
Matichon Online - มติชนออนไลน์
May 30
·
“ไปนั่งอ่านประวัติศาสตร์ไทยดูดีๆ ทุกหัวเลี้ยวที่หักครั้งใหญ่ (เกิดขึ้นได้) เพราะพวกคุณ เขาต้องปรับตัวเพราะเขาอยู่กับคุณ พวกคุณซักผ้าให้เขา เทกระโถนให้เขา ปรุงก๋วยเตี๋ยวให้เขา ทำกับข้าวให้เขากิน ไม่มีพวกเรา เขาอยู่ไม่ได้ ไม่เข้าใจเหรอ?
“ดังนั้น ไม่ว่าเขาอยากจะอยู่แบบไหน เขาต้องอยู่กับเรา เราเป็น ‘ครึ่งหนึ่งของสมการประวัติศาสตร์’ และเราเปลี่ยนมันได้อย่างน้อยในครึ่งนั้น
.
อ่านทั้งหมด
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2568
สื่อต่างๆ รวมถึงมติชนสุดสัปดาห์ฉบับที่ทุกท่านกำลังอ่านอยู่ น่าจะรายงานสาระสำคัญจากการบรรยาย-อภิปรายของ “ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ” และ “รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ” ในงานเสวนา “ประชาธิปไตยบนทางแพร่ง” ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กันไปมากพอสมควรแล้ว
ในพื้นที่คอลัมน์นี้ จึงอยากนำเสนอวาทะช่วงสั้นๆ ตอนท้ายงานเสวนาดังกล่าว ซึ่งอาจารย์เกษียรสนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้ฟัง ที่รู้สึกว่าขบวนการประชาธิปไตยในสังคมไทยกำลังเดินไปถึงทางตันและประสบกับความพ่ายแพ้อีกครั้งหนึ่ง
ดังเนื้อหาต่อไปนี้
“เวลาเราแพ้ ซึ่งคนรุ่นผมก็แพ้มาในชีวิต เรื่องใหญ่ที่สุดที่เราอยากทำคือเปลี่ยนประเทศไทย หลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แล้วเราก็ทำไม่สำเร็จ หลังจากนั้น มันก็มีโอกาสทำนองนี้อยู่อีกครั้งสองครั้ง แต่เราก็รู้สึกว่า เราทำไม่ได้สำเร็จอย่างที่เราคิดเสมอ
“แล้วผมรู้สึกว่าเราก็เพิ่งแพ้ หรือคนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าตัวเองเพิ่งแพ้จากม็อบเยาวรุ่นสามกีบ
“เวลาเราเพิ่งแพ้หรือแพ้มานาน แล้วเรามองย้อนกลับไป เราจะรู้สึกว่ามันมี ‘ทางเดียว’
“ตั้งแต่ 2475 มา เห็นทางเดียว มันเดินดุ่ย ดุ่ย ดุ่ย มาตลอด ไม่มีอะไรขวางได้เลย ไม่จริง!
“เพราะว่าคนที่ชนะเขียนประวัติศาสตร์ไว้แบบนั้น เขาเฉลิมฉลองตัวเขาเองแบบนั้น เราปลื้มกับประวัติศาสตร์ฉบับนั้น เราอาจจะไม่ชอบ แต่เราเชื่อ เราเลยเห็นว่ามันเดินมาทางเดียว ไม่จริง!”

“สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ทั้งหลาย คืออย่าลืม ‘โอกาสที่คุณสูญเสียไป’ อย่าลืม ‘ทางเลือกที่แพ้ที่ถูกทำลาย’ ในประวัติศาสตร์มี (โอกาสและทางเลือกเหล่านี้) เสมอ
“ไม่ได้แปลว่ามันไม่มี ไม่ได้แปลว่าไม่มีคนอยากจะหาทางเลือกใหม่ ไม่ได้แปลว่าไม่มีคนเสียสละพร้อมกรุยทางเลือกใหม่ เขาแพ้เท่านั้นเอง เหมือนคุณเหมือนผม และเพราะเขาแพ้ เพราะเราแพ้ ดังนั้น ไม่ต้องคิดทางเลือกใหม่ ไม่ต้องหาโอกาสใหม่เหรอ?
“ไอ้แบบนั้นก็ได้ แต่คุณก็จะเห็นทางเดียว และมันไม่จริงด้วยว่าเป็นทางเดียว
“นึกออกไหม เวลาเราเห็นทางเดียว ไอ้นี่เป็นคำขวัญที่กลับตาลปัตรกับพวกฝ่ายซ้าย ซึ่งพูดว่าประชาชนสร้างประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันมาถึงจุดว่าชนชั้นนำสร้างประวัติศาสตร์ ประชาชนเป็นฝุ่น
“เขาอยากให้ประวัติศาสตร์เป็นอย่างไร เขาสร้างแบบนั้น เขาอยากเดินไปอย่างไร เขาเดินทางเดียวแบบนั้น พวกคุณไม่มีความหมายเลย จริงเหรอ?”
“ไปนั่งอ่านประวัติศาสตร์ไทยดูดีๆ ทุกหัวเลี้ยวที่หักครั้งใหญ่ (เกิดขึ้นได้) เพราะพวกคุณ เขาต้องปรับตัวเพราะเขาอยู่กับคุณ พวกคุณซักผ้าให้เขา เทกระโถนให้เขา ปรุงก๋วยเตี๋ยวให้เขา ทำกับข้าวให้เขากิน ไม่มีพวกเรา เขาอยู่ไม่ได้ ไม่เข้าใจเหรอ?
“ดังนั้น ไม่ว่าเขาอยากจะอยู่แบบไหน เขาต้องอยู่กับเรา เราเป็น ‘ครึ่งหนึ่งของสมการประวัติศาสตร์’ และเราเปลี่ยนมันได้อย่างน้อยในครึ่งนั้น
“จริงเหรอว่าเยาวรุ่นสามกีบไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย? ไม่จริงนะ คุณคิดดูดีๆ ใน (ข้อมูล) ชุดที่ ส.ส.ชยพล (สท้อนดี) ออกมาเปิดให้ผู้คนดูเรื่องไอโอทหาร สะท้อนว่าเขาตระหนักว่าบางอย่างได้เปลี่ยนไป และเพราะบางอย่างเปลี่ยนไป เขาจึงต้องปรับ
“ฉะนั้น มันไม่จริงว่าเป็นทางเดียว มันมีหลายทาง เพียงแต่ทางอื่นมันถูกปิด ถูกทำให้แพ้ แล้วมันไม่จริงว่ามันเป็นทางที่เขากำหนดฝ่ายเดียว ไม่จริง เรากำหนดได้ครึ่งหนึ่ง อย่าลืมอันนี้
“วันไหนอยากกลับบ้านไปนอนเฉยๆ แล้วหมดกำลังใจ (ให้คิดว่า) เรามีสิทธิ์กำหนดประวัติศาสตร์ครึ่งหนึ่งเว้ย! แต่ยังนึกไม่ออกว่าทำอย่างไร” •
ของดีมีอยู่ | ปราปต์ บุนปาน
https://www.matichonweekly.com/column/article_844303