non interference) เลยไม่แตะ ไม่ยุ่ง ไม่สนปัญหาใดๆ ในประเทศเมียนมา ถึงแม้ปัญหามันจะมาพ่นลมรดต้นคอตลอดเวลา ทั้งผู้ลี้ภัย ยาเสพติด การเมืองการปกครองของเค้า และสุดท้ายก็เรื่องคาสิโน คอลเซนเตอร์ แสกมเมอร์ ขบวนการนำพาและการค้ามนุษย์ ด้วยเหตุผลเดียวไม่ใช่เรื่องเราและเราต้องทำการทูตแบบ “เงียบๆ” !!
มีคนว่าผมเยอะนะครัวว่า (ขอใช้คำสุภาพ )ไปยุ่งกับเค้าทำไม เป็น สส.ประเทศไหน ทำไมต้องไปยุ่งเรื่องของเค้า เอาภาษีคนไทยไปใช้กับกิจการประเทศอื่นเพื่ออะไร ไปช่วยชีวิตเหยื่อชาติอื่นที่ไม่ใช่คนไทยทำไมจากเงื้อมมือพวกค้ามนุษย์ ต่างๆ มากมาย จนแยกแยะกันออกไม่ค่อยได้ว่าทำไมเราต้องมีจุดยืนและแผนการต่างประเทศที่ต้องล้ำกว่าสถานการณ์ภายนอก และไทยต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้นำในภูมิภาคอย่างแท้จริง
นิ่งไม่ได้และเงียบไม่ได้ มิเช่นนั้นเงินภาษีพี่น้องคนไทยนี่แหละ ที่สุดท้ายต้องกลับมาจัดการกับขบวนการต่างๆ เหล่านี้ในที่สุด แถมสุดท้ายเงินพี่น้องประชาชนคนไทยที่เก็บสะสมไว้ใช้ในชีวิตก็จะถูกหลอกจากแก๊งค์ต่างๆ เหล่านี้ไปหมด นอกเหนือจากเม็ดเงินภาษีของพวกเรา !!
ตุยมั้ยครับ ?? ผมว่าเราคงไม่ถึงตุยแต่กระอักกระอ่วน ปัญหาต่างๆ ของเมียนมาที่กระทบไทย ไทยเราปิดหูข้างตาข้างมาโดยตลอด ค่ายผู้ลี้ภัยกว่า 40 ปี ยังไม่รู้จะเอาไง แรงงานข้ามชาติก็ปล่อยขึ้นๆ ลงๆ สุดท้ายพอเพื่อนบ้านมีปัญหาการเมืองทหารพม่าฆ่*ฟันคนตัวเอง พี่ไทยก็แค่นั่งดูนอนดูไม่รู้ร้อนรู้หนาว และบอกว่ามันไม่เกี่ยวกับเราอย่าไปยุ่ง แต่ลืมดูว่าชายแดนที่ยาวมากกว่า 2,400 กม. มันต้องกระทบไทยอย่างรุนแรงเลวร้ายอย่างหลีกหนีไม่ได้
นี่แหละครับ การทูตแบบเงียบๆ อย่างไทยๆ จนสุดท้ายพวกอาชญากรข้ามชาติมันฉลาด มันทั้งเห็นถึงลักษณะพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างดีถึงเรื่องบ่อนต่างๆ ที่มีอย่างโจ๋งครึ้ม การกดปราบข้ามชาติตามล่าตามฆ่ากันอย่างเปิดเผยจากประเทศหนึ่งไปประเทศหนึ่ง สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองโดยรวมของภูมิภาค การคอรัปชั่นที่เงินซื้อได้เกือบทุกอย่าง รัฐล้มเหลว ฯลฯ
เหมาะเลย อาชญากรรมข้ามชติยิ้มเลย มากันทั้งแก๊งค์เพราะรัฐบาลจีนไล่ปราบไล่ทลายแก๊งค์นี้ออกจากจีนด้วยนโยบายอันดุดันของสีจิ้นผิง มันก็ลงมาทางใต้สิ พม่าคือแดนสวรรค์ เพราะชายแดนติดไทยแทบทั้งหมด 2,400 กว่ากิโลเมตร หากแต่ “รัฐ” เข้าไม่ถึง แต่ในขณะเดียวกัน “เงิน” เข้าถึงทุกที่ถึงแม้จะมีสงครามอย่างยาวนาน หวานครับ !!
แถมไทยยังเป็นประเทศศูนย์กลางของเมียนมา ลาวและกัมพูชา บวกกับนโยบาย Free Visa ซึ่งปราศจากมาตรการติดตามนักท่องเที่ยวอีก นำพาและล่อลวงเหยื่อมาได้แบบไม่จำกัด แถมอยู่ตรงกลางประเทศทั้งสามอีกต่างหาก ชายแดนที่ยาวและสามารถข้ามได้ตามช่องทางธรรมชาติอีกต่างหาก สบายไป !!
อย่างเดียวเลยครับที่จะทำปัญหาคอลเซนเตอร์ แสกมเมอร์ ขบวนการนำพาและค้ามนุษย์ในเมียนมาให้จบไป คือ สันติภาพและการเมืองของพม่าต้องกลับคืนมาเป็นปกติหรือเกือบปกติให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็สุดท้ายแต่คนเมียนมาเอง ไม่งั้นอย่าหวังครับว่าขบวนการอาชญากรรมข้ามชาตินี้จะหมดไปได้ และมันจะสร้างปัญหาต่อไปอย่างเรื้อรังและเลวร้ายครับ
จะเขียนให้ทราบต่อไปว่าถ้าไม่ใช้การทูตเงียบๆ (Quiet Diplomacy) เพราะมันผิดมหันต์ แล้วเราจะใช้การทูตแบบใด และจะเอาการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนยังไงต่อไป แล้วเราควรทำอย่างไรกับตัวละครทั้งหมดที่จะมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เพราะมันมีรายละเอียดพอสมควรครับ
ข้อความยาวหน่อยแต่สำคัญนะครับ

https://www.facebook.com/NolKannavee/posts/639129985303174
https://www.facebook.com/photo/?fbid=984364153885620&set=a.534942252161148



