ข้อมูลอีกด้าน “คดีตากใบ” เพื่อไทยบอก “ทำดีที่สุดแล้ว”
9 ตุลาคม 2567
สำนักข่าวอิศรา
“คดีตากใบ” ที่ใกล้หมดอายุความ ยังคงสร้างแรงกดดันให้กับพรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำรัฐบาล และต้นสังกัดของ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 จำเลยที่ 1 ของคดี สส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ซึ่งจนป่านนี้ยังไม่มีวี่แววจะเข้ามอบตัว
วันพุธที่ 9 ต.ค.67 ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ที่มีนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ เป็นประธาน มีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ ติดตามความคืบหน้าการจับกุมจำเลยและผู้ต้องหาคดีตากใบ หลังจากที่ศาลจังหวัดนราธิวาสประทับฟ้อง และออกหมายจับจำเลย 7 คน รวมถึงอัยการสูงสุดเห็นแย้งกับพนักงานสอบสวน มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหา 8 คน รวมทั้งหมด 14 คน (ผู้ต้องหาสำนวน 2 ซ้ำกับจำเลยสำนวนแรก 1 คน)
ที่ประชุมมีตัวแทนจาก กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาด้วย นอกจากนี้ยังมีการเชิญตัวแทนจากโจทก์และตัวแทนผู้ฟ้องในคดีตากใบ คือ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เข้าร่วมรับฟัง และเชิญกองทัพบก, ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, ตำรวจภูธรภาค 9 และอัยการภาค 9 โดยให้แต่ละหน่วยงานส่งตัวแทนมาชี้แจง
หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกมลศักดิ์ แถลงว่า คดีตากใบมีจำเลยและผู้ต้องหาจำนวน 14 คน โดยมีผู้ต้องหาที่ยังอยู่ในประเทศไทย 12 คน ในจำนวนนี้เป็นข้าราชการและยังรับราชการอยู่ 2 คน ซึ่งทางตำรวจได้ประสานกับผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหาทั้งสองคนแล้ว และคาดว่ามีผู้ต้องหาอีก 2 คนอยู่ต่างประเทศ โดยได้ประสานไปยังกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแจ้งไปยังอินเตอร์โพล หรือ ตำรวจสากล ให้ออก “หมายแดง” ติดตามตัวข้ามประเทศ
@@ ถามจิตสำนึก คดีขาดอายุความ “พิศาล” รับผิดชอบอย่างไร
ทั้งนี้หากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามจับกุมผู้ต้องหาได้ก่อนหรือภายในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันหมดอายุความ ทางอัยการยืนยันว่า พร้อมเตรียมนำตัวไปฟ้องต่อศาล แม้ในวันสุดท้ายก็ตาม
แต่หากคดีหมดอายุความและไม่สามารถจับกุมจำเลยได้เลย จะมีความผิดชอบจากใครหรือไม่ ยังต้องติดตามต่อไป เช่น กรณี พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส.พรรคเพื่อไทย ที่ลาประชุมสภาไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ หากกลับมา จะได้เป็น สส.ต่อหรือไม่
“เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของจำเลยแต่ละคน เพราะไม่มีกฎหมายใดที่จะตอบคำถามแทนได้ ต้องอยู่ที่สำนึกของบุคคลคนนั้นว่าจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หากทราบอยู่แล้วว่ามีหมายจับ แทนที่จะมามอบตัวสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม แต่กลับหันหลังให้กระบวนการยุติธรรม ปล่อยให้ขาดอายุความ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลคนนั้น”
@@ นายกฯ ชิ่งนักข่าว ปัดตอบคดีตากใบ
วันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวสอบถาม นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ถึงท่าทีของพรรค ต่อกรณี พล.อ.พิศาล
แต่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบคำถาม โดยกล่าวเพียงว่า “ขออนุญาตวิ่งหน่อยได้ไหม เพื่อไปขึ้นรถ” จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ขึ้นรถและเดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาลทันที เนื่องจากจะต้องเดินทางไปขึ้นเครื่องบิน เพื่อไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 44–45 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
@@ ข้อมูลอีกด้านปมตากใบ “เพื่อไทย” สุดจริงใจคืนยุติธรรม
