วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 15, 2561

รางวัล"ทูตแห่งมโนธรรมสำนึก" ที่เพิ่งเรียกคืนจากซูจี คืออะไร? ใครเคยได้บ้างนะ?








รางวัล"ทูตแห่งมโนธรรมสำนึก" เพิ่งเรียกคืนจากซูจี คืออะไร? ใครเคยได้บ้างนะ?


13 พฤศจิกายน 2561
Amnesty International Thailand


"รางวัลทูตแห่งมโนธรรมสำนึก" คืออะไรนะ?

รางวัลทูตแห่งมโนธรรมสำนึก (The Ambassador of Conscience Award) คือรางวัลเกียรติยศสูงสุดด้านสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รางวัลนี้จะมอบให้แก่บุคคลกลุ่มคนที่ออกมาปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ต่อสู้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2003

คุ้นหน้าใครบ้าง มาดูกันเลย


2018
"โคลิน เคเปอร์นิก"


เป็นที่รู้จักและถูกพูดถึงมากขึ้น ในช่วงก่อนฤดูกาลของการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลในลีกระดับชาติ (American National Football League) ปี 2016 โคลินคุกเข่าลงระหว่างการเปิดเพลงชาติสหรัฐฯ เป็นการแสดงท่าทีอย่างเคารพเพื่อเรียกร้องให้ประเทศนี้คุ้มครองและปกป้องสิทธิของคนทั้งปวง การกระทำที่กล้าหาญเช่นนี้เป็นการตอบโต้กับการสังหารคนผิวดำจำนวนมากโดยตำรวจ กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างไม่ใช้ความรุนแรงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์


2017
"อลิเชีย คีส์" และ "กลุ่มเคลื่อนไหวพื้นเมืองในแคนาดา"


“ราชินีแห่งอาร์แอนด์บี” เจ้าของรางวัลแกรมมี 15 รางวัลคนนี้ ใช้ความสามารถและชื่อเสียงของเธอในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคมหลายอย่าง ตั้งแต่ร่วมสร้างและแสดงในหนังสั้นเรื่อง Let Me In รวมถึงร้องเพลง Hallelujah ในโอกาสวันผู้ลี้ภัยโลก เธอมีส่วนสำคัญในการรณรงค์ประเด็นผู้ลี้ภัย การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และผู้ติดเชื้อ HIV ขณะที่กลุ่มชนพื้นเมืองในแคนาดามีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมายและการศึกษาของคนชายขอบทั้งในประเทศและระดับสากล


2016
"แองเจลิก คิดโจ" และ "กลุ่มเคลื่อนไหวของเยาวชนแอฟริกัน"


แองเจลลิค คิดโจ (Angelique Kidjo) นักร้องชาวเบนิน หลายคนที่เสพเพลงฝั่งอังกฤษ อเมริกา อาจจะไม่คุ้น แต่หากจากฝั่งยุโรป และ แอฟริกาแล้ว เธอเป็น “DIVA” และถือเป็นกูรูทางดนตรี ที่น่าจับตามองเลยทีเดียว ทั้ง Kidjo รวมถึงกลุ่มองค์กรจากเซเนกัล, บูร์กินา ฟาโซและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญที่ยอดเยี่ยมและได้พิสูจน์ตัวเองให้เห็นการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนอย่างกล้าหาญ โดยใช้พรสวรรค์ส่วนตัวในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น


2015
"อ้าย เหว่ย เหว่ย" และ "โจแอน บาเอซ"


อ้าย เหว่ย เหว่ย (Ai Wei Wei) และโจแอน บาเอซ (Joan Baez) ศิลปินชาวจีนร่วมสมัยชื่อดัง ผู้ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานที่ทำให้นึกถึงสิทธิในการแสดงออกของปัจเจกชนทุกคน โดยมิใช่เพียงเพื่อสังคม แต่ทั้งเพื่อศิลปะและมนุษยธรรม ส่วนโจแอน บาเอซ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักกิจกรรม ได้ต่อสู้รณรงค์เพื่อสันติภาพ และสิทธิมนุษยชนอย่างไม่ย่อท้อมาโดยตลอด


2013
"มาลาลา ยูซาฟไซ" และ "แฮร์รี เบลาฟอนเต้"


สาวน้อยวัยอายุ 16 ปี ชาวปากีสถานที่ถูกกลุ่มกบฏตอลีบานยิงบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะเมื่อปีที่แล้วในระหว่างการรณรงค์เพื่อการศึกษาของเด็กผู้หญิงกล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้ และอยากจะถือโอกาสนี้บอกกับทุกคนว่ายังมีเด็กอีกหลายล้านคนทั่วโลกที่ต่อสู้ทุกวันเพื่อให้ได้รับสิทธิในการศึกษา และหวังว่าจากความร่วมมือจะทำให้ความฝันของเด็ก ๆ เป็นจริง