เปิดขบวนการค้ามนุษย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์จากเคนยา ถึงเมียวดี จากคำให้การของเหยื่อชาวเคนยา ระบุว่า หัวหน้าของกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์เหล่านี้ เป็นมาเฟียจีน ที่ไม่สนใจด้านสิทธิมนุษยธรรม สนใจเพียงแค่ในหนึ่งวันพวกเขาทำเงินได้ขนาดไหน และทำถึงเป้าหมายหรือไม่


The Reporters
7 hours ago
·
INVESTIGATIVE: เปิดขบวนการค้ามนุษย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์จากเคนยา ถึงเมียวดี
วันนี้ (9 ก.พ. 68) เปิดเส้นทางการค้ามนุษย์ชาวเคนยา หนึ่งในเหยื่อแก๊งสแกมเมอร์ที่หนีออกมาได้จากแหล่งอาชญากรรมแห่งใหม่ ในพื้นที่ตรงข้ามบ้านห้วยน้ำนัก ต.พบพระ อ.พบพระ จ.ตาก และขอพบ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พบพระ เพื่อขอความช่วยเหลือ
นายเอ (นามสมมติ) ให้ข้อมูลว่า ได้มีการเจอเว็บไชต์ Uni Global ซึ่งจะหาคนมาทำงานยังประเทศไทย พร้อมมีข้อเสนอที่ดีทั้งด้านรายงานได้ และอาชีพการงาน โดยเขาจะเข้ามาเป็นเชฟในประเทศไทย และมีการจ่ายเงิน 2,500 ดอลลาร์ เพื่อเดินทางมา
ทันทีที่ถึงสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 5 ต.ค. 67 เวลาประมาณ 9:00 น. จะมีขบวนการนำพาที่มารอรับ ซึ่งจะถือป้ายชื่อ และพาไปพบกับคนแต่งกายคล้ายตำรวจ ก่อนทีจะพาขึ้นรถเพื่อเดินทางไปยังอ.แม่สอด จ.ตาก ในบริเวณชายแดน
เมื่อถึงชายแดนแม่สอด จะมีบ้านที่พักคอย โดยจะมีคนหลายคน หลายสัญชาติที่รออยู่ในนั้น เพื่อข้ามไปยังจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา โดยเหยื่อเหล่านี้ ไม่รู้ว่าตัวเองจะถูกพาไปทำงานเป็นสแกมเมอร์
จากนั้น จะใช้เรือในการข้ามไปยังเมียวดี ประเทศเมียนมา โดยจุดนี้เป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของของกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) โดยเขาถูกบังคับให้ทำงานเป็นสแกมเมอร์ ซึ่งเหยื่อรายดังกล่าวถูกให้ทำเกี่ยวกับเรื่องคริปโตเคอเร็นซี่ ซึ่งจะต้องทำงานวันละ 17 ชั่วโมง ใน 1 เดือนจะได้พัก 1 วัน และต้องทำเงินให้ได้ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือ 300,000 บาท หากทำไม่ถึงเป้า จะถูกทำร้ายร่างกาย ทั้งการทุบตี ช็อตไฟฟ้า และการทรมานในลักษณะอื่น ๆ ซึ่งจะโดนทำร้ายเกือบทุกวัน โดยเหยื่อรายนี้ได้เก็บภาพหลักฐานการถูกทำร้ายร่างกาย บาดแผลเอาไว้ด้วย
จากคำให้การของเหยื่อชาวเคนยา ระบุว่า หัวหน้าของกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์เหล่านี้ เป็นมาเฟียจีน ที่ไม่สนใจด้านสิทธิมนุษยธรรม สนใจเพียงแค่ในหนึ่งวันพวกเขาทำเงินได้ขนาดไหน และทำถึงเป้าหมายหรือไม่ โดยยังมีเหยื่อมากกว่า 1,000 คนที่ทำงานในตึกที่เขาหนีออกมา มีคนจากหลายสัญชาติ ทั้งเอธิโอเปีย อูกันดา ศรีลังกา ฯลฯ อีกทั้งในพื้นที่นั้น ยังมีตึกของบริษัทสแกมเมอร์กว่า 3 บริษัทติด ๆ กันที่ล้อมรอบไปด้วยกำแพงกั้นเอาไว้
ดังนั้น ขบวนการค้ามนุษย์เหล่านี้ เกี่ยวข้องกับคนหลายคน ทั้งคนบริษัทจัดหางาน คนนำพา และกลุ่มจีนเทา เป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับหลายชาติ อย่างกรณีนี้มีทั้งชาวเคนยา ไทย กะเหรี่ยง เมียนมา และจีน
รายงาน: สริตา เรืองจิต
ภาพ: ธนาภรณ์ วุฒิสนธิ์
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #เมียนมา #เมียวดี #คอลเซ็นเตอร์ #สแกมเมอร์

