วันพุธ, เมษายน 02, 2568

รถประจำตำแหน่ง การปรนเปรอกันเองของกากี่นั้ง


LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
15 hours ago
·
ค่าเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่ง
​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ปี 2564 - 2569

วงเงินทั้งสิ้น 37,344,000 บาท

​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ที่มา : เอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เล่มที่ 15
.....

Atukkit Sawangsuk
5 hours ago
·
สตง.จ่ายค่าเช่ารถประจำตำแหน่ง 5 ปี 37 ล้าน
:
เรื่องขี้ปะติ๋วครับ ถ้าไม่ใช่เพราะ สตง.ไปไล่บี้ครู อปท. กระทั่งซื้อหอมกระเทียมทำอาหารกลางวันเด็กต้องมีใบกำกับภาษี
องค์กรอิสระจ่ายค่ารถประจำตำแหน่งระดับนี้ทั้งนั้น บางองค์กรมากกว่าด้วยซ้ำ
ระเบียบ สตง.ระบุว่า บุคคลที่จะจัดรถประจำตำแหน่งให้ ได้แก่ประธานคตง. กรรมการ (6 คน) และผู้ว่า รวมเป็น 8 คน
ปปช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้รถประจำตำแหน่งแบบเดียวกันหมดคือตามจำนวนกรรมการ+เลขาธิการ
โดยแทบทุกหน่วยงานยังมีคนขับรถประจำตัว ได้เงินเดือน 15,000 รปภ.ประจำตัว 25,000
เมื่อปี 62 ก็มีข่าวฮือฮา กกต.ซื้อรถประจำตำแหน่งใหม่ ครบอายุใช้งาน 6 ปีการจัดซื้อเทียบเท่ากับรถประจำตำแหน่งของคณะรัฐมนตรี โดยรถประธาน กกต.มีวงเงินจัดซื้อไม่เกิน 4.2 ล้านบาท กรรมการ กกต.ไม่เกิน 3.7 ล้านบาท เลขาธิการ กกต.ไม่เกิน 2.7 ล้านบาท
:
โดยระเบียบราชการแต่ดั้งเดิมนั้น รถประจำตำแหน่งในฝ่ายบริหารมี 5 ชั้น
1.นายกฯ 2.รัฐมนตรี 3.ปลัดกระทรวง 4.อธิบดี 5.รองอธิบดี
ต่อมาได้กำหนดค่าตอบแทนเหมาจ่ายให้กับข้าราชการประจำ หากไม่ต้องการใช้รถประจำตำแหน่ง ให้ปลัดกระทรวง 41,000 บาท อธิบดี 31,800 บาท รองอธิบดี 25,400 บาท (ผู้ว่า-รองผู้ว่า ได้เช่นเดียวกับอธิบดี)
ส่วนนายกฯ และรัฐมนตรี ยังใช้รถประจำตำแหน่ง
:
ข้าราชการพลเรือนนั้นไม่เท่าไหร่ เพราะมีตำแหน่งไม่มาก (แม้ตอนหลังขยายตำแหน่งกันจนแต่ละกรมมีซี 10 ได้หลายคน)
ที่มโหฬารคือทหาร
ไม่ต้องพูดถึงระดับ ผบ.ที่มีรถนำรถตาม
พลตรีถ้ามีตำแหน่งเจ้ากรม ก็ได้เทียบเท่าอธิบดี พันเอกพิเศษรอง ผบ.พล รองเจ้ากรม ก็เท่ารองอธิบดี
แล้วทหารสี่เหล่าทัพจะมีเทียบเท่าปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี กี่คน
จนบัดนี้ยังนับไม่ถูก เพราะกระทั่งจำนวนนายพลก็ยังไม่บอก
:
ที่มโหฬารบานเบอะยิ่งกว่าคือศาล
เพราะตามหลัก 3 อำนาจ ประธานศาลฎีกาเท่านายกฯ
รองประธานศาลฎีกา เท่ารัฐมนตรี
แต่บังเอิ๊น ระบบศาลเขาถือว่า ผู้พิพากษาในศาลเดียวกันเท่ากันหมด
เช่นศาลฎีกา มีประธานคนเดียวได้เงินเดือนชั้น 5 ที่ 83,090 บาท เงินประจำตำแหน่ง 55,000 บาท
ตั้งแต่รองประธาน ประธานแผนก ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือที่กลับลงมาเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค เป็นอธิบดีศาลชั้นต้น
ได้เงินเดือนชั้น 4 สูงเท่ากันหมด 81,920 บาท เงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท (มากกว่านายกรัฐมนตรีแล้วด้วยซ้ำ)
ปัจจุบันมี 100 กว่าคน ทุกท่านได้ค่าตอบแทนเหมาจ่ายรถประจำตำแหน่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง 41,000 บาท
:
เดี๋ยว ไม่ใช่แค่นั้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งได้เงินเดือนชั้น 4 เท่ากันหมด 80,540 บาท เงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาท ก็ถือว่าเทียบเท่าปลัดกระทรวง
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ปัจจุบันมี 800 กว่าคน
ก็ได้ค่าตอบแทนเหมาจ่ายรถประจำตำแหน่ง 41,000 บาทต่อคนต่อเดือน
:
นอกจากนี้ในกรณีที่ออกไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโส (อายุครบ 65 หรืออายุเกิน 60 รับราชการมาเกิน 20 ปีก็ขอออกได้)
ถ้าเป็นชั้น 4 อยู่ก่อนไม่ว่าศาลอุทธรณ์ฎีกา ออกไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโสก็จะได้ค่ารถ 41,000 บาทต่อไป
ส่วนในศาลชั้นต้น ถ้าเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ก็จะได้เท่าอธิบดีพลเรือน 31,800 บาท ถ้าเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น ได้เท่ารองอธิบดี 25,800 บาท
:
ผู้พิพากษาอาวุโสปัจจุบันมี 700 กว่าคน ประเมินว่ามีคนที่เป็นชั้นสี่อยู่ก่อน ไม่น้อยกว่า 300 คน
ดังนั้นในศาลยุติธรรม จึงมีผู้พิพากษาที่ได้ค่ารถ 41,000 บาท เท่าปลัดกระทรวง อยู่ราว 1,200 คนขึ้นไป
:
หันมาที่ศาลปกครอง เหมือนจำนวนคนจะน้อยกว่า แต่เขาถือว่า ตุลาการศาลปกครองเทียบระดับแล้วสูงกว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เพราะเปิดรับจากคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้ว
(แบบ พ.ต.อ.เข้าไปสอบตุลาการศาลปกครองกลาง )
แล้วศาลปกครองก็มีเงินเดือน 4 ชั้นเท่านั้น
ประธานได้เท่าประธานศาลฎีกา รองประธานลงมาจนถึงอธิบดีศาลปกครองชั้นต้นได้เท่ารองประธาน-ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ตุลาการศาลปกครองเงินเดือนชั้น 2 เทียบเท่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ดังนั้น ตุลาการเงินเดือนชั้น 2 ขึ้นไปจึงได้ค่าตอบแทนเหมาจ่ายรถประจำตำแหน่ง เท่าปลัดกระทรวง 41,000 บาท
:
เดี๋ยวๆ ยังไม่หมด ยังมีอัยการอีกจ้า
อัยการมีเงินเดือน 8 ชั้น สูงสุดชั้น 8 มีคนเดียวอัยการสูงสุด
ชั้น 7 ได้แก่รองอัยการสูงสุด ผู้ตรวจการอัยการ
ชั้น 6 ได้แก่อธิบดีอัยการ อธิบดีภาค รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่าย อัยการเชี่ยวชาญพิเศษ
ระเบียบอัยการ ชั้น 6 ขึ้นไปได้ค่ารถ 41,000 บาทเช่นกัน
ชั้น 5 (อัยการเชี่ยวชาญ) ได้เท่าอธิบดีพลเรือน 31,800 บาท
ชั้น 4 (อัยการจังหวัด) ได้เท่ารองอธิบดีพลเรือน 25,400 บาท
จำนวนเท่าไหร่ไม่รู้เหมือนกันแต่น่าจะเยอะพอๆ กับศาล
:
รถประจำตำแหน่งยุคแรกเริ่ม คงมีไว้เป็นเกียรติเป็นหน้าตาผู้ดำรงตำแหน่ง
แบบนายกฯ รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าฯ ต้องไปเปิดงาน ไปงานพิธีต่างๆ เลยตั้งงบไว้ให้มีรถใช้เวลาจะต้องออกงาน
โดยบุคคลสำคัญเช่นนายกฯ หรือรัฐมนตรี ยังเป็นเรื่องของการรักษาความปลอดภัย
ประธานศาลต่างๆ องค์กรอิสระ ก็น่าจะมีได้เช่นกัน
ผบ.เหล่าทัพ ก็มีการอารักขา ผบ.พล อาจจะต้องมีรถจี๊ปสิงห์ทะเลทราย ก็ได้นะ
แต่การอ้างว่า เฮ้ย เทียบตำแหน่งแล้วเท่ากัน ฉะนั้นฉันต้องมีรถบ้าง ทั้งที่ไม่มีความจำเป็น
ยิ่งพอแปลงรถประจำตำแหน่งเป็นค่าตอบแทนเหมาจ่าย
มันก็กลายเป็นเหมือนขับรถส่งลูกไปโรงเรียนส่งเมียช็อปปิ้งโดยใช้เงินหลวง
ทหาร ผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ หรือข้าราชการพลเรือน ที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถประจำตำแหน่ง ได้ค่าตอบแทนกันหมด
เคยเจอนะ ผู้พิพากษาบางท่านก็สมถะ ขับรถคันเก่า แต่รับ 41,000 บาท
แต่บางท่านก็ออกเบนซ์ บีเอ็ม รถยุโรป เพราะ 41,000 จะเอาไปทำอะไรก็ได้ เหมาจ่ายค่าผ่อนค่าซ่อมค่าน้ำมันค่าบำรุงรักษา
แต่ปัญหานี้ต่อให้มีชาติหน้าก็แก้ไม่ได้ อ้อยเข้าปากช้างไปแล้วละ

https://www.facebook.com/baitongpost/posts/9551474348267642