ด้าน แฮร์รี เบลาฟอนเต้ นักร้องชาวอเมริกันและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นชาวอเมริกันผิวสีคนแรกที่ได้รับรางวัล Emmy Award ได้กล่าวยกย่องเด็กหญิงชาวปากีสถานที่ได้รับรางวัลเกียรติยศคู่กับเขาในปีนี้ว่า ความชื่นชมที่เขามีต่อตัวเธอจะไม่มีวันสิ้นสุด เพราะเธอได้ปลุกให้ทั่วโลกร่วมกันต่อต้านการกระทำของผู้ไม่หวังดีและอำนาจที่ถูกกดขี่


2009
"ออง ซาน ซูจี" นักเรียกร้องประชาธิปไตยของพม่า


ภายหลังแอมเนสตี้ได้ถอนรางวัลนี้ในเดือนพฤศจิกายน 2561 โดยเลขาธิกาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า “ทุกวันนี้ เราผิดหวังอย่างยิ่งที่ท่านไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ความกล้าหาญ และการยืนหยัดปกป้องสิทธิมนุษยชนอีกต่อไป แม้จะเสียใจเป็นอย่างยิ่ง แต่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลไม่อาจรับรองสถานะของท่านในฐานะทูตแห่งมโนธรรมสำนึกอีกต่อไป เราจึงขอถอนรางวัลนี้ที่เคยมอบให้กับท่าน”


2008
“ปีเตอร์ กาเบรียล” นักดนตรี และนักกิจกรรม


ปีเตอร์ กาเบรียล “Peter Gabriel” เป็นนักดนตรีชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องนำวงเจเนซิส ซึ่งก่อตั้งวงในปี 1966 พวกเขามีผลงานอัลบั้ม 7 ชุด หลังจากนั้นกาเบรียลออกจากวงในปี 1975 มีผลงานเดี่ยว 11 อัลบั้ม มีเพลงดังอย่าง “Shock the Monkey,” “Sledgehammer,” “Big Time” และ “In Your Eyes” เขายังร่วมการทัวร์ด้านสิทธิมนุษยชนกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และร่วมก่อตั้ง Witness.org ในปี 1989 เพื่อมอบกล้องถ่ายรูปและคอมพิวเตอร์ให้กับนักเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชน และต่อมา เขาร่วมกับริชาร์ด แบรนสันก่อตั้ง Elders.org


2006
"เนลสัน แมนเดลา"


หลายคนรู้จัก เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandala) ในฐานะอดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตยเป็นคนแรก เขาเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของชาวแอฟริกาใต้ เป็นชายที่คนทั่วโลกรู้จักในนามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้ต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้

ในปี พ.ศ.2536 นิตยสารไทม์ได้ยกย่องให้เนลสันเป็นบุคคลแห่งปี ในฐานะที่เป็นผู้นำและนักปฏิวัติคนสำคัญของโลก เขาได้รับรางวัลสูงสุดคือรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อเดือนธันวาคมในปี พ.ศ.2536 ร่วมกับอดีตประธานาธิบดี เฟรเดอริค ดับเบิลยู เดอ เคลิร์ก (F.W. de Klerk) ในฐานะที่บุคคลทั้งสองได้พยายามระงับและยุติปัญหาเรื่องการแบ่งแยกสีผิว และนำประเทศแอฟริกาใต้สู่วิถีแห่งประชาธิปไตยที่คนทุกสีผิวเท่าเทียมกัน


2005
"วง U2" และ ผู้จัดการวง Paul McGuinness


ยูทู (U2) เริ่มก่อตั้งวงในปี 1976 ตั้งแต่สมาชิกในวงยังเป็นวัยรุ่น ช่วงกลางยุคทศวรรษที่ 80 พวกเขาประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติกับอัลบั้มในปี 1987 ชุด The Joshua Tree และอัลบั้มในปี 1991 ชุด Achtung Baby ในต้นศตวรรษที่ 21 ยูทู พวกเขาประสบความสำเร็จกับยอดขายอัลบั้มและได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ พวกเขายังช่วยเหลืองานสังคม อย่างเช่น ช่วยเหลือในงาน Amnesty International, Make Poverty History, การรณรงค์ ONE Campaign, Live Aid, Live 8, โบโน่ได้มีส่วนช่วยเหลือใน DATA ซึ่งย่อมาจาก Debt AIDS-Trade-Africa , และการหารายได้ช่วยเหลือทางด้านดนตรี เป็นต้น


2004
"แมรี่ โรบินสัน" และ "ฮิลด้า ทรูจิลโล"


แมรี่ โรบินสัน (Mary Robinson) อดีตประธานาธิบดีประเทศไอร์แลน และ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ former และ ฮิลด้า ทรูจิลโล (Hilda Morales Trujillo) นักกิจกรรมเพื่อสิทธิสตรีชาวกัวเตมาลา


2003
Václav Havel


นักเขียนบท นักเขียน และประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเชค