วันศุกร์, เมษายน 07, 2566

เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไม่รับข้อเสนอ ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 2549 ของคณะนิติราษฎร์ในปี 2554 ดู ข้อเสนอ “นิติราษฎร์” ปี 54 ล้างผลปฏิวัติ


Thanapol Eawsakul
11h

เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไม่รับข้อเสนอ ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 2549 ของคณะนิติราษฎร์ในปี 2554 เพื่อเอาคณะรัฐประหาร 2549 ที่มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้า มาลงโทษ
ถึงแม้ข้อเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหารในปี 2554
ส่วนหนึ่งคือการเอาทักษิณกลับบ้านมาโดยยังไม่ต้องเข้าคุก แต่มาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาใหม่
แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและทักษิณ ชินวัตรไม่เลือกวิธีการนี้
แต่กลับไปเลือกวิธีการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง
จึงเป็นที่มาของรัฐประหาร 2557
ซึ่งกำลังหลักก็คือคณะรัฐประหารชุดเดิม ในปี 2549
นำโดยกลุ่มบูรพาพยัคฆ์ ที่มี ประวิตร วงษ์สุวรรณเป็นพี่ใหญ่ทั้ง 2 ครั้ง
ย้อนข้อเสนอ “นิติราษฎร์” ปี 54 แถลงการณ์ ล้างผลพวงรัฐประหาร ชงโละ-รธน.-คปค.-คตส.
https://www.matichonweekly.com/uncategorized/article_664420
.....

ย้อนข้อเสนอ “นิติราษฎร์” ปี 54 แถลงการณ์ ล้างผลปฏิวัติชงโละ-รธน.-คปค.-คตส.

6 เมษายน พ.ศ.2566
มติชนสุดสัปดาห์

หมายเหตุ : งานนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของคณะนิติราษฎร์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นวันที่ 19 ก.ย. 2553 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

วันที่ 18 ก.ย. 2554 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “คณะนิติราษฎร์” กลุ่มอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 7 คน ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ,นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา, นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, นายธีระ สุธีวรางกูร, น.ส.สาวิตรี สุขศรี, นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง “5 ปี รัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์” โดยมีข้อเสนอ 4 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เป็นการทำผิดกฎหมายทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และยังเป็นต้นเหตุปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จึงขอเสนอลบล้างผลพวงของรัฐประหาร โดยให้ถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลรัฐประหารเสียเปล่า ไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลทางกฎหมาย ครอบคลุม ดังนี้

1. ประกาศรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 และการกระทำใตๆ ที่มุ่งผลทางกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549 – 30 ก.ย.2549

2. รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 มาตรา 36 และ 37 ให้เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีผลทางกฎหมาย

3. คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้คำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาศัยอำนาจตาม คปค. และมีผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 โดยเฉพาะคำวินิขฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และประกาศให้เรื่องเริ่มเรื่องโดยคตส. ให้ยุติลง

การประกาศความเสียเปล่าของกระบวนการข้างต้น ไม่ใช่การนิรโทษกรรม หรืออภัยโทษ หรือล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด หากจะดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ สามารถทำได้ตามกระบวนการกฎหมายตามปกติ

ทั้งนี้ เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย คณะนิติราษฎร์ เสนอให้นำข้อเสนอข้างต้นจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้ประชาชนออกเสียงประชามติ

ประเด็นที่ 2 เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื่องจากมีปัญหาทั้งแง่ตัวกฎหมาย การบังคับใช้ และอุดมการณ์ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีการศึกษาและอภิปรายในวงกว้าง โดยเฉพาะเรื่องความสมดุสระหว่างความร้ายแรงของการกระทำความผิดกับโทษที่ควรได้รับ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักความสมควรแก่ เหตุที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 29

ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายควรรับฟังความเห็นจากประชาชนเพื่อเสนอต่อครม.ต่อไป ตามพ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553 มาตรา 19 (3)

ประเด็นที่ 3 เสนอให้กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหา หรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ภายหลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ซึ่งหลังจากรัฐประหาร ส่งผลให้อยู่ในสถานการณ์ขัดแย้งเรื่อยมา มีการชุมนุมของฝ่ายต่างๆ ใช้ความรุนแรง มีผู้ถูกกล่าวหาทำผิด มีผู้ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน จึงควรแก้ไข เยียวยาอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม

ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ควรได้ประกันตามกระบวนการที่ถูกต้องและเป็นธรรม ขณะที่การเรียกประกันหรือหลักประกันต้องไม่เกินความจำเป็นแก่กรณี ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 110 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดต้องปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 ครม.ควรออกมติให้ความช่วยเหลือหรือจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้ใด้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความขัดแข็งทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร โดยแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบโดขเฉพาะ ให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตราค่าทดแทน อาศัยตามแพวทางกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ.ค่ตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนแก่จำเลยคคีอาญา พ.ศ.2544 หรือ พ.ร.บ.สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจาการช่วยเหลือราชการการปฏิบัติงานของชาติหรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ.2543

นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรตรวจสอบการกระทำ หรือการละเลยการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา จำเลย

ประเด็นที่ 4 เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เนื่องจากฉบับ 2550 เป็นผลต่อเนื่องจากการรัฐประหาร 2549 แม้จะผ่านการทำประชามติมาแล้วก็ตาม เพราะกระบวนการยกร่างและการจัดออกเสียงประชามติ ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย

จึงเสนอให้ ครม.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้ใช้ พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นตินสยามชั่วคราว ปี 2475, รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญปี 2540 ในส่วนการประกันสิทธิและ เสรีภาพตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญมาเป็นแนวทางยกร่าง พร้อมเสพอให้จัดทำคำประกาศ ว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบบเสรีประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้การทำรัฐประหารทำลายรากฐานของนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ทั้งนี้ หากสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขแล้ว จัดให้ออกเสียงประชามติเพื่อให้ออก เสียงเห็นชอบต่อไป