ท่ามกลางกระแสกดดันเกี่ยวกับ “คดีตากใบ” ที่พุ่งเข้าใส่พรรคเพื่อไทย จนกลายเป็น “จำเลยของคดี” ไปแล้ว นอกเหนือจากจำเลยที่ศาลนราธิวาสรับฟ้อง และผู้ต้องหาที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง
แต่หากถามใจ “คนเพื่อไทย” พวกเขาคิดและยืนยันข้อมูลว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา “ทำดีที่สุดแล้ว”
นี่คือข้อมูลจาก “คนเพื่อไทย” และ “คนในรัฐบาล” ที่รู้ดีเกี่ยวกับปัญหาชายแดนใต้ นำมาแชร์ให้ฟัง
1.เหตุการณ์ตากใบ เกิดขึ้นในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่มีอดีตนายกฯทักษิณ เป็นผู้นำก็จริง แต่กว่าจะถึงวันนี้ที่คดีใกล้หมดอายุความ ได้ผ่านนายกรัฐมนตรี และผู้นำรัฐประหารที่ยึดอำนาจมาแล้วถึง 10 คน ประกอบด้วย
นายทักษิณ ชินวัตร ปี 2544-2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจการปกครอง วันที่ 19 กันยายน 2549
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯช่วงปี 2549 ถึง 2551
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯปี 2551
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯปี 2551
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯระหว่างปี 2551-2554
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯระหว่างปี 2554 ถึง 2557
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และเป็นนายกฯต่อ 2 สมัย ปี 2557-2566
นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯช่วงปี 2566 ถึง 14 สิงหาคม 2567
และล่าสุด นายกฯแพทองธาร ชินวัตร
ฉะนั้นการมาสรุปด้วยการโยนบาปให้พรรคเพื่อไทยเป็นจำเลยเพียงพรรคเดียว ย่อมไม่เป็นธรรมในสายตาของ “คนเพื่อไทย” และผู้สนับสนุน
2.“คนเพื่อไทย” ยังยืนยันว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเพื่อไทยนี่แหละที่มีความจริงจังในการนำความยุติธรรมให้เกิดกับผู้สูญเสียในเหตุการณ์ตากใบมากที่สุด โดยย้อนไทม์ไลน์ได้แบบนี้
- ยุคอดีตนายกฯทักษิณ หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระชำระความจริงทันที
- ยุค พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกมาขอโทษผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ไฟใต้
- ยุคอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ จ่ายเยียวยาให้ครอบครัวผู้สูญเสีย ผู้บาดเจ็บ และทุพพลภาพจากเหตุการณ์ตากใบ เป็นเงินมากกว่า 641 ล้านบาท มีการเยียวยาจิตใจและจิตวิญญาณ เช่น พี่น้องมุสลิมที่เป็นผู้ญาติผู้ตาย และผู้บาดเจ็บ ได้ไปประกอบพิธีฮัจย์ โดยให้ไปทุกรายที่ต้องการไป และมีการเยียวยาชุมชนที่ได้รับผลกระทบด้วย
ในขณะที่บางพรรคการเมืองนำเหตุการณ์ความสูญเสียเหล่านี้ไปหาเสียง โดยไม่ได้ช่วยเหลือเยียวยาเลยแม้แต่น้อย
- ยุคที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดด้านคดีอาญา คือปี 66-67 ในรัฐบาลนายกฯเศรษฐา และนายกฯแพทองธารฯ
เพราะครอบครัวผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบ เห็นว่าบรรยากาศประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จึงนำเรื่องเข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการยุติธรรม การกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มี สส.กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ เป็นประธาน และมี สส.เพื่อไทยร่วมเป็นกรรมาธิการ
มีหลักฐานบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการฯ วันที่ 13 ธันวาคม 2566 มีมติสนับสนุนให้ประชาชนฟ้องต่อศาลนราธิวาส และตำรวจดำเนินคดีต่อ หลังจากมีข่าวว่าสำนวนคดีหาย มีการกดดันตรวจสอบกระทั่งฝ่ายตำรวจสรุปสำนวนคดีวิสามัญฆาตกรรมส่งให้อัยการสูงสุด ทำให้สุดท้ายอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาล
นับเป็นความก้าวหน้าคดีอาญามากที่สุด มีการออกหมายจับอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เคยรับราชการในพื้นที่ได้ เพราะรัฐบาลไม่ได้แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
----------------------
ขอบคุณ : กราฟฟิกจากรายการข่าวข้นคนข่าว เนชั่นทีวี
https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/132466-takbaiparliament.html
9 ตุลาคม 2567
สำนักข่าวอิศรา
“คดีตากใบ” ที่ใกล้หมดอายุความ ยังคงสร้างแรงกดดันให้กับพรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำรัฐบาล และต้นสังกัดของ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 จำเลยที่ 1 ของคดี สส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ซึ่งจนป่านนี้ยังไม่มีวี่แววจะเข้ามอบตัว
วันพุธที่ 9 ต.ค.67 ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ที่มีนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ เป็นประธาน มีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ ติดตามความคืบหน้าการจับกุมจำเลยและผู้ต้องหาคดีตากใบ หลังจากที่ศาลจังหวัดนราธิวาสประทับฟ้อง และออกหมายจับจำเลย 7 คน รวมถึงอัยการสูงสุดเห็นแย้งกับพนักงานสอบสวน มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหา 8 คน รวมทั้งหมด 14 คน (ผู้ต้องหาสำนวน 2 ซ้ำกับจำเลยสำนวนแรก 1 คน)
ที่ประชุมมีตัวแทนจาก กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาด้วย นอกจากนี้ยังมีการเชิญตัวแทนจากโจทก์และตัวแทนผู้ฟ้องในคดีตากใบ คือ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เข้าร่วมรับฟัง และเชิญกองทัพบก, ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, ตำรวจภูธรภาค 9 และอัยการภาค 9 โดยให้แต่ละหน่วยงานส่งตัวแทนมาชี้แจง
หลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกมลศักดิ์ แถลงว่า คดีตากใบมีจำเลยและผู้ต้องหาจำนวน 14 คน โดยมีผู้ต้องหาที่ยังอยู่ในประเทศไทย 12 คน ในจำนวนนี้เป็นข้าราชการและยังรับราชการอยู่ 2 คน ซึ่งทางตำรวจได้ประสานกับผู้บังคับบัญชาของผู้ต้องหาทั้งสองคนแล้ว และคาดว่ามีผู้ต้องหาอีก 2 คนอยู่ต่างประเทศ โดยได้ประสานไปยังกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแจ้งไปยังอินเตอร์โพล หรือ ตำรวจสากล ให้ออก “หมายแดง” ติดตามตัวข้ามประเทศ
@@ ถามจิตสำนึก คดีขาดอายุความ “พิศาล” รับผิดชอบอย่างไร
ทั้งนี้หากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดตามจับกุมผู้ต้องหาได้ก่อนหรือภายในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันหมดอายุความ ทางอัยการยืนยันว่า พร้อมเตรียมนำตัวไปฟ้องต่อศาล แม้ในวันสุดท้ายก็ตาม
แต่หากคดีหมดอายุความและไม่สามารถจับกุมจำเลยได้เลย จะมีความผิดชอบจากใครหรือไม่ ยังต้องติดตามต่อไป เช่น กรณี พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส.พรรคเพื่อไทย ที่ลาประชุมสภาไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ หากกลับมา จะได้เป็น สส.ต่อหรือไม่
“เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของจำเลยแต่ละคน เพราะไม่มีกฎหมายใดที่จะตอบคำถามแทนได้ ต้องอยู่ที่สำนึกของบุคคลคนนั้นว่าจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หากทราบอยู่แล้วว่ามีหมายจับ แทนที่จะมามอบตัวสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม แต่กลับหันหลังให้กระบวนการยุติธรรม ปล่อยให้ขาดอายุความ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลคนนั้น”
@@ นายกฯ ชิ่งนักข่าว ปัดตอบคดีตากใบ
วันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวสอบถาม นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ถึงท่าทีของพรรค ต่อกรณี พล.อ.พิศาล
แต่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบคำถาม โดยกล่าวเพียงว่า “ขออนุญาตวิ่งหน่อยได้ไหม เพื่อไปขึ้นรถ” จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ขึ้นรถและเดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาลทันที เนื่องจากจะต้องเดินทางไปขึ้นเครื่องบิน เพื่อไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 44–45 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
@@ ข้อมูลอีกด้านปมตากใบ “เพื่อไทย” สุดจริงใจคืนยุติธรรม
ท่ามกลางกระแสกดดันเกี่ยวกับ “คดีตากใบ” ที่พุ่งเข้าใส่พรรคเพื่อไทย จนกลายเป็น “จำเลยของคดี” ไปแล้ว นอกเหนือจากจำเลยที่ศาลนราธิวาสรับฟ้อง และผู้ต้องหาที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง
แต่หากถามใจ “คนเพื่อไทย” พวกเขาคิดและยืนยันข้อมูลว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา “ทำดีที่สุดแล้ว”
นี่คือข้อมูลจาก “คนเพื่อไทย” และ “คนในรัฐบาล” ที่รู้ดีเกี่ยวกับปัญหาชายแดนใต้ นำมาแชร์ให้ฟัง
1.เหตุการณ์ตากใบ เกิดขึ้นในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่มีอดีตนายกฯทักษิณ เป็นผู้นำก็จริง แต่กว่าจะถึงวันนี้ที่คดีใกล้หมดอายุความ ได้ผ่านนายกรัฐมนตรี และผู้นำรัฐประหารที่ยึดอำนาจมาแล้วถึง 10 คน ประกอบด้วย
นายทักษิณ ชินวัตร ปี 2544-2549
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจการปกครอง วันที่ 19 กันยายน 2549
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯช่วงปี 2549 ถึง 2551
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯปี 2551
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯปี 2551
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯระหว่างปี 2551-2554
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯระหว่างปี 2554 ถึง 2557
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และเป็นนายกฯต่อ 2 สมัย ปี 2557-2566
นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯช่วงปี 2566 ถึง 14 สิงหาคม 2567
และล่าสุด นายกฯแพทองธาร ชินวัตร
ฉะนั้นการมาสรุปด้วยการโยนบาปให้พรรคเพื่อไทยเป็นจำเลยเพียงพรรคเดียว ย่อมไม่เป็นธรรมในสายตาของ “คนเพื่อไทย” และผู้สนับสนุน
2.“คนเพื่อไทย” ยังยืนยันว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเพื่อไทยนี่แหละที่มีความจริงจังในการนำความยุติธรรมให้เกิดกับผู้สูญเสียในเหตุการณ์ตากใบมากที่สุด โดยย้อนไทม์ไลน์ได้แบบนี้
- ยุคอดีตนายกฯทักษิณ หลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระชำระความจริงทันที
- ยุค พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกมาขอโทษผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ไฟใต้
- ยุคอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ จ่ายเยียวยาให้ครอบครัวผู้สูญเสีย ผู้บาดเจ็บ และทุพพลภาพจากเหตุการณ์ตากใบ เป็นเงินมากกว่า 641 ล้านบาท มีการเยียวยาจิตใจและจิตวิญญาณ เช่น พี่น้องมุสลิมที่เป็นผู้ญาติผู้ตาย และผู้บาดเจ็บ ได้ไปประกอบพิธีฮัจย์ โดยให้ไปทุกรายที่ต้องการไป และมีการเยียวยาชุมชนที่ได้รับผลกระทบด้วย
ในขณะที่บางพรรคการเมืองนำเหตุการณ์ความสูญเสียเหล่านี้ไปหาเสียง โดยไม่ได้ช่วยเหลือเยียวยาเลยแม้แต่น้อย
- ยุคที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดด้านคดีอาญา คือปี 66-67 ในรัฐบาลนายกฯเศรษฐา และนายกฯแพทองธารฯ
เพราะครอบครัวผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบ เห็นว่าบรรยากาศประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จึงนำเรื่องเข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการยุติธรรม การกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มี สส.กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ เป็นประธาน และมี สส.เพื่อไทยร่วมเป็นกรรมาธิการ
มีหลักฐานบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการฯ วันที่ 13 ธันวาคม 2566 มีมติสนับสนุนให้ประชาชนฟ้องต่อศาลนราธิวาส และตำรวจดำเนินคดีต่อ หลังจากมีข่าวว่าสำนวนคดีหาย มีการกดดันตรวจสอบกระทั่งฝ่ายตำรวจสรุปสำนวนคดีวิสามัญฆาตกรรมส่งให้อัยการสูงสุด ทำให้สุดท้ายอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาล
นับเป็นความก้าวหน้าคดีอาญามากที่สุด มีการออกหมายจับอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เคยรับราชการในพื้นที่ได้ เพราะรัฐบาลไม่ได้แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
----------------------
ขอบคุณ : กราฟฟิกจากรายการข่าวข้นคนข่าว เนชั่นทีวี
https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/132466-takbaiparliament.html