Aua-aree Jah Engchanil
Yesterday
เอกสารคำแนะนำเกี่ยวกับคดีละเมิดอำนาจศาลของสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 1 เผยแพร่เมื่อปี 2562 ในข้อ 3 และข้อ 4 มีความไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งไทยเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2539 ดังนี้
ข้อ 3 “ละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอํานาจค้นหาความจริงได้โดยการไต่สวน ไม่จําต้องกระทําต่อหน้าผู้ถูกกล่าวหาดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป....ไม่ต้องสอบถามหรือตั้งทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหา” นั้น
การลงโทษไม่ว่าจะอยู่ในกฎหมายที่มีชื่อเรียกว่าอะไร หากมีลักษณะทางอาญา (criminal matters) สิ่งนั้นคือโทษทางอาญา ซึ่งความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแม้จะอยู่ใน ป.วิฯ แพ่ง แต่ก็มีโทษจำคุก จึงเป็นเนื้อหาทางอาญา ดังนั้น เมื่อลักษณะการลงโทษเป็นสภาพทางอาญา ก็ต้องนำกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเข้าคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยด้วย
การตีความว่าละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษ ไม่ใช่โทษทางอาญา ทำให้คำแนะนำฯไม่สอดคล้องกับ “สิทธิในการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม” (Right to Fair Trial) ตามข้อ 14 ของกติกา ICCPR กล่าวคือ
1. คำแนะนำฯ ที่กล่าวว่า “การไม่ต้องดำเนินการต่อหน้าและให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี” ไม่สอดคล้องกับข้อ 14 (3) (d) ว่าด้วย “สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าบุคคลนั้น” และ
2. คำแนะนำฯ ที่กล่าวว่า “การไม่ต้องสอบถามหรือตั้งทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหา” ไม่สอดคล้องกับข้อ 14 (3) (d) ว่าด้วย “สิทธิในการมีทนายความ”
คำแนะนำฯ ตามข้อ 3 สะท้อนการตีความกฎหมายตามตัวอักษรว่า เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวอยู่ใน ป.วิฯแพ่ง สิ่งนั้นคือ วิฯ แพ่ง หรือเมื่อเรียกว่าเป็นกฎหมายพิเศษแล้วจึงไม่ต้องนำหลักประกันสิทธิทางอาญามาใช้ จึงทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาลไม่มีโอกาสต่อสู้คดี หรือไม่ต้องมีทนาย เพราะศาลกลัดกระดุมเม็ดแรกว่าไม่ใช่โทษทางอาญา
แม้คำแนะนำฯ ตามข้อ 3 จะเป็นการนำฎีกาที่ 1159/2526 มาอธิบาย แต่แนวคิดเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้วในเรื่องดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในโลกปัจจุบัน
ข้อ 4 “กรณีผู้ถูกกล่าวหากระทำต่อหน้าศาลและอยู่ในบริเวณศาล ให้องค์คณะผู้พิพากษาไต่สวน โดยสอบคำให้การผู้ถูกกล่าวหา...และศาลย่อมลงโทษได้ทันที...” นั้น
คำแนะนำฯ ในข้อ 4 ทำให้ศาลเป็นทั้งผู้กล่าวหาและผู้สั่งลงโทษในคนๆ เดียวกัน ถือเป็นการขัดกันของอำนาจหน้าที่ ไม่สอดคล้องกับหลักการพิจารณาคดีโดยศาลที่เป็นกลาง (impartiality) ตามข้อ 14 (1) ของกติกาฯ ICCPR เนื่องจาก
1. การที่ผู้พิพากษาทำการเริ่มต้นคดี – ค้นหาพยานหลักฐาน - ตัดสินคดี โดยใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งของผู้พิพากษาคนเดียวกัน ถือว่าเป็นการขาดความเป็นกลางโดยสภาพของการปฏิบัติหน้าที่ และ
2. หากการละเมิดอำนาจศาลเกิดขึ้นต่อหน้าศาลเอง ถือว่าศาลเป็นคู่กรณีผู้มีส่วนได้เสีย ศาลย่อมขาดความเป็นกลางในลักษณะตัวบุคคล เพราะบุคคลทั่วไปย่อมเกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อความเป็นกลาง และอคติของผู้พิพากษาแล้ว
ทั้งนี้ คำแนะนำฯ เผยแพร่ในปี 2562 แต่ถ้าในปัจจุบันศาลยุติธรรมมีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับกติกา ICCPR ก็จะเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ท่านใดมีข้อมูลที่อัพเดทในเรื่องดังกล่าว ช่วยแชร์ความคืบหน้าด้วยค่ะ
#ละเมิดอำนาจศาล
.....
Thanapol Eawsakul
19h
ศาลไทยนอกจากละเมิดรัฐธรรมนูญไทย กรณีไม่ให้ประกันตัวคดีการเมืองแล้ว
ข้อบังคับศาล ว่าด้วยการ“ละเมิดอำนาจศาล" ยังไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งไทยเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2539