https://www.facebook.com/photo/?fbid=984448517210517&set=a.534942252161148


https://www.facebook.com/watch/?v=550371088039884

https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/984245950564107
The Reporters
14 hours ago
·
SPECIAL: เปิดใจเหยื่อชาวเคนยา เล่านาทีหนีตายจากเมืองสแกมเมอร์ กระโดดข้ามกำแพง หลบอยู่ในหลุม เผย ถูกทรมานด้วยการช็อตไฟฟ้า ทุบตี ใช้ความร้อน ขอ อย่าหลงเชื่อ รับข้อเสนอมาทำงานในไทย หวั่น ถูกหลอกซ้ำแบบตนเอง
วันนี้ (9 ก.พ. 68) เปิดใจนายเอ (นามสมมติ) เหยื่อค้ามนุษย์จากประเทศเคนยา ที่หนีออกมาจากแหล่งสแกมเมอร์แห่งหนึ่งในจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา และมาขอพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พบพระ เพื่อขอความช่วยเหลือ
นายเอ เล่าถึงประสบการณ์ในเมืองสแกมเมอร์ว่า สแกมเมอร์เป็นเมืองที่อันตรายมาก คนที่เป็นหัวหน้าคือพวกมาเฟียจีน ในเมียนมา โดยคนพวกนั้นไม่ได้สนใจเรื่องอื่น ๆ เลย ไม่สนเรื่องครอบครัว พวกเขาสนแค่ว่าคุณทำเงินได้ตรงตามเป้าแล้วหรือยัง ถ้าไม่ถึงเป้า เขาจะทำร้ายร่างกาย และทรมานคุณ เขาจะทุบ ตี ใช้ไม้ชอตไฟฟ้า
“มันจะมีเหมือนเครื่องที่เป็นแผ่นพลาสติกที่มีประกายไฟ เขาจะเราให้ถอดรองเท้า และยืนอยู่บนแผ่นนั้น พร้อมกับถือของที่มีน้ำหนักในมือ และสควอทซ์ ซึ่งเป็นอะไรที่เจ็บปวดมาก ๆ“ นายเอ เล่าถึงการถูกทำร้ายหากไม่สามารถทำงานให้กลุ่มสแกมเมอร์ได้ตามเป้าหมาย
นายเอ กล่าวอีกว่า ตอนที่จะมาทำงาน ตนเองไม่รู้ว่าจะให้มาทำงานสแกมเมอร์ เพราะตนเองมาติดต่อในตำแหน่งเชฟ และก่อนหน้าก็เป็นเชฟอยู่แล้ว โดยเข้ามาทำงานได้ 4 เดือน ซึ่งหากทำงานไม่ตรงเป้า พวกเขาจะทุบตี ทำร้ายร่างกาย เขาไม่สนใจไม่ว่าคุณจะพูดอะไร เขาไม่พาไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล หากคุณบาดเจ็บหรือไม่สบาย เขาจะแค่ให้ยากับคุณเท่านั้น ไม่ว่าจะป่วยขนาดไหน พร้อมยกตัวอย่างผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำงานในนั้น แม้จะหมดสติไปกว่า 6 ชั่วโมง เขาก็ไม่สนใจพาไปโรงพยาบาล
นายเอ กล่าวอีกว่า ในพื้นที่นั้นถูกควบคุมโดยมาเฟียจีน และเขาจะมีบอสในแต่ละตึกเพื่อคอยรายงานหัวหน้า โดยขณะนี้มีอยู่หลายตึก และมีอยู่กว่า 3 บริษัท เป็นตึกติด ๆ กัน ซึ่งในนั้นมีเหยื่อมากกว่า 1,000 คน โดยมีเหยื่อชาวเคนยา 22 คน และรวมตนเองด้วยเป็น 23 คน
นายเอ เล่าวินาทีหลบหนีออกมาจากเมืองสแกมเมอร์ ว่า ตนเองหนีออกมากับเหยื่ออีกกว่า 50 คน โดยการกระโดดข้ามกำแพงที่ล้อมรอบอยู่ออกมา ซึ่งจะมีหลุมอยู่ตนเองจึงหลบอยู่ในหลุม พวกนั้นได้พยายามเข้ามารวบคนอื่น ๆ แต่ตนเองอยู่แถวหน้า เมื่อพวกเขาผ่านไป ตนเองก็รีบออกมาอย่างรวดเร็ว พยายามหนีออกมาเรื่อย ๆ จนข้ามมาได้ โดยเชื่อว่าหลังจากที่หนีพวกเขาจะมีการเข้มงวดมากขึ้น
นายเอ ยังฝากบอกไปยงชาวเคนยาเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ว่า ถ้ามีใครเสนอข้อเสนอดี ๆ ให้มาทำงานในประเทศไทย มีเงินเดือนที่มากมาย ทั้งการเป็นครู เป็นเชฟ หรืออื่น ๆ โปรดอย่าไปหลงเชื่อ เพราะความจริงมันไม่ได้เป็นแบบนั้น มันคือการหลอกมาทำงานสแกมเมอร์ และหวังว่าจะมีการช่วยเหลือเหยื่อคนอื่น ๆ ออกมาให้พ้นจากขุมนรกนี้ได้
รายงาน: ฐปณีย์ เอียดศรีไชย / สริตา เรืองจิต
ภาพ: ธนาภรณ์ วุฒิสนธิ์
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #สแกมเมอร์ #เหยื่อชาวเคนยา #เมียวดี #เมียนมา #ตาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=984448517210517&set=a.534942252161148
https://www.facebook.com/watch/?v=550371088039884
https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/984245950564107



ไม่มี 'นิติรัฐ นิติธรรม' แบบไทย ๆ หากไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง - คลิปถ่ายทอดสด "นิติรัฐนิติธรรม" กับการสร้างประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจ


ถ่ายทอดสด "นิติรัฐนิติธรรม" กับการสร้างประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจ

PITVNEWS

Streamed live on Feb 8, 2025

ร่วมพูดคุยโดย 
รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
สมคิด พุทธศรี ประธานกรรมการบริหาร The101.world 

ดำเนินรายการโดย
 อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา บรรณาธิการอำนวยการ The101.world
 
"นิติรัฐนิติธรรม" (Rule of Law) เป็นเสาหลักของการพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจ และกลายเป็นตัวชี้วัดที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำให้เป้าหมายอื่นๆ บรรลุผลสำเร็จ
 
แต่ภาพสะท้อนในสังคมไทยกลับชวนให้ตั้งคำถามว่า "นิติรัฐนิติธรรม" จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในสังคมที่มีปัญหาประชาธิปไตย สิทธิทางการเมือง และความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ และเราจะยังสามารถคาดหวังให้กลไก "นิติรัฐนิติธรรม" กำกับการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรมหรือไม่
 
The101. ร่วมกับ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และ เครือข่ายด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนา (RoLD) ชวนเปิดบทสนทนานี้ ภายในงาน Thailand Rule of Law Fair 2025 | งานแฟร์เพื่อความแฟร์ ผ่านเสวนาสาธารณะในหัวข้อ "นิติรัฐนิติธรรม" กับการสร้างประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจ
 
