วันศุกร์, มกราคม 31, 2568

เปิดมติครม.ยุคเศรษฐา สั่งตัดน้ำ-ไฟ แก้ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ จนถึงขณะนี้ ไม่คืบหน้า


สำนักข่าวอิศรา
Yesterday
·
เปิดมติครม.ยุคเศรษฐา สั่งตัดน้ำ-ไฟ แก้ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ ไม่คืบหน้า
.
“…อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กปภ.) ยังไม่เห็นการแอคชั่นในการแก้ปัญหาดังกล่าว…”
.
อ่านเพิ่มเติม :
https://www.isranews.org/.../isra.../135251-politics-37.html
#สำนักข่าวอิศรา #อิศราexclusive #ไม่อยากตกเทรนข่าวทุจริตให้ตามอิศรา

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1012992784200632&set=a.598191469014101
.....

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ค้นข้อมูลจากเว็บไซต์มติคณะรัฐมนตรี (https://resolution.soc.go.th/) พบว่า ในสมัยที่นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการ เรื่อง การปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก มติครม.เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 โดยมีเนื้อหา ดังนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า สืบเนื่องจากการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติหน้าที่ให้กับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 เกี่ยวกับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ปัญหาการพนันออนไลน์ ปัญหาการหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ และปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้ปัญหาดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่เศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ต่อเนื่อง และหลากหลายรูปแบบ

จึงขอกำชับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะกองบัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเร่งบูรณาการการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมภายใน 30 วัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ รวมถึงการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องด้วย


ครั้งที่ 2 มติครม.เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 เรื่อง การแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ตั้งบริเวณชายแดน โดยมีเนื้อหา ดังนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (๒ เมษายน ๒๕๖๗) กำชับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะกองบัญชาการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเร่งบูรณาการการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น การพนันออนไลน์ การหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ นั้น เนื่องจากผู้ก่อปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าว รวมถึงปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและอาชญากรรมจากการผลิตและลักลอบค้ายาเสพติด ส่วนหนึ่งมักตั้งฐานอยู่บริเวณชายแดนและใช้ทรัพยากรของไทย ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา และการสื่อสารในการกระทำความผิด

จึงขอให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการประปาส่วนภูมิภาค) เร่งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการระงับการให้บริการสาธารณูปโภคข้ามพรมแดน รวมทั้งให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการด้านการสื่อสารดำเนินการควบคุมการให้บริการให้อยู่เฉพาะภายในพื้นที่อาณาเขตของประเทศไทยเท่านั้น โดยมิให้มีการปล่อยสัญญาณการสื่อสารข้ามแดนไปยังพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมดังกล่าวข้างต้นเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นต่อไป



อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กปภ.) ที่ยังไม่เห็นการแอคชั่นในการแก้ปัญหาดังกล่าว

อ่านบทความเต็ม
https://www.isranews.org/article/isranews/135251-politics-37.html



ณัฐกร วิทิตานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์เลือกตั้ง อบจ. รอบนี้มันส์ พรรคการเมืองลงสู้เต็มที่เพราะอะไร เกี่ยวแค่ไหนกับการเลือกตั้งใหญ่ การต่อสู้หาเสียงเชินโยบายเริ่มเป็นกระแสหลัก

https://www.youtube.com/watch?v=bSL9ZZSw2WM

ประชาไท Prachatai.com
Yesterday
·
เลือกตั้ง อบจ. ทำไมพรรคการเมืองสู้ยิบตา-‘บ้านใหญ่’ เริ่มปรับตัว | PrachaTalk VoxPop EP.8

ณัฐกร วิทิตานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์เลือกตั้ง อบจ. รอบนี้มันส์ พรรคการเมืองลงสู้เต็มที่เพราะอะไร เกี่ยวแค่ไหนกับการเลือกตั้งใหญ่, การต่อสู้หาเสียงเชิงนโยบายเริ่มเป็นกระแสหลัก บ้านใหญ่ปรับตัวเสนอนโยบายและรุกการสื่อสารโซเชียลแค่ไหน, พื้นที่ไหนที่แดงชนส้ม น้ำเงินชนแดง , สีส้มป่วนบ้านใหญ่แนวเดิมได้แค่ไหน ฯลฯ
.
สำรวจสภาพการณ์ก่อนถึงวันเลือกตั้ง อบจ.และสมาชิกสภา อบจ. 1 ก.พ. นี้
.
อ่านต่อที่
วิเคราะห์เลือกตั้ง อบจ. จุดเริ่มต้นของการปรับตัว ความเชื่อมโยงการเมืองระดับชาติ
.
https://prachatai.com/journal/2025/01/111991



ทุนจีนสีเทา: อาชญากรรมข้ามพรมแดนที่พลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมในกัมพูชา ลาว เมียนมา และไทย


The Momentum
Yesterday
·
ไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การไหลบ่าของทุนจีนได้เปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียนอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ จากโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดยักษ์ภายใต้ เส้นทางสายไหมยุคใหม่ (Belt and Road Initiative: BRI) ไปจนถึงเม็ดเงินลงทุนที่ทะลักเข้ามาในภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมือง ‘ทุนจีน’ ถูกมองว่าเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยเติมเชื้อเพลิงให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเติบโต
.
ทว่าภายใต้โอกาสที่มาพร้อมกับเงินทุนมหาศาล กลับซ่อนเร้นปัญหาที่หลายประเทศเริ่มตั้งคำถาม ไม่ว่าจะเป็นภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น การพึ่งพาการลงทุนจากจีนอย่างหนัก หรือแม้แต่ทรัพยากรในประเทศที่เริ่มถูกควบคุมโดยทุนต่างชาติ นอกจากนี้อาเซียนยังต้องเผชิญกับ ‘ทุนสีเทา’ เครือข่ายธุรกิจที่แฝงตัวผ่านกิจกรรมผิดกฎหมาย เช่น การพนันออนไลน์ การฟอกเงิน และการคอร์รัปชัน ที่กำลังแทรกซึมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
ทุนจีนสีเทามักปรากฏในรูปแบบของการลงทุนในธุรกิจที่เราคุ้นเคย เช่น โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ร้านอาหาร และธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งดูเหมือนจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น แต่แท้จริงแล้วบางครั้งธุรกิจเหล่านี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน หรือการซ่อนความมั่งคั่งที่ได้มาจากแหล่งที่มาที่ไม่โปร่งใส เช่น การพนันออนไลน์ การค้ามนุษย์ หรือธุรกิจผิดกฎหมายในประเทศต้นทาง
.
หลังจากการปราบปรามการคอร์รัปชันภายในประเทศจีนที่ดำเนินมาอย่างเข้มข้น กลุ่มธุรกิจสีเทาจำนวนหนึ่งจึงเลือกกระจายไปตั้งรกรากในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้กัมพูชา ลาว เมียนมา รวมถึงไทย ได้กลายเป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญของกลุ่มธุรกิจสีเทาเหล่านั้น
.
เมื่อเส้นแบ่งระหว่าง ‘โอกาส’ กับ ‘ความเสี่ยง’ เริ่มพร่าเลือน คำถามสำคัญจึงเกิดขึ้นว่า ทุนจีนสีเทาได้เปลี่ยนแปลงประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และไทยอย่างไรบ้าง
.
อ่านบทความ ทุนจีนสีเทา: อาชญากรรมข้ามพรมแดนที่พลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมในกัมพูชา ลาว เมียนมา และไทย ได้ทาง https://themomentum.co/feature-chinese-scammer
.
เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน
ภาพ: เบญญทิพย์ สิทธิเวช
.
#TheMomentum #StayCuriousBeOpen #Feature #ทุนจีนสีเทา #จีนเทา #สีหนุวิลล์ #เมียวดี #คิงส์โรมัน #ทัวร์ศูนย์เหรียญ #เขตเศรษฐกิจพิเศษ #อาเซียน #จีน #สแกมเมอร์ #ทุนสีเทา #ฟอกเงิน #การฟอกเงิน

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1048434477330602&set=a.654659416708112


ยุทธศาสตร์ BCG เพิ่มอ้อย 16 ล้านไร่ เคลื่อนชาติด้วยน้ำตาล ใช้สุขภาพคนไทยเอื้ออุตสาหกรรม


The Isaan Record
Yesterday
·
ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์การปลูกอ้อย ปีการผลิต 2566/2567 ของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกอ้อย ทั้งหมด 4,960,255 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 44.58 จากพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมดทั่วประเทศ จำนวน 11,125,480 ไร่”
จากพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งภาคอีสานที่กล่าวไปข้างต้น เป็นผลพวงมาจากความพยายามของรัฐในการทำตามแผนยุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2558-2569 ซึ่งตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยจากเดิม 10.53 ล้านไร่ ในปี 2558 เป็น 16 ล้านไร่ ภายในปี 2569
นับตั้งแต่ที่รัฐได้ประกาศแผนดังกล่าว นอกจากการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่เพิ่มขึ้นแล้ว รัฐยังสนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ทั้งนี้ในแผนฯ ได้ระบุว่าต้องการเพิ่มผลผลิตน้ำตาลทราย จาก 11.14 ล้านตัน เป็น 20.36 ล้านตัน ซึ่งต้องอาศัยระบบการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมาเกิดการตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลพร้อมกับโรงงานไฟฟ้าชีวมวลอีกมากมายทั่วภาคอีสาน นี้จึงเป็นอีกเหตุปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยมากขึ้นเนื่องจากมีโรงงานรับซื้อเป็นจำนวนมากผุดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนให้เห็นว่าหากรัฐยังคงส่งเสริมการปลูกอ้อยรวมถึงการไม่ควบคุมการตั้งโรงงานเพื่อป้อนการผลิตในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลให้เติบโตต่อไปอย่างก้าวกระโดด โดยที่ไม่มีการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม (Land-use planning) จะส่งผลเสียทั้งต่อทั้งระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมโดยรวม
อ่าน: ยุทธศาสตร์ BCG เคลื่อนชาติด้วยน้ำตาล เป้าหมายเพิ่มอ้อย 16 ล้านไร่ น้ำตาล 20 ล้านตัน ภายในปี 2569 https://theisaanrecord.co/.../bio-circular-green-economy.../

https://theisaanrecord.co/2025/01/29/bio-circular-green-economy-goal-for-sugar/

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1079931804173963&set=a.621847056649109


ผู้เชี่ยวชาญชี้รัฐบาล "คิดไม่ครบ"อาจารย์จาก ม.เชียงใหม่ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ทิศทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ย้อนแย้งกันเองเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า "รัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ไม่ได้มีอำนาจนำรัฐบาลในลักษณะครองอำนาจนำได้" ต่างจากยุคก่อน ๆ



ผู้เชี่ยวชาญชี้รัฐบาล "คิดไม่ครบ" จับตาไทยตัดตอนเมืองสแกมเมอร์ชายแดนเมียนมา ผ่านการตัดไฟที่ขายโดย กฟภ.