ณ Conference Hall, สำนักงาน TIJ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568

https://www.youtube.com/watch?v=TvOfe2-i8J0

https://www.facebook.com/theactive.net/posts/pfbid02sz3Y2DDLy8eS5snaUNQK5QyFBoq2Y8uuGCz2GwVexLqcLjsjCaYsKpCLb5nLDRZEl

The Active
20 hours ago
·
ไม่มี 'นิติรัฐ นิติธรรม' แบบไทย ๆ หากไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง

‘พวงทอง’ ชี้ ความเป็นไทย ขัดขวางนิติรัฐ เหตุให้ความสำคัญกับระบบเครือข่าย-อุปถัมภ์ ย้ำ การเข้ามาของทุนใหญ่ ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ‘มุนินทร์-อนุสรณ์’ หวัง เห็นรัฐธรรมนูญทำหน้าที่วางโครงสร้างระบบไม่ให้เกิดปัญหา-ประชาชนร่วมตรวจสอบถ่วงดุล ผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
.
.
อ่านเพิ่ม https://theactive.thaipbs.or.th/news/law-rights-20250208-2
.
#นิติรัฐนิติธรรม #TheRuleofLaw #TheActive #ThaiPBS

https://www.facebook.com/theactive.net/posts/pfbid02sz3Y2DDLy8eS5snaUNQK5QyFBoq2Y8uuGCz2GwVexLqcLjsjCaYsKpCLb5nLDRZEl

https://www.youtube.com/watch?v=TvOfe2-i8J0



วิวาทะว่าด้วยเสื้อผ้า-รองเท้า นายกฯไทยสะท้อนอะไร?


วิวาทะว่าด้วยเสื้อผ้า-รองเท้า นายกฯไทยสะท้อนอะไร? Suthichai Live 9-2-2568

Streamed live 18 hours ago
ในประเทศ

https://www.youtube.com/watch?v=hjdh-jGg94s




หลายคนอาจยังไม่ทราบ เคยเกิดกรณี ‘ทุนใหญ่’ ฟ้องร้อง ‘นักวิชาการด้านสื่อสู้เพื่อผู้บริโภค’ เช่นกัน เมื่อปี 2549 ในช่วงโค้งสุดท้ายของ ‘รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร 2’ - [ข้อมูลเพื่อให้สาธารณะได้รับทราบ ปัจจุบันมีคดีฟ้องร้องกันในกสทช. 7 คดี พิพากษาไปแล้ว 2 คดี เหลืออีก 5 คดี]​

"...เรื่องดังกล่าวมาผ่าน 19 ปี จนมาถึงในปี 2568 เกิดเหตุการณ์ ‘ทุนใหญ่’ ฟ้อง ‘นักวิชาการด้านสื่อ’ ซึ่งสวมหมวกเป็น กสทช. ถึงการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องผู้บริโภคอีกครั้ง แต่คราวนี้แตกต่างจากกรณีของ ‘สุภิญญา’ เมื่อศาลพิพากษาจำคุก ‘ดร.พิรงรอง’..."

จาก ‘สุภิญญา’ ถึง ‘พิรงรอง’ ย้อนตำนาน19 ปี ‘ทุนใหญ่’ ฟ้องนักวิชาการสื่อสู้เพื่อผู้บริโภค

8 กุมภาพันธ์ 2568
สำนักข่าวอิศรา

กลายเป็นเรื่องสะเทือน ‘แวดวงสื่อสารมวลชน’ พลันที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารมวลชน อดีตอาจารย์ประจําภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ ถูกบริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ฟ้องร้องในข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 โดยในคำพิพากษาตอนหนึ่ง ระบุข้อเท็จจริงว่า มีการออกหนังสือเตือนทีวีดิจิทัลมีโฆษณาแทรก และมีเจตนากลั่นแกล้งให้กิจการของบริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ได้รับความเสียหาย



ในข้อเท็จจริงของเรื่องดังกล่าว คงต้องรอคำพิพากษาฉบับเต็มเพื่อดูการชี้แจงอย่างเป็นทางการของ ‘ดร.พิรงรอง’ เสียก่อน เนื่องจากในเอกสารข่าว (Press Release) ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศาลสรุปมาให้นั้น มิได้ระบุถึงข้อโต้แย้ง หรือข้อต่อสู้ของจำเลย อย่างไรก็ดีขณะนี้ ‘ดร.พิรงรอง’ ได้รับอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป

แต่สิ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบ หรือลืมไปแล้ว เคยเกิดกรณี ‘ทุนใหญ่’ ฟ้องร้อง ‘นักวิชาการด้านสื่อ’ เช่นกัน โดยเมื่อปี 2549 ในช่วงโค้งสุดท้ายของ ‘รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร 2’ กลุ่ม ‘ชินคอร์ป’ ของเครือข่ายตระกูล ‘ชินวัตร’ ได้ฟ้องร้อง ‘สุภิญญา กลางณรงค์’ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน อดีต กสทช. เมื่อครั้งสวมหมวกเป็น เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณามาแล้ว

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เล่าย้อนไปถึงช่วงบรรยากาศปลายรัฐบาล ‘ทักษิณ 2’ ที่ถูกภาคประชาสังคม และแวดวงสื่อมวลชน วิพากษ์วิจารณ์ถึงหลายโครงการของรัฐบาลส่อเข้าข่ายทุจริตคอร์รัปชัน ส่อมีผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงอาจเข้าข่าย ‘แทรกแซง’ การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยหนึ่งในหัวหอกนักวิชาการด้านสื่อซึ่งศึกษาค้นคว้าวิจัย และออกมาพูดเรื่องดังกล่าวมีชื่อของ ‘สุภิญญา กลางณรงค์’ รวมอยู่ด้วย

จุดเริ่มต้นของคดี มาจาก “สุภิญญา” ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ในประเด็นความร่ำรวยขึ้นของธุรกิจเครือ ‘ชินคอร์ป’ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลที่เอื้อผลประโยชน์ให้ 3 ธุรกิจในเครือ คือธุรกิจดาวเทียม ธุรกิจโทรทัศน์ และธุรกิจมือถือ ส่งผลให้กลุ่ม ‘ชินคอร์ป’ ยื่นฟ้องคดีอาญา ฐานหมิ่นประมาท และฟ้องทางแพ่ง เรียกค่าเสียหาย 400 ล้านบาท

ในคำพิพากษาฉบับย่อที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ ระบุว่า สุพจน์ วาทิตต์พันธ์ ที่ปรึกษาบริษัทในเครือชินคอร์ป ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง สุภิญญา กลางณรงค์ ในฐานะเลขาธิการ คปส. บริษัท ไทยเจอร์นัลกรุ๊ป จำกัด (เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์) โรจ งามแม้น (นามปากกา เปลว สีเงิน) ประธานกรรมการบริหารบริษัท กรรณิการ์ วิริยะกุล กรรมการบริหาร และทวีสิน สถิตย์รัตนชีวิน บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เป็นจำเลยที่ 1-5 ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และตามพ.ร.บ.การพิมพ์

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อพิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์และจำเลยที่ 1 อ้างประกอบดังกล่าว จะเห็นพฤติการณ์แห่งคดีมีอยู่อย่างไร อันจะวินิจฉัยได้ว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อการให้ข่าวหรือไม่อย่างไร เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นกรรมการบริษัทโจทก์ (ชินคอร์ป) แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการโดยไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นกรรมการอยู่ด้วยก็ตาม บริษัทโจทก์ก็ยังมีญาติของพันตำรวจโททักษิณ เป็นกรรมการอยู่ ทั้งบริษัทโจทก์ดำเนินการอันเป็นธุรกิจอันเป็นกิจการสาธารณะ

ส่วนจำเลยที่ 1 เคยศึกษาและวิจัยปัญหาอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ตลอดมา อีกทั้งในขณะที่จำเลยที่ 1 ให้ข่าว จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่เป็นรองเลขาธิการ คปส.มีวัตถุประสงค์ค้นคว้าวิจัยปัญหานี้อยู่ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ให้ข่าวจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นตามข้อมูลที่ได้มาจากบริษัทโจทก์ จากการศึกษาวิจัยของจำเลยที่ 1 และข้อมูลจากบุคคลภายนอก ซึ่งมิได้มีส่วนได้เสียกับบริษัทโจทก์ และการให้ข่าวของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต มิได้มุ่งประสงค์จะใส่ความบริษัทโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้บริษัทโจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง แต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนพึงกระทำ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3)

ศาลพิเคราะห์จากพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้าแล้ว วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ให้ข่าวตามข้อมูลที่ได้มาจากบริษัทโจทก์ จากการศึกษา วิจัยของจำเลยที่ 1 และข้อมูลจากบุคคลภายนอก ซึ่งมิได้มีส่วนได้เสียกับริษัทโจทก์และจำเลยที่ 1 การให้ข่าวของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต มิได้มุ่งประสงค์จะใส่ความบริษัทโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้บริษัทโจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สาธารณะและติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนพึงกระทำ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ลงพิมพ์โฆษณา มีข้อความตรงกับที่จำเลยที่ 1 ให้ข่าวทุกประการ มิได้มีการเสริมปรุงแต่ง ให้ผิดแผกไปจากข้อความเดิม ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำไปโดยสุจริต มิได้มีประสงค์จะใส่ความบริษัทโจกท์โดยประการที่น่าจะทำให้บริษัทโจทก์ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังบริษัทโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่มีความผิดตามฟ้องอีกเช่นกัน พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 5

ภายหลังคำพิพากษาดังกล่าวไม่กี่วัน ‘สุภิญญา’ พูดผ่านเวทีสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่จัดเสวนาเรื่อง ‘สื่อชนะ ประชาชนชนะ กรณีศึกษา : สุภิญญา-ไทยโพสต์ ชนะชินคอร์ป’ เพื่อสรุปบทเรียนเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเธอระบุว่า เราเองก็ไม่แน่ใจว่า ที่สู้กันมานี้มันเป็นชัยชนะของประชาชน ของสื่อหรือเปล่า ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะทำให้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่

“ถ้าห้ามคิดได้ด้วยเขาคงห้าม แต่โชคดีที่ความคิดมันห้ามกันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุด มันก็เป็นชัยชนะในเชิงสัญลักษณ์ในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของทั้งสองสิ่งนี้” สุภิญญา ระบุ

บรรทัดฐานการตัดสินของศาลในคดีดังกล่าว ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในการ ‘ปกป้องเสรีภาพสื่อ’ จากการทำหน้าที่ จนสุดท้าย ‘รัฐบาลทักษิณ 2’ ถูกมวลชนม็อบพันธมิตรฯชุมนุมขับไล่ และนำไปสู่เหตุ


@ สุภิญญา กลางณรงค์

ขณะที่ ‘สุภิญญา’ ภายหลังยอมรับและแสดงความเสียใจต่อสาธารณะ ในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพันธมิตรฯ จึงประกาศลดบทบาทความเคลื่อนไหว ยุติการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คปส. หลังครบวาระ และไปดำรงตำแหน่งรองประธาน คปส. แทน

เหตุการณ์หลังจากนั้น ‘สุภิญญา’ ยังคงทำหน้าที่นักวิชาการสื่อสารมวลชน เคยเข้าไปดำรงตำแหน่ง อนุกรรมาธิการของวุฒิสภา ในยุค ‘สว.แต่งตั้ง’ หลังรัฐประหาร หลังจากนั้นในปี 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็น 1 ใน กสทช. โดยปฏิบัติหน้าที่มาถึงปี 2560 กระทั่งเจ้าตัวประกาศลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากถูกศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดจากคดีปีนรั้วสภา ร่วมกับกลุ่มนักวิชาการรวม 10 คน เพื่อคัดค้านการตรากฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังรัฐประหารเมื่อปี 2550

ปัจจุบัน ‘สุภิญญา’ ยังคงปฏิบัติหน้าที่นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนอยู่ โดยได้รับเชิญเป็นผู้ร่วมเสวนาตามเวทีต่าง ๆ

เรื่องดังกล่าวมาผ่าน 19 ปี จนมาถึงในปี 2568 เกิดเหตุการณ์ ‘ทุนใหญ่’ ฟ้อง ‘นักวิชาการด้านสื่อ’ ซึ่งสวมหมวกเป็น กสทช. ถึงการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องผู้บริโภคอีกครั้ง แต่คราวนี้แตกต่างจากกรณีของ ‘สุภิญญา’ เมื่อศาลพิพากษาจำคุก ‘ดร.พิรงรอง’

อย่างไรก็ดีบริบทของทั้ง 2 คดียังแตกต่างกัน กล่าวคือ กรณี ‘สุภิญญา’ ถูกฟ้องในฐานะประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์ ‘ทุนใหญ่’ ส่วน ‘ดร.พิรงรอง’ ถูกฟ้องในฐานะ ‘เจ้าหน้าที่รัฐ’ มีอำนาจกำกับดูแล ‘กลุ่มทุนสื่อ’

ดังนั้นการถอดบทเรียนระหว่าง 2 คดีคงแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่คล้ายกันคือ ‘ทุนใหญ่’ ยังคงมีบทบาทกำหนดทิศทางในสังคมไทย ไม่ต่างอะไรกับเมื่อ 19 ปีก่อน?

กับความเจ็บปวดของผู้บริโภค ที่ยังคงวนเวียนให้เห็นอยู่ในสังคมไทยเหมือนเดิม

https://www.isranews.org/article/isranews/135527-invesdsds-4.html
.....


Adisak Limparungpatanakij
Yesterday
·
[ข้อมูลเพื่อให้สาธารณะได้รับทราบ
ปัจจุบันมีคดีฟ้องร้องกันในกสทช. 7 คดี พิพากษาไปแล้ว 2 คดี เหลืออีก 5 คดี]​

อาจารย์พิรงรอง รามสูต กรรมการกสทช.ยังมีคดีที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยอีก 4 คดีร่วมกับกสทช.อีก 3 คนคือ
พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ
รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย
รศ.สมภพ ภูริกรัยพงศ์
รวมทั้ง ผศ.ดร.ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริและสำนักข่าวอิศรา
โดยอาจารย์พิรงรองกับกสทช.อีก 3 ท่านได้ฟ้องประธานกสทช.ที่ศาลปกครองกลาง 1 คดี

#คดีที่หนึ่ง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง
ลงวันที่ 11 กันยายน 2566
มูลเหตุ : การเปลี่ยนตัวรักษาการเลขาธิการกสทช.จากกรณีการกีฬาแห่งประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามเอ็มโอยูค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 600 ล้านบาท
โจทก์ผู้ฟ้อง : นายไตรรัตน์ วิริยะกุล รักษาการเลขาธิการกสทช.
<จำเลยผู้ถูกฟ้อง 5 คน>
1.พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช.
2. ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.
3.รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กสทช.
4.รศ.สมภพ ภูริกรัยพงศ์ กสทช.
5.ผศ.ดร.ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขธิการสำนักงานกสทช.
<สถานะ>
คำแถลงปิดคดี วันที่ 6 มีนาคม 2568
นัดฟังคำพิพากษา วันที่ 8 เมษายน 2568
ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน : นายวิชชุพล สุขสวัสดิ์,นายปิติ แย้มชื่น

#คดีที่สอง ศาลปกครองกลาง
ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2567
มูลเหตุ : ใครมีอำนาจในการคัดเลือกเลขาธิการกสทช.ระหว่างประธานกสทช.กับบอร์ดกสทช.
โจทย์ผู้ฟ้อง : นายไตรรัตน์ วิริยะกุล รักษาการเลขาธิการกสทช.
<จำเลยผู้ถูกฟ้อง>
1.ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกสทช.(เดิมนายไตรรัตน์ไม่ได้ฟ้องประธานกสทช. แต่ศาลปกครองกลางขอให้ฟ้องสอดเพราะถือเป็นคู่กรณีด้วย)
2.พลอากาศโทดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช..ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.,รศ.ดร.ศุภัช ศุภัชลาศัย กสทช.,รศ.สมภพ ภูริกรัยพงศ์
สถานะ : ส่งคำให้การแล้วเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568
อัยการ เกรียงศักดิ์ อุรุพงศ์พิศาล

#คดีที่สาม ศาลแพ่ง
ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2567
มูลเหตุ : เงินเดือนค่าเสียหายจากการไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการกสทช.
โจทก์ผู้ฟ้อง นายไตรรัตน์ วิริยะกุล รักษาการเลขาธิการกสทช.
<จำเลยผูัถูกฟ้อง>
1.คณะกรรมการกสทช.
2.พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช.
3.ศ,ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.
4.รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กสทช.
5.รศ.สมภพ ภูริกรัยพงศ์ กสทช.
(เรียกค่าเสียหายเฉพาะจำเลยที่ 2-5ในฐานะส่วนตัว คนละ 10 ล้านบาท)
สถานะ : นัดชี้สองสถานและกำหนดแนวทางคดีวันที่ 3 มีนาคม 2568

#คดีที่สี่ ศาลแพ่ง
ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2567
มูลเหตุ : สำนักข่าวอิศราลงข่าวยก 6 พฤติกรรมปธ.ทำภารกิจบอร์ดติดขัด-งานไม่เดิน
โจทก์ผู้ฟ้อง : ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกสทช.
<จำเลยผู้ถูกฟ้อง>
1.พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช.
2.ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.
3.รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กสทช.
4.รศ.สมภพ ภูริกรัยพงศ์ กสทช.
5.สำนักข่าวอิศรา
สถานะ : ศาลนัดชี้สองสถานและกำหนดแนวทางคดีวันที่ 17 มีนาคม 2568
เรียกค่าเสียหายรวมกัน 20 ล้านบาท

#คดีที่ห้า ศาลปกครองกลาง
ลงวันที่ 6 กันยายน 2567
มูลเหตุ : ประธานกสทช.ไม่ปฏิบติตามมติบอร์ดกสทช.รับรองรายงานผลสอบการอนุมัติงบลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 600 ล้านบาท
โจทก์ผู้ฟ้อง : กรรมการกสทช.เสียงข้างมาก 4 คน(ธนพันธุ์,พิรงรอง,ศุภัช,สมภพ)
<จำเลยผู้ถูกฟ้อง>
: ศ.คลินิก นายแพทย์ สรณ บุญใบชัยพฤกษ์
สถานะ : ศาลแจ้งสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงแล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2567 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำสั่งศาล

#คดีที่หก ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง
ข้อหา : ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ(ป.อ.157)
มูลเหตุ กสทช.เสียงข้างมากมีมติรับทราบการควบรวมระหว่างบริษัททรูและดีแทค
คำพิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ผู้ฟ้อง : นางสาวธนิกานต์ บำรุงศรี
จำเลยผู้ถูกฟ้อง ประธานกสทช.และกรรมการกสทช.เสียงข้างมาก 4 คน(ธนพันธุ์,พิรงรอง,ศุภัช,สมภพ)
ผู้พิพากษา​ นายวิชชุพล​ สุขสวัสดิ์

#คดีที่เจ็ด ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง
มูลเหตุ : หนังสือเวียนผู้ถือใบอนุญาตเพื่อแจ้งให้ระมัดระวังในการอนุญาตให้นำสัญญาณช่องทีวีดิจิทัลไปเผยแพร่ใน TRUE ID ที่ไม่ได้มาขอใบอนุญาต
โจทก์ผู้ฟ้อง : บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด โดยนายวิศิษย์ศักดิ์ อรุณสุรัตน์ภักดี ผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยผู้ถูกฟ้อง : ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.
สถานะ: เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ผู้พิพากษา : นายวิชชุพล สุขสวัสดิ์และนายปิติ แย้มชื่น
See less
— feeling tired.

https://www.facebook.com/photo/?fbid=9682622345101363&set=a.576950262335329

https://www.isranews.org/article/isranews/135527-invesdsds-4.html



‘เครือข่ายภาคประชาชน’ ตั้ง 5 ประเด็น ‘คดีพิรงรอง’ ชี้สร้างแรงสะเทือนทุกวงการตั้งแต่ ‘กฎหมาย-กระบวนการยุติธรรม จับตา ‘กสทช.’ ส่อถูก ‘กลุ่มทุน’ แทรกแซง


‘เครือข่ายภาคประชาชน’ ตั้ง 5 ประเด็น ‘คดีพิรงรอง’ ชี้สร้างแรงสะเทือนทุกวงการตั้งแต่ ‘กฎหมาย-กระบวนการยุติธรรม จับตา ‘กสทช.’ ส่อถูก ‘กลุ่มทุน’ แทรกแซง หลังแต่งตั้งคนนามสกุลเดียวกับ ‘ผู้บริหาร ทรู’ เป็น ‘ผู้อำนวยการส่วน’ ประธาน กสทช. ทำหน้าที่จัดประชุม กสทช.-ดูแลเอกสาร-ทำรายงานประชุม

‘ภาคปชช.’ชี้คดี‘พิรงรอง’สะเทือนกระบวนการ‘ยุติธรรม’-จับตา‘กสทช.’ส่อถูก‘กลุ่มทุน’แทรกแซง

9 กุมภาพันธ์ 2568
สำนักข่าวอิศรา

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. เครือข่ายภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เครือข่ายศิลปินเพื่อประชาธิปไตย สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้ร่วมกันอภิปรายในเวทีสาธารณะ เรื่อง ‘ความเห็นภาคประชาชนต่อคดี ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช.’

นายเมธา มาสขาว รักษาการเลขาธิการ ครป. และผู้ประสานงานเครือข่ายประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ แถลงสรุปความเห็นและข้อเสนอภาคประชาชน ว่า ภาคประชาชนมีความเห็นและข้อเสนอต่อคดี ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ใน 5 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 พวกเราในฐานะเครือข่ายภาคประชาชน ขอเป็นกำลังใจให้ ศ.ดร.พิรงรอง ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้และคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และสิทธิประชาชน ในผลประโยชน์สาธารณะ ที่ กสทช. ควรทำหน้าที่

“ศ.ดร.พิรงรอง เป็น กสทช. (กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ด้านโทรทัศน์ ซึ่งต้องทำหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองผลประโยชน์ให้กับประชาชน ดังนั้น เรื่องที่ ศ.ดร.พิรงรอง กระทำ และเป็นคดีอยู่นี้ ก็เป็นเรื่องบทบาทและการทำงานโดยสุจริต เราจึงขอให้กำลังใจ ศ.ดร.พิรงรอง และขอให้หน้าที่อย่างสุจริตและพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนต่อไป” นายเมธา กล่าว

ประเด็นที่ 2 คดีของ ศ.ดร.พิรงรอง เป็นคดีที่สะเทือนไปทุกวงการ สะเทือนทั้งเรื่องกฎหมาย นิเทศศาสตร์ และสื่อสารมวลชน รวมถึงเรื่องคุณธรรมและกระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชนจึงร่วมกันแสดงพลัง และตั้งคำถามต่อเรื่องนี้โดยตรง โดยจะมีการเคลื่อนไหวใน 3 ส่วน คือ ส่วนแรก ในฐานะเครือข่ายภาคประชาชนจะมีเปิดเวทีของเครือข่ายต่างๆ เพื่อผลักดันและเป็นพลังให้องค์กรอิสระหรือแม้กระทั่งฝ่ายที่ทำหน้าที่ด้านกฎหมาย หรือตุลาการได้ตระหนักถึงปัญหานี้

ส่วนที่สอง นักกฎหมายและนักวิชาการต่างๆ จะมีการเปิดเวทีอภิปรายในเรื่องนี้ ว่า เหตุใดการทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน จึงถูกฟ้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฯหรือกระทำการทุจริตตามมาตรา 157 และถูกตัดสินจำคุกถึง 2 ปีได้ โดยไม่รอลงอาญา และส่วนที่สาม ในภาพรวม จะต้องมีการปฏิรูป กสทช. ทั้งระบบ ทั้งเรื่องบทบาทหน้าที่ และการสรรหา กสทช. รวมถึงการสรรหาคนมาทำงาน

“14 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ กสทช. ชุดปัจจุบัน มีข้อครหามากมาย และมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องด้วย ในฐานะที่ท่านมีอำนาจพิจารณาการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ของเอกชน ในเรื่องโทรทัศน์ คลื่นความถี่ และโทรคมนาคม” นายเมธา กล่าว

ประเด็นที่ 3 จากคดีนี้ เราเห็นว่ามีความขัดแย้งกันจริงใน กสทช. ซึ่งนำไปสู่การฟ้องร้อง และทำให้กระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นมีข้อครหา โดยภาคประชาชนจะประชุมและเคลื่อนไหวในเรื่องต่อไป เนื่องจากเป็นเรื่องการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคอย่างรุนแรง และปรากฏข้อเท็จจริงว่า หลายๆเรื่องไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรืออยู่ในการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษา ทั้งๆที่เป็นการกระทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ หรือเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของ กสทช.

“ข้อเท็จจริงในหลายๆเรื่องที่ อ.พิรงรอง ทำหน้าที่ แม้ว่าเรายังไม่เห็นคำพิพากษาฉบับเต็ม แต่ในหลายๆเรื่อง ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา หรืออยู่ในการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาเลยหรือ ทั้งที่เป็นการกระทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ หรือแม้กระทั่งตามอำนาจหน้าที่ แต่ไปเล่นในบางประเด็นที่น่ากังขา เรื่องนี้จะมีการตรวจสอบต่อไปว่า มีการแทรกแซงของกลุ่มทุนจริงหรือไม่” นายเมธา กล่าว

ประเด็นที่ 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องการฟ้องปิดปากประชาชนใช่หรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มทุนที่มีผลประโยชน์กับอำนาจรัฐบางส่วน ที่พยายามใช้อิทธิพลและอำนาจเข้ามาแทรกแซงองค์กรภาครัฐ เช่น กสทช. อีกทั้งผลกระทบที่จะตามมา คือ อาจทำให้การทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆในการคุ้มครองผู้บริโภคต้องสะดุด แม้กระทั่งคณะอนุกรรมการชุดอื่นๆ อาจไม่กล้าพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน ผลประโยชน์สาธารณะ เพราะกลัวถูกฟ้องปิดปาก หรือใช้กฎหมายเข้าคุกคาม

ประเด็นที่ 5 ตามที่มีการกล่าวหาใน 2 เรื่อง คือ เรื่องแรก กสทช. มีคำสั่งที่ 337/2567 ลงวันที่ 8 มี.ค.2567 แต่งตั้งบุคคลที่มีนามสกุลเดียวกับผู้บริหารของบริษัท ทรู หรือกลุ่มทุนที่เป็นคู่กรณีในคดีนี้ มาเป็นผู้อำนวยการส่วนของประธาน กสทช. และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการประชุม ดูแลเอกสาร และจัดทำรายงานการประชุมต่างๆ จึงทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานหรือไม่ และ กสทช.จะแก้ไขอย่างไร

เรื่องที่สอง เรื่องคุณสมบัติของประธาน กสทช. ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นว่า ประธาน กสทช. ขาดคุณสมบัติ ตามมติของ คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ไปแล้ว และไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ปรากฎว่าประธานวุฒิสภากลับไม่ได้ดำเนินการ โดยการยื่นเรื่องให้นายกรัฐมนตรี เพื่อทูลเกล้าฯขึ้นไป ตามกฎหมาย ทำให้เรื่องนี้ยังค้างอยู่และกลายเป็นสูญญากาศ ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงปรากฎแล้ว

“เรื่องนี้ ครป.เคยชี้ประเด็นว่า ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่อาจผิดมาตรา 157 ได้ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ถ้าไม่ทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง เพราะมันพัวพันไปถึงการสร้างผลประโยชน์ใน กสทช. โดยการสนับสนุนกลุ่มทุน เช่นดั่งที่เกิดกรณีของ อ.พิรงรอง” นายเมธา ระบุ

นายเมธา กล่าวด้วยว่า การแสดงความคิดเห็นของภาคประชาชนในครั้งนี้ ภาคประชาชนไม่ได้มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ที่จะปฏิเสธคำสั่งศาลหรือเห็นแย้ง แต่เป็นข้อคิดเห็นของภาคประชาชนที่รู้สึกผิดหวังกับคำพิพากษา เราต้องการทำความจริงให้กระจ่าง และอยู่เคียงข้างความเป็นธรรมและความเป็นจริง ที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิประโยชน์สาธารณะควรต้องได้รับการปกป้อง

https://www.isranews.org/article/isranews-news/135545-Public-sector-discuss-board-NBTC-case-news.html


สด! ความเห็นประชาชนต่อคดี “อ.พิรงรอง” | ไลฟ์วันนี้ | 9 ก.พ.68

Thai PBS News

Streamed live 13 hours ago #SAVEพิรงรอง #พิรงรอง #พิรงรองรามสูตภาคประชาชนร่วมสะท้อน จัดเวทีความเห็นประชาชน ต่อคดี ศ.กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. กับ บทบาท กสทช. เพื่อประโยชน์สาธารณะ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน

https://www.youtube.com/live/Y_rslfWuWMI