30 มกราคม 2025
บีบีซีไทย

แม้เป็นที่ประจักษ์ว่าฐานสแกมเมอร์รอบชายแดนไทยต่างหลบเลี่ยงเขตอำนาจทางกฎหมายของไทยโดยตั้งอยู่ในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มอาชญากรรมเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหลอกลวงออนไลน์คนทั่วโลกรวมถึงไทยได้ หากขาดสิ่งอำนวยความสะดวกจากฝั่งไทย เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม สิ่งอุปโภคบริโภค อุปกรณ์การก่อสร้าง น้ำประปา ไปจนถึงไฟฟ้า ฯลฯ

ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เคยมีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 ว่าปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมไซเบอร์ และอาชญากรรมจากการผลิต รวมถึงการลักลอบค้ายาเสพติด ส่วนหนึ่งมีการตั้งฐานอยู่บริเวณชายแดนและใช้ทรัพยากรของไทยทั้งไฟฟ้า-การสื่อสารในการทำความผิด และหลอกลวงคนไทย

อดีตนายกรัฐมนตรีจึงขอให้หน่วยงานของรัฐ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ระงับการให้บริการข้ามพรมแดน และขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประสานขอความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ประกอบการด้านสื่อสารร่วมมือด้วย เพื่อลดปัญหายาเสพติด อาชญากรรมไซเบอร์ คอลเซ็นเตอร์ และปัญหาอื่น ๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

ทว่า จนถึงตอนนี้ เผือกร้อนตกมาถึง กฟภ. เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนแล้วว่าพื้นที่บางส่วนที่ขายไฟฟ้าให้นั้น เป็นฐานที่ตั้งของเหล่าสแกมเมอร์ข้ามชาติ ส่งผลให้ทาง กฟภ. ต้องออกมาแถลงข่าวเมื่อวานนี้ (29 ม.ค.) ว่าเหตุใดยังไม่สามารถระงับขายไฟได้ในทันทีอย่างที่หลายฝ่ายเรียกร้อง

กฟภ. ส่งไฟขายให้เมียนมา 5 จุด

กฟภ. ระบุว่ามีลูกค้า 22 ล้านรายทั้งในและต่างประเทศ คิดเป็นรายได้ 6 แสนล้านบาทต่อปี โดยการจ่ายไฟฟ้าไปยังเมียนมาสามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้ประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันทาง กฟภ. จ่ายกระแสไฟฟ้าให้เมียนมา จำนวน 5 จุด ดังนี้
  • บ้านเจดีย์สามองค์ – เมืองพญาตองซู รัฐมอญ บริษัท Mya Pan Investment and Manufacturing Company Limited เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
  • บ้านเหมืองแดง – เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน บริษัท อัลลัวร์ กรุ๊ป (พีแอนด์อี) เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
  • สะพานมิตรภาพไทย – พม่า – เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน บริษัท อัลลัวร์ กรุ๊ป (พีแอนด์อี) จำกัด เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
  • สะพานมิตรภาพไทย – พม่า แห่งที่ 2 อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง บริษัท Nyi Naung Oo Company Limited และ Enova Grid Enterprise (Myanmar) Company Limited เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
  • บ้านห้วยม่วง – อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง มีบริษัท Shwe Myint Thaung Yinn Industry & Manufacturing Company Limited (SMTY) เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ทาง กฟภ. ระบุว่าความเป็นมาในการขายไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านนั้นเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2539 ที่เห็นชอบให้ กฟภ. ขายไฟฟ้าในบริเวณหมู่บ้านใกล้กับเขตชายแดนของไทยเพื่อรองรับด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงชายแดนเป็นหลัก โดยไม่ต้องขออนุมัติในระดับนโยบายอีก แต่ให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อทราบ ยกเว้นมีประเด็นสำคัญด้านนโยบายใดเข้ามาเกี่ยวข้อง

การขายไฟฟ้าให้กับประเทศเมียนมาเป็นลักษณะรัฐต่อรัฐ ผ่านบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลเมียนมาเท่านั้น


เคเค พาร์ค (KK Park) เมืองสแกมเมอร์ในพื้นที่ของกองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือเคเอ็นเอ (Karen National Army-KNA) ที่ทาง กฟภ. ระงับจ่ายไฟเมื่อปี 2566

ก่อนหน้านี้ ทาง กฟภ. ได้ดำเนินการระงับการจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 2 จุด ได้แก่ ที่บ้านวังผา อ.แม่ระมาด – บ.ก๊กโก๋ อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และบ้านแม่กุใหม่ท่าซุง – อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง โดยทั้งสองจุดเป็นฐานสแกมเมอร์ในเขตอิทธิพลของกองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยงหรือกะเหรี่ยง BGF (Karen Border Guard Force-Karen BGF) นำโดย พ.อ.ชิต ตุ ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือเคเอ็นเอ (Karen National Army-KNA)

เนื่องจากทางรัฐบาลเมียนมาไม่ต่อสัมปทานให้กับบริษัท SMTY ซึ่งมีนายทหารของกองกำลัง KNA เป็นเจ้าของ ทำให้ทาง กฟภ. ไม่สามารถขายไฟฟ้าให้ต่อได้

ผลการระงับสัมปทานดังกล่าวเกิดขึ้นหลังรัฐบาลจีนหารือกับรัฐบาลทหารเมียนมา เพื่อจัดการปัญหาอาชญากรรมที่ใช้ชายแดนเมียนมาเป็นฐานหลอกลวงชาวจีนผ่านช่องทางออนไลน์

นอกจากนี้ในปี 2567 ทาง กฟภ. ยกเลิกการขายไฟฟ้าบริเวณ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย – เมืองพงษ์ จ.ท่าขี้เหล็ก เนื่องจากคู่สัญญาผิดนัดชำระค่าไฟฟ้า

กฟภ. แถลง "ไม่สามารถทำอะไรได้บุ่มบ่ามโดยพลการได้"

ในการแถลงข่าว เมื่อ 29 ม.ค. กฟภ. ออกมากล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการใช้เหตุผลเรื่องความมั่นคงมาพิจารณาตัดไฟคู่สัญญาที่ซื้อไฟฟ้าจากองค์กร แต่นายประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ รองผู้ว่า กฟภ. ก็บอกด้วยว่าสามารถทำได้หาก "หน่วยงานความมั่นคง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม สำนักนายกรัฐมนตรี มีหลักฐานซึ่งมีการประสานงานกัน [กับ กฟภ.] มีหลักฐานเชิงประจักษ์" ทาง กฟภ. จึงจะพิจารณาระงับจ่ายไฟฟ้าได้

ท่าทีเช่นนี้เสริมด้วยคำพูดของนายประดิษฐ์ เฟื่องฟู รองผู้ว่า กฟภ. ในฐานะโฆษก กฟภ. ที่ออกมาบอกว่า "เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน" และทางองค์กรไม่ทราบว่าในจำนวนลูกค้า 22 ล้านราย มีลูกค้ารายใดบ้างที่นำไฟฟ้าไปใช้ในทางผิดกฎหมาย แต่หากทราบว่าลูกค้ารายใดกระทำผิดสัญญาการซื้อขาย เช่น ลักลอบขโมยไฟฟ้าไปใช้ ไม่ชำระค่าไฟฟ้าตามที่กำหนด หรือพบว่าเป็นความมั่นคงต่อประเทศ ทาง กฟภ. ก็สามารถยกเลิกสัญญาได้

"เราคงไม่มีหน้าที่โดยตรงที่จะเข้าไปตรวจสอบว่าใครกระทำความผิด แล้วก็ตัดไฟ อันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เราต้องตระหนักดีว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่สามารถทำอะไรได้บุ่มบ่ามโดยพลการได้ เราเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มี governance (ธรรมาภิบาล) ที่ดี ยึดหลัก Compliance (ปฏิบัติตามกฎระเบียบ) เราจึงต้องตรวจสอบข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่สามารถใช้คำบอกกล่าวโดยไม่มีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยัน" นายประดิษฐ์ กล่าว

ส่วนนายประสิทธิ์เสริมว่าทาง กฟภ. ต้องหารือต่อว่าคำนิยามของคำว่า ความมั่นคง คืออะไร เพราะที่ผ่านมาทางองค์กรไม่เคยใช้เงื่อนไขนี้ในการพิจารณาตัดไฟคู่สัญญามาก่อน

สำนักข่าวมติชนรวมถึงสื่อหลายสำนักของไทยรายงานตรงกันว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล กฟภ. ออกมาให้สัมภาษณ์หลังการแถลงของ กฟภ. ว่า "หากหน่วยงานความมั่นคงระบุว่าการจำหน่ายไฟฟ้าไปให้ มันเป็นภัยต่อความมั่นคง ก็พร้อมจะตัดไฟทันที"

ทั้งนี้ เขาชี้ให้เห็นด้วยว่าการพิจารณาตัดไฟฟ้าต้องคำถึงเหตุผลด้านมนุษยธรรมด้วย เนื่องจากในพื้นที่ที่ไฟฟ้าของไทยไปถึงนั้นก็ประกอบด้วยโรงเรียนและสถานพยาบาลต่าง ๆ ด้วย

"ขอให้หน่วยงานความมั่นคงไปสอบถาม เพราะเป็นผู้ประสานงาน และหน่วยงานความมั่นคงประเมินแล้วว่ามีการนำไฟฟ้าไปใช้อย่างผิดกฎหมายและเพื่อความเดือดร้อนของคนไทย แจ้งปุ๊บเราหยุดเลย มันหยุดง่ายมากนะ กดปุ่มปุ๊ปก็หยุดเลย เราพร้อมอยู่แล้ว แต่ต้องสั่งมา" มติชนรายงานคำสัมภาษณ์ของนายอนุทินที่พยายามเน้นย้ำด้วยว่า "อย่ามาบอกว่ากระทรวงมหาดไทยไม่ทำอะไรเลย"


สถานบันเทิงครบวงจรและกาสิโนที่ตั้งอยู่ใน อ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามชายแดนแม่สอดของไทย

ในวันเดียวกัน นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อจากพรรคประชาชน (ปชน.) ออกมาให้ความเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเขาว่า บางทีสาเหตุการที่ กฟภ. ไม่ยอมตัดไฟ อาจไม่ใช่เรื่องกฎหมายหรือต้องไปถามหน่วยงานความมั่นคงก่อน เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดว่า กฟภ. ต้องถามใคร หากจะตัดไฟ

"แต่คงเป็นเพราะผลประโยชน์ที่เมียวดีมันเยอะ หลายกาสิโนเป็นของคนไทย หากไฟฟ้าถูกตัดแล้ว ธุรกิจพวกนี้คงจะเสียหายไม่น้อย" พร้อมกับแสดงรายชื่อกาสิโนในเมียวดีที่มีเจ้าของเป็นคนไทย จำนวน 17 แห่ง

"ไม่เคยคิดว่าคุณอนุทินจะอาการหนักได้ขนาดนี้ แบกได้แม้กระทั่งคอลเซ็นเตอร์" นายรังสิมันต์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ นายรังสิมันต์โรมเคยออกมาเปิดเผยในการอภิปรายเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมาด้วยเช่นกันว่า ไทยขายไฟให้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด 18 จุด ไม่ว่าจะเป็นจุดขายไฟบริเวณชายแดนอรัญประเทศที่ติดกับเมืองปอยเปต ประเทศกัมพูชา หรือจุดบ้านห้วยเกี๋ยง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่อยู่ตรงข้ามกับเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำที่มีบริษัทดอกงิ้วคำของนายจ้าว เหว่ย เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากประเทศลาว เป็นต้น

ความย้อนแย้งในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ของรัฐบาลเพื่อไทย

ก่อนหน้าการแถลงของ กฟภ. เพียงวันเดียว คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ที่มีอยู่เดิม ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า พ.ร.ก.ไซเบอร์

สาระสำคัญในเนื้อหาร่าง พ.ร.ก. ดังกล่าว คือ เพิ่มมาตรการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์และมิจฉาชีพ โดยเพิ่มหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐหรือผู้ให้บริการหมายโทรศัพท์ในการสั่งระงับหรือยกเลิกการให้บริการเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ถูกใช้ หรืออาจถูกใช้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมกับกำหนดขั้นตอนหรือกระบวนการพิจารณาโดยเฉพาะเพื่อให้การคืนเงินแก่ผู้เสียหายให้เป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และเพิ่มโทษการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล

รศ.ดร.ทศพล ทรรศนพรรณ หัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เขาเห็นความพยายามอุดช่องโหว่เรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์จาก ร่าง พ.ร.ก. ไซเบอร์ที่ ครม. เห็นชอบล่าสุด แต่เมื่อไม่พบการเพิ่มมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการตัดไฟ น้ำประปา โทรคมนาคม รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ถูกลำเลียงไปหล่อเลี้ยงเมืองอาชญากรรมรอบชายแดนไทย ก็สะท้อนให้เห็นว่า "รัฐบาลคิดไม่รอบด้านหรือทีมงานที่ปรึกษาของรัฐบาลยังคิดไม่ครบ"


เมืองชเวโก๊กโก่ อีกหนึ่งฐานสแกมเมอร์ที่ถูกระงับจ่ายไฟจาก กฟภ. เมื่อปี 2566 ด้วยเช่นกัน

เขากล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาเหตุผลที่ทาง กฟภ. อ้างว่ายังไม่มีสัญญาณจากฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายความมั่นคง ก็เป็นเหตุผลที่ขัดกันเอง เนื่องจาก กฟภ. เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมาด้วย และร่วมเห็นชอบกับหลักการแก้ไขร่าง พ.ร.ก.ไซเบอร์ ดังกล่าว

"ส่วนที่อ้างเรื่องการผิดสัญญาหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผมมองว่าอ้างไม่ค่อยขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยตัด แม้อ้างว่ารัฐบาลฝั่งนู้นขอให้ตัด แต่พอวันนี้บอกว่ายังไม่มีคำขอมา ก็เลยไม่ตัด ผมก็มองว่าเราต้องมาดูผลกระทบต่อประเทศเราเองหรือเปล่า" เขากล่าว "และในฐานะประเทศอาเซียน เราก็ตกเป็นเป้า ถูกเพ่งเล็งด้วยซ้ำว่าประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหรือเป็นผู้แก้ไขปัญหา เพราะเมืองอาชญากรรมที่ใช้ไฟฟ้าของเราได้สร้างปัญหาไปให้กับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนด้วยเช่นกัน"

รศ.ดร.ทศพล กล่าวต่อว่า หากมองเรื่องนี้เป็นความมั่นคง รัฐควรชั่งน้ำหนักใน 2 หลักใหญ่ว่าการตัดไฟครั้งนี้จะช่วยลดความได้เปรียบขององค์กรอาชญากรรมที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่ รวมถึงสร้างความได้เปรียบให้กับรัฐไทยในการบีบให้กลุ่มอาชญากรดำเนินกิจกรรมได้มากแค่ไหน

นอกจากนี้ หากมันเกิดผลกระทบต่อโรงเรียนหรือสถานพยาบาลอย่างที่หลายฝ่ายกล่าวอ้าง ส่วนตัวเขาก็มองว่า ถ้าสัดส่วนของผลกระทบมีน้อยกว่าผลกระทบต่อกลุ่มอาชญากร มันก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่ทางการไทยจะต้องดำเนินการระงับจ่ายไฟฟ้าให้กับพื้นที่ดังกล่าว

อาจารย์จาก ม.เชียงใหม่ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ทิศทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ย้อนแย้งกันเองเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า "รัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ไม่ได้มีอำนาจนำรัฐบาลในลักษณะครองอำนาจนำได้" ทั้งที่ในยุคก่อน ๆ มักพบว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยมักมีจุดเด่นเรื่องการทำงานแบบบูรณาการอำนาจต่าง ๆ มาได้โดยตลอด

เขาหยิบยกการแก้ไข พ.ร.ก.ไซเบอร์ ที่มาจากกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งกุมเก้าอี้โดยพรรคเพื่อไทยที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่ออุดช่องโหว่ต่าง ๆ จากอาชญากรรมออนไลน์ ทว่าท่าทีจากกระทรวงมหาดไทยที่ครองโดยพรรคภูมิใจไทยนั้น แม้ไม่ได้คัดค้าน แต่ก็ไม่ได้ตอบสนองอย่างแข็งขัน

"พอ [กระทรวงมหาดไทย] อยู่ภายใต้การกำกับของพรรคอื่น เขาไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายตรงนี้ได้ มันจึงสะท้อนสเถียรภาพและอำนาจนำของพรรคเพื่อไทยในการขับเคลื่อนรัฐบาล" รศ.ดร. ทศพล กล่าว

https://www.bbc.com/thai/articles/c4gxw56dlx1o


ขรก.ที่ไม่ต้องรอให้ใครสั่ง ให้ประชาชนเสนอสิ่งดีมาแล้วลงมือทำมีจริง

https://www.facebook.com/terasphere/posts/10160529148456809
Theerapat Charoensuk
11 hours ago
·
ขรก.ที่ไม่ต้องรอให้ใครสั่ง ให้ประชาชนเสนอสิ่งดีมาแล้วลงมือทำมีจริง

Kamonwan Ma-bd
January 28
·
ส่งรูปท่อระบายน้ำแบบตาข่ายของออสเตรเลียไปใน traffy fondue ขอชมเชย รวดเร็ว ถ้าขยายผลแบบจริงจังก็น่าจะช่วยอะไรได้บ้าง















เกลือกินคน : ผลกระทบจากเหมืองโปแตช ทำชาวด่านขุนทดสูญไร่นา



30 มกราคม 2568
ประชาไท
พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม รายงาน
ภาพ สภาพพื้นที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองโปแตชถ่ายเมื่อปี 2565

ในขณะที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากเหมืองโปแตชในอ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ยังไม่รู้ว่าจะได้รับการแก้ไขเพียงไร แต่หน่วยงานรัฐกลับออกใบอนุญาตให้บริษัทเอกชนรายเดิมอย่าง “ไทยคาลิ” ภายใต้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่าง “บางจาก” ในการเปิดอุโมงค์ขุดเจาะใหม่

จากผลกระทบของเหมืองที่ไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมแต่ยังทำให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบไร่นาเสียหายไปด้วยจนต้องมาชุมนุมกันที่กรุงเทพเพื่อเรียกร้องให้ระงับใบอนุญาต จนกว่าการตรวจสอบปัญหาเดิมจากคณะกรรมการที่รัฐเองก็เป็นตั้งขึ้นมาเสร็จสิ้น

เกลือเกาะบนกิ่งไม้จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองโปแตชของบริษัทที่ถูกนำมาจัดแสดงในส่วนหนึ่งของการชุมนุม

เมื่อวานนี้(29 ม.ค. 2568) กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดยังคงปักหลักชุมนุมเป็นวันที่ 3 เพื่อเรียกร้องให้ชะลอการระเบิดเปิดอุโมงค์เพื่อทำเหมืองโปแตชที่อ.ด่านขุดนทด จ.นครราชสีมา ที่กรมการเหมืองแร่และอุตสาหกรรม แม้ว่าทางราชการจะยังไม่ให้คำตอบหรือสัญญาณในการแก้ปัญหาร่วมกับประชาชน

การมาชุมนุมที่กระทรวงอุตสาหกรรมในครั้งนี้ กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดต้องการให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีคำสั่งระงับการเจาะอุโมงค์อันใหม่ เพื่อทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อมนุษย์ รวมถึงเยียวยาประชาชนในพื้นที่ และทำงานคู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจากปัญหาเกลือที่ไหลออกจากดินและน้ำจน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบไปมากกว่านี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันกรณีบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าครอบครองกิจการเหมืองแร่โปแตชของบริษัท ไทยคาลิ จำกัด ซึ่งเดิมทีบริษัทไทยคาลิถูกตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบแล้วแต่ยังไม่มีผลตรวจสอบออกมา

รัฐยังตรวจสอบไม่เสร็จแต่ยังออกใบอนุญาตใหม่


ภาพจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดขณะลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเมื่อปี 2565

จุฑามาศ ศรีหัตถผดุงกิจ ที่ปรึกษากลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดอธิบายว่า คณะกรรมการที่จังหวัดและ กพร.ร่วมกันตั้งขึ้นมาเมื่อพฤษภาคม 2567 คณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วยสัดส่วนคณะกรรมการมีแต่ทางฝั่งของเหมือง ส่งผลให้ขาดความคิดเห็นและข้อเท็จจริงจากฝั่งประชาชนที่ได้รับผลกระทบทำให้ทางกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดร้องเรียนไปทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนนำมาสู่การชุมนุมวันที่ 20 มีนาคม 2567 และได้ข้อตกลงร่วมกันว่าจะต้องมีคณะกรรมการของจังหวัดและ กพร.จะต้องมีประชาชนที่เป็นผู้เสียหายร่วมเป็นกรรมการด้วยตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2567

ที่ปรึกษาของกลุ่มกล่าวว่า แม้จะมีคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบปัญหาของเหมืองแห่งนี้แล้ว แต่ กพร.กลับไม่รอผลการตรวจสอบและอนุมัติแผนผังการเปิดอุโมงค์ของเหมืองจึงทำให้กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดต้องเดินทางมาเพื่อยื่นหนังสือแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ตน และต้องการให้กระทรวงอุตสาหกรรมและ กพร.ระงับการอนุญาตให้ทางบริษัทดำเนินการต่อจนกว่าผลการศึกษาผลกระทบจะสำเร็จเรียบร้อย


ตัวอย่างเกลือที่เกาะอยู่บนผิวดินของกลุ่ม ฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด

จุฑามาสกล่าวถึงผลกระทบที่ประชาชนในพื้นที่ต้องประสบว่า เจอทั้งดินเค็ม ดินแห้ง และน้ำที่เอ่อล้นออกจากอุโมงค์เก่าที่เหมืองเจาะและดูดน้ำออกมาไว้ที่บ่อพักน้ำ โดยไม่มีการป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมลงไปในชั้นผิวดินจึงทำให้สารโลหะหนักและมลพิษต่างๆ กระจายออกไปทั่วบริเวณ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเสียหาย ทั้งภาคการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงคุณภาพชีวิตและสุขภาพเช่นกัน

ที่ปรึกษาของกลุ่มย้ำข้อเรียกร้องว่าจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด บริษัท บางจาก จำกัด มหาชนจะต้อง หยุดใช้แผนผังอุโมงค์อันใหม่ที่เป็นแนวดิ่ง แล้วไปสืบสวนหาต้นตอของปัญหาน้ำรั่วซึมจากบ่อพักน้ำของบริษัท ไทยคาลิ จำกัด และแก้ปัญหาให้เสร็จ รวมถึงชดเชยระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพี่น้องที่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้แผนผังอุโมงค์อันใหม่แนวดิ่งที่ต้องใช้ระเบิดในพื้นที่ชุมชน
น้ำท่วม ดินเค็ม จนนาล่ม


ภิรมย์ มืดขุนทด สมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด กับกองเกลือบนผิวดินในพื้นที่ที่ทางกลุ่มผู้ชุมนุมนำมา

“เสียหายทั้งรายได้ ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และเสียความรู้สึกที่ต้องได้รับความไม่ยุติธรรม” ภิรมย์ มืดขุนทด สมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดได้เล่าทั้งน้ำตา

ภิรมย์เล่าต่อว่า ตนเองได้ปลูกข้าวขายมาตลอด บนที่ดินของปู่ ได้ข้าวสารปีละ 30-40 กระสอบ จนกระทั่งเหมืองได้เข้ามาและเริ่มมีการปล่อยน้ำเสียให้รั่วซึมออกมาท่วมที่นาของตนในปี 2558

“ปีนั้นตอนที่กลับบ้านไปเกี่ยวข้าว เราน้ำตาไหลเลย ข้าวมันลีบแบน เอาไปสีก็ไม่ได้เป็นข้าวสาร” เธอเล่าว่าเมื่อเหมืองของบริษัท ไทยคาลิปล่อยน้ำเค็มจากบ่อแล้วบริษัทก็ไม่สามารถควบคุมน้ำที่ล้นออกจากเหมืองจนมาท่วมที่ดินโดยรอบของประชาชน และทำให้ปู่ของภิรมย์และเจ้าของที่รอบๆเหมืองทยอยขายที่ดินตน

“กลับไปเกี่ยวข้าว น้ำสูงถึงเอวเรา ต้องใช้กาละมังค่อยๆ เก็บเกี่ยว” ภิรมย์เล่าให้เห็นภาพว่าน้ำที่เข้าท่วมที่นาสูงถึงประมาณ 1 เมตรเศษ จนไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนทำนาต่อจากนั้นมีตัวแทนจากเหมืองมาเสนอให้ขาย โดยจะซื้อราคาไร่ละ 10,000 บาท โดยครอบครัวภิรมย์มีที่นา 7 ไร่ แต่ก็ต้องจำใจขาย เพราะตัวแทนเหมืองอ้างว่า หากไม่รีบขาย จะไม่รับซื้อและไม่รับผิดชอบผลที่จะตามมา

“ทุกวันนี้เวลากลับไปดูที่เรา มันแห้งแตก บางจุดเป็นโคลน บางจุดมีน้ำเดือดซึมออกมาจากดิน” ภิรมย์กล่าวทิ้งท้ายพร้อมน้ำตา

จุฑามาศอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่เหมืองโปแตช จังหวัดนครราชสีมา ตอนนี้ดินได้เปลี่ยนไป เกิดการก่อตัวของเกลือบนชั้นผิวดิน เนื่องจากการสูบน้ำใต้ดิน ทำให้ดินแปรปรวนไม่สามารถเพาะปลูกได้และเกลือจำนวนมากขึ้นมาอยู่บนผิวดินและยังไม่มีวิธีการที่จะทำให้เกลือหยุดแพร่กระจายออกมาบนดินได้และยังส่งผลต่อบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่มีสะเก็ดเกลือเกาะอยู่ตามผนังบ้านที่เป็นปูนและไม้ สัตว์เลี้ยงเช่นวัวและ ควาย ทยอยลงตาย ต้นไม้และดินเกิดการจับตัวของเกลือ และยังเกิดการแทรกซึมของเกลือจากบ่อพักน้ำของบริษัท ไทยคาลิ จำกัดซึ่งไม่มีแผ่นยางปูรองเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่ดูดออกจากอุโมงค์รั่วซึมออกไปด้านนอก รวมถึงโลหะหนัก จึงส่งผลให้ไม่สามารถใช้น้ำได้ตามปกติแทน

สามเหลี่ยมลิเทียมในอเมริกาใต้อาจเป็นภาพอนาคตของด่านขุนทด

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้อำนวยการโครงการกฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อชุมชน (G'law) และเป็นที่ปรึกษากลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดได้ยกตัวอย่างถึงกรณี เหมืองโปแตชในโบลิเวีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่ถูกเรียกว่าสามเหลี่ยมลิเทียมในที่ราบสูงบนเทือกเขาแอนดีสซึ่งครอบคลุมไปถึงอีก 2 ประเทศคือ ชิลี และอาร์เจนตินาที่สร้างผลกระทบต่อผิวดินและใต้ดิน

เลิศศักดิ์อธิบายว่า เหมืองได้แย่งชิงน้ำในชั้นใต้ดินมาสกัดเอาแร่ลิเทียมที่ปะปนอยู่กับโปแตชโดยการตากทำให้เกลือปริมาณมากออกมาจากชั้นใต้ดินมาเกาะบนผิวดินเป็นปริมาณที่มากเกินกว่าชนเผ่าพื้นเมืองจะสามารถใช้ที่ดินทำการเกษตรและเพาะปลูกได้ ไปจนถึงทำให้ผิวดินแห้งแล้วและดินทรุดตัวไปจนถึงมีโลหะหนักปนเปื้อนทั้งบนดินและน้ำทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจนชาวบ้านไม่สามารถใช้ชีวิตตามเดิมได้อีกผอ. G'law กล่าวว่า บริษัท บางจาก เองยังเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทที่ทำเหมืองในสามเหลี่ยมลิเทียมนี้ด้วย แม้ตัวบริษัทจะพยายามสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นองค์กรสีเขียว มีธรรมภิบาล แต่กลับลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และยังเข้ามาครอบครองกิจการเหมืองแร่โปแตชของบริษัท ไทยคาลิ จำกัดต่อ

เลิศศักดิ์ได้ตั้งคำถามทิ้งท้ายไว้ว่า การกลับมาซื้อหุ้นครอบครองกิจการของ บริษัท ไทยคาลิ ในราคา 3,300 ล้านบาทของบริษัทบางจาก ด้วยการซื้อสัมปทานและใช้ผลรายงาน EIA ฉบับเดิม จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าจริงๆ แล้ว บริษัท บางจาก อาจต้องการมากกว่าแค่แร่โปแตช แต่อาจต้องการฟอกเขียวด้วยการสกัดแร่ลิเทียม และอาจตามมาด้วยอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงานแบตเตอรี่ จนอาจซ้ำรอยสามเหลี่ยมลิเทียมในอเมริกาใต้ และเป็นการเอาทรัพยากรธรรมชาติสาธารณะไปเป็นกำไร และให้ประชาชนสาธารณะรับต้นทุนคือความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมแทน

เลิศศักดิ์ กล่าวว่าบริษัท บางจาก จำกัด มหาชนได้ออกตัวว่าจะเป็นบริษัทที่สร้างพลังงานสีเขียวแต่กลับซื้อหุ้น 65% ของบริษัท ไทยคาลิ จำกัด ทำให้สถานะของบริษัท บางจาก จำกัด มหาชนคือเจ้าของธุรกิจ ตลอดเวลาที่บริษัท บางจาก จำกัด มหาชนได้ถือหุ้นของบริษัท ไทยคาลิ จำกัด ไม่เคยมีการผลิตปุ๋ยเพื่อเกษตรกร แต่กลับพยายามใช้ระเบิดเปิดอุโมงค์เพื่อทำเหมืองแร่ลิเทียม จึงมองว่าการทำธุรกิจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบและต้องถูกลงโทษทางสังคมอย่างรุนแรงเพื่อชดใช้ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในพื้นที่


ชาวอาเจนตินาที่กับตัวอย่างเกลือจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด

ระหว่างที่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดทำกิจกรรมเดินทางไปที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท บางจาก คอเปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่อาคารเอ็ม ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิทย่านพระโขนง ได้มีกิจกรรมแจกตัวอย่างแผ่นเกลือที่เกาะอยู่บนผิวดินให้กับประชาชนที่ให้ความสนใจ

ชายจากอาร์เจนตินาคนหนึ่ง(ไม่ประสงค์ออกนาม) ที่พบบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบางจากได้เข้ามาซักถามเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดเมื่อได้ทราบถึงเรื่องราวของกลุ่ม เขากล่าวว่าเขารู้สึกตกใจที่ในไทยมีการทำเหมืองโปแตช เพราะที่สามเหลี่ยมลิเทียมซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในประเทศของเขาได้สร้างผลกระทบเรื่องปัญหาดินทรุดและการขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก และเขาได้ให้ความเห็นว่ารัฐบาลทุกประเทศควรตระหนักเรื่องภาวะโลกร้อนและหยุดการทำอุตสาหกรรมที่ทำให้ปัญหาโลกร้อนยิ่งหนักขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมลิเทียมตกใจ

ชายอาร์เจนตินาคนดังกล่าวยังบอกอีกว่า ที่ประเทศของเขา ชนพื้นเมืองและประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณนั้นได้อีกต่อไป นอกจากจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ยังเป็นการทำลายสิทธิ์การมีที่อยู่อาศัยในฐานะประชาชนที่อยู่มาก่อนการเกิดเหมือง และที่สำคัญ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาเป็นจังหวัดที่สวยงาม เขาเองได้เคยไปเที่ยวที่ด่านขุนทดมาก่อน จึงไม่คาดคิดว่าจะมีการทำอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษร้ายแรงเช่นนี้เกิดขึ้น

จากนั้นการชุมนุมของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดเดินทางไปถึงสำนักงานใหญ่ของบริษัท บางจาก เพื่อยื่นหนังสือเล่าถึงผลกระทบและข้อเรียกร้องให้บริษัทบางจากถอนหุ้นออกจากบริษัทไทยคาลิทั้งหมด แต่ไม่มีตัวแทนจากบริษัทที่มีอำนาจและสามารถตัดสินใจได้มารับหนังสือ การยื่นหนังสือวันนี้ของฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดไม่สำเร็จ ทางกลุ่มจึงแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการเผาหนังสือแทน

ต่อมาในช่วงบ่ายกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดเดินทางไปต่อที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจของบริษัทบางจากทาง กลต.ให้เลขาธิการกลต.เป็นผู้แทนมารับหนังสือและรับปากว่าจะนำไปตรวจสอบตามข้อเท็จจริง เมื่อตรวจสอบเสร็จจะออกหนังสือแจ้งกลับมาให้กับกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดทราบ

https://prachatai.com/journal/2025/01/112048


“เวลาคุณทำกิจกรรมก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าขาข้างหนึ่งอยู่ในคุกแน่ ๆ” คำกล่าวจากอดีตผู้ถูกคุมขังคดีมาตรา 112 เป็นเครื่องยืนยันว่าการถูกดำเนินคดีโดยรัฐเป็นสิ่งที่มักอยู่คู่กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยเสมอ นิสิตนักศึกษา ชวนทำความรู้จักกับ ‘คดีทางการเมือง’ ผ่านเรื่องราวของผู้ได้รับผลกระทบและผู้เกี่ยวข้อง


นิสิตนักศึกษา
12 hours ago
·
“เวลาคุณทำกิจกรรมก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าขาข้างหนึ่งอยู่ในคุกแน่ ๆ” คำกล่าวจากอดีตผู้ถูกคุมขังคดีมาตรา 112 เป็นเครื่องยืนยันว่าการถูกดำเนินคดีโดยรัฐเป็นสิ่งที่มักอยู่คู่กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยเสมอ ความผิดจากการเรียกร้องทางการเมืองเหล่านี้ถูกเรียกว่า ‘คดีทางการเมือง’

นิสิตนักศึกษา ชวนทำความรู้จักกับ ‘คดีทางการเมือง’ ผ่านเรื่องราวของผู้ได้รับผลกระทบและผู้เกี่ยวข้อง ในมิติที่ของการต้องพรากจากกับคนรักและแสงสว่างสู่ทางออกแห่งความขัดแย้งที่ชื่อ ‘นิรโทษกรรม’

อ่านบทความ ‘พรากจาก-ติดคุก-ลี้ภัย : เปิดผลกระทบ 'คดีทางการเมือง' และความหวังบนเส้นด้ายที่ชื่อ 'นิรโทษกรรม'’ ฉบับเต็มได้ที่ https://nisitjournal.press/.../politicalcaseandamnestyact/

#NISITJOURNAL #NISITJOURNAL2024 #นิสิตนักศึกษา #ด้วยรักและนึกถึง #คดีทางการเมือง #นิรโทษกรรม

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1285154693125469&set=a.607038260937119


ปัญหาจุดอ่อนของฉันทมติ 112


ปัญหาจุดอ่อนของฉันทมติ 112

PITVNEWS

Jan 24, 2025

ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ฉันทามติเชิงนิเสธ (negative consensus) 
ฉันทมติที่เปราะบาง (fragile consensus) 
ฉันทมติที่ทอนกำลัง (dissipative consensus) 
จำกัดอำนาจอธิปไตยเร้นลับ (deep sovereignty or the men behind, beside and above the scene) 
กำกับควบคุมกลไกความรุนแรงของรัฐให้รัดกุมเป็นเอกภาพ 

วงเสวนา “ทางออกของสังคมการเมืองไทยจากเส้นทางความรุนแรง” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568

https://www.youtube.com/watch?v=zCm3f9Nsg8M


ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ มาตรา 112 ทันที


Pipob Udomittipong
9 hours ago
·
“ตามฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงพระมหากษัตริย์ และสนับสนุนการปฏิรูปสถาบันของรัฐใดๆ รวมถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสันติ” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
“กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่มีที่ยืนในสังคมประชาธิปไตย”
“รัฐบาลไทยต้องทำให้ประมวลกฎหมายอาญา สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของตนเอง”

May Poonsukcharoen
13 hours ago
·
วันนี้ (30 ม.ค.)UN ออกแถลงการณ์บอกให้ไทยยกเลิกมาตรา 112 เพราะว่า ตามกฎหมายระหว่างประเทศบุคคลมีสิทธิในการวิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งรวมถึงพระมหากษัตริย์ และมีสิทธิในการรณรงค์อย่างสันติเพื่อปฏิรูปองค์กรสาธารณะ รวมถึงสถาบันกษัตริย์
UN พูดถึงปัญหาของมาตรา 112 ที่ตั้งแต่ปี 2563 มีคนถูกดำเนินคดีไปมากกว่า 270 คน ทาง UN ติดตามและแสดงความห่วงกังวลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเคสอานนท์ซึ่งเคยมีความเห็นว่าเป็นการควบคุมตัวไม่ชอบ(arbitrary detention )พร้อมทั้งบอกว่ากฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ไม่มีที่ทางในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย
UN เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
“Under international law individuals have the right to criticise public officials, including a King, and to advocate peacefully for the reform of any public institution, including the monarchy,” the experts said.
“Lèse-majesté laws have no place in a democratic country,”
“The Thai Government must bring the criminal code in line with international laws to meet its own human rights obligations,” they said.
อ่านโดยละเอียดที่นี่จ้า https://www.ohchr.org/.../thailand-must-immediately...

https://www.facebook.com/pipob.udomittipong/posts/10162133963386649

.....

TODAY
12 hours ago
·
ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ
เรียกร้องประเทศไทย
ยกเลิก ม.112 ทันที
.
สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เผยแพร่ความเห็นจากคณะผู้เชี่ยวชาญในวันนี้ (30 ม.ค.) โดยเรียกร้องให้ทางการไทย ยกเลิก ม.112 ทันที
.
คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยผู้รายงานพิเศษด้านต่างๆ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติตั้งขึ้น ให้เหตุผลว่า การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่การคุมขังนักกิจกรรมและนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างจริงจัง
.
คณะผู้เชี่ยวชาญระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่สาธารณะ รวมถึงกษัตริย์ รวมถึงเสนอให้เกิดการปฏิรูปสถาบันต่างๆ รวมถึงสถาบันกษัตริย์ ด้วยแนวทางสันติ
.
นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ยังระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย ทั้งรุนแรงและกำกวม เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจอย่างกว้าง จนนำไปสู่การคุมขัง ดำเนินคดีและลงโทษผู้คนกว่า 270 คน ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา และส่วนมากพวกเขาถูกศาลตัดสินจำคุกป็นระยะเวลานาน
.
ความเห็นของคณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติระบุอีกว่า มีการคุมขังบุคคลโดยอาศัยมาตรา 112 โดยพลการ จากการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็น พร้อมยกตัวอย่างกรณีของอานนท์ นำภา ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลากว่า 18 ปีในตอนนี้ ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติหลายคนกังวล
.
แถลงการณ์ฉบับนี้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินการ เพื่อให้ประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนขณะเดียวกันยังเรียกร้องให้เลื่อนการฟ้องร้องและจำคุกบุคคลภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
.
สำนักข่าว TODAY
สำนักข่าวออนไลน์ เปิดความรู้ ดูทูเดย์
.
#สำนักข่าวทูเดย์
#MakeTomorrowTODAY

https://www.facebook.com/photo?fbid=1017121336906481&set=a.661952892423329


.....

https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/1024671506169986

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
7 hours ago
·
ด่วน! ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (lese-majeste) หรือ มาตรา 112 ทันที
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และกลุ่มสังเกตการณ์เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders) ได้ส่งคำร้องเรียน (communication) กรณีการคุมขัง อานนท์ นำภา ภายใต้ มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไปยังคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (Working Group on Arbitrary Detention)
.
ในคำร้องที่ส่งถึงผู้รายงานพิเศษ ฯ ระบุว่า การบังคับใช้และดำเนินคดีตามมาตรา 112 นั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาเป็นระยะเวลายาวนานทั้งในระดับภาคประชาสังคม และตามการเฝ้าสังเกตสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้กลไกขององค์การสหประชาชาติ แต่กระนั้นเองภาครัฐของไทยยังคงมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน อย่างเช่น เสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น ซึ่งรวมไปถึงการดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งปรากฏให้เห็นได้จากการตั้งข้อหา ฟ้องร้อง และกักขังนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และประชาชนโดยทั่วไป
.
ซึ่งในวันนี้ (30 มค. 2568) ผู้เชี่ยวชาญฯ UN เรียกร้องให้ประเทศไทย "ยกเลิก" (repeal) มาตรา 112 และแสดงความเห็นว่ากฎหมายเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออก
.
.
อ่านแถลงการณ์ : https://www.ohchr.org/.../thailand-must-immediately...
.
อ่านคำร้องเพิ่มเติม : https://tlhr2014.com/archives/71740


‘รังสิมันต์' เชื่อ ที่ไม่ยอมตัดไฟเพราะเจอตอ พบข้อมูลตำรวจยศ 'พล.ต.ต.' เอี่ยวธุรกิจกาสิโนเมียวดี ชี้ แก๊งคอลเซ็นเตอร์-กาสิโนชายแดนแม่สอด-เมียวดี เกี่ยวข้องทุนจีน-ไทยเทา


The Reporters
18 hours ago
·
PARLIAMENT: ‘รังสิมันต์' เชื่อ ที่ไม่ยอมตัดไฟเพราะเจอตอ พบข้อมูลตำรวจยศ 'พล.ต.ต.' เอี่ยวธุรกิจกาสิโนเมียวดี ชี้ แก๊งคอลเซ็นเตอร์-กาสิโนชายแดนแม่สอด-เมียวดี เกี่ยวข้องทุนจีน-ไทยเทา
วันนี้ (30 ม.ค. 68) นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการวาระพิจารณาศึกษาการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ว่าในที่ประชุมจะมีการหารือเรื่องแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากตนเองเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่อย่างที่เห็นกันว่าคนเมียนมาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก มีทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ส่วนคนเมียนมาในประเภทที่ดีอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องของการจัดการที่จะต้องมาเสียภาษี และการจัดการในเรื่องของระบบสุขภาพต่าง ๆ
ขณะนี้เราพบว่าอาจมีการทุจริตในแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายอยู่แล้ว หวังว่าจะไม่มีการทุจริตตามที่เป็นกระแส ส่วนช่องทางที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตนั้น คือขั้นตอนของการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าว เป็นขั้นตอนที่แต่ละส่วนไม่มีความจำเป็น เพราะแรงงานเหล่านี้อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว และจากการประมาณการ มีจำนวนถึง 2 ล้านคน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขั้นตอน หรือมีขั้นตอนที่นำไปสู่การเสียเงินมากมาย เพราะสุดท้ายหากเสียเงินมากมายจะกลับไปสู่ที่นายจ้างที่จะต้องแบกรับในส่วนนี้ ฉะนั้น ก็ต้องไปดูในรายละเอียดว่า ขั้นตอนที่จะมีหนังสือสำคัญประจำตัว หรือ หนังสือรับรองสถานะบุคคล (Certificate of Identity: CI) ว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เนื่องจากมีข่าวหนาหูว่าอาจเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น
ส่วนกรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่นำชื่อประเทศไทยไปแอบอ้าง มองว่าจะส่งผลกระทบกับประเทศไทยหรือไม่ นายรังสิมันต์ มองว่ากระทบอยู่แล้ว เราสูญเสียเม็ดเงินที่ไหลออกจากประเทศเยอะแยะมากมาย หลายครอบครัวฆ่าตัวตาย และหลายคนต้องสูญเสียทรัพย์สินที่สะสมมา แทบจะหมดตัว ขนาดนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะออกมายอมรับว่า เกือบเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนั้นตนเองคิดว่าวันนี้ภัยจะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นภัยที่ร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้ตนเองยังมองว่าวันนี้เศรษฐกิจไทย ภาคส่วนที่สำคัญ คือการท่องเที่ยว หากการที่ชาวต่างชาติมองว่า การมาเที่ยวประเทศไทยไม่ปลอดภัย เพราะอาจจะเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเป็นเหยื่อของแก๊งค้ามนุษย์ได้นั้น เรื่องนี้จะทำร้ายประเทศไทยอย่างมาก สิ่งที่ตนเองพูดมานั้น ตนเองไม่ได้คิดไปเอง แต่มันเกิดขึ้นแล้ว ผ่านการยกเลิกของทัวร์จีนต่าง ๆ ที่จะมาเที่ยวในประเทศไทย ฉะนั้นจึงมีความชัดเจนว่า ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งเราสามารถดำเนินการแก้ไขให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์อ่อนแอลงได้ ทั้งการตัดไฟฟ้า ตัดอินเตอร์เน็ต ตัดสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งการ สามารถดำเนินการได้ทันที
โดยเฉพาะการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีคู่สัญญา ที่มีข้อหนึ่งระบุว่า หากกระทบกับความมั่นคง กฟภ.สามารถดำเนินการตัดไฟได้ทันที แต่ตนเองไม่เข้าใจว่าเหตุใด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการระทรวงมหาดไทย ระบุ ให้ กฟภ.ส่งหนังสือมาให้ตนเอง 1 ฉบับก่อน นายอนุทินจึงจะตัดไฟให้ เพราะในความเป็นจริง กระทรวงมหาดไทยเป็นหนึ่งในกระทรวงด้านความมั่นคง และเรื่องดังกล่าว ได้มีการพูดคุยกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อย่างเป็นกิจลักษณะอยู่แล้ว และ กฟภ. ตัวแทนของกระทรวงมาไทย ก็มาประชุมร่วมกับ กมธ.ความมั่นคงฯ เป็นระยะ ซึ่งก็เห็น และรับทราบว่า ข้อมูลหลาย ๆ อย่าง บ่งชี้ว่า ประเทศไทยเป็นแบตเตอรี่ให้กับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์
นายรังสิมันต์ ยังตั้งคำถามอีกว่า เหตุใดต้องให้หน่วยงานอื่นมาสั่งงานก่อน ซึ่งตนเองมองว่าไม่สมเหตุสมผล หากมีกฎหมายกำหนดให้กระทำเช่นนั้น ตนเองก็เข้าใจ แต่กลับกันไม่มีกฎหมายใดที่กำหนดว่ากระทรวงมหาดไทยจะต้องไปฟังหน่วยงานอื่นก่อน ย้ำว่า วันนี้กระทรวงมาไทยสามารถสั่งให้ กฟภ. ดำเนินการตัดไฟได้ทันที ซึ่งสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ สมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เหตุใดจึงยังไม่ดำเนินการ
สำหรับข้อห่วงใยถึงการใช้ทรัพยากรของประเทศไทย ปัจจุบันหลายเมืองตามแนวชายแดน มีทุนเทาที่ประกอบด้วย จีนเทา และไทยเทา ผสมกัน เป็นการที่ทุนเทาทั้งสองชนชาติมารวมตัวกัน และสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล ดังนั้น การที่ไม่สามารถตัดไฟได้ อาจเป็นเพราะว่า เมื่อตัดไฟไปแล้ว จะกระทบต่อผู้มีอำนาจในประเทศไทยใช่หรือไม่ สุดท้ายที่ตัดไฟไม่ได้ เพราะเจอตอใช่หรือไม่ และเป็นการทำลายผลประโยชน์ของบุลคลอื่นใช่หรือไม่
ตนเองได้รับรายงานจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าไม่ได้ใช้ไฟอะไรมากมาย แต่ความเป็นจริง ที่ที่มีการใช้ไฟเป็นจำนวนมาก คือกาสิโนเมียวดี คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นของตำรวจนายหนึ่ง ที่มียศพลตำรวจตรี ตนเองจึงไม่สามารถเข้าใจได้ว่า การทำงานของ กฟภ.ในเรื่องของการขายไฟ อาจมีโอกาสในการสนับสนุนลักษณะของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ทั้งนี้รัฐมนตรีจะมีมาบอกว่า ไม่ทราบไม่ได้ เพราะจะเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และทำตัวไม่ต่างกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแก๊งยาเสพติด
เมื่อถามถึงกรณีมีการพัวพันกับนายตำรวจใหญ่ จะมีการดำเนินการอย่างไร นายรังสิมันต์ กล่าวว่ากรรมาธิการความมั่นคงฯ เราทำได้ในเรื่องของการหาข้อมูล และการศึกษา เนื่องจากตนก็ได้ให้เวลากับรัฐบาลในการจัดการเรื่องนี้ เพราะอีกนิดเดียวตนจะเป็นคณะรัฐมนตรี หรือผู้สั่งการเองอยู่แล้ว ซึ่งมันไม่ควรเป็นเช่นนั้น ปัจจุบันเรารวบรวมข้อมูล และให้เวลารัฐบาลในการทำงาน แต่คำชี้แจงของรัฐบาลหลายอย่างที่ไม่ดำเนินการนั้น มันไม่สมเหตุสมผล ยืนยันว่า ตนไม่นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ และพยายามรวบรวมหลักฐาน และเอกสารทั้งหมดเอาไว้ โดยกลไกของสภา ปัจจุบันก็ยังดำเนินการอยู่ ส่วนจะมีกลไกลอื่นเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ก็ขอให้รอติดตาม ตนไม่นิ่งนอนใจในเรื่องนี้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้รัฐบาลประกาศนโยบายการศึกษาเรื่องการซีลชายแดนสองชั้น จะสามารถทำให้เป็นรูปธรรมได้จริงหรือไม่ ปัจจุบันการซีลชายแดน ต้องอาศัยอำนาจ ใช้คน ใช้เทคโนโลยี และต้องใช้เงิน หากมีแต่คำสั่ง และเงินเท่าเดิม คนเท่าเดิม เทคโนโลยีเหมือนเดิม อำนาจเหมือนเดิม ก็ไม่ต่างอะไรจากเดิม ขณะนี้ ตนยังไม่รู้รายละเอียด จึงยังไม่อยากไปว่าอะไรรัฐบาลเยอะ
นายรังสิมันต์ ยกตัวอย่าง ตอนที่ตนเคยลงไปสำรวจชายแดนภาคเหนือ ใน จ.เชียงใหม่ ตามชายแดน เพื่อไปสำรวจเกี่ยวกับเรื่องกองกำลังสหรัฐว้า หรือกองกำลังว้าแดง (UWSA) ไม่ได้มีอะไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากรัฐบาล ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการจะซีลชายแดน ต้องมีเงิน มีทรัพยากร มีอำนาจ และมีคน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้การซีลชายแดนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #รังสิมันต์โรม #พรรคประชาชน #กฟภ #เมียนมา

https://www.facebook.com/photo/?fbid=976872041301498&set=a.534942252161148


(สั่งขนาดนี้ รัฐไทยในสายตาจีนต้องเฮงซวยและกระจอกขนาดไหน ..น่าอับอายจริงๆ) 6 ข้อเรียกร้องของทางการจีน (ใช้คำค่อนข้างแข็งกร้าว 要求 มีนัยยะกึ่งสั่ง) ที่หวังเสี่ยวหง รมต.ความมั่นคงสาธารณะตัวจริง มนตรีแห่งรัฐ และผบ.ตร. จีน ยื่นต่อภูมิธรรม เวชยชัย ผ่านการประชุมออนไลน์ ในวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา


Theerapat Charoensuk
5 hours ago
·
ยิ่งกว่าวาทะของหลิวจงอี้ (ซึ่งไม่มีมูลความจริง) คือข้อเรียกร้องของทางการจีน 6 ข้อ ที่หวังเสี่ยวหง รมต.ความมั่นคงสาธารณะตัวจริง มนตรีแห่งรัฐ และผบ.ตร. จีน ยื่นต่อภูมิธรรม เวชยชัย ผ่านการประชุมออนไลน์ ในวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ก่อนที่หลิวจงอี้จะเดินทางมาไทยพร้อมเอกสารหลักฐาน
1. จีนจะส่งข้อมูลสำคัญทั้งหมด ของแก๊งหลอกลวงคอลเซ็นเตอร์ ทั้งที่อยู่ในพม่าและไทย ให้แก่ทางการไทย โดยไทยต้องไปจับกุมมาให้ได้
2. นอกจากเหยี่ยนสือลิ่ว ตัวการที่ลวงหวังซิงมาไทยซึ่งจับตัวได้แล้วนั้น ไทยต้องตามจับขบวนการอีก 20 กว่าคนที่ร่วมมือมาให้จงได้ แล้วให้ส่งกลับไปดำเนินคดีที่จีน
3. จีนเรียกร้องให้ (ใช้คำค่อนข้างแข็งกร้าว 要求 มีนัยยะกึ่งสั่ง) ตำรวจไทยเร่งตรวจสอบเหยื่อผู้ถูกหลอกลวงไปทำงานในเมียวดี แล้วเร่งรัดให้ทางการท้องถิ่นปล่อยตัวมาให้ได้
4. ไทย “ต้อง” ปิดกั้นสาธารณูปโภคและวัสดุก่อสร้างที่ใช้ไทยเป็นเส้นทางไปยังเมืองดังกล่าว และต้องใช้มาตรการเข้มงวดให้การเดินทางข้ามพรมแดน
5. (อันนี้ชิบหายมาก) ต้องจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการร่วมไทย-จีน เพื่อกวดขันการบังคับใช้กฎหมาย โดยจีนจะส่งพนักงานสืบสวนมาร่วมทำงานเพื่อ “ปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติการ”
6. จีนหวังว่าไทยจะ “กวาดล้างภายใน“ “แก้ไขความเสี่ยงการหลอกลวงไซเบอร์” และ “ฟื้นคืนความมั่นใจในความปลอดภัยของประเทศ” ให้ได้ต่อไป
โห ยื่นกึ่งสั่งมาขนาดนี้ มันยิ่งกว่าด่าเจ็บๆ อีกครับ!!!
อย่างไรก็ตาม ทางไทย (ในข้อมูลของทางจีน) ได้ยื่นข้อเสนอตอบกลับไปดังนี้
1. จะตั้งหน่วยปฏิบัติการร่วมไทย-จีน เพื่อร่วมปรับปรุงการตรวจสอบตัวบุคคลและเพิ่มสมรรถภาพการทำงาน
2. ขอให้ทางจีนช่วย “ปราบปรามผู้สนับสนุนทางการเงิน” ของกลุ่มทุนดังกล่าวในจีน และช่วยให้ข้อมูลของ “กลุ่มทุนไทย” ที่รู้เห็นเป็นใจร่วมมือกับทุนจีนเทาดังกล่าวด้วย
3. ให้จีนช่วยไทยจับกุม ปราบปรามแก๊งฟอกเงินผ่านคริปโตเคอเรนซี เพื่อตัดเส้นทางการเงินของกลุ่มทุนดังกล่าว
4. ให้จีนช่วยดึงเอาเขมร ลาว และพม่า มาร่วมประชุมแก้ไขปัญหาหลอกลวงต้มตุ๋นและการฟอกเงินนี้ด้วย
ถือว่าพอแก้หน้าวางท่าได้ แต่ก็เจ็บอยู่ดี

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10160529521821809&set=a.10150547951876809

Theerapat Charoensuk
อ้างอิง
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1822672062461622485...
.....

สั่งขนาดนี้ รัฐไทยในสายตาจีนต้องเฮงซวยและกระจอกขนาดไหน ..น่าอับอายจริงๆ
Puangthong Pawakapan





 

เอาจริงๆ นี่ก็ถือว่านายกสั่งนะ เพราะรัฐบาลนี้ คือ “รัฐบาลทักษิณอันมีอุ๊งอิ๊งเป็นคนรับมุก”


สมชาย แซ่จิว
11 hours ago
·
ไปคุยกันก่อนไหมคะ
นางแบก เริ่ม
เลิ่กลั่ก จะเขียน
แบกใครดี
ก่อนหน้านี้ เพ่อด่าพวกส้มที่
อยากให้ตัดไฟ ว่าเอาแต่ใจ
ไม่ดูสัญญา
นี่ คุณพ่อบอกว่า ตัดได้
ดริฟท์แทบไม่ทันละทีนี้!
เอาจริงๆ นี่ก็ถือว่านายกสั่งนะ
เพราะนี่คือ
“รัฐบาลทักษิณอันมีอุ๊งอิ๊งเป็นคนรับมุก”

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10162545478694040&set=a.10150221188839040







Matichon Online @MatichonOnline

พร้อมตัดไฟแก๊งคอล ผู้เกี่ยวข้องต้องสั่ง 
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 30 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า กระทรวงมหาดไทยสามารถตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้เลย หากทําไม่ถูกตามสัญญาซื้อขาย 



วันพฤหัสบดี, มกราคม 30, 2568

ในรัฐบาลเพื่อไทย ไม่น่าเชื่อว่า…แคมเปญรณรงค์เรียกร้องเพื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน “Write for Rights” ที่ทาง Amnesty International Thailand จัดร่วมกับร้าน House of Commons - BookCafe & Space จะสร้างความสั่นคลอนผู้มีอำนาจในบ้านเมืองได้เช่นกัน


House of Commons - BookCafe & Space
21 hours ago
·
ไม่น่าเชื่อว่า…แคมเปญรณรงค์เรียกร้องเพื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน “Write for Rights” ที่ทาง Amnesty International Thailand จัดร่วมกับร้าน House of Commons - BookCafe & Space จะสร้างความสั่นคลอนผู้มีอำนาจในบ้านเมืองได้เช่นกัน

แคมเปญนี้ได้จัดมาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2567 จนได้มามีการจัด Workshop เกี่ยวกับ “การเขียนเพื่อให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น” เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2568 ในช่วงบ่ายเวลา 14:00-16:00

แต่ในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาประมาณ 11:00 ก่อนเริ่มงาน ก็มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาสังเกตการณ์ที่ร้าน ซึ่งผมเองก็ผิดสังเกตในพฤติกรรมอยู่แล้ว เพราะมาร้านเราแต่ไม่เดินดูหนังสือ และไม่สั่งกาแฟ (มาถามว่ามีน้ำส้มไหม?)

จากนั้นสังเกตการณ์อยู่สักพัก คงเดาได้ว่าผมเป็นผู้ดูแลร้าน ก็เลยเรียกผมเข้าไปพูดคุยด้วย โดยแจ้งว่ามาตรวจสอบความเรียบร้อยในพื้นที่ เนื่องจากในตอนเย็นมีกำหนดการสำคัญแถวเยาวราช โดยได้สอบถามข้อมูลส่วนตัวผม และรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงาน ซึ่งผมก็ได้พาไปเดินดูรายละเอียดที่บอร์ด Events หน้าร้าน และพาไปดูป้ายที่ติดเรื่องราวของคนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี Case ของประเทศไทยกรณีทนายอานนท์ที่ถูกดำเนินคดี 112 จากการเคลื่อนไหวทางการเมือง

พอได้รายละเอียดข้อมูลเบื้องต้น ก็ยังคงเฝ้าสังเกตการณ์อยู่บริเวณที่นั่งด้านนอกที่ติดริมคลองผดุงกรุงเกษม

จนช่วงบ่ายก็เริ่มผิดสังเกตอีกครั้ง ก่อนเริ่มงานเวลา 13:10 มีลูกค้าแปลกหน้ารายหนึ่งเดินเข้ามาที่ร้าน สั่งเครื่องดื่มและไปนั่งที่โต๊ะภายในร้านที่เป็นโต๊ะนั่งแบบคนเดียว ที่สามารถมองไปด้านหน้าร้านได้ จากนั้นก็หยิบกล้องแบบตากล้องมืออาชีพที่ซูมระยะไกลได้ขึ้นมา พยายามซูมไปที่โต๊ะลงทะเบียนด้านหน้าร้าน แต่คงเหลือบมาด้านหลังบริเวณเคาเตอร์บาร์เห็นผมยืนจ้องมองอยู่ เลยวางกล้องลง ทำให้ผมได้สังเกตเห็นว่ามีสติกเกอร์หน่วยงานราชการติดอยู่ที่ตัวกล้อง จากนั้นจึงได้เก็บกล้อง แล้วเดินออกจากร้านไป แล้วเดินไปที่ปากซอยเจริญกรุง 24 แล้วหันกลัองกลับมาที่หน้าร้านตรงโต๊ะลงทะเบียนเพื่อที่จะพยายามถ่ายอีกครั้ง แต่ผมเดินตามออกไปจ้องดูพฤติกรรม จึงวางกล้องลง

หลังจากนั้นไม่นานก็เดินกลับมาที่ร้านใหม่ คราวนี้ได้เดินไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่มาก่อนหน้า และหลังจากนั้นก็มีพฤติกรรมในการบันทึกภาพร้านจากมุมด้านนอก ซึ่งเข้าข่ายละเมิดข้อตกลงที่เราทำกับเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่มาพูดคุยกันในตอนเช้าไว้ว่าจะไม่มีการบันทึกภาพใดๆ

โดยผมเองก็คิดอยู่นานว่าจะเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเสาร์ที่ผ่านมาดีหรือไม่? แต่เพื่อยืนหยัดต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ธรรม ก็เลยตัดสินใจเลือกที่จะเล่า

กิจกรรมที่ทาง Amnesty International Thailand จัดร่วมกับร้าน House of Commons - BookCafe&Space ก็เป็นเพียงแค่ใช้การเขียนเพื่อรณรงค์เรียกร้องให้กับผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีการชุมนุมเคลื่อนไหวอื่นๆแต่อย่างใด

ร้าน House of Commons-BookCafe&Space คือ ร้านของสามัญชนคนธรรมดาทั่วไป ที่ขอยืนหยัดในหลักการพื้นฐานในเรื่องสิทธิพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็น และเรายังคงยืนยันที่จะดำเนินการที่จะร่วมจัดกิจกรรมกับกลุ่มต่างๆ ที่เป็นกิจกรรมที่ดีต่อตนเองและสังคมโดยรวม เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสังคม

#HouseofCommons
#บ้านของสามัญชน

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1194709652661034&set=a.483496830448990


ตำรวจศรีสะเกษโทรติดตาม-ไปบ้านประชาชนอย่างน้อย 3 ราย ก่อน ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ลงพื้นที่ แม้ไม่มีตำแหน่งใดในปัจจุบัน - มีเชื้ออะไรหรือครับ ตำรวจถึงต้องไปไล่กวดขัน


มีเชื้ออะไรหรือครับ ตำรวจถึงต้องไปไล่กวดขัน
Atukkit Sawangsuk
...

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
13 hours ago
·
ตำรวจศรีสะเกษโทรติดตาม-ไปบ้านประชาชนอย่างน้อย 3 ราย ก่อน ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ลงพื้นที่ แม้ไม่มีตำแหน่งใดในปัจจุบัน
.
.
เสียงโทรศัพท์ปริศนาและชายทั้งใน-นอกเครื่องแบบที่ปรากฏตัวหน้าบ้าน ยังคงเกิดขึ้นกับนักกิจกรรมและประชาชนที่เคยออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ในทุกครั้งที่มีบุคคลสำคัญไปเยือน จ.ศรีสะเกษ
.
แม้ว่าวันเวลาและรัฐบาลจะเปลี่ยนผ่าน แต่การเฝ้าระวังยังคงอยู่ ยิ่งกับครั้งหลังสุดระหว่างวันที่ 24-25 ม.ค. 2568 ที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ก่อนการเลือกตั้งวันที่ 1 ก.พ. 2568 พบว่ามีประชาชนอย่างน้อย 3 ราย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรติดตามสอบถามถึงที่อยู่ และมีบางรายที่ติดตามไปหาถึงที่บ้าน
.
เหตุการณ์ดังกล่าวทั้ง 3 คน ต่างตั้งคำถามถึงสาเหตุ เพราะไม่คาดคิดว่าตั้งแต่มีการเปลี่ยนจากรัฐบาลทหารแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐจะยังคงใช้วิธีการรูปแบบเดิม ๆ ในการสร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชน
.
.
“พรสิทธิ์ รักษาทรัพย์” ทนายความและสมาชิกพรรคประชาชน จ.ศรีสะเกษ เผยข้อมูลว่า หนึ่งสัปดาห์ก่อนทักษิณ ชินวัตร มาเยือนศรีสะเกษ พบว่าตำรวจชุดสืบ สภ.เมืองศรีสะเกษ ติดต่อมาหาทุกวัน โดยเป็นตำรวจชุดเดิมกับที่เคยติดต่อตนในทุกครั้งที่มีบุคคลสำคัญเดินทางมา สาเหตุหลัก ๆ เพื่อปรามการแสดงออกทางการเมือง “ถ้าครั้งก่อน ๆ โทรมาก็จะนัดเจอกันตามร้านกาแฟ ผมก็จะเข้าไปให้ถ่ายรูป แต่ครั้งนี้เราก็คิดว่า ไม่ใช่รัฐบาลประยุทธ์ มันน่าจะดีขึ้น” พรสิทธิ์กล่าวไว้ตอนหนึ่ง
.
จนเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 พรสิทธิ์แจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ติดต่อมาว่า วันที่ 24-25 ม.ค. 2568 เขาจะไม่อยู่ในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ เพราะมีแผนเดินทางไปดูคอนเสิร์ตที่ จ.เพชรบูรณ์ แต่แล้วในช่วงวันที่ 24 ม.ค. 2568 ก็ทราบจากคนที่บ้านว่า มีตำรวจ 4-5 นาย ไปที่บ้านเหมือนเดิม ให้เหตุผลที่ยากจะรับฟังว่าไปถ่ายรูปเพื่อยืนยันว่าตนไม่ได้อยู่ที่บ้านจริง ๆ
.
พรสิทธิ์กล่าวอีกว่า วันที่ตำรวจเข้ามาหาคนในบ้าน มีคนอาศัยร่วม 10 คน บางคนอยู่ในวัยชราก็ตกใจว่าตนไปทำอะไรผิดมา เลยบอกตำรวจไปว่าได้ตกลงไว้แล้วว่าจะไม่อยู่บ้าน และไม่ควรไปที่บ้าน ถ้าไม่เช่นนั้นจะไม่ให้ความร่วมมืออีก เพราะไม่อยากให้คนที่บ้านตกใจ โดยเฉพาะคนที่ไม่คุ้นชินกับเหตุการณ์แบบนี้
.
"มันแปลกที่แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว แต่วิธีการเหล่านี้ยังคงอยู่" พรสิทธิ์สะท้อนความรู้สึก เขาเล่าว่าหลังการเลือกตั้ง เขาและเพื่อน ๆ แทบไม่ได้ทำกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ เพราะมองว่าสถานการณ์อยู่ในครรลองที่ยอมรับได้ มีเพียงการเคลื่อนไหวในประเด็นสังคม เช่น สมรสเท่าเทียม และสิทธิที่ดิน
.
ก่อนกล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมไม่ได้หวาดกลัวแต่แปลกใจมากกว่า คิดว่าการคุกคามจะเบาบางลง แต่มันกลับมีมากขึ้น และไม่ต่างกันระหว่างวิธีการทำกับคนเห็นต่างที่ใช้ทั้งตำรวจ ทั้งทหาร มาติดตามคนเคยแสดงออกทางการเมือง”
.
.
นอกจากนั้น ยังมีกรณีของ “มายด์” (นามสมมติ) ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เล่าว่าระหว่างวันที่ 23-24 ม.ค. 2568 มีตำรวจจาก สภ.ขุนหาญ โทรมาสอบถามว่าอยู่ที่ไหนทำอะไร ทั้งกำชับให้ส่งรูปไปให้
.
แม้ครั้งนี้ไม่ได้มาหาถึงบ้าน มาขอแค่ภาพและยืนยันว่าอยู่ที่ไหน แต่ก็ทำให้รู้สึกรำคาญและอึดอัดที่มีคนตามตลอดเวลา มายด์เล่าอีกว่าไม่ทราบว่ามาก่อนว่าอดีตนายกฯ ทักษิณจะมาลงพื้นที่ เพราะต้องทำงานในช่วงไฮซีซั่น จึงไม่ได้สนใจเรื่องนี้
.
มายด์กล่าวอย่างตลกร้ายว่ารู้สึกถูกเป็นห่วงจากเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป เขาเห็นว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้จะเป็นทุกครั้งที่มีบุคคลสำคัญมาศรีสะเกษ เช่น สมาชิกราชวงศ์ หรือ บุคคลในคณะรัฐมนตรี อยากให้ตำรวจทบทวนถึงสิ่งที่กระทำ
.
“เราไม่ใช่อาชญากร ไม่จำเป็นต้องมาสนใจเรา ทำหน้าที่ของคุณให้ดีกับประชาชนก็เพียงพอ” มายด์กล่าวทิ้งท้ายอย่างขมขื่น สะท้อนความรู้สึกของประชาชนที่ยังคงถูกเฝ้าติดตาม
.
.
ในขณะที่ “แท็ก” (นามสมมติ) เกษตรกร ใน อ.ขุนหาญ ย้อนเหตุการณ์ไปว่า ราว 1 เดือนที่แล้วมีตำรวจจาก สภ.ขุนหาญ มาหาที่บ้าน แต่ตอนนั้นตนอยู่บ้านของแฟนในอีกอำเภอหนึ่ง ตำรวจเลยถามคนที่บ้านว่าอยู่ที่ไหน จากนั้นอีกราว 1 ชั่วโมงตำรวจจึงไปตามหาถึง อ.กันทรลักษ์ วันนั้นตำรวจมีการขอเบอร์โทรศัพท์ ขอไลน์ แต่แท็กให้เพียงเบอร์โทรไป
.
กระทั่ง 1-2 วัน ก่อนหน้าทักษิณจะเดินทางมาศรีสะเกษ ก็มีตำรวจชุดเดิมจาก สภ.ขุนหาญ โทรมาสอบถามว่ายังอยู่ในพื้นที่หรือไม่ หรือจะออกเดินทางไปไหนไหม
.
แท็กจึงแจ้งว่ายังอยู่ในพื้นที่ขุนหาญ ไม่ได้ไปไหน เพราะทำไร่ทำสวนที่บ้าน จนวันที่ 24 ม.ค. 2568 ตำรวจพยายามติดต่อแท็กมาอีกครั้ง แต่เขาตัดสินใจไม่ได้รับสาย
.
แท็กกล่าวด้วยความสงสัยว่า ทั้งที่เปลี่ยนรัฐบาลแล้ว ทำไมยังมีการติดตามอยู่เหมือนเดิม “มันรู้สึกวุ่นวายและรำคาญมากกว่า เพราะช่วงนี้ก็ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลย ตั้งแต่หลังเลือกตั้งปี 2566 เสร็จสิ้น”
.
.
อ่านรายงานสถานการณ์ข่าวฉบับเต็มบนลิ้งก์เว็บไซต์ในคอมเม้นท์ด้านล่าง

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
https://tlhr2014.com/archives/72628


https://www.facebook.com/photo/?fbid=1023877256249411&set=a.656